กระทู้นี้เกิดจากเมื่อเดือนที่แล้วผมซื้อโน้ตบุ๊ค ASUS VivoBook X512DA สำหรับตัวเอง และต่อมาก็ได้ซื้อ Lenovo IdeaPad L340 ให้แฟน เมื่อได้ลองได้เล่นทั้งสองตัว เลยต้องการจะแชร์ข้อมูลให้เพื่อน ๆ ได้รู้ครับ โดยกระทู้เต็มสำหรับโน้ตบุ๊ค 2 ตัวนี้สามารถเข้าไปอ่านได้ที่
https://ppantip.com/topic/39025952 และ
https://ppantip.com/topic/39084271
วันนี้ผมจะนำโน้ตบุ๊ค 2 ตัวนั้นมาทดสอบกัน สเปคคร่าว ๆ ดังนี้ครับ
Lenovo IdeaPad L340
ซีพียู Core i3-8145U 2.1 – 3.9 Ghz 2 คอร์ 4 เธรด
แรม 8 GB 2400 Mhz
SSD 128 GB M.2 SATA
HDD 2 TB 5400 rpm
ราคา 14,286 บาทรวมอัพเกรด
ASUS VivoBook X512DA
ซีพียู Ryzen 5 3500U 2.1 – 3.7 Ghz 4 คอร์ 8 เธรด
แรม 20 GB 2400 Mhz
SSD 250 GB M.2 NVMe
HDD 1 TB 5400 rpm
ราคา 18,910 บาทรวมอัพเกรด
การทดสอบนั้นเริ่มแรก ทดสอบเปิดเครื่อง
Lenovo ใช้เวลา 16 วินาที
ASUS ใช้เวลา 10 วินาที
ต่อมาจับเวลาเข้าโปรแกรม
MS Word 2019 Lenovo ใช้เวลา 4 วินาที ASUS ใช้เวลา 4 วินาที
Google Chrome Lenovo ใช้เวลา 6 วินาที ASUS ใช้เวลา 7 วินาที
SolidWorks 2019 Lenovo ใช้เวลา 13 วินาที ASUS ใช้เวลา 25 วินาที
ROV ผ่าน BlueStacks Lenovo ใช้เวลา 18 วินาที ASUS ใช้เวลา 23 วินาที
จากนั้น ทดสอบเล่นไฟล์ 4K เพื่อดูเปอร์เซ็นต์การใช้ CPU และ GPU
Lenovo ใช้ซีพียูประมาณ 35% การ์ดจอ 80%
ASUS ใช้ซีพียูประมาณ 20% การ์ดจอ 50%
ต่อด้วยเบิร์นซีพียู 1 นาที เพื่อดูอุณหภูมิ
Lenovo ที่โหลด 100% อุณภูมิซีพียูสูงสุด 88 องศา
ASUS ที่โหลด 100% อุณภูมิซีพียูสูงสุด 91 องศา
เทสด้วยโปรแกรม Geek Bench จะเห็นได้ว่าคะแนน Single Core ของ i3 มากกว่า Ryzen 5 ถึง 24.5% ส่วนฝั่ง Multi Core คะแนน Ryzen 5 มากกว่า i3 แต่ก็ห่างกันไม่มาก เพียง 6.9% เท่านั้น
เทสการ์ดจอภายในต่อ คราวนี้ Ryzen 5 กลับมานำ ด้วยคะแนนที่มากกว่า i3 ถึง 55%
ผลเทสซีพียูจากโปรแกรม CPU-Z
ต่อมาผมทดสอบการแปลงไฟล์วิดีโอ 4K ไปเป็น AVI ด้วยใช้โปรแกรม Format Factory วิดีโอยาว 3 นาที 34 วินาที
Lenovo ใช้เวลา 20 นาที 31 วินาที
ASUS ใช้เวลา 21 นาที 10 วินาที
