ที่ผ่านมามีคนมาถามผมเยอะเลยว่าช่วงนี้มีอะไรน่าลงทุนบ้าง? นอกจากเปิดร้านกาแฟกับร้านชานมไข่มุกขอแบบไม่ต้องใช้แรง เอาเงินลงทุนให้เงินทำงานก็ได้(พูดมาดูเท่มากครับ) ลงทุนหุ้นก็ได้เอาแบบกินปันผลซื้อแล้วถือยาว ๆ ไม่น่าเป็นห่วงนะ และมันก็เป็นเรื่องบังเอิญมาก ๆ ครับ ที่จะมีหุ้น PTTOR จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ซึ่งในหัวก็ปิ๊งขึ้นมากับคำของรุ่นพี่ที่เวลาเล่นดัมมี่มักพูดกับผมว่า ไม่สดไม่ใหม่อย่าตี 555)
ล่าสุดผมได้เห็นข่าวว่าPTT จะขอมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณายื่นแบบนำเสนอข้อมูลเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ยื่นไฟลิ่ง) ของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ได้ในช่วงไตรมาส 3/2562 หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างเรียบร้อย ผมก็เลยคันไม้คันมืออยากจะลองสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ PTTOR แล้วมานำมาแบ่งปันกันเผื่อใครมีข้อมูลมากกว่าผม จะได้เอามาแชร์หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า เป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ แถมข้อมูลก็สืบค้นจากเว็บกูเกิลนี่แหละครับ ที่ใช้การวิเคราะห์แบบนักเศรษฐศาตร์เคยเป็นมาร์เก็ตติ้งหุ้นที่มีประสบการณ์การลงทุนมายาวนานพอสมควรอาจจะถูกหรือผิดก็ได้นะครับ ซึ่งบทความนี้ไม่ได้นำไปใช้ในธุรกิจจึงไม่ขอรับผิดชอบใดๆนะครับ (แค่เป็นมุมมองส่วนตัวในพื้นที่ส่วนบุคคลแต่เผยแพร่เป็นสาธารณะครับ แหะๆ)
ปัจจุบันตลาดค้าปลีกน้ำมันเป็นตลาดแข่งขันเสรีโดยสมบูรณ์ผู้ค้ามีเสรีในการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีรัฐบาลกำกับดูแลและวางกฎกติกาในรูปแบบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อการกำกับดูแลกิจการพลังงานต่าง ๆ ไม่ให้เกิดการผูกขาด ไม่ให้ขาดแคลน รวมถึงให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้ค้าทุกราย ปัจจุบันมีผู้ค้ามาตรา 7 ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 46 ราย (ข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน ณ เดือนมิถุนายน 2562) โดยทุกรายเป็นผู้ประกอบการเอกชนยกเว้น ปตท.
“ดังนั้น เมื่อ ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนคู่แข่งรายอื่นเป็นเอกชน ทำให้มุมมองของภาคสังคมทั่วไปมองว่า ปตท. อาจจะได้เปรียบในการทำงาน ทั้ง ๆ ที่กว่าจะเป็นเบอร์ 1 ในตลาดได้นั้น ปตท. ต้องปรับวิธีการทำงานเพื่อการแข่งขันมาโดยตลอดและใช้กลยุทธ์การออกแบบสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ภายใต้แนวคิดLiving Community คือ สถานีบริการน้ำมันที่เป็นมากกว่าจุดเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแต่เป็นจุดเติมความสุขของประชาชน ผ่านสินค้าและบริการที่หลากหลายอีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางชุมชนสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ชุมชนโดยรอบอีกด้วย” (จากคำสัมภาษณ์ของ คุณจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (PTTOR)ให้ไว้กับ Marketeer)
และเพื่อให้ภาพของ ปตท. หลุดพ้นจากการเป็นองค์กรของรัฐที่มีความได้เปรียบรวมทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนสอดคล้องตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 75 ซึ่งระบุไว้ว่า รัฐต้องไม่ทำกิจการแข่งกับภาคเอกชนจึงเป็น 2 เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับโครงสร้าง ปตท. ด้วยการเอาหน่วยธุรกิจน้ำมันที่ทำธุรกิจแบบเอกชนออกมาเป็น PTTOR และมีแผนการที่จะเอาบริษัทนี้เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
เพื่อให้ง่ายแก่การมองภาพผมขอแยกผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจค้าปลีก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ธุรกิจน้ำมัน ประกอบด้วย
- ค้าปลีกน้ำมันผ่านสถานีบริการทั้งในและต่างประเทศ (ปั๊มน้ำมัน)หรือเรียกกันว่า PTT Station.
