[CR] เลือกซื้อโน้ตบุ๊คฉบับช่าง กับ ASUS VivoBook 15 Ryzen 5 + SSD NVMe แรม 20 GB ในงบ 19,000

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ชาวพันทิป วันนี้ผมจะมาแสดงวิธีเลือกโน้ตบุ๊คและรีวิวโน้ตบุ๊ค ASUS VivoBook 15 รุ่น X512DA-EJ313T
โดยกระทู้นี้จะออกไปแนวช่างซะส่วนใหญ่นะครับ คอนเซ็บในการเลือกโน้ตบุ๊คในครั้งนี้คือ ถูก คุ้มค่า ใช้งานได้จริง
โดยผมจะเล่าตั้งแต่การเลือกสเปค และการอับเกรดเลย เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับคนที่จะซื้อโน้ตบุ๊คใหม่ครับ

โอเคมาเริ่มเรื่องเลย

คือก่อนหน้านี้ผมมีโน้ตบุ๊คเก่าอยู่ตัวหนึ่ง เครื่องปี 2013 ยี่ห้อ hp 1000-1307TU เป็นซีพียู i5 แรม 4 ผมซื้อมือสองมาตั้งแต่เรียนมหาลัย และก็อับเกรดเครื่องเรื่อยมา (แกะเครื่องเอง) ทั้งเปลี่ยนซีพียูจาก i5-3230M เป็น i7-3610QM และก็ i7-3820QM ส่วนแรมก็เพิ่มจาก 4 เป็น 12 ตามลำดับ ฮาร์ดดิสก็เปลี่ยนจาก 5400 รอบ/นาที เป็น 7200 รอบ/นาที และก็เปลี่ยนเป็น SSD เครื่องเดิมก็ใช้งานได้ดีครับ ทน เสถียร เร็ว แรงดีเทียบเท่าเครื่องราคา 20,000 ในปัจจุบันเลยหล่ะ ที่นี่มีความคิดจะซื้อเครื่องใหม่ อยากได้เครื่องใหม่ว่างั้นเถอะ โดยจะซื้อมาใช้งานเป็นหลัก ใช้งานพื้นฐาน ท่องเว็บ เปิดหน้าเว็บ 10-20 แท็บ งานเขียนแบบ 2 มิติ 3 มิติ เปิดโปรแกรม 4-5 ตัว ซึ่งโน้ตบุ๊คตัวเก่าผมสามารถทำงานได้ดี เมื่อจะซื้อตัวใหม่ ผมเลยตั้งเงื่อนไขเพื่อจะให้มันทำงานได้เทียบเท่าของเดิมหรือมากกว่า โดยมีเงื่อนไขคือ

1. ซีพียูเครื่องใหม่ต้องแรงพอๆ กับเครื่องเก่าหรือมากกว่า และซีพียูต้องเป็นรหัส u เท่านั้น
2. ต้องมีช่องอับเกรด SSD แบบ M.2 PCIe NVMe และแรมต้องสามารถเพิ่มได้
3. หน้าจอต้องมีขนาด 15.6 นิ้ว และมีแป้นตัวเลขแยก
4. ต้องไม่มีการ์ดจอแยก
5. ราคาต้องไม่เกิน 2 หมื่น
6. เงื่อนไขอื่นๆ สำคัญรองลงมา
   - พิจารณาเครื่องที่ใช้ซีพียู Intel ก่อนเป็นอันดับแรก
   - พิจาณายี่ห้อ hp > ASUS > Lenovo > dell ตามลำดับ
   - พิจารณาเครื่องที่ไม่มีดีวีดี