ต่อมาตัดวิดีโอเหลือ 30 วินาที แล้วแปลงด้วยโปรแกรม Xilisoft Video Converter Ultimate
Lenovo ใช้เวลา 2 นาที 29 วินาที
ASUS ใช้เวลา 3 นาที 30 วินาที
ตรงนี้ผมสังเกตว่า i3 2 คอร์ ซีพียูวิ่ง 70-80% ทั้งสองคอร์ แต่ Ryzen 5 ซี่งมี 4 คอร์ ซีพียูวิ่ง 3 คอร์ 45-55% อีก 1 คอรืไม่กระดิกเลย 0-1% ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมมันไม่วิ่งเต็ม 4 คอร์ เป็นเพราะโปรแกรมรึเปล่า หรือถูกลดความเร็วลงเพราะระบบระบายความร้อนไม่ดี ทำให้บูทความเร็วไม่ขึ้น
จากการทดสอบข้างต้น จะเห็นว่า lenovo ค่อนข้างนำในหลาย ๆ ด้าน ปัจจัยหลักมาจากซีพียูนั่นเอง แม้แรมจะน้อยกว่า SSD ช้ากว่า แต่โหลดไฟล์เข้าโปรแกรมได้เร็วกว่า ผมลองไปตั้งกระทู้ถามในเว็บ overclock zone ว่า 2 ซีพียูนี้ ตัวไหนน่าเล่นมากกว่ากัน ทุกท่านต่างบอกให้เลือก i3 มีท่านหนึ่งให้เหตุผลว่า ค่า Latency ของซีพียูตัวนี้ต่างกันเกือบ 2 เท่า (ของ i3 น้อยกว่า) ซึ่งผมเองก็ไม่เข้าใจว่าค่า Latency มันคืออะไร คุ้น ๆ ว่าน่าจะเกี่ยวกับแรม เดาว่าน่าจะเป็นเวลาการเข้าถึงแรม ประมาณว่า i3 ใช้เวลาเข้าถึงแรมน้อยกว่า จึงโหลดอะไรได้เร็วกว่า ส่วน ASUS ที่มาพร้อม Ryzen 5 3500U ความแรงยังน้อยกว่า i3 ตัวนี้ ทั้งที่หลายเว็บบอกว่าเทียบเคียงกับ i5 ถ้าอิงตามคะแนน Single Core ซีพียู i3 ตัวนี้ เร็วกว่า Ryzen 5 ถึง 24% ตัว Ryzen 5 มีดีเพียงการ์ดจอภายในที่แรงกว่า จะเห็นได้ว่าตอนเทสเล่นไฟล์ 4K ASUS จะใช้ซีพียูกับการ์ดจอน้อยกว่า lenovo และผลเทสการ์ดจอก็แรงมากกว่าถึง 1.5 เท่า แม้จะมีจุดเด่นเรื่องนี้ ก็ไม่ใช่จุดเด่นที่น่าขาย เพราะคนที่หาโน้ตบุ๊คเล่นเกมก็คงมองข้ามไปเอารุ่นที่มีการ์ดจอแยก ในราคาที่เท่ากัน ตัว i3 จึงน่าเล่นกว่า
ครับ ก็มีเท่านี้สำหรับการทดสอบที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความเร็ว ของตัวเครื่อง ข้อแตกต่างอื่น ๆ ระหว่าง 2 เครื่องนี้ ผมขอแจกแจงเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. เรื่องการอัพเกรด