- จำหน่ายเชื้อเพลิงหล่อลื่นทั้งในและต่างประเทศ คือ PTT Lubricants นั้นเอง
- จำหน่ายน้ำมันและก๊าซ แอลพีจีให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น น้ำมันเรือ น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซที่ใช้ในอุตสาหกรรม ฯลฯ
- จำหน่ายแอลพีจีในครัวเรือนหรือเรียกว่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ง่ายๆก็ แก๊ซถังเขียวนั้นแหละครับ
- บริหารโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจน้ำมัน
2. ธุรกิจค้าปลีกด้านอื่นๆ และให้บริการด้านบำรุงรักษายานยนต์
- Café Amazon
- FIT Auto
- ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ที”
- Jiffy
- Daddy Dough
- ฮั่วเซ้งฮง
- Texas Chicken
ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ปตท. น้ำมันและ การค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ซึ่ง ปตท. ถือหุ้น 100% ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท พีทีทีโออาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 4,190,000 บาท โดย PTTOR ถือหุ้น 100% มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในต่างประเทศของ PTTOR เท่ากับว่าก็มีอีกหนึ่งบริษัทย่อยของ PTTOR เป็นบริษัทข้ามชาติ หรือ บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation หรือ Multinational Company) ที่หาเงินเข้าประเทศนั้นเอง (อันนี้แอบชื่นชมส่วนตัวครับ)
จากการหาข้อมูลในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2562 บริษัท ปตท. น้ำมันและ การค้าปลีกจำกัด (มหาชน) หรือชื่อภาษาอังกฤษ PTT OIL AND RETAIL BUSINESS ได้ทำการจดทะเบียนการค้าหรือที่เรียกกันว่าหนังสือบริคณห์สนธิ ตามที่แนบมาครับ
ทุนจดทะเบียน 90,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 9,000 ล้านหุ้น หุ้นละ 10 บาท โดยงบแสดงฐานะทางการเงินปี 2561 มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 202,432 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินจำนวน 112,221 ล้านบาท และส่วนของทุน 90,211 ล้านบาท กำไร(สุทธิหลังหักภาษี)จำนวน 801 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วอยู่ 0.089 บาทต่อหุ้น
ในส่วนของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญที่ผมขอยกนำมาพิจารณาดู 3 ตัวที่เรามักใช้บ่อย ๆ คือ ROA, ROE และ D/E
ตัวแรกเลยคือ ROA (Return On Asset) หมายถึงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์สูตรโดยทั่วไปเท่ากับ ผลกำไร/สินทรัพย์รวม โดยผลกำไรที่นิยมใช้จะใช้ค่ากำไรก่อนภาระดอกเบี้ยและภาษี(EBIT) เนื่องจากเป็นผลกำไรที่ไม่คำนึงถึงภาระของหนี้สินซึ่งเป็นส่วนของต้นทุนทางการเงินค่า ROA ค่ายิ่งสูงยิ่งดีแสดงว่า ในส่วนของ PTTOR ค่านี้งบปี 2561 อยู่ที่ 0.79 ซึ่งยังถือว่าน้อยหากมีการบริหารจัดการดีขึ้นค่าจะขึ้นไปสูงกว่า 1 แน่นอน
ถัดมา ROE (Return On Equity) หมายถึงอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูตรทั่วไปเท่ากับ Net Profit / Equity โดยสังเกตได้ว่า ROE จะใช้ NP เนื่องจาก ROE เป็นการเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับเครดิตหรือต้นทุนของเงินทุนดังนั้น กำไรที่ได้ต้องหักดอกเบี้ยออกเสมอเพราะหนี้สินถือเป็นต้นทุนของเงินทุนด้วย จึงสังเกตได้ว่าบริษัทที่หนี้สินมากจะมี ROE สูงกว่าบริษัทที่หนี้สินน้อย ของ PTTOR ในงบปี 2561 ค่านี้เท่ากับ 1.78 ถือว่ายังน้อยมากสำหรับกิจการระดับนี้
ตัวสุดท้ายที่มักใช้ดูกัน D/E Ratio (Debt to Equity Ratio) หมายถึง หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นการคำนวณโดยการนำรวมหนี้สินทั้งหมดของบริษัทมาหารกับส่วนของผู้ถือหุ้นค่าที่ได้จะบอกว่าหนี้มากหรือน้อย สำหรับผู้ถือหุ้นยิ่งค่านี้น้อยยิ่งดี ยิ่งชอบแต่บางธุรกิจก็ไม่สามารถเอามาวัดได้ของ PTTOR งบปี 2561 อยู่ที่ 1.24 เท่า ซึ่งถ้าเทียบกับบริษัทใหญ่ๆถือว่าไม่สูงเลยครับ และคาดว่าหลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้วค่า D/E น่าจะลดลงต่ำกว่า 1 อีกครับ
