โพสท์โดย David Jew 1/8/2562
รู้หรือไม่? หนึ่งในปัจจัยสงครามที่ทำให้อังกฤษชนะสงคราม คือ ชา!!
ในช่วงขณะที่จักรวรรดิอังกฤษนั้น พ่ายแพ้ต่อเยอรมนี และ ญี่ป่นุในช่วงต้นสงคราม อังกฤษได้สูญเสียเส้นทางการปกครองในเอเชียเกือบจะสมบูรณ์ และความพ่ายแพ้ที่ดันเคิร์ก และ การล่มสลายของป้อมปราการในสิงคโปร์ ทำให้อังกฤษนั้นอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าเกือบจะถังแตก! คลังสำรองของพวกเขาไกล้จะหมดลง การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากฝั่งแอตแลนติกทำได้ยากยิ่ง เพราะภัยคุกคามของ U-Boat ของเยอรมัน และ สหรัฐฯปิดเส้นทางพาณิชย์ หลังจากการโจมตีใน Pearl Harbor
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าชานั้น เป็นเครื่องดื่มที่กลายมาเป็นวัฒนธรรมของอังกฤษ นับตั้งแต่มีการนำเข้ามาสู่จักรวรรดินับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยชานั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญไม่ว่าจะทั้งในแง่ของสังคม, การเมือง และ สถานะทางเศรษฐกิจอันสำคัญยิ่งของจักรวรรดิอังกฤษ และยังมีบทบาทสำคัญในแง่ของวัฒนธรรม ค่านิยม ของชาวอังกฤษ
หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมชาอังกฤษที่นำเข้ามาจากอาณานิคมต่างๆทั่วโลก ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ค้ำจุนเศรษฐกิจชาติ และ กำไรของโรงงานต่างๆ รวมไปถึงการสร้างงานให้กับแรงงานทั่วทุกมุมจักรวรรดิ สร้างจักรวรรดิเป็นปึกแผ่น เป็นสังคมสมัยใหม่ และ สร้างรากฐานอันสำคัญของชนชาติอังกฤษมาจวบจนทุกวันนี้ ชานั้นยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และ ยังถือว่าเป็นจิตวิญญาณ และ อัตลักษณ์ที่สำคัญยิ่งของชาวอังกฤษ
แรกเริ่มนั้น ชาถูกพูดถึงในปูมเรือของเยียมบาติสต้า รามูสิโอ ในปี 1559 โดยพูดถึง "เครื่องดื่มชาแห่งประเทศจีน" (chàh-ฉ๋า หรือ ชานั่นเอง) หลังจากได้เดินทางไปยังเมืองจีน และต่อมาก็มีบันทึกของ East India Company ในปี 1615 ซึ่งพูดถึงการค้นพบชาเขียวในประเทศญี่ปุ่น จนปี 1660 เมื่อการค้าอย่างจริงจังเริ่มขึ้น ก็ได้มีการจัดตั้ง Coffeehouses of London และมีการจำหน่ายเครื่องดื่มชาเขียวที่นำเข้าจากจีน ก่อนการปฏิรูปสจวร์ตไม่นาน (Stuart Restoration)
แต่เดิมนั้น ชา เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ใช้เพื่อรักษาอาการปวดหัว, หวัด, วิงเวียน, หอบหืด, มือไม้สั่น ไปจนถึงเป็นยาอายุวัฒนะ ( Nikolas Dirx, Observationes Medicae, 1641, Thomas Garway 1660)
ในศตวรรษที่ 17 ชากลายมาเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นสูง โดยเฉพาะกับข้าราชบริพารหญิงในราชสำนัก ในขณะที่กาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นล่างและชนชั้นแรงงาน (Ellis, Coulton & Maugner 2015) จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 18 จึงมีการกระจายไปไปยังชนชั้นกลาง แต่ยังไม่ไปถึงยังชนชั้นล่างเพราะราคาของชานั้นขึ้นลงอย่างคาดเดาไม่ได้ ด้วยการนำเข้าในปริมาณที่กำหนด และ มูลค่าภาษีต่างๆของราชสำนัก จนมีการกล่าวว่า "ใบชาเพียงหนึ่งปอนด์ มีค่ายิ่งกว่าเพชรยอดมงกุฎเสียอีก"
เมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 18 การเพิ่มการนำเข้าของชาอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างปี 1720-1750 ราคาชาจึงตกลงมาคงที่ และกลายมาเป็นประตูบานสำคัญที่ทำให้ชนชาติอังกฤษเข้าถึงชาในทุกระดับชนชั้นในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 19
อย่างไรก็ดี เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นดังที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าแรก สงครามโลกครั้งที่สองนั้น แตกต่างกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่รบกับบนเพียงทวีปเดียวโดยสิ้นเชิง ยุทธพาหนะต่างๆสามารถปิดกั้นเส้นทางพาณิชย์ได้ โดยเฉพาะทางเรือ และนั่นทำให้ขวัญกำลังใจของชาวอังกฤษลดลงอย่างน่าใจหาย
ในบันทึกปี 1942, รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจครั้งที่แปลกประหลาดที่สุด นั่นคือ พวกเขาได้ตัดสินใจซื้อชา "ทุกประเภท" เท่าที่มีบนโลกใบนี้ (ยกเว้นจากญี่ปุ่่น) ไม่ว่าจะมาหรือน้อยแค่ไหน หรือ แม้มีเพียงปอนด์เดียวก็ตาม!! (GW Keen, 2016)
ปริมาณชาที่จักรวรรดิอังกฤษจัดซื้อนั้น มีปริมาณมหาศาลถึงขั้นเทียบเท่ามูลค่าของกระสุนปืนประจำกาย, กระสุนปืนใหญ่, ระเบิด ที่ใช้ตลอดสงครามเลยทีเดียว
ฝ่ายนาซีเยอรมันนั้นรู้ดีว่า ชา มีผลต่อขวัญกำลังใจของชาวอังกฤษเพียงใด หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่ตกเป็นเป้าโจมตีเมื่อครั้ง Operation Sea Lion คือการถล่ม Mincing Lane หรือ "ถนนแห่งชา" ในลอนดอนด้วย
นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า ชา เป็นอาวุธชนิดหนึ่งของอังกฤษ และเป็นสัญลักษณือันสำคัญในการแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันในชาติผ่านประวัติศาสตร์การค้าอันยาวนานของจักรวรรดิ
ชาเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังทั้งในแง่จิตวิญญาณ และ ในทางกายภาพ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ถึงกับเคยกล่าวว่า "ชานั้นสำคัญยยิ่งกว่ากระสุน" และออกคำสั่งว่า เรือทุกลำต้องไม่ขาดใบชา
ชาสร้างขวัญกำลังใจ ไม่เพียงแต่กับชาวอังกฤษเท่านั้น หลังปี 1942 บันทึกกองทัพอากาศอังกฤษระบุว่า อากาศยานทิ้งระเบิดของอังกฤษทิ้งกล่องบรรจุชากว่า 75,000กล่อง ลงไปยังเนเธอร์แลนด์ โดยในกล่องนั้นมีข้อความว่า "เนเธอร์แลนด์จะผงาดอีกครั้ง จงยืดอกอย่างภูมิในเถิด" ทุกๆกล่องกาชาดกว่า 20ล้านกล่องนั้น จะมีชาTwining ปริมาณอย่างน้อยควอเตอร์ปอนด์เสมอ
ชา เป็นอาวุธของอังกฤษได้อย่างไร?