ASUS ตัวนี้ก่อนอัพเกรดไม่มี SSD แรมมา 4 กิ๊ก มีสล็อทว่างให้อีก ซึ่งก็ดี เราสามารถเลือกขนาดแรม เลือกยี่ห้อ SSD ใส่เพิ่มได้ การอัพเกรดต้องดูแรม แนะนำยี่ห้อ G.Skill เพราะผมใส่แล้ว ใช้งานได้ ไม่มีจอฟ้า ส่วน SSD ก็ดูความเร็ว ดูยี่ห้อหน่อย แนะนำ Transcend 220S หรือไม่ก็ Corsair MP510 ราคาถูก ความเร็วสูง ส่วน Lenovo มาครบ ทั้งแรม 8 กิ๊ก SSD M.2 SATA 128 กิ๊ก ขาดก็แค่ฮาร์ดดิสเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ยาก มีถาดยึด มีพอร์ตอยู่แล้ว ซื้อฮาร์ดดิส 2.5 นิ้ว มาใส่ได้เลย แต่แอบเสียดายที่แรมน่าจะฝังมา แล้วมีอีกสล็อทเหมือน ASUS จะได้มีช่องสำหรับเพิ่มแรม เพราะตอนนี้มันมีช่องแรมช่องเดียว แรมที่มีมาก็เป็นแรม 8 กิ๊ก 1 แถว จะอัพเพิ่มก็ต้องถอดของเก่าออก
2. เสียง
ASUS เสียงกระหึ่มมาก มีเสียงเบส เสียงกลาง เล่นเกมส์ ดูหนัง ไม่ต้องต่อลำโพงเลย แต่เปิดสุดบางเพลงเสียงแตก ส่วน Lenovo เสียงพอดี ฟังสบาย แต่ไม่กระหึ่มเท่า ASUS
3. แป้นพิมพ์
ASUS แป้นพิมพ์ไม่โอเคเท่าไหร่ ปุ่มกดไม่นิ่ม รู้สึกติดขัด การตัดปุ่มดูไม่เนียน การวางตำแหน่งแป้นตัวเลขแปลก ๆ ส่วน Lenovo ปุ่มกดนุ่ม กดง่าย ปุ่มใหญ่ ช่องห่างพอดี เหมาะกับงานพิมพ์สุด ๆ ตัวอักษรดูคมกว่าเล็กน้อย
4. จอ
จอทั้งสองเป็นจอด้าน ความละเอียดเท่ากัน เปิดวิดีโอลองสี ปรากฏว่าจอของ ASUS สีสวยกว่า สดกว่า ขณะที่ Lenovo จะดูหมอง ไม่สดเหมือน ASUS และไม่ค่อยสู้แสง ถ้าออกข้างนอกกลางแจ้งมองไม่เห็นแน่ ถ้าใช้งานในร่มไม่มีปัญหา ผมพยายามลองปรับค่าในวินโดว์ดูก็พอช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นส่วนเล็กน้อยจริง ๆ ใช้งานเอกสาร เขียนแบบ เล่นเน็ต เล่นเฟส ดูไปไม่ต่างกัน จะเห็นความต่างขึ้นเมื่อดูภาพยนตร์ชัด ๆ และเล่นเกม อันนี้สีทาง ASUS สีจะสวยกว่า
ความคิดเห็นส่วนตัว
สำหรับผมแล้ว ผมให้ Lenovo L340 ชนะ เพราะว่าเป็นโน้ตบุ๊คที่คุ้มมาก สเปคดี ในงบ 14,000 ได้ซีพียู i3 เจน 8 แรม 8 SSD 128 กิ๊ก ฮาร์ดดิสอีก 2 TB จะเอาไปใช้งานเอกสาร ดูหนัง ฟังเพลงก็ดี หรือใช้เขียนแบบก็แจ่ม ซีพียู แรม เอาอยู่ ผมเทสกับ Solidwork แล้ว ลื่นมาก เกมออนไลน์อย่าง ROV ก็เล่นได้ไม่สะดุด ซีพียูแรงดี ผมยังแอบเสียดายเลยที่ซื้อ ASUS ซะก่อน เพราะเคยใช้ i7 มาก่อน เลยมองข้าม i3 ไป แต่ที่ไหนได้ i3 ตัวนี้แรงกว่า i7 ที่ผมเคยใช้ซะอีก ขอแลกกับแฟน แฟนก็ไม่ยอม ใครหาอยู่ จัดรุ่นนี้ไปเลย สเปคดีมาก ติดก็แต่เรื่องจอที่ได้อธิบายไป ส่วน ASUS ก็มีดีเรื่องน้ำหนัก รูปทรง หน้าจอสวย ลำโพงกระหึ่ม กับเรื่องการอัพเกรดที่เราสามารถเลือกแรมเลือก SSD ได้
