เพราะเหตุใดต้องมีเรตติ้ง กทม.

เหตุมาจากการนำเรตติ้งไปใช้ ผู้ใช้ข้อมูลเรตติ้ง คำนึงถึงตัวแปรทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากตัวเลขที่เรานั่งดูกันเพลินๆครับ

จากข้อมูล GDP ต่อประชากร ของแต่ละจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มี GDP ต่อประชากร สูงที่สุด (ข้อมูลปี 2560)
1) ระยอง 91,306 บาทต่อเดือน
2) ชลบุรี 48,456 บาทต่อเดือน
3) กทม. 47,826 บาทต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม การวัด GDP วัดตามสถานที่เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยทางประชากร
โรงงานตั้งอยู่ที่ใด ถือเป็น GDP ของจังหวัดนั้น เช่น โรงงานตั้งที่ ระยอง นับเป็น GDP ที่ระยอง แต่รายได้ส่วนใหญ่ของโรงงานตกกับเจ้าของโรงงานที่อาจมีภูมิลำเนาอยู่ กทม.
ออฟฟิศตั้งอยู่ที่ใด ถือเป็น GDP ของจังหวัดนั้น เช่น ออฟฟิศของบริษัทต่างชาติตั้งอยู่ที่ กทม. นับเป็น GDP ของ กทม. แต่รายได้ส่วนใหญ่ตกแก่ผู้บริหารชาวต่างชาติ หรือเป็นกำไรส่งกลับประเทศต้นทาง

สภาพัฒน์จึงมีการจัดทำข้อมูลตัวเลขที่สะท้อนรายได้ที่แท้จริง เป็นตัวเลขรายได้ต่อครัวเรือน ซึ่งพบว่า จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือน สูงที่สุด (ข้อมูลปี 2560)
1) กทม. 45,707 บาทต่อเดือน
2) ปทุมธานี 41,484 บาทต่อเดือน
3) นนทบุรี 40,861 บาทต่อเดือน
(ระยอง 27,798 บาทต่อเดือน ชลบุรี 27,665 บาทต่อเดือน
ระยองและชลบุรี รายได้ต่อครัวเรือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ)

ทั้งนี้ รายได้ไม่ใช่เหตุผลเดียว สำหรับการแยกเรตติ้ง แต่การแยกเรตติ้งมีประโยชน์สำหรับ Targeted Marketing เช่น หากจะลงโฆษณาขายบ้าน ก็จำเป็นต้องลงในสื่อที่มีผู้ชมในจังหวัดที่บ้านนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น 

โดยนอกจากบริษัทวัดเรตติ้งจะแยกเรตติ้ง กทม. ออกมาแล้ว ยังแยกเรตติ้ง urban และ rural ออกจากกัน และมีการวัดเรตติ้งแยกตามกลุ่มอาชีพ วัย เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่