ชานั้นไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ ชานั้นมีพลังมหาศาลในการแสดงถึงความสงบ และ ผ่อนคลาย แม้อยู่กลางสมรภูมิที่อันตราย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทหารทุกคนควรมี ชานั้นเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยปลอบใจจากความอบอุ่น ลดช่องหว่างระหว่างบุคคล ในสถานพยาบาลหลายแห่ง พยาบาลจะเสิร์ฟชาให้กับทุกคน สร้างความอบอุ่นในกลุ่มผู้หลบภัย, ผู้บาดเจ็บ นำคนแปลกหน้าเข่ามาเป็นมิตรกัน และ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
สำหรับทหาร ชานั้นเป็นหนึ่งในเรชั่น หรือ เสบียงพื้นฐานบรรจุมากในกล่องดีบุกกันน้ำ พร้อมครีมเทียม และน้ำตาล
ชาของทหารอังกฤษมักจะเป็นชาที่มีกลิ่นฉุนและรสชาติค่อนข้างแรงกว่าชาที่แจกในเรชั่นปันส่วนของพลเรือน โดยมากมาจากแคว้นอัสสัม หรือ ซีลอน ในอินเดีย, แอฟริกา หรือ จากจีน
น้ำตาล และ คาเฟอีน ช่วยสร้างความสดชื่น และอารมร์ที่ดีขึ้นแก่ทหารในแนวหน้า อีกทั้งยังช่วยปลอบประโลมจิตใจที่บอบช้ำด้วย
ในปี 2014 ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ให้สัมภาษณ์ในบทความ UK Daily Tea ว่า
"เมื่อคุณเปียก, หนาว และ สิ้นหวัง แต่คุณอยากจะฮึกสู้อีกครั้งแม้ล้าไกล้ตายเต็มทีจากความเหนื่อยอ่อน...คุณอาจจะเปรอะเปื้อนไปด้วยดินโคลน ตัวเหม็นโฉ่ จากการไม่ได้อาบน้ำมาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาจจะทั้งหนาว ทั้งเหนื่อยหมดแรงเต็มที..แต่ชาแก้วร้อนๆแก้วนั้น เหมือนจะช่วยขจัดความรู้สึกเหล่านั้นไปได้...เพื่อทหารเริ่มเล่นมุขในวงดื่มชา ขวัญและกำลังใจของเราก็เริ่มมา ช่างเป็นการกระทำที่เรียบง่ายเหลือเกิน เพียงแค่เราแบ่งปันชาในเหยือกร่วมกันกับสหายศึก ซึ่งก็สภาพย่ำแย่พอๆกับเรา....มันช่างเยี่ยมเหลือเกิน"
1942 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ อังกฤษเริ่มชนะสงคราม....และชามีส่วนช่วยจริงๆ
ขอบคุณที่มา:
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=150649652686078&set=pcb.2690305480997693&type=3&theater&ifg=1
Cr.POSTJUNG
Twinings: เรื่องราวของชายี่ห้อดังยามสงคราม
สำหรับคนไทย เรามักจะมองว่าชายี่ห้อนี้นั้น เป็นของมีราคาทีเดียว ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ได้แพงมากมายอะไรขนาดนั้น แต่คุณภาพจัดได้ว่าชั้นหนึ่ง หลายๆคนอาจจะเคยแวะไปเยี่ยมเยียน Twinings Tea Boutique กันมาบ้างที่ห้างชื่อดัง อย่าง Central World ซึ่งต้องจำไว้ว้า Twinings นั้น ไม่ใช่ยี่ห้อเดียวกับ TWG
ชา Twinings นั้นจัดว่าเป็นแบรนด์เครื่องดื่มประเภทชา ที่มีประวัติยาวนานที่สุดยี่ห้อหนึ่ง (มากกว่านี้ก็คงเป็น EIC หรือ East India Company ซึ่งเป็นบริษัทดัทช์) ครอบครัว Twinings ย้ายมาลอนดอนในปี 1684 ก่อน Thomas Twinings จะทำการซื้อโรงเตี๊ยม Tom Coffee House ในปี 1706
ในปีต่อมานี้เอง เขาก็ได้ออกแบบ "สิงโตทองคำ" (Golden Lyon) มาเป็นเครื่องหมายการค้าของร้าน แต่ทว่าโธมัสพบว่าการแข่งขันกันระหว่างโรงเตี๊ยมในกรุงลอนนั้นสูงมาก เขาต้องหาทางแข่งขันให้เร็วที่สุด เขาได้นำใบชาหลายแบบที่มีมาทดลองผสมผสานกัน จนได้ชาสูตรเฉพาะต่างๆที่ดีที่สุด และเริ่มที่จะขายใบชาแห้งมากกว่าแบบชงพร้อมดื่ม
อย่างไรก็ดี ในปีนั้นเอง ภาษีชานั้นบ้าเลือดสติแตกมาก ชาของโธมัสนั้นกล่าวได้ว่า ราคาสูงถึง £160 ต่อ 100กรัม
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาย่อท้อ เขายังคงคุณภาพใบชาของเขาเอาไว้ และในระยะแรก เขาจึงเน้นขายแต่ชนชั้นสูงเป็นหลัก เพื่อให้ร้านสามารถอยู่ได้ และเมื่อมีเงินมากพอ จึงได้ซื้อที่ราวๆสามช่วงตึก ณ เลขที่ 261 Strand ในกรุงลอนดอน อันเป็นสาขาหลักของ Twinings มาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 300ปีแล้ว
อย่างไรก็ดี Twinings ไม่ได้เป็นเพียงยี่ห้อชาเท่านั้น แต่ว่ายังเป็นครอบครัวที่เปลี่ยนวิถีการดื่มชาของชาวอังกฤษด้วย!
