บทความตามใจฉัน “เล่า World war Z เทียบกับฉบับภาพยนตร์” Part 2
การศึกที่ยอนเกอร์ (Battle of Yonkers) 1
Battle of Yonkers นั้นในฉบับนิยายถือเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดในเรื่อง
เพราะมีเรื่องแนวซอมบี้ไม่กี่เรื่องที่เล่าถึงการปะทะทางทหารอย่างเต็มรูปแบบกับกองทัพซอมบี้
รวมถึงการอธิบายว่าทำไหมกองทัพมนุษย์ถึงไม่สามารถรับมือกับฝูงซอมบี้ได้ซึ่งนี่เป็นจุดพลิกผันสำคัญของเรื่องที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
มากมายในกองทัพและสังคมมนุษย์
เมื่อ wwz ฉบับภาพยนตร์ออกฉาย แฟน ๆ นิยายจำนวนไม่น้อยนั้นต่างรอที่จะดูฉากนี้
แต่ก็ต้องกลับออกจากโรงไปพร้อมความผิดหวังเพราะฉบับภาพยนตร์ไม่มีการพูดถึง Battle of Yonkers
เลยแม้แต่น้อย โดยการปะทะระหว่างทหารกับซอมบี้นั้นฉบับภาพยนตร์เอาไปใส่ในฉากอิสราเอลแตกแทนซึ่งก็ไม่ใช่การรบเต็มรูปแบบอยู่ดี
ทีนี้มาดูฉบับนิยายกันว่าการปะทะระหว่างกองทัพกับซอมบี้เป็นอย่างไร
จุดที่ทำการรบนั้นไม่มีระบุไว้จัดเจนว่าตรงไหนแต่ในนิยายเขียนไว้ว่ากองทัพเลือกที่จะตั้งทัพตรงพื้นที่คอขวดบนถนน
Saw Mill River Parkway โดยทางตะวันตกจะเป็นแม่น้ำฮัดสันและมีการพูดถึงการให้รถถังประจำที่อยู่ที่ร้านชื่อ A&P
ข้อมูลเกี่ยวกับการรบที่ยอนเกอร์นั้น ผู้ให้ข้อมูลคือ Todd Wainio (ทอส เวเนีย)
ซึ่งเป็นอดีตทหารผ่านศึกและเป็นหนึ่งในทหารจำนวนหยิบมือที่รอดชีวิตมาจากยอนเกอร์
การศึกที่ยอนเกอร์นั้นจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของมนุษย์
เป็นศึกที่อับยศที่สุดศึกหนึ่งที่เกิดขึ้นใน wwz และผลจากศึกนี้รุนแรงขนาดเกือบทำให้ฝ่ายมนุษย์แพ้สงครามเลยทีเดียว
ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเกิดอะไรขึ้นในวันนั้นกัน
จากปากคำของ เวเนีย เป้าหมายของศึกนี้นั้น การกำจัดและเอาชนะ G เป็นเพียงเป้าหมายรอง
(จี ชื่อเรียกย่อ ๆ ของ ซอมบี้ที่ใช้กันในหมู่ทหาร บางครั้งก็เรียกว่า แซก)
เป้าหมายหลักคือการแสดงพลังอำนาจทางทหาร
แสดงว่าสถานการณ์ยังอยู่ในความควบคุมและให้ประชาชนสบายใจขึ้นและสงบลง
ดังนั้นจุดประสงค์ของยุทธวิธีที่ใช้จึงไม่ได้เพื่อประสิทธิ์ภาพสูงสุดในการกำจัดข้าศึกแต่เป็นเพื่อแสดงอำนาจที่เหนือกว่าข้าศึกให้ประชาชนเห็น
เริ่มกันที่ยุทโธปกรณ์กันก่อน
ถ้าจะถามว่ากองทัพตอนนั้นเอาอะไรมารบบ้าง “เอามาทุกอย่าง” คือคำตอบของเวเนีย