เงื่อนไขที่ 1 ซีพียูเครื่องใหม่ต้องแรงพอๆ กับเครื่องเก่าหรือมากกว่า และซีพียูต้องเป็นรหัส u เท่านั้น
                  ผมค่อนข้างให้ความสำคัญกับซีพียูเป็นอันดับแรก เพราะซีพียูใหม่ ๆ ในโน๊ตบุ๊คมันอับเกรดเหมือนสมัยก่อนไม่ได้แล้ว ซีพียูมันเป็นตัวประมวลผล เป็นสมองของเครื่อง แรมกับ SSD ยังสามารถเพิ่มได้ในภายหลัง แต่ซีพียู ต้องเลือกตัวสูง ๆ ไว้ก่อน แล้วจะเลือกตัวสูงยังไง ให้ดูที่คะแนน Benchmarks ครับ พิมพ์ชื่อซีพียูตามด้วยคำว่า Benchmarks ในกูเกิ้ล เช่น "Pentium B960 benchmarks" จากนั้นคลิกเข้าไปดูแถวแรก ๆ เว็บ cpubenchmarks นั่นแหล่ะ คะแนนนี้จะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของซีพียู คล้าย ๆ คะแนนจากแอ็ป Antutu ที่ใช้ทดสอบสมาร์ทโฟนนั่นแหล่ะ ปัจจุบันซีพียูมันมีเยอะเหลือเกิน จะไปจำว่าตัวนั้นเป็น i5 ต้องเร็วกว่า i3 ตัวนั้นมีสัญญาณนาฬิกาสูงกว่าต้องเร็วกว่า มันก็เทียบได้หากเป็นซีพียูรุ่นเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน แต่ถ้าต่างยี่ห้อ ยี่ห้อเดียวกันแต่ต่างสถาปัตยกรรม ยิ่งเทียบยาก ดูคะแนนเอาง่ายดีครับ อันไหนคะแนนเยอะก็เอาอันนั้นแหล่ะ ถ้าซีพียูโน้ตบุ๊คตัวไหนคะแนนใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่ต้องดูคือคะแนน Single Core ครับ ที่เว็บ Geekbench สำหรับย่านคะแนนที่ผมต้องการ ผมจะเอาโน้ตบุ๊คเก่าผมเป็นหลักครับ โดยคะแนนซีพียูเครื่องเก่าผม i7-3820QM = 8,409 คะแนน ซีพียูในปัจจุบันที่ได้คะแนนระดับนี้ก็จะมี

1. Intel Core i7-7700HQ 2.8-3.8 GHz 8,796 คะแนน
2. AMD Ryzen 5 3550H 2.1-3.7 GHz 8,467 คะแนน
3. Intel Core i7-8550U 1.8-4.0 GHz 8,289 คะแนน
4. AMD Ryzen 7 3700U 2.3-4.0 GHz 8,032 คะแนน
5. Intel Core i5-8265U 1.6-3.9 GHz 7,996 คะแนน
6. AMD Ryzen 5 3500U 2.1-3.7 GHz 7,986 คะแนน
7. Intel Core i5-8250U 1.6-3.4 GHz 7,675 คะแนน

ประการต่อมาคือซีพียูต้องเป็นรหัส U นั่นเพราะว่าซีพียูรหัส U นั้นกินไฟน้อย ทำให้แบตเตอรี่อยู่ได้นาน เมื่อตัดเอาเฉพาะพวกรหัส U ก็จะเหลือ
1. Intel Core i7-8550U 1.8-4.0 GHz 8,289 คะแนน
2. AMD Ryzen 7 3700U 2.3-4.0 GHz 8,032 คะแนน
3. Intel Core i5-8265U 1.6-3.9 GHz 7,996 คะแนน
4. AMD Ryzen 5 3500U 2.1-3.7 GHz 7,986 คะแนน
5. Intel Core i5-8250U 1.6-3.4 GHz 7,675 คะแนน