สำหรับใครงบน้อย ระหว่าง 13,000 - 14,000 ผมเชียร์ให้เอา Lenovo ตัวนี้ ถ้ามีงบ 15,000 – 18,000 ไม่ต้องมอง ASUS ตัวนี้หร็อก ไปหาเอา i5-8250U ดีกว่าครับ
ครับ ข้อเปรียบเทียบของ 2 รุ่นนี้ก็มีเท่านี้นะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังหาซื้อโน้ตบุ๊คอยู่ ท่านสามารถดูวิดิโอที่ผมทดสอบโน้ตบุ๊ค 2 เครื่องนี้ตามวิดีโอข้างล่างนี้ครับ
ส่วนวิดีโอข้างล่าง เป็นการรีวิวการใช้งาน lenovo L340 เดี่ยว ๆ ครับ
เพิ่มเติมครับ เนื่องจากคอมเม้นด้านล่างแนะนำมา เกี่ยวกับ Letancy RAM ผมจึงเทสความเร็วส่วนนี้มาให้ดู เลยถือโอกาสเทสคอมพิวเตอร์ที่ผมมี มาเปรียบเทียบกันดูครับ ซึ่ง i3-8145U ค่า Latency RAM อยู่ที่ 72 นาโนวินาที ส่วน Ryzen 5 3500U อยู่ที่ 107 นาโนวินาที ซึ่งค่านี้ยิ่งน้อยยิ่งดี จะเห็นได้ว่าของ i3 น้อยกว่า Ryzen 5 ถึง 32% นี้คงเป็นสาเหตุหนึ่งเมื่อตอนทดสอบจับเวลาเปิดเข้าโปรแกรม ตัว i3 จะใช้เวลาน้อยกว่า เพราะเข้าถึงแรมเร็วกว่า Ryzen 5
[CR] Lenovo L340 (i3-8145U) ปะทะ ASUS 512DA (Ryzen 5 3500U) ทดสอบแบบบ้าน ๆ ตามใจช่าง
วันนี้ผมจะนำโน้ตบุ๊ค 2 ตัวนั้นมาทดสอบกัน สเปคคร่าว ๆ ดังนี้ครับ
Lenovo IdeaPad L340
ซีพียู Core i3-8145U 2.1 – 3.9 Ghz 2 คอร์ 4 เธรด
แรม 8 GB 2400 Mhz
SSD 128 GB M.2 SATA
HDD 2 TB 5400 rpm
ราคา 14,286 บาทรวมอัพเกรด
ASUS VivoBook X512DA
ซีพียู Ryzen 5 3500U 2.1 – 3.7 Ghz 4 คอร์ 8 เธรด
แรม 20 GB 2400 Mhz
SSD 250 GB M.2 NVMe
HDD 1 TB 5400 rpm
ราคา 18,910 บาทรวมอัพเกรด
การทดสอบนั้นเริ่มแรก ทดสอบเปิดเครื่อง
Lenovo ใช้เวลา 16 วินาที
ASUS ใช้เวลา 10 วินาที
ต่อมาจับเวลาเข้าโปรแกรม
MS Word 2019 Lenovo ใช้เวลา 4 วินาที ASUS ใช้เวลา 4 วินาที
Google Chrome Lenovo ใช้เวลา 6 วินาที ASUS ใช้เวลา 7 วินาที
SolidWorks 2019 Lenovo ใช้เวลา 13 วินาที ASUS ใช้เวลา 25 วินาที
ROV ผ่าน BlueStacks Lenovo ใช้เวลา 18 วินาที ASUS ใช้เวลา 23 วินาที