รถถัง,รถหุ้มเกราะลำเลียงพล, ฮัมวี่ติดอาวุธหนักอย่าง 50cal หรือ ปืนครกหนัก, เฮลิคอปเตอร์จู่โจม, พาราดิน(ปืนใหญ่อัตตาจรรุ่นหนึ่งของอเมริกา),
MLRS(รถยิงจรวดหลายลำกล้อง), JSF(รหัสของ F35 ตอนยังไม่ประจำการ) ฯลฯ
ปัญหาคือ “เอามาทุกอย่าง” นั้นรวมถึงของที่เอามา “เพื่อ?” ด้วย เช่น
มิสไซส์จากพื้นสู่อากาศต่อต้านอากาศยาน, เครื่องรบกวนเรดาห์, รถสะพานแบบพับได้,
ห้องน้ำสนาม(ตอนนั้นน้ำปะปายังไหล ห้องน้ำตามอาคารต่าง ๆ ยังใช้ได้)
“เอามาเพื่อโชว์ ให้ดูดี” เวเนียให้ความเห็น
แม้แต่ทหารราบก็ถูกใช้เพื่อโชว์เช่นกัน
ทางกองทัพให้ทหารราบใส่ชุด MOPP (Mission Oriented Protective Posture)
เป็นชุดป้องกันพิษ, สารเคมี, เชื้อโรคและรังสีต่าง ๆ ที่ทั้งร้อน,อับและอึดอัดระหว่างปฏิบัติหน้าที่
ให้สวมเกราะอกกันกระสุนที่หนาและหนักเข้าไปอีก เวเนียยังบ่นว่าจะใส่ทำไหม ซอมบี้ไม่ได้ใช้ปืนสักหน่อย
ยังไม่พอ ทางกองทัพยังมี Land Warrior combat integration system ให้ใส่อีก
ระบบนี้จะช่วยให้ทหารสามารถเข้าถึงและ Download ข้อมูลการรบต่าง ๆ ได้ เช่น ตำแหน่ง GPS, แผนที่,
ภาพจากกล้องของโดรนหรือดาวเทียม, ตำแหน่งของมิตรและข้าศึก, ภาพจากกล้องติดปืนของตนเองและเพื่อนทหาร,
รวมถึงระบบสื่อสารด้วยภาพและเสียงแบบ Real Time ระหว่างเพื่อนทหารและกองบัญชาการอีกด้วย
“Netrocentric” and “hyperwar” ก่อนรบเวเนียได้ยินนายทหารหลายคนพูดคำนี้บ่อย ๆ กับสื่อ
และนี่ยังไม่รวมยุทโธปกรณ์ขั้นพื้นฐานของทหารราบที่หนักราว ๆ 27 กิโลอีกด้วย
สรุปได้ว่าวันนั้นทหารน่าจะแบกน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 30 กิโลและต้องออกรบในชุดที่ทั้งร้อนอับและอึดอัด
วิบากกรรมของทหารราบที่ยอนเกอร์ก่อนการรบยังไม่จบเพียงเท่านี้
เพื่อเป็นการแสดงอำนาจทางทหารอย่างไรข้อกังขากองทัพจะต้องปะทะกับฝูงซอมบี้แบบชนกันซึ่ง ๆ หน้า
แทนที่จะใช้ความได้เปรียบของพื้นที่ที่มีอาคารสูงอยู่รอบๆ เอาทหารไปประจำบนตึกเหล่านั้น ปิดตายทางเข้าออกแล้วคอยยิงซอมบี้จากที่สูง ชิว ๆ
กองทัพกลับเลือกที่จะวางกำลังทหารราบที่พื้นกลางถนน
ซึ่งทหารเหล่านั้นต้องมาเสียแรงและเวลาเตรียมกระสอบทรายสร้างที่กำบังและตำแหน่งการยิง“ทั้งชุด MOPP”
กลางแดดในวันนั้นที่ดันเป็นวันที่อากาศร้อนจัดมากอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ปั่นทอนกำลังของทหารราบก่อนจะรบจริงไปมาก
“แทบไม่อยากเชื่อเลยว่าจะยังยืนไหวตอนที่ซอมบี้เริ่มมา”
การเลือกที่จะตั้งรับตรงคอขวดคือไอเดียที่ดีเพียงไอเดียเดียวในวันนั้น