ในระหว่างปี 1762-1784 ราคาชานั้นผันผวนอย่างมหาศาล เนื่องจากมีการลักลอบนำเข้าชามาจากฝรั่งเศส และ ฮอลแลนด์อย่างต่อเนื่องเพื่อเลี่ยงภาษี Richard Twinings บุตรคนโตของ Daniel Twinings มองเห็นช่องทางการตลาดในเวลาที่ยากลำบากนี้ ด้วยความที่เขาเป็นคนในสภา และ มีความสนิทกับนายกรัฐมนตรี
William Pitt นายน้อยริชาร์ดได้กล่าวว่า "ภาษีที่สูงเกินไป ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ยอดขายของชาในประเทศของเราจะสูงขึ้น หากภาษีเราต่ำกว่านี้ การตั้งภาษีสูงๆ มีแต่จะส่งเสริมให้มีการลักลอบนำเข้าชามากขึ้น" หลังจากมีการถกเถียงกันในสภาอยู่นาน ในที่สุดก็มีการตั้ง พรบ.การนำเข้าฉบับใหม่ในปี 1784 และเป็นการเปิดโลกใบใหม่ของการดื่มชาให้กับประชาชนคนทั่วไปที่ไม่ต้องซื้อชาราคาแพงอีกแล้ว!
ครอบครัวTwinings ได้รับตราอลัญจกรณ์หลวง จาก สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ในปี 1837 โดยได้รับเลือกให้เป็นชาประจำราชสำนัก
ในปี 1939 เมื่อสงครามโลกอุบัติขึ้น อังกฤษจำเป็นที่จะต้องซื้อชาที่ยังคงมีเหลืออยุ่ทั่วโลกเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และ คงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของประชาชน Twinings เองก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย แต่ถึงกระนั้น ทางครอบครัว Twinings นั้น ไม่ยอมให้สงครามมาทำลายพวกเขา
Twinings เข้าร่วมกับสภากาชาดสากล และ ประกาศแจกจ่ายชาที่พวกเขามีให้กับประชาชนในรูปแบบของ Weekly Rations รัฐได้ก้าวเท้าเข้ามาช่วยอุ้มบริษัท และ เริ่มหาหนทางในการสนับสนุน
ชาของ Twinings จำนวนมากถูกบรรจุหีบห่อส่งไปยังสภากาชาดในยุโรป และ ในเรชั่นของทหารในแนวหน้า อีกทั้ง Twinings ยังถูกบรรจุลงในห่ออาหารของเชลยศึก "เชลยศึกที่ผ่านสงครามมา ก็ควรได้รับความอบอุ่นจากชาของเรา" คือสโลแกนที่สำคัญในช่วงเวลาของสงคราม
หลังสงคราม ชา Twinnings ถูกควบกิจการเข้าไปอยู่ในกลุ่ม ABF (Associated British Foods) แต่ยังคงควบคุมการผลิตโดยครอบครัวTwinings (ปัจจุบันคือ Stephen Twinings ผุ้เป็น ผอ.สายการผลิต, Masterblender และ มวลชนสัมพันธ์)
นี่จึงเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่มีบทบาทมากในทางประวัติศาสตร์ และ ในยามสงครามไม่แพ้สินค้าอีกหลายยี่ห้อเลยทีเดียว
Cr.
https://www.facebook.com/2035679030041395/posts/2215539358722027/
หนึ่งในปัจจัยสงครามที่ทำให้อังกฤษชนะสงคราม คือ ชา!!