จากนั้น ทดสอบเล่นไฟล์ 4K เพื่อดูเปอร์เซ็นต์การใช้ CPU และ GPU
Lenovo ใช้ซีพียูประมาณ 35% การ์ดจอ 80%
ASUS ใช้ซีพียูประมาณ 20% การ์ดจอ 50%
ต่อด้วยเบิร์นซีพียู 1 นาที เพื่อดูอุณหภูมิ
Lenovo ที่โหลด 100% อุณภูมิซีพียูสูงสุด 88 องศา
ASUS ที่โหลด 100% อุณภูมิซีพียูสูงสุด 91 องศา
เทสด้วยโปรแกรม Geek Bench จะเห็นได้ว่าคะแนน Single Core ของ i3 มากกว่า Ryzen 5 ถึง 24.5% ส่วนฝั่ง Multi Core คะแนน Ryzen 5 มากกว่า i3 แต่ก็ห่างกันไม่มาก เพียง 6.9% เท่านั้น
เทสการ์ดจอภายในต่อ คราวนี้ Ryzen 5 กลับมานำ ด้วยคะแนนที่มากกว่า i3 ถึง 55%
ผลเทสซีพียูจากโปรแกรม CPU-Z
ต่อมาผมทดสอบการแปลงไฟล์วิดีโอ 4K ไปเป็น AVI ด้วยใช้โปรแกรม Format Factory วิดีโอยาว 3 นาที 34 วินาที
Lenovo ใช้เวลา 20 นาที 31 วินาที
ASUS ใช้เวลา 21 นาที 10 วินาที
ต่อมาตัดวิดีโอเหลือ 30 วินาที แล้วแปลงด้วยโปรแกรม Xilisoft Video Converter Ultimate
Lenovo ใช้เวลา 2 นาที 29 วินาที
ASUS ใช้เวลา 3 นาที 30 วินาที
ตรงนี้ผมสังเกตว่า i3 2 คอร์ ซีพียูวิ่ง 70-80% ทั้งสองคอร์ แต่ Ryzen 5 ซี่งมี 4 คอร์ ซีพียูวิ่ง 3 คอร์ 45-55% อีก 1 คอรืไม่กระดิกเลย 0-1% ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมมันไม่วิ่งเต็ม 4 คอร์ เป็นเพราะโปรแกรมรึเปล่า หรือถูกลดความเร็วลงเพราะระบบระบายความร้อนไม่ดี ทำให้บูทความเร็วไม่ขึ้น
จากการทดสอบข้างต้น จะเห็นว่า lenovo ค่อนข้างนำในหลาย ๆ ด้าน ปัจจัยหลักมาจากซีพียูนั่นเอง แม้แรมจะน้อยกว่า SSD ช้ากว่า แต่โหลดไฟล์เข้าโปรแกรมได้เร็วกว่า ผมลองไปตั้งกระทู้ถามในเว็บ overclock zone ว่า 2 ซีพียูนี้ ตัวไหนน่าเล่นมากกว่ากัน ทุกท่านต่างบอกให้เลือก i3 มีท่านหนึ่งให้เหตุผลว่า ค่า Latency ของซีพียูตัวนี้ต่างกันเกือบ 2 เท่า (ของ i3 น้อยกว่า) ซึ่งผมเองก็ไม่เข้าใจว่าค่า Latency มันคืออะไร คุ้น ๆ ว่าน่าจะเกี่ยวกับแรม เดาว่าน่าจะเป็นเวลาการเข้าถึงแรม ประมาณว่า i3 ใช้เวลาเข้าถึงแรมน้อยกว่า จึงโหลดอะไรได้เร็วกว่า ส่วน ASUS ที่มาพร้อม Ryzen 5 3500U ความแรงยังน้อยกว่า i3 ตัวนี้ ทั้งที่หลายเว็บบอกว่าเทียบเคียงกับ i5 ถ้าอิงตามคะแนน Single