เมื่อโชว์แล้วก็ต้องมีคนดู
ยอนเกอร์ในวันนั้นไม่ได้มีเพียงกองทัพทหารเท่านั้นแต่ยังมีกองทัพสื่อมวลชนอีกด้วย
จากมุมมองเวเนียเค้าคาดว่าจำนวนนักข่าวอาจจะมากถึง 2 เท่าของจำนวนทหารเลยทีเดียว
โดยสังเกตเห็นว่าทหาร 1 คนจะมีนักข่าวอย่างน้อย 2 คนตามประกบเสมอ
แน่นอนว่านอกจากนักข่าวในสนามที่ดูอยู่ยังมีประชาชนชาวอเมริกันอาจจะรวมถึงประชาชนจากประเทศอื่น ๆ คอยดูการถ่ายทอดอยู่ด้วย
แผนการรบโดยสังเขปมีดังนี้
ก่อนอื่นกองทัพจะอพยพประชาชนในพื้นที่ตั้งทัพและเขตการรบออกไปก่อนเพื่อวางกำลังและกำหนดแนวยิง
จากนั้นกองทัพจะเริ่มอพยพผู้คนที่ติดอยู่ในฝูงซอมบี้ทางใต้ของยอนเกอร์ออกมาเป้าหมายเพื่อล่อซอมบี้
ผู้อพยพและทีมช่วยเหลือจะหนีมาทาง Saw Mill River Parkway ที่กองทัพตั้งอยู่
ล่อฝูงซอมบี้เข้ามาในระยะสังหาร จากนั้นกองทัพจะรับหน้าที่กำจัดฝูงซอมบี้ที่ถูกล่อออกมาทั้งหมด
แนวรับที่ 1 จะเป็นการระดมยิงจากระยะไกลด้วย MLRS และพาราดิน
ซอมบี้ระลอกแรกที่เข้ามาในระยะยิงนั้นมีจำนวนประมาณ 30-50 ตัว
กองทัพก็เลยประเดิมโดนการยิงจรวดหัว cluster bomb จาก MLRS ใส่
แถมยังมีโชคช่วยเพราะเมื่อระเบิดตกกระทบและระเบิดนั้นถังน้ำมันที่อยู่ในรถจำนวนมากที่ถูกจอดทิ้งไว้กลางถนนก็ระเบิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
เพิ่มพลังทำลายเข้าไปอีก
ซอมบี้กลุ่มนี้ถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ ชิ้นส่วนกระเด็นไปในอากาศ ผลคือกำจัดซอมบี้ไปได้ราว ๆ 3 ใน 4
ของทั้งหมด เวเนียให้ความเห็นว่าผลที่ออกมานั้นจริง ๆ แล้วฝ่ายกองทัพควรจะต้องเริ่มกังวลแล้วแต่ก็ช่วยไม่ได้เพราะตอนนั้นไม่มีเวลาที่จะมากังวัล
การโจมตีที่รุนแรงขนาดนี้ควรจะกำจัดซอมบี้ได้ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ 3 ใน 4
ตรงนี้กองทัพอเมริกาได้เรียนรู้แล้วว่าการจะหยุดซอมบี้ได้จะต้องทำลายสมองเท่านั้น ตราบใดที่สมองยังอยู่
แม้ร่างกายจะเสียหายขนาดไหน ไหม้เกรียมแค่ไหน ต่อให้เหลือแต่หัว ซอมบี้ก็ยังขยับปากได้ยังกัดได้
หลังจากนั้นระลอกต่อไปที่จำนวนมากกว่าระลอกแรกมากก็เริ่มก็เข้ามา
การโจมตีจาก MLRS ถูกลดพลังทำลายลงเพราะไม่มีถังน้ำมันเหลือที่จะทำให้เกิดระเบิดลูกโซ่อีกแล้ว
ประกอบกับฝูงซอมบี้มีจำนวนมากและเกาะกลุ่มกันหนาแน่นจนซอมบี้แต่ละตัวนั้นกลายเป็นโล่ให้กันละกันยิ่งลดพลังทำลายลงไปอีก
จากนั้น พาราดินก็เริ่มยิงปืนใหญ่