รู้หรือไม่? หนึ่งในปัจจัยสงครามที่ทำให้อังกฤษชนะสงคราม คือ ชา!!
ในช่วงขณะที่จักรวรรดิอังกฤษนั้น พ่ายแพ้ต่อเยอรมนี และ ญี่ป่นุในช่วงต้นสงคราม อังกฤษได้สูญเสียเส้นทางการปกครองในเอเชียเกือบจะสมบูรณ์ และความพ่ายแพ้ที่ดันเคิร์ก และ การล่มสลายของป้อมปราการในสิงคโปร์ ทำให้อังกฤษนั้นอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าเกือบจะถังแตก! คลังสำรองของพวกเขาไกล้จะหมดลง การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากฝั่งแอตแลนติกทำได้ยากยิ่ง เพราะภัยคุกคามของ U-Boat ของเยอรมัน และ สหรัฐฯปิดเส้นทางพาณิชย์ หลังจากการโจมตีใน Pearl Harbor
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าชานั้น เป็นเครื่องดื่มที่กลายมาเป็นวัฒนธรรมของอังกฤษ นับตั้งแต่มีการนำเข้ามาสู่จักรวรรดินับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยชานั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญไม่ว่าจะทั้งในแง่ของสังคม, การเมือง และ สถานะทางเศรษฐกิจอันสำคัญยิ่งของจักรวรรดิอังกฤษ และยังมีบทบาทสำคัญในแง่ของวัฒนธรรม ค่านิยม ของชาวอังกฤษ
หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมชาอังกฤษที่นำเข้ามาจากอาณานิคมต่างๆทั่วโลก ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ค้ำจุนเศรษฐกิจชาติ และ กำไรของโรงงานต่างๆ รวมไปถึงการสร้างงานให้กับแรงงานทั่วทุกมุมจักรวรรดิ สร้างจักรวรรดิเป็นปึกแผ่น เป็นสังคมสมัยใหม่ และ สร้างรากฐานอันสำคัญของชนชาติอังกฤษมาจวบจนทุกวันนี้ ชานั้นยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และ ยังถือว่าเป็นจิตวิญญาณ และ อัตลักษณ์ที่สำคัญยิ่งของชาวอังกฤษ
แรกเริ่มนั้น ชาถูกพูดถึงในปูมเรือของเยียมบาติสต้า รามูสิโอ ในปี 1559 โดยพูดถึง "เครื่องดื่มชาแห่งประเทศจีน" (chàh-ฉ๋า หรือ ชานั่นเอง) หลังจากได้เดินทางไปยังเมืองจีน และต่อมาก็มีบันทึกของ East India Company ในปี 1615 ซึ่งพูดถึงการค้นพบชาเขียวในประเทศญี่ปุ่น จนปี 1660 เมื่อการค้าอย่างจริงจังเริ่มขึ้น ก็ได้มีการจัดตั้ง Coffeehouses of London และมีการจำหน่ายเครื่องดื่มชาเขียวที่นำเข้าจากจีน ก่อนการปฏิรูปสจวร์ตไม่นาน (Stuart Restoration)
แต่เดิมนั้น ชา เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ใช้เพื่อรักษาอาการปวดหัว, หวัด, วิงเวียน, หอบหืด, มือไม้สั่น ไปจนถึงเป็นยาอายุวัฒนะ ( Nikolas Dirx, Observationes Medicae, 1641, Thomas Garway 1660)
ในศตวรรษที่ 17 ชากลายมาเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นสูง โดยเฉพาะกับข้าราชบริพารหญิงในราชสำนัก ในขณะที่กาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นล่างและชนชั้นแรงงาน (Ellis, Coulton & Maugner 2015) จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 18 จึงมีการกระจายไปไปยังชนชั้นกลาง แต่ยังไม่ไปถึงยังชนชั้นล่างเพราะราคาของชานั้นขึ้นลงอย่างคาดเดาไม่ได้ ด้วยการนำเข้าในปริมาณที่กำหนด และ มูลค่าภาษีต่างๆของราชสำนัก จนมีการกล่าวว่า "ใบชาเพียงหนึ่งปอนด์ มีค่ายิ่งกว่าเพชรยอดมงกุฎเสียอีก"
เมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 18 การเพิ่มการนำเข้าของชาอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างปี 1720-1750 ราคาชาจึงตกลงมาคงที่ และกลายมาเป็นประตูบานสำคัญที่ทำให้ชนชาติอังกฤษเข้าถึงชาในทุกระดับชนชั้นในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 19
อย่างไรก็ดี เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นดังที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าแรก สงครามโลกครั้งที่สองนั้น แตกต่างกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่รบกับบนเพียงทวีปเดียวโดยสิ้นเชิง ยุทธพาหนะต่างๆสามารถปิดกั้นเส้นทางพาณิชย์ได้ โดยเฉพาะทางเรือ และนั่นทำให้ขวัญกำลังใจของชาวอังกฤษลดลงอย่างน่าใจหาย
ในบันทึกปี 1942, รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจครั้งที่แปลกประหลาดที่สุด นั่นคือ พวกเขาได้ตัดสินใจซื้อชา "ทุกประเภท" เท่าที่มีบนโลกใบนี้ (ยกเว้นจากญี่ปุ่่น) ไม่ว่าจะมาหรือน้อยแค่ไหน หรือ แม้มีเพียงปอนด์เดียวก็ตาม!! (GW Keen, 2016)
ปริมาณชาที่จักรวรรดิอังกฤษจัดซื้อนั้น มีปริมาณมหาศาลถึงขั้นเทียบเท่ามูลค่าของกระสุนปืนประจำกาย, กระสุนปืนใหญ่, ระเบิด ที่ใช้ตลอดสงครามเลยทีเดียว
ฝ่ายนาซีเยอรมันนั้นรู้ดีว่า ชา มีผลต่อขวัญกำลังใจของชาวอังกฤษเพียงใด หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่ตกเป็นเป้าโจมตีเมื่อครั้ง Operation Sea Lion คือการถล่ม Mincing Lane หรือ "ถนนแห่งชา" ในลอนดอนด้วย
นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า ชา เป็นอาวุธชนิดหนึ่งของอังกฤษ และเป็นสัญลักษณือันสำคัญในการแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันในชาติผ่านประวัติศาสตร์การค้าอันยาวนานของจักรวรรดิ
ชาเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังทั้งในแง่จิตวิญญาณ และ ในทางกายภาพ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ถึงกับเคยกล่าวว่า "ชานั้นสำคัญยยิ่งกว่ากระสุน" และออกคำสั่งว่า เรือทุกลำต้องไม่ขาดใบชา
ชาสร้างขวัญกำลังใจ ไม่เพียงแต่กับชาวอังกฤษเท่านั้น หลังปี 1942 บันทึกกองทัพอากาศอังกฤษระบุว่า อากาศยานทิ้งระเบิดของอังกฤษทิ้งกล่องบรรจุชากว่า 75,000กล่อง ลงไปยังเนเธอร์แลนด์ โดยในกล่องนั้นมีข้อความว่า "เนเธอร์แลนด์จะผงาดอีกครั้ง จงยืดอกอย่างภูมิในเถิด" ทุกๆกล่องกาชาดกว่า 20ล้านกล่องนั้น จะมีชาTwining ปริมาณอย่างน้อยควอเตอร์ปอนด์เสมอ
ชา เป็นอาวุธของอังกฤษได้อย่างไร?