Core ซีพียู i3 ตัวนี้ เร็วกว่า Ryzen 5 ถึง 24% ตัว Ryzen 5 มีดีเพียงการ์ดจอภายในที่แรงกว่า จะเห็นได้ว่าตอนเทสเล่นไฟล์ 4K ASUS จะใช้ซีพียูกับการ์ดจอน้อยกว่า lenovo และผลเทสการ์ดจอก็แรงมากกว่าถึง 1.5 เท่า แม้จะมีจุดเด่นเรื่องนี้ ก็ไม่ใช่จุดเด่นที่น่าขาย เพราะคนที่หาโน้ตบุ๊คเล่นเกมก็คงมองข้ามไปเอารุ่นที่มีการ์ดจอแยก ในราคาที่เท่ากัน ตัว i3 จึงน่าเล่นกว่า
ครับ ก็มีเท่านี้สำหรับการทดสอบที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความเร็ว ของตัวเครื่อง ข้อแตกต่างอื่น ๆ ระหว่าง 2 เครื่องนี้ ผมขอแจกแจงเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. เรื่องการอัพเกรด
ASUS ตัวนี้ก่อนอัพเกรดไม่มี SSD แรมมา 4 กิ๊ก มีสล็อทว่างให้อีก ซึ่งก็ดี เราสามารถเลือกขนาดแรม เลือกยี่ห้อ SSD ใส่เพิ่มได้ การอัพเกรดต้องดูแรม แนะนำยี่ห้อ G.Skill เพราะผมใส่แล้ว ใช้งานได้ ไม่มีจอฟ้า ส่วน SSD ก็ดูความเร็ว ดูยี่ห้อหน่อย แนะนำ Transcend 220S หรือไม่ก็ Corsair MP510 ราคาถูก ความเร็วสูง ส่วน Lenovo มาครบ ทั้งแรม 8 กิ๊ก SSD M.2 SATA 128 กิ๊ก ขาดก็แค่ฮาร์ดดิสเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ยาก มีถาดยึด มีพอร์ตอยู่แล้ว ซื้อฮาร์ดดิส 2.5 นิ้ว มาใส่ได้เลย แต่แอบเสียดายที่แรมน่าจะฝังมา แล้วมีอีกสล็อทเหมือน ASUS จะได้มีช่องสำหรับเพิ่มแรม เพราะตอนนี้มันมีช่องแรมช่องเดียว แรมที่มีมาก็เป็นแรม 8 กิ๊ก 1 แถว จะอัพเพิ่มก็ต้องถอดของเก่าออก
2. เสียง
ASUS เสียงกระหึ่มมาก มีเสียงเบส เสียงกลาง เล่นเกมส์ ดูหนัง ไม่ต้องต่อลำโพงเลย แต่เปิดสุดบางเพลงเสียงแตก ส่วน Lenovo เสียงพอดี ฟังสบาย แต่ไม่กระหึ่มเท่า ASUS
3. แป้นพิมพ์
ASUS แป้นพิมพ์ไม่โอเคเท่าไหร่ ปุ่มกดไม่นิ่ม รู้สึกติดขัด การตัดปุ่มดูไม่เนียน การวางตำแหน่งแป้นตัวเลขแปลก ๆ ส่วน Lenovo ปุ่มกดนุ่ม กดง่าย ปุ่มใหญ่ ช่องห่างพอดี เหมาะกับงานพิมพ์สุด ๆ ตัวอักษรดูคมกว่าเล็กน้อย
4. จอ