เป็นกระสุนหัวระเบิดแรงสูง (HE) ผลที่ได้นั้นน้อยว่าที่ MLRS ทำได้เสียอีก
โดยเวเนียอธิบายว่ามนุษย์นั้นเมื่ออยู่ใกล้แรงระเบิดที่รุนแรงจะเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเช่น
balloon effect หรือ Sudden Nerve Trauma (SNT) ที่ทำให้หมดสติหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
แต่ซอมบี้ไม่มีสิ่งที่ว่ามาเกิดขึ้น
การจะหยุดซอมบี้นั้นต้องทำสร้างความเสียหายจากแรงปะทะของอาวุธทางกายภาพโดยตรงเท่านั้น
จากนั้นฝูงซอมบี้ก็ทะลุผ่านการระดมยิงจากแนวรับที่ 1 อย่างช้า ๆ มายังแนวรับที่ 2
แนวรับที่ 2 จะเป็นการระดมยิงอาวุธหนักจากยานเกราะต่าง ๆ ทั้งปืนใหญ่จากรถถัง, ปืนครก, เครื่องยิงลูกระเบิด, chain guns ฯลฯ
รวมถึงการยิงสนับสนุนจาก ฮ.จู่โจมด้วยปืนติด ฮ., จรวด Hellfires และ จรวด Hydra
เวเนียเล่าว่าภาพที่เห็นนั้นคือเศษเนื้อปลิวกระเด็นเหมือนขี้เลื่อยที่ฟุ้งไปในอากาศตอนโรงเลื่อยเลื่อยไม้
การโจมตีในแนวรับนี้ได้ผลเพราะห่ากระสุนและระเบิดที่ยิงออกไปทำลายร่างกายทั้งหมดรวมถึงสมองด้วย
แต่ก็ไม่นานนัก
เวเนียอธิบายว่า “ไฟเริ่มมอด”
กระสุนเริ่มหมด
เมื่อเล่าถึงตรงนี้ เวเนียเล่าต่อด้วยความโกรธและหัวเสียมาก
ด่ากราดนายทหาร นายพล นักวิชาการทางทหาร ว่าไม่มีไอ้หน้าไหนเลยที่จะชุกคิดว่าอาวุธที่เอามาหมดคลังนั้นได้เตรียมกระสุนพอที่จะใช้ได้จนจบปฏิบัติการณ์รึเปล่า
แถมยังหัวเสียได้อีกเมื่อพูดถึงกระสุนที่โหลดใส่รถถังมาเพราะรถถังทุกคันโหลดกระสุนเจาะเกราะเช่นHEAT กับ SABOT มา
ซึ่งกระสุนพวกนี้มันใช้ไม่ได้ผลกับกองทัพซอมบี้โดยสิ้นเชิง
เวเนียเล่าว่าเห็นรถถังยิงปืนใหญ่ใส่ฝูงซอมบี้แล้ว “ต๋อม” ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
“absolutely ass-all result!” เวเนียกล่าว
แปลไทยได้ประมาณ “ไม่ได้เกิด here อะไรเลย”
และเหมือนตลกร้าย รถถังแต่ละคันโหลดกระสุนลูกปรายต่อต้านบุคคลมาด้วย
มันอาจจะไม่ได้ Perfect แต่อย่างน้อยกระสุนนี้ก็ยังใช้กับฝูงซอมบี้ได้ผล
แต่เวเนียบอกว่ารถถังแต่ละคันบรรทุกกระสุนนี้มาเพียง 3 นัด
3 จากจำนวนกระสุนที่บรรทุกได้ทั้งหมด 40 นัด
“Goddammit!”
กระสุนเริ่มหมด ฝูงซอมบี้เคลื่อนเข้ามาอย่างช้า ๆ เสียงร้องของซอมบี้เริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ
เวเนียเล่าว่าเค้ารู้สึกได้จากเสียงสั่งการของผู้บังคับหมู่
จากภาษากายของเพื่อนทหารที่อยู่ใกล้ ๆ ว่าพวกเค้ากำลังสถบรัว ๆ ในใจด้วยความกลัว
“Oh shit, oh shit.”