ชานั้นไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ ชานั้นมีพลังมหาศาลในการแสดงถึงความสงบ และ ผ่อนคลาย แม้อยู่กลางสมรภูมิที่อันตราย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทหารทุกคนควรมี ชานั้นเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยปลอบใจจากความอบอุ่น ลดช่องหว่างระหว่างบุคคล ในสถานพยาบาลหลายแห่ง พยาบาลจะเสิร์ฟชาให้กับทุกคน สร้างความอบอุ่นในกลุ่มผู้หลบภัย, ผู้บาดเจ็บ นำคนแปลกหน้าเข่ามาเป็นมิตรกัน และ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
สำหรับทหาร ชานั้นเป็นหนึ่งในเรชั่น หรือ เสบียงพื้นฐานบรรจุมากในกล่องดีบุกกันน้ำ พร้อมครีมเทียม และน้ำตาล
ชาของทหารอังกฤษมักจะเป็นชาที่มีกลิ่นฉุนและรสชาติค่อนข้างแรงกว่าชาที่แจกในเรชั่นปันส่วนของพลเรือน โดยมากมาจากแคว้นอัสสัม หรือ ซีลอน ในอินเดีย, แอฟริกา หรือ จากจีน
น้ำตาล และ คาเฟอีน ช่วยสร้างความสดชื่น และอารมร์ที่ดีขึ้นแก่ทหารในแนวหน้า อีกทั้งยังช่วยปลอบประโลมจิตใจที่บอบช้ำด้วย
ในปี 2014 ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ให้สัมภาษณ์ในบทความ UK Daily Tea ว่า
"เมื่อคุณเปียก, หนาว และ สิ้นหวัง แต่คุณอยากจะฮึกสู้อีกครั้งแม้ล้าไกล้ตายเต็มทีจากความเหนื่อยอ่อน...คุณอาจจะเปรอะเปื้อนไปด้วยดินโคลน ตัวเหม็นโฉ่ จากการไม่ได้อาบน้ำมาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาจจะทั้งหนาว ทั้งเหนื่อยหมดแรงเต็มที..แต่ชาแก้วร้อนๆแก้วนั้น เหมือนจะช่วยขจัดความรู้สึกเหล่านั้นไปได้...เพื่อทหารเริ่มเล่นมุขในวงดื่มชา ขวัญและกำลังใจของเราก็เริ่มมา ช่างเป็นการกระทำที่เรียบง่ายเหลือเกิน เพียงแค่เราแบ่งปันชาในเหยือกร่วมกันกับสหายศึก ซึ่งก็สภาพย่ำแย่พอๆกับเรา....มันช่างเยี่ยมเหลือเกิน"
1942 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ อังกฤษเริ่มชนะสงคราม....และชามีส่วนช่วยจริงๆ
ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=150649652686078&set=pcb.2690305480997693&type=3&theater&ifg=1
Cr.POSTJUNG
Twinings: เรื่องราวของชายี่ห้อดังยามสงคราม
ชา Twinings นั้นจัดว่าเป็นแบรนด์เครื่องดื่มประเภทชา ที่มีประวัติยาวนานที่สุดยี่ห้อหนึ่ง (มากกว่านี้ก็คงเป็น EIC หรือ East India Company ซึ่งเป็นบริษัทดัทช์) ครอบครัว Twinings ย้ายมาลอนดอนในปี 1684 ก่อน Thomas Twinings จะทำการซื้อโรงเตี๊ยม Tom Coffee House ในปี 1706
ในปีต่อมานี้เอง เขาก็ได้ออกแบบ "สิงโตทองคำ" (Golden Lyon) มาเป็นเครื่องหมายการค้าของร้าน แต่ทว่าโธมัสพบว่าการแข่งขันกันระหว่างโรงเตี๊ยมในกรุงลอนนั้นสูงมาก เขาต้องหาทางแข่งขันให้เร็วที่สุด เขาได้นำใบชาหลายแบบที่มีมาทดลองผสมผสานกัน จนได้ชาสูตรเฉพาะต่างๆที่ดีที่สุด และเริ่มที่จะขายใบชาแห้งมากกว่าแบบชงพร้อมดื่ม
อย่างไรก็ดี ในปีนั้นเอง ภาษีชานั้นบ้าเลือดสติแตกมาก ชาของโธมัสนั้นกล่าวได้ว่า ราคาสูงถึง £160 ต่อ 100กรัม
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาย่อท้อ เขายังคงคุณภาพใบชาของเขาเอาไว้ และในระยะแรก เขาจึงเน้นขายแต่ชนชั้นสูงเป็นหลัก เพื่อให้ร้านสามารถอยู่ได้ และเมื่อมีเงินมากพอ จึงได้ซื้อที่ราวๆสามช่วงตึก ณ เลขที่ 261 Strand ในกรุงลอนดอน อันเป็นสาขาหลักของ Twinings มาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 300ปีแล้ว
อย่างไรก็ดี Twinings ไม่ได้เป็นเพียงยี่ห้อชาเท่านั้น แต่ว่ายังเป็นครอบครัวที่เปลี่ยนวิถีการดื่มชาของชาวอังกฤษด้วย!