จอทั้งสองเป็นจอด้าน ความละเอียดเท่ากัน เปิดวิดีโอลองสี ปรากฏว่าจอของ ASUS สีสวยกว่า สดกว่า ขณะที่ Lenovo จะดูหมอง ไม่สดเหมือน ASUS และไม่ค่อยสู้แสง ถ้าออกข้างนอกกลางแจ้งมองไม่เห็นแน่ ถ้าใช้งานในร่มไม่มีปัญหา ผมพยายามลองปรับค่าในวินโดว์ดูก็พอช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นส่วนเล็กน้อยจริง ๆ ใช้งานเอกสาร เขียนแบบ เล่นเน็ต เล่นเฟส ดูไปไม่ต่างกัน จะเห็นความต่างขึ้นเมื่อดูภาพยนตร์ชัด ๆ และเล่นเกม อันนี้สีทาง ASUS สีจะสวยกว่า
ความคิดเห็นส่วนตัว
สำหรับผมแล้ว ผมให้ Lenovo L340 ชนะ เพราะว่าเป็นโน้ตบุ๊คที่คุ้มมาก สเปคดี ในงบ 14,000 ได้ซีพียู i3 เจน 8 แรม 8 SSD 128 กิ๊ก ฮาร์ดดิสอีก 2 TB จะเอาไปใช้งานเอกสาร ดูหนัง ฟังเพลงก็ดี หรือใช้เขียนแบบก็แจ่ม ซีพียู แรม เอาอยู่ ผมเทสกับ Solidwork แล้ว ลื่นมาก เกมออนไลน์อย่าง ROV ก็เล่นได้ไม่สะดุด ซีพียูแรงดี ผมยังแอบเสียดายเลยที่ซื้อ ASUS ซะก่อน เพราะเคยใช้ i7 มาก่อน เลยมองข้าม i3 ไป แต่ที่ไหนได้ i3 ตัวนี้แรงกว่า i7 ที่ผมเคยใช้ซะอีก ขอแลกกับแฟน แฟนก็ไม่ยอม ใครหาอยู่ จัดรุ่นนี้ไปเลย สเปคดีมาก ติดก็แต่เรื่องจอที่ได้อธิบายไป ส่วน ASUS ก็มีดีเรื่องน้ำหนัก รูปทรง หน้าจอสวย ลำโพงกระหึ่ม กับเรื่องการอัพเกรดที่เราสามารถเลือกแรมเลือก SSD ได้
สำหรับใครงบน้อย ระหว่าง 13,000 - 14,000 ผมเชียร์ให้เอา Lenovo ตัวนี้ ถ้ามีงบ 15,000 – 18,000 ไม่ต้องมอง ASUS ตัวนี้หร็อก ไปหาเอา i5-8250U ดีกว่าครับ
ครับ ข้อเปรียบเทียบของ 2 รุ่นนี้ก็มีเท่านี้นะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังหาซื้อโน้ตบุ๊คอยู่ ท่านสามารถดูวิดิโอที่ผมทดสอบโน้ตบุ๊ค 2 เครื่องนี้ตามวิดีโอข้างล่างนี้ครับ
ส่วนวิดีโอข้างล่าง เป็นการรีวิวการใช้งาน lenovo L340 เดี่ยว ๆ ครับ
เพิ่มเติมครับ เนื่องจากคอมเม้นด้านล่างแนะนำมา เกี่ยวกับ Letancy RAM ผมจึงเทสความเร็วส่วนนี้มาให้ดู เลยถือโอกาสเทสคอมพิวเตอร์ที่ผมมี มาเปรียบเทียบกันดูครับ ซึ่ง i3-8145U ค่า Latency RAM อยู่ที่ 72 นาโนวินาที ส่วน Ryzen 5 3500U อยู่ที่ 107 นาโนวินาที ซึ่งค่านี้ยิ่งน้อยยิ่งดี จะเห็นได้ว่าของ i3 น้อยกว่า Ryzen 5 ถึง 32% นี้คงเป็นสาเหตุหนึ่งเมื่อตอนทดสอบจับเวลาเปิดเข้าโปรแกรม ตัว i3 จะใช้เวลาน้อยกว่า เพราะเข้าถึงแรมเร็วกว่า Ryzen 5
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้