to be continued in Part 3 “การศึกที่ยอนเกอร์ (Battle of Yonkers) 2”
“ถ้าเรามีคนมากกว่านี้ กระสุนมากกว่านี้ ถ้าพวกนายพลปล่อยให้เราทำงานอย่างเหมาะสมกว่านี้”
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “เล่า World war Z เทียบกับฉบับภาพยนตร์” Part 2
Battle of Yonkers นั้นในฉบับนิยายถือเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดในเรื่อง
เพราะมีเรื่องแนวซอมบี้ไม่กี่เรื่องที่เล่าถึงการปะทะทางทหารอย่างเต็มรูปแบบกับกองทัพซอมบี้
รวมถึงการอธิบายว่าทำไหมกองทัพมนุษย์ถึงไม่สามารถรับมือกับฝูงซอมบี้ได้ซึ่งนี่เป็นจุดพลิกผันสำคัญของเรื่องที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
มากมายในกองทัพและสังคมมนุษย์
เมื่อ wwz ฉบับภาพยนตร์ออกฉาย แฟน ๆ นิยายจำนวนไม่น้อยนั้นต่างรอที่จะดูฉากนี้
แต่ก็ต้องกลับออกจากโรงไปพร้อมความผิดหวังเพราะฉบับภาพยนตร์ไม่มีการพูดถึง Battle of Yonkers
เลยแม้แต่น้อย โดยการปะทะระหว่างทหารกับซอมบี้นั้นฉบับภาพยนตร์เอาไปใส่ในฉากอิสราเอลแตกแทนซึ่งก็ไม่ใช่การรบเต็มรูปแบบอยู่ดี
ทีนี้มาดูฉบับนิยายกันว่าการปะทะระหว่างกองทัพกับซอมบี้เป็นอย่างไร
จุดที่ทำการรบนั้นไม่มีระบุไว้จัดเจนว่าตรงไหนแต่ในนิยายเขียนไว้ว่ากองทัพเลือกที่จะตั้งทัพตรงพื้นที่คอขวดบนถนน
Saw Mill River Parkway โดยทางตะวันตกจะเป็นแม่น้ำฮัดสันและมีการพูดถึงการให้รถถังประจำที่อยู่ที่ร้านชื่อ A&P
ข้อมูลเกี่ยวกับการรบที่ยอนเกอร์นั้น ผู้ให้ข้อมูลคือ Todd Wainio (ทอส เวเนีย)
ซึ่งเป็นอดีตทหารผ่านศึกและเป็นหนึ่งในทหารจำนวนหยิบมือที่รอดชีวิตมาจากยอนเกอร์
การศึกที่ยอนเกอร์นั้นจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของมนุษย์
เป็นศึกที่อับยศที่สุดศึกหนึ่งที่เกิดขึ้นใน wwz และผลจากศึกนี้รุนแรงขนาดเกือบทำให้ฝ่ายมนุษย์แพ้สงครามเลยทีเดียว
ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเกิดอะไรขึ้นในวันนั้นกัน
จากปากคำของ เวเนีย เป้าหมายของศึกนี้นั้น การกำจัดและเอาชนะ G เป็นเพียงเป้าหมายรอง
(จี ชื่อเรียกย่อ ๆ ของ ซอมบี้ที่ใช้กันในหมู่ทหาร บางครั้งก็เรียกว่า แซก)
เป้าหมายหลักคือการแสดงพลังอำนาจทางทหาร
แสดงว่าสถานการณ์ยังอยู่ในความควบคุมและให้ประชาชนสบายใจขึ้นและสงบลง
ดังนั้นจุดประสงค์ของยุทธวิธีที่ใช้จึงไม่ได้เพื่อประสิทธิ์ภาพสูงสุดในการกำจัดข้าศึกแต่เป็นเพื่อแสดงอำนาจที่เหนือกว่าข้าศึกให้ประชาชนเห็น
เริ่มกันที่ยุทโธปกรณ์กันก่อน
ถ้าจะถามว่ากองทัพตอนนั้นเอาอะไรมารบบ้าง “เอามาทุกอย่าง” คือคำตอบของเวเนีย