          จากนั้นผมไปดูโน้ตบุ๊คในเว็บ notebookspec และเว็บ Advice หายี่ห้อ รุ่นที่ใช้ซีพียูตามในรายการ ในรุ่นราคา 13,000-20,000 บาท เท่าที่ดูส่วนใหญ่ จะเป็นซีพียู Ryzen 5 3500U, i5-8265U, Ryzen 7 3700U, i5-8250U พวก i3 หรือซีพียูตัวอื่นไม่ขอพูดถึง เพราะคะแนน Benchmarks ล้วนต่ำกว่า 7,000 จากข้อมูลข้างบน คะแนน Benchmarks ของ AMD Ryzen ทำให้ผมต้องลังเลใจ เดิมทีตั้งใจจะซื้ออินเทลเพราะตัวผมเองใช้ซีพียูอินเทลมาตลอด ทั้งโน้ตบุ๊คและพีซี เห็นคะแนนแล้วจึงต้องคิดใหม่ ถ้าจะเอาอินเทลที่คะแนน Benchmark สูงกว่า Ryzen ราคามันเกินงบ เลยตัดใจเลือก Ryzen สำหรับ Ryzen 5 กับ 7 คะแนนใกล้เคียงกันมาก ๆ แต่ราคาโน้ตบุ๊คต่างกันเกือบ 2 พัน ผมจึงตัดสินเลือก Ryzen 5 เป็นตัวเลือกหลักครับ
          การเลือกซีพียูด้วยคะแนน benchmark ดังกล่าว เป็นการดูแบบโดยรวมนะครับ แต่ถ้าเจาะลึกลงไป ให้ดูคะแนน Single Core กับ Multi core ครับ อันนี้สำคัญมาก ผมเอาคะแนน Single กับ Multi จากเว็บ geekbench มาให้ดู

          1. Ryzen 5 3500U    2.1-3.7 GHz  Single Core อยู่ที่ 3,279     Multi-Core อยูที่   9,396
          2. Ryzen 7 3700U    2.3-4.0 GHz  Single Core อยู่ที่ 3,570     Multi-Core อยูที่ 10,008
          3. Core i5-8250U    1.6-3.4 GHz   Single Core อยู่ที่ 3,659     Multi-Core อยูที่ 11,192
          4. Core i3-8145U    2.1-3.9 GHz   Single Core อยู่ที่ 4,325     Multi-Core อยูที่   8,121
          5. Core i5-8265U    1.6-3.9 GHz   Single Core อยู่ที่ 4,413     Multi-Core อยูที่ 12,526

สังเกตคะแนน Single Core ฝั่งอินเทลจะได้เยอะมาก แม้แต่รุ่นเล็กอย่าง Core i3 ที่สามารถบูทไปได้ถึง 3.9 Ghz ทำคะแนน Single Core เทียบชั้นกับ i5 สบายเลย โปรแกรมในทุกวันนี้ใช้ซีพียูเพียง 1-2 คอร์ เกมส์ก็ใช้แค่นี้ การที่ซีพียูมีคอร์เยอะ ๆ ใช่ว่าจะทำงานได้เร็ว มีแต่โปรแกรมพวกตัดต่อที่ใช้ซีพียูหลาย ๆ คอร์ได้เต็มที่ ข้อสรุปที่ผมได้คือ ถ้าหาโน้ตบุ๊คไปทำงาน Word Exel เขียนแบบ เล่นเกมส์ แบบทำทีละอย่าง ทีละโปรแกรม ให้ดูคะแนน Single Core เป็นหลัก อันไหนเยอะก็เอาตัวนั้น ถ้าซื้อไปใช้ในงานตัดต่อ เปิดโปรแกรมหลาย ๆ ตัว ให้ดูคะแนน Multi-Core เป็นหลักครับ

