กระเบนราหู (พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง, 2019) คะแนน B (8/10)
"ความอ่อนโยนของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์" กระเบนราหู Manta Ray เป็นหนังที่เล่าความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หนังขึ้นต้นด้วยข้อความ 'แด่ โรฮิงญา' และตัดสลับมาพบเจอชายหนุ่มชาวประมงคนหนึ่งที่ไปเจอชายหนุ่มคนหนึ่งนอนสลบบาดเจ็บจากกระสุนปืนอยู่กลางป่า ชายชาวประมงจึงนำชายบาดเจ็บกลับมารักษาตัวที่บ้าน ชายคนที่ถูกยิงไม่สามารถสื่อสารได้ อาจจะมีอาการเป็นใบ้ทำให้เขาไม่สามารถบอกที่มาที่ไปว่าตัวเองมาจากไหนและทำไมถึงโดนยิง ด้วยการดูแลรักษาอย่างดีและความห่วงใยจนไปถึงสอนสั่งในวิถีชาวประมง ทำให้ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นเรามีความรู้สึกว่าความสัมพันธ์ทั้งสองคนจะเป็นชายรักชายหรือเปล่า ซึ่งสรุปหนังไม่ได้เลือกเล่าประเด็นนี้ แต่ใช้ความสัมพันธ์ถ่ายทอดความเอื้ออาทรและความห่วงใยในเพื่อนมนุษย์อย่างลึกซึ้ง
หนังมีความอาร์ตและมีความเนิบช้า พร้อมทั้งยังไม่ค่อยมีบทสนทนาระหว่างตัวละคร ตัวหนังจึงเต็มไปด้วยงานภาพที่แปลกตาและเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ให้ตีความ งานภาพของกระเบนราหูเป็นงานที่เราคงไม่ได้รับชมกันอย่างทั่วไปแน่นอนและต้องบอกว่าสวยงามแทบทุกฉาก กระทั่ง โทนอารมณ์ของหนังที่ค่อย ๆ ถ่ายโอนจากตัวละครหนึ่งไปสู่ตัวละครหนึ่งเป็นความละเมียดค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม หนังก็ทำให้เรารู้สึกง่วงนอนได้พอสมควร เพราะความเนิบช้าและวิธีสื่อสารด้วยภาพ ฉะนั้น ใครนอนไม่พอก็สามารถหลับได้เลย อย่างไรก็ดี ความละมุนอ่อนโยนในความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครก็ช่วยให้เราซึมซับบรรยากาศทั้งหมดของหนังได้
ท้ายสุด กระเบนราหู เป็นหนังอาร์ตที่ยึดโยงประเด็นโรฮิงญา ซึ่งถ้าหนังไม่ใส่ประเด็นนี้ตอนเปิดเรื่อง เราก็คงไม่สามารถหยิบจับประเด็นที่มีอยู่ในหนังมาตีความให้กลายเป็นประเด็นโรฮิงญาได้เลย เพราะความนามธรรมของหนังในวิธีสื่อสาร แต่เหนืออื่นใด เรื่องราวของความทนทุกข์ของชาวโรฮิงญาก็เป็นเสมือนเรื่องราวที่เราไม่เคยรับรู้หรือเข้าใจความรู้สึกของพวกเขาอย่างแท้จริง และไม่รู้ในชะตากรรมของพวกเขาด้วยเช่นกัน การหนีความโหดร้ายเพื่อมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยไม่ได้ทำให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างถาวร เพราะพื้นที่เหล่านั้นเป็นเพียงพื้นที่ชั่วคราวสำหรับเขาเท่านั้น...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: กระเบนราหู (พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง, 2019) รีวิวโดย Form Corleone
"ความอ่อนโยนของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์" กระเบนราหู Manta Ray เป็นหนังที่เล่าความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หนังขึ้นต้นด้วยข้อความ 'แด่ โรฮิงญา' และตัดสลับมาพบเจอชายหนุ่มชาวประมงคนหนึ่งที่ไปเจอชายหนุ่มคนหนึ่งนอนสลบบาดเจ็บจากกระสุนปืนอยู่กลางป่า ชายชาวประมงจึงนำชายบาดเจ็บกลับมารักษาตัวที่บ้าน ชายคนที่ถูกยิงไม่สามารถสื่อสารได้ อาจจะมีอาการเป็นใบ้ทำให้เขาไม่สามารถบอกที่มาที่ไปว่าตัวเองมาจากไหนและทำไมถึงโดนยิง ด้วยการดูแลรักษาอย่างดีและความห่วงใยจนไปถึงสอนสั่งในวิถีชาวประมง ทำให้ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นเรามีความรู้สึกว่าความสัมพันธ์ทั้งสองคนจะเป็นชายรักชายหรือเปล่า ซึ่งสรุปหนังไม่ได้เลือกเล่าประเด็นนี้ แต่ใช้ความสัมพันธ์ถ่ายทอดความเอื้ออาทรและความห่วงใยในเพื่อนมนุษย์อย่างลึกซึ้ง
หนังมีความอาร์ตและมีความเนิบช้า พร้อมทั้งยังไม่ค่อยมีบทสนทนาระหว่างตัวละคร ตัวหนังจึงเต็มไปด้วยงานภาพที่แปลกตาและเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ให้ตีความ งานภาพของกระเบนราหูเป็นงานที่เราคงไม่ได้รับชมกันอย่างทั่วไปแน่นอนและต้องบอกว่าสวยงามแทบทุกฉาก กระทั่ง โทนอารมณ์ของหนังที่ค่อย ๆ ถ่ายโอนจากตัวละครหนึ่งไปสู่ตัวละครหนึ่งเป็นความละเมียดค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม หนังก็ทำให้เรารู้สึกง่วงนอนได้พอสมควร เพราะความเนิบช้าและวิธีสื่อสารด้วยภาพ ฉะนั้น ใครนอนไม่พอก็สามารถหลับได้เลย อย่างไรก็ดี ความละมุนอ่อนโยนในความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครก็ช่วยให้เราซึมซับบรรยากาศทั้งหมดของหนังได้
ท้ายสุด กระเบนราหู เป็นหนังอาร์ตที่ยึดโยงประเด็นโรฮิงญา ซึ่งถ้าหนังไม่ใส่ประเด็นนี้ตอนเปิดเรื่อง เราก็คงไม่สามารถหยิบจับประเด็นที่มีอยู่ในหนังมาตีความให้กลายเป็นประเด็นโรฮิงญาได้เลย เพราะความนามธรรมของหนังในวิธีสื่อสาร แต่เหนืออื่นใด เรื่องราวของความทนทุกข์ของชาวโรฮิงญาก็เป็นเสมือนเรื่องราวที่เราไม่เคยรับรู้หรือเข้าใจความรู้สึกของพวกเขาอย่างแท้จริง และไม่รู้ในชะตากรรมของพวกเขาด้วยเช่นกัน การหนีความโหดร้ายเพื่อมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยไม่ได้ทำให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างถาวร เพราะพื้นที่เหล่านั้นเป็นเพียงพื้นที่ชั่วคราวสำหรับเขาเท่านั้น...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/