รถถัง,รถหุ้มเกราะลำเลียงพล, ฮัมวี่ติดอาวุธหนักอย่าง 50cal หรือ ปืนครกหนัก, เฮลิคอปเตอร์จู่โจม, พาราดิน(ปืนใหญ่อัตตาจรรุ่นหนึ่งของอเมริกา),
MLRS(รถยิงจรวดหลายลำกล้อง), JSF(รหัสของ F35 ตอนยังไม่ประจำการ) ฯลฯ
ปัญหาคือ “เอามาทุกอย่าง” นั้นรวมถึงของที่เอามา “เพื่อ?” ด้วย เช่น
มิสไซส์จากพื้นสู่อากาศต่อต้านอากาศยาน, เครื่องรบกวนเรดาห์, รถสะพานแบบพับได้,
ห้องน้ำสนาม(ตอนนั้นน้ำปะปายังไหล ห้องน้ำตามอาคารต่าง ๆ ยังใช้ได้)
“เอามาเพื่อโชว์ ให้ดูดี” เวเนียให้ความเห็น
แม้แต่ทหารราบก็ถูกใช้เพื่อโชว์เช่นกัน
ทางกองทัพให้ทหารราบใส่ชุด MOPP (Mission Oriented Protective Posture)
เป็นชุดป้องกันพิษ, สารเคมี, เชื้อโรคและรังสีต่าง ๆ ที่ทั้งร้อน,อับและอึดอัดระหว่างปฏิบัติหน้าที่
ให้สวมเกราะอกกันกระสุนที่หนาและหนักเข้าไปอีก เวเนียยังบ่นว่าจะใส่ทำไหม ซอมบี้ไม่ได้ใช้ปืนสักหน่อย
ยังไม่พอ ทางกองทัพยังมี Land Warrior combat integration system ให้ใส่อีก
ระบบนี้จะช่วยให้ทหารสามารถเข้าถึงและ Download ข้อมูลการรบต่าง ๆ ได้ เช่น ตำแหน่ง GPS, แผนที่,
ภาพจากกล้องของโดรนหรือดาวเทียม, ตำแหน่งของมิตรและข้าศึก, ภาพจากกล้องติดปืนของตนเองและเพื่อนทหาร,
รวมถึงระบบสื่อสารด้วยภาพและเสียงแบบ Real Time ระหว่างเพื่อนทหารและกองบัญชาการอีกด้วย
“Netrocentric” and “hyperwar” ก่อนรบเวเนียได้ยินนายทหารหลายคนพูดคำนี้บ่อย ๆ กับสื่อ
และนี่ยังไม่รวมยุทโธปกรณ์ขั้นพื้นฐานของทหารราบที่หนักราว ๆ 27 กิโลอีกด้วย
สรุปได้ว่าวันนั้นทหารน่าจะแบกน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 30 กิโลและต้องออกรบในชุดที่ทั้งร้อนอับและอึดอัด
วิบากกรรมของทหารราบที่ยอนเกอร์ก่อนการรบยังไม่จบเพียงเท่านี้
เพื่อเป็นการแสดงอำนาจทางทหารอย่างไรข้อกังขากองทัพจะต้องปะทะกับฝูงซอมบี้แบบชนกันซึ่ง ๆ หน้า
แทนที่จะใช้ความได้เปรียบของพื้นที่ที่มีอาคารสูงอยู่รอบๆ เอาทหารไปประจำบนตึกเหล่านั้น ปิดตายทางเข้าออกแล้วคอยยิงซอมบี้จากที่สูง ชิว ๆ
กองทัพกลับเลือกที่จะวางกำลังทหารราบที่พื้นกลางถนน
ซึ่งทหารเหล่านั้นต้องมาเสียแรงและเวลาเตรียมกระสอบทรายสร้างที่กำบังและตำแหน่งการยิง“ทั้งชุด MOPP”
กลางแดดในวันนั้นที่ดันเป็นวันที่อากาศร้อนจัดมากอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ปั่นทอนกำลังของทหารราบก่อนจะรบจริงไปมาก
“แทบไม่อยากเชื่อเลยว่าจะยังยืนไหวตอนที่ซอมบี้เริ่มมา”
การเลือกที่จะตั้งรับตรงคอขวดคือไอเดียที่ดีเพียงไอเดียเดียวในวันนั้น
เมื่อโชว์แล้วก็ต้องมีคนดู