เงื่อนไขที่ 2 ต้องมีช่องอับเกรด SSD แบบ M.2 NVMe และแรมต้องสามารถเพิ่มได้
                  เครื่องเก่าผมใช้ SSD SATA 2.5 นิ้ว ลง Windows 8.1 UEFI ใช้เวลาเปิดเครื่อง 10 วินาที เครื่องใหม่ต้องรองรับ SSD แบบ M.2 NVMe เพราะเห็นว่าความเร็วมันมากกว่าแบบ SATA เพราะถ้าไม่มีสล็อทนี้ เราต้องถอดฮาร์ดดิสออก แล้วใส่ SSD 2.5 นิ้วเข้าไปแทน  ยี่ห้อ SSD ที่ผมเล็งไว้คือ Samsung 970 EVO Plus อยากใช้มานาน เห็นรีวิวว่าเร็ว เลยอยากลองของบ้าง สำหรับโน้ตบุ๊คที่มีสล็อต M.2 ที่รองรับ NVMe ต้องเช็คให้ดีนะครับว่ารองรับจริงไหม บางรุ่นอาจไม่มีสล็อตนี้ หรือมีแต่เป็น M2.SATA  ควรจะหาแบบ M.2 PCIe NVMe ไปเลยครับ เพราะมันเร็วกว่าแบบ M.2 SATA ถึง 4-5 เท่า ในเบื้องต้นการจะทราบว่าโน้ตบุ๊คเครื่องไหนรองรับ SSD แบบไหน ให้อ่านที่หน้าเว็บของผู้ผลิตเลย หรือในเว็บ notebookspec ก็พอมี พวกรีวิวในยูทูปก็มีการพูดถึง เพื่อความมั่นใจขึ้นไปอีก ให้ค้นหาวิดิโอการแกะเครื่องยี่ห้อหรือรุ่นนั้น เราจะได้เห็นจะจะไปเลยว่ามันสามารถเพิ่ม SSD ได้ ลองพิมพ์ในกูเกิลเช่น "แกะเครื่อง hp-1000" หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็ "Disassembly hp-1000"
                 เงื่อนไขต่อมาสำหรับการเลือกโน้ตบุ๊คในครั้งนี้คือ แรมต้องสามารถเพิ่มได้ โน้ตบุ๊คในตลาดที่ขายกันตอนนี้แรมที่ใส่มาจะเป็น

                           1. แรม 4 GB ฝังมากับบอร์ด + ช่องว่าง 1 สล็อต 
                           2. แรม 4 GB ฝังมากับบอร์ด + แรม 4 GB 1 แถว 
                           3. แรม 4 GB 1 แถว + ช่องว่าง 1 สล็อต
                           4. แรม 4 GB 1 แถว + แรม 4 GB 1 สล็อต
                           5. แรม 8 GB แถวเดียว
                           6. แรม 8 GB 1 แถว + ช่องว่าง 1 สล็อต

                ต้องดูให้ดีนะครับ สำหรับใครที่จะอัพแรมในอนาคต บางท่านซื้อเครื่องที่มีแรมมา 8 กิ๊ก พออยากอัพเกรด เปิดดูเป็น 4 กิ๊กออนบอร์ด กับ 4 กิ๊ก 1 แถว อะไรอย่างนี้ ต้องถอด 4 กิ๊กออกไปขายถูก ๆ น่าเสียดาย หาเครื่อง 4 กิ๊ก แล้วมาซื้อแรม 8, 16 กิ๊กใส่ดีกว่าครับ คุ้มค่ากว่ากันเยอะ ส่วน SSD ก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปหาเครื่องที่มันมี SSD หร็อก มาซื้อใส่เองคุ้มกว่า อยากได้ยี่ห้อไหนจัดไป ได้เร็วได้แรงกว่า SSD ที่มากับโน้ตบุ๊คแน่นอน SSD นิ เวลาอัพเกรดไม่มีปัญหาเหมือนแรม บางเครื่องเลือกแรม ใส่ไปแล้วเปิดไม่ขึ้นภาพ ใช้งานไปแล้วจอฟ้า ถ้าไม่เซียนจริงให้ไปลองที่ร้าน อาจจะแพงกว่าซื้อมาใส่เอง ส่วน SSD ไม่ต้องห่วง ซื้อยี่ห้อไหนมาจับใส่ก็ใช้ได้หมด



เงื่อนไขที่ 3 หน้าจอต้องมีขนาด 15.6 นิ้ว และมีแป้นตัวเลขแยก
                  อันนี้ไม่ขออธิบายมาก ที่ต้องใช้จอ 15.6 เพราะชอบความใหญ่ของมัน และงานของผมเกี่ยวกับเขียนแบบ ดูสเปค เลยต้องการจอใหญ่ ๆ มีแป้นพิมพ์ตัวเลขแยกเพื่อจะได้พิมพ์ง่าย ๆ