ในระหว่างปี 1762-1784 ราคาชานั้นผันผวนอย่างมหาศาล เนื่องจากมีการลักลอบนำเข้าชามาจากฝรั่งเศส และ ฮอลแลนด์อย่างต่อเนื่องเพื่อเลี่ยงภาษี Richard Twinings บุตรคนโตของ Daniel Twinings มองเห็นช่องทางการตลาดในเวลาที่ยากลำบากนี้ ด้วยความที่เขาเป็นคนในสภา และ มีความสนิทกับนายกรัฐมนตรี
William Pitt นายน้อยริชาร์ดได้กล่าวว่า "ภาษีที่สูงเกินไป ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ยอดขายของชาในประเทศของเราจะสูงขึ้น หากภาษีเราต่ำกว่านี้ การตั้งภาษีสูงๆ มีแต่จะส่งเสริมให้มีการลักลอบนำเข้าชามากขึ้น" หลังจากมีการถกเถียงกันในสภาอยู่นาน ในที่สุดก็มีการตั้ง พรบ.การนำเข้าฉบับใหม่ในปี 1784 และเป็นการเปิดโลกใบใหม่ของการดื่มชาให้กับประชาชนคนทั่วไปที่ไม่ต้องซื้อชาราคาแพงอีกแล้ว!
ครอบครัวTwinings ได้รับตราอลัญจกรณ์หลวง จาก สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ในปี 1837 โดยได้รับเลือกให้เป็นชาประจำราชสำนัก
ในปี 1939 เมื่อสงครามโลกอุบัติขึ้น อังกฤษจำเป็นที่จะต้องซื้อชาที่ยังคงมีเหลืออยุ่ทั่วโลกเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และ คงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของประชาชน Twinings เองก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย แต่ถึงกระนั้น ทางครอบครัว Twinings นั้น ไม่ยอมให้สงครามมาทำลายพวกเขา
Twinings เข้าร่วมกับสภากาชาดสากล และ ประกาศแจกจ่ายชาที่พวกเขามีให้กับประชาชนในรูปแบบของ Weekly Rations รัฐได้ก้าวเท้าเข้ามาช่วยอุ้มบริษัท และ เริ่มหาหนทางในการสนับสนุน
ชาของ Twinings จำนวนมากถูกบรรจุหีบห่อส่งไปยังสภากาชาดในยุโรป และ ในเรชั่นของทหารในแนวหน้า อีกทั้ง Twinings ยังถูกบรรจุลงในห่ออาหารของเชลยศึก "เชลยศึกที่ผ่านสงครามมา ก็ควรได้รับความอบอุ่นจากชาของเรา" คือสโลแกนที่สำคัญในช่วงเวลาของสงคราม
หลังสงคราม ชา Twinnings ถูกควบกิจการเข้าไปอยู่ในกลุ่ม ABF (Associated British Foods) แต่ยังคงควบคุมการผลิตโดยครอบครัวTwinings (ปัจจุบันคือ Stephen Twinings ผุ้เป็น ผอ.สายการผลิต, Masterblender และ มวลชนสัมพันธ์)
นี่จึงเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่มีบทบาทมากในทางประวัติศาสตร์ และ ในยามสงครามไม่แพ้สินค้าอีกหลายยี่ห้อเลยทีเดียว
Cr.https://www.facebook.com/2035679030041395/posts/2215539358722027/