ยอนเกอร์ในวันนั้นไม่ได้มีเพียงกองทัพทหารเท่านั้นแต่ยังมีกองทัพสื่อมวลชนอีกด้วย
จากมุมมองเวเนียเค้าคาดว่าจำนวนนักข่าวอาจจะมากถึง 2 เท่าของจำนวนทหารเลยทีเดียว
โดยสังเกตเห็นว่าทหาร 1 คนจะมีนักข่าวอย่างน้อย 2 คนตามประกบเสมอ
แน่นอนว่านอกจากนักข่าวในสนามที่ดูอยู่ยังมีประชาชนชาวอเมริกันอาจจะรวมถึงประชาชนจากประเทศอื่น ๆ คอยดูการถ่ายทอดอยู่ด้วย
แผนการรบโดยสังเขปมีดังนี้
ก่อนอื่นกองทัพจะอพยพประชาชนในพื้นที่ตั้งทัพและเขตการรบออกไปก่อนเพื่อวางกำลังและกำหนดแนวยิง
จากนั้นกองทัพจะเริ่มอพยพผู้คนที่ติดอยู่ในฝูงซอมบี้ทางใต้ของยอนเกอร์ออกมาเป้าหมายเพื่อล่อซอมบี้
ผู้อพยพและทีมช่วยเหลือจะหนีมาทาง Saw Mill River Parkway ที่กองทัพตั้งอยู่
ล่อฝูงซอมบี้เข้ามาในระยะสังหาร จากนั้นกองทัพจะรับหน้าที่กำจัดฝูงซอมบี้ที่ถูกล่อออกมาทั้งหมด
แนวรับที่ 1 จะเป็นการระดมยิงจากระยะไกลด้วย MLRS และพาราดิน
ซอมบี้ระลอกแรกที่เข้ามาในระยะยิงนั้นมีจำนวนประมาณ 30-50 ตัว
กองทัพก็เลยประเดิมโดนการยิงจรวดหัว cluster bomb จาก MLRS ใส่
แถมยังมีโชคช่วยเพราะเมื่อระเบิดตกกระทบและระเบิดนั้นถังน้ำมันที่อยู่ในรถจำนวนมากที่ถูกจอดทิ้งไว้กลางถนนก็ระเบิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
เพิ่มพลังทำลายเข้าไปอีก
ซอมบี้กลุ่มนี้ถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ ชิ้นส่วนกระเด็นไปในอากาศ ผลคือกำจัดซอมบี้ไปได้ราว ๆ 3 ใน 4
ของทั้งหมด เวเนียให้ความเห็นว่าผลที่ออกมานั้นจริง ๆ แล้วฝ่ายกองทัพควรจะต้องเริ่มกังวลแล้วแต่ก็ช่วยไม่ได้เพราะตอนนั้นไม่มีเวลาที่จะมากังวัล
การโจมตีที่รุนแรงขนาดนี้ควรจะกำจัดซอมบี้ได้ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ 3 ใน 4
ตรงนี้กองทัพอเมริกาได้เรียนรู้แล้วว่าการจะหยุดซอมบี้ได้จะต้องทำลายสมองเท่านั้น ตราบใดที่สมองยังอยู่
แม้ร่างกายจะเสียหายขนาดไหน ไหม้เกรียมแค่ไหน ต่อให้เหลือแต่หัว ซอมบี้ก็ยังขยับปากได้ยังกัดได้
หลังจากนั้นระลอกต่อไปที่จำนวนมากกว่าระลอกแรกมากก็เริ่มก็เข้ามา
การโจมตีจาก MLRS ถูกลดพลังทำลายลงเพราะไม่มีถังน้ำมันเหลือที่จะทำให้เกิดระเบิดลูกโซ่อีกแล้ว
ประกอบกับฝูงซอมบี้มีจำนวนมากและเกาะกลุ่มกันหนาแน่นจนซอมบี้แต่ละตัวนั้นกลายเป็นโล่ให้กันละกันยิ่งลดพลังทำลายลงไปอีก
จากนั้น พาราดินก็เริ่มยิงปืนใหญ่
เป็นกระสุนหัวระเบิดแรงสูง (HE) ผลที่ได้นั้นน้อยว่าที่ MLRS ทำได้เสียอีก
โดยเวเนียอธิบายว่ามนุษย์นั้นเมื่ออยู่ใกล้แรงระเบิดที่รุนแรงจะเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเช่น