เงื่อนไขที่ 4 ต้องไม่มีการ์ดจอแยก
                  ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เล่นเกมส์ เลยไม่เห็นความสำคัญของการ์ดจอเท่าไหร่ ถึงแม้จะเอาคอมไปใช้ในงานเขียนแบบอย่าง AutoCAD, SolidWorks ผมก็ไม่เล็งเห็นว่าการ์ดจอมันจำเป็นสำหรับโปรแกรมพวกนี้ หลายต่อหลายครั้งที่พวกเซลล์ขายโน้ตบุ๊คมักจะแนะนำเราว่า ถ้าจะซื้อเครื่องไปใช้งานตัดต่อ ไปเขียนแบบ ต้องเอาเครื่องที่มีการ์ดจอ ซึ่งผมขอแย้งว่า การ์ดจอมันจะไปช่วยอะไรในงานพวกนี้ เพราะการ์ดจอในโน้ตบุ๊คตลาดนี้มันเป็นการ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ ไม่ใช่การ์ดจอสำหรับงานตัดต่อ เครื่องเก่าของผมไม่มีการ์ดจอแยกเลย ก็ใช้เขียนแบบได้ ผมคิดว่าโปรแกรมพวกนี้มันต้องการแรมมากกว่า เช่น ถ่ายรูปมาไฟล์ 10-20 MB คิดดูสิว่าแรมหรือการ์ดจอจะมีส่วนช่วยในการโหลดรูปเข้าโปรแกรมมากกว่ากัน ส่วนเขียนแบบ AutoCAD ถ้าเขียนไปเรื่อย ๆ รายละเอียดของงานมันจะเพิ่มขึ้น ๆ จนแรมไม่พอจะพาลทำให้โปรแกรมมันช้า เมื่อไปดูความต้องการของโปรแกรมพวกนี้ จะเห็นว่ามันเน้นแรม ส่วนใหญ่ไม่ได้พูดถึงการ์ดจอเลย อีกเหตุผลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือปัญหาเรื่องความร้อนและพลังงานไฟฟ้าที่การ์ดจอใช้ ผมตั้งเงื่อนไขซีพียูว่าต้องเป็นรหัส U เพราะมันกินไฟน้อยและเย็น ดังนั้นผมจึงไม่ต้องการให้มีการ์ดจอแยก ผมเคยซ่อมโน้ตบุ๊คขาย แกะเครื่องเก่า ๆ มาเยอะ เลยรู้ว่าพวกเครื่องที่มีการ์ดจอแยกมักจะเสียเพราะปัญหาความร้อน ดังนั้นถ้าเลี่ยงได้ผมก็จะเลี่ยง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ การ์ดจอแยกที่ผมจะเลือก จะต้องเป็น NVIDIA เท่านั้นครับ



เปรียบเทียบคะแนน Benchmarks ของการ์ดจอโน้ตบุ๊ค ซ้ายสุด การ์ดจอแยกจากค่าย NVIDIA   กลาง การ์ดจอภายในซีพียู AMD Ryzen 5
ส่วนขวาเป็นการ์ดจอภายในซีพียู Core i เจน 8 เวลาเราเลือกโน้ตบุ๊คสำหรับเล่นเกม หลายต่อหลายคนมักเข้ามาตั้งกระทู้ถามว่าสเปคนี้เล่นเกมนี้ได้ไหม ผมมีวิธีการง่าย ๆ ครับ ให้ดูคะแนน benchmark ของสเปคที่เกมต้องการ เช่น เกม The Sims 4 ผู้ผลิตเกมระบุว่าการ์ดจอต้องเป็น Geforce GTX 650 ซึ่งการ์ดจอตัวนี้มีคะแนน benchmark อยู่ที่ 1,836 คะแนน ที่นี่เราก็ไปดูคะแนน benchmark ของการ์ดจอเครื่องที่เราจะซื้อ แน่นอนมันต้องมากกว่า 1,836 คะแนนมันจึงสามารถเล่นเกมนี้ได้


ชื่อสินค้า:   ASUSU VivoBook 15
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่