ทำไมข่าวว่าเมืองนอก เช่น แคนาดา ยุโรป ร้อนจัด แต่เช็คอุณหภูมิจริงๆ ไม่ร้อนขนาดนั้น แสดงว่าแหล่งข่าวแจ้งเว่อร์หรอเนี่ย?

อย่างเมื่อวันเสาร์ ข่าวทีวีว่าแคนาร้อนจัด ที่เมือง Toronto อุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส พอวันนี้เอะใจ เปิดข่าวในเน็ต โถ อุณหภูมิกลางแจ้ง รวมแดดส่องไปแล้ว (ก็แหงล่ะ)

แต่บอกว่าในตัวเมืองจริงๆ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 38 - 44 องศา แต่เมื่อกี้เปิดดู wunderground ประวัติย้อนหลังช่วงประมาณวันที่ 24 - 26 ก.ค ที่ผ่านมา เอ้า แค่ 16 - 30 องศาเอง อะไรกันเนี่ย

ที่ยุโรปก็เหมือนกันพอข่าวออก ร้อนจัดมาก ผ่านไป 2 วัน ลองเช็คข้อมูลจริงๆ ดูซิ อ้าวแค่ 20 - 32 องศาเอง อย่างช่วงอาทิตย์นี้กลายเป็นว่ายุโรปเย็นกว่าเราช่วงหน้าหนาวอีก

เคยอ่านเจอใน pantip นี่แหละ หาไม่เจอแล้วว่า ข่าวที่ออกมา แจ้งตัวเลขรวม real feel หรือความร้อนกลางแจ้งเข้าไปแล้ว เพื่อไรอะ? เพื่อให้ดูร้อนมาก เพื่อให้ดูเหมือนชนะประเทศอื่นหรอ งงมาก แหล่งข่าวไทยก็น่าจะแปลจากข่าวตปท.

แต่ทีหน้าร้อนของเราที่ผ่านมา เรารายงานใกล้เคียงจริงมาก เช่น กทม. สูงสุด 40 องศาเซลเซียส ก็ร้อนแย่ละ จะ real feel (รวมความชื้น) เท่าไหร่ เราไม่สน เพราะถือว่าเป็นปัจจัยแปรผัน (ใช่ปะ) เราใช้ตัวเลขรูปแบบนี้มานานแล้ว แต่พอเป็นประเทศอื่น เขากลับใช้ตัวเลขรวมปัจจัยอื่นไปด้วย ทำให้ดูเหมือนเว่อร์ สูงเกินไป ทำยังกะแคนาดาหน้าร้อน อุณหภูมิสูงเกินสถิติสูงสุดของเมืองไทยไปซะอย่างงั้น

ใครอยู่แถวแคนาดา บอกหน่อยสิ ความจริงเป็นยังไง ขอบคุณครับ
ป.ล ไหนๆ เรื่องนี้แล้ว ถามหน่อย อากาศร้อนจัดที่ยุโรปกะฝั่งอเมริกาเนี่ย คนไทยเกลียดกันหมด แต่ฝรั่งส่วนหนึ่งชอบจิงเปล่า เห็นไปนอนอาบแดด กลิ้งไปมา เหมือนฟินซะเหลือเกิน 55
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่