balloon effect หรือ Sudden Nerve Trauma (SNT) ที่ทำให้หมดสติหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
แต่ซอมบี้ไม่มีสิ่งที่ว่ามาเกิดขึ้น
การจะหยุดซอมบี้นั้นต้องทำสร้างความเสียหายจากแรงปะทะของอาวุธทางกายภาพโดยตรงเท่านั้น
จากนั้นฝูงซอมบี้ก็ทะลุผ่านการระดมยิงจากแนวรับที่ 1 อย่างช้า ๆ มายังแนวรับที่ 2
แนวรับที่ 2 จะเป็นการระดมยิงอาวุธหนักจากยานเกราะต่าง ๆ ทั้งปืนใหญ่จากรถถัง, ปืนครก, เครื่องยิงลูกระเบิด, chain guns ฯลฯ
รวมถึงการยิงสนับสนุนจาก ฮ.จู่โจมด้วยปืนติด ฮ., จรวด Hellfires และ จรวด Hydra
เวเนียเล่าว่าภาพที่เห็นนั้นคือเศษเนื้อปลิวกระเด็นเหมือนขี้เลื่อยที่ฟุ้งไปในอากาศตอนโรงเลื่อยเลื่อยไม้
การโจมตีในแนวรับนี้ได้ผลเพราะห่ากระสุนและระเบิดที่ยิงออกไปทำลายร่างกายทั้งหมดรวมถึงสมองด้วย
แต่ก็ไม่นานนัก
เวเนียอธิบายว่า “ไฟเริ่มมอด”
กระสุนเริ่มหมด
เมื่อเล่าถึงตรงนี้ เวเนียเล่าต่อด้วยความโกรธและหัวเสียมาก
ด่ากราดนายทหาร นายพล นักวิชาการทางทหาร ว่าไม่มีไอ้หน้าไหนเลยที่จะชุกคิดว่าอาวุธที่เอามาหมดคลังนั้นได้เตรียมกระสุนพอที่จะใช้ได้จนจบปฏิบัติการณ์รึเปล่า
แถมยังหัวเสียได้อีกเมื่อพูดถึงกระสุนที่โหลดใส่รถถังมาเพราะรถถังทุกคันโหลดกระสุนเจาะเกราะเช่นHEAT กับ SABOT มา
ซึ่งกระสุนพวกนี้มันใช้ไม่ได้ผลกับกองทัพซอมบี้โดยสิ้นเชิง
เวเนียเล่าว่าเห็นรถถังยิงปืนใหญ่ใส่ฝูงซอมบี้แล้ว “ต๋อม” ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
“absolutely ass-all result!” เวเนียกล่าว
แปลไทยได้ประมาณ “ไม่ได้เกิด here อะไรเลย”
และเหมือนตลกร้าย รถถังแต่ละคันโหลดกระสุนลูกปรายต่อต้านบุคคลมาด้วย
มันอาจจะไม่ได้ Perfect แต่อย่างน้อยกระสุนนี้ก็ยังใช้กับฝูงซอมบี้ได้ผล
แต่เวเนียบอกว่ารถถังแต่ละคันบรรทุกกระสุนนี้มาเพียง 3 นัด
3 จากจำนวนกระสุนที่บรรทุกได้ทั้งหมด 40 นัด
“Goddammit!”
กระสุนเริ่มหมด ฝูงซอมบี้เคลื่อนเข้ามาอย่างช้า ๆ เสียงร้องของซอมบี้เริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ
เวเนียเล่าว่าเค้ารู้สึกได้จากเสียงสั่งการของผู้บังคับหมู่
จากภาษากายของเพื่อนทหารที่อยู่ใกล้ ๆ ว่าพวกเค้ากำลังสถบรัว ๆ ในใจด้วยความกลัว
“Oh shit, oh shit.”
to be continued in Part 3 “การศึกที่ยอนเกอร์ (Battle of Yonkers) 2”
“ถ้าเรามีคนมากกว่านี้ กระสุนมากกว่านี้ ถ้าพวกนายพลปล่อยให้เราทำงานอย่างเหมาะสมกว่านี้”
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ https://www.facebook.com/uptomejournal/