สำหรับหุ้นสามัญ PTTOR ที่จะเสนอขาย เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 55 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งหมด(จากข้อมูลเบื้องต้นก็จะเป็น 4,950 ล้านหุ้นมูลค่าของหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) 10 บาท แต่ถ้ามีการเพิ่มทุนก่อน หุ้นก็น่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกจากจำนวน9,000ล้านหุ้นตามหนังสือบริคณห์สนธิครับ)ภายหลังรายการ IPO โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นสามัญของ PTTOR ที่เสนอขาย(ประมาณ 4,702 ล้านหุ้น) และ 2) การเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ ปตท. ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น(ประมาณ 247.5 ล้านหุ้น ผมกดเครื่องคิดเลขคร่าวๆได้ว่าผู้ถือหุ้น PTT เดิมจำนวน 115.406หุ้นได้สิทธิจองซื้อ PTTOR จำนวน 1 หุ้น) แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่ทำให้ PTTOR มีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (Preferential Share Offering) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 5 ของหุ้นสามัญของ PTTOR ที่เสนอขาย โดย ปตท. และ PTTOR จะวางแผนและกำหนดหลักเกณฑ์การกระจายหุ้น เพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นของ PTTOR ในการ IPO จะสามารถกระจายไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงส่วนราคาเสนอขายยังมิได้มีการกำหนด ซึ่งจะพิจารณาจากความ
หลายคนคงอยากให้ผมบอกแล้วว่าราคาเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนครั้งแรกของบริษัทที่เปิดให้ระดมทุนหรือที่เรียกกันว่า ราคา IPO นั้นเป็นราคาเท่าไร ผมขอตอบกันตรง ๆ เลยนะครับว่า "
ผมไม่รู้ครับ" เพราะขนาดหมวดอุตสาหกรรมผมยังเดายากเลยครับ เท่าที่ดู ๆ จะอยู่หมวดพลังงานก็ได้หมวดพาณิชย์ก็ไม่ผิดอะไร
แต่หากจากข้อมูลที่ได้มาแล้วใช้หลักการทำนาย(เรียกภาษาชาวบ้านว่าเดานั้นเองครับ)แบบง่ายๆ โดยไม่ได้ใช้วิธี Discounted Cash Flow Approach หรือคิดอีกวิธีคือ Relative Valuation Approach ซึ่งหากใครเรียนสายการเงินมาน่าจะรู้จักกันดี แต่ผมขอใช้วิธีง่าย ๆ ของผมในการเดาราคาแล้วกันนะครับ จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 9,000 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 10 บาท กำไรต่อหุ้นปี 2561 เฉลี่ยอยู่ที่ 0.089 บาทต่อหุ้น เอาสินทรัพย์หารจำนวนหุ้น อยู่ที่ประมาณ 22.222 บาท ถ้าใช้หลักการเดาง่ายๆ ของผมก็แค่เอาการคิด Due Diligence ที่ใช้ค่าคำนวณส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะใช่ค่าที่ 2 - 3 เท่า มาคิดในกรอบราคาก็น่าจะอยู่ แถวๆ
45 – 65 บาทต่อหุ้น(บอกไว้ก่อนเลยนะครับว่าเป็นค่าที่ได้จากการเดาที่ผ่านประสบการณ์ล้วน ๆ ต้องรอประกาศวันจองและราคาIPO เราถึงจะรู้กันว่าผมเดาแม่นหรือเปล่าครับ)
ถ้าคิดแบบเทียบ P/E และแบบ P/BV ก็จะได้ราคาที่สูงกว่านี้อีกนิดหน่อยครับ ซึ่งถ้าแค่พิจารณาดูจากงบปี 2561 โดยไม่ได้แยกบริษัทฯย่อยแต่ละบริษัทฯให้ดูกันและมูลค่าของแบรนด์อีกครับ
แต่เท่าที่ดูแล้วบอกได้เลยครับว่า PTTOR จะเป็นหุ้นขนาดไซส์ใหญ่อีกตัวที่น่าจับตามองและมีอนาคตครับ ผมถึงกล้าบอกเลยว่าเก็บเงินรอซื้อไว้ได้เลยครับ มีไว้ลงทุนยาว ๆ ไม่น่าจะทำให้ผิดหวังครับ ซึ่ง ณ ตอนนี้เราก็ยังไม่รู้วันไหนที่จะเปิดให้จองซื้อครับ ผมก็ทำได้แค่เพียงเก็บเงินและรอข่าวประกาศออกมาเพื่อที่ดูว่าผมเดาแม่นหรือเปล่าครับ.
ที่มาข้อมูล :
เว็บไซค์ PTTOR :
https://www.pttor.com/about.aspx
เว็บไซค์ กรมธุรกิจการค้า :
https://www.dbd.go.th/index.php
https://www.isranews.org/isranews-pr-news/55813-pttor.html
https://marketeeronline.co/archives/110483
http://www.investerest.co/business/pttor-and-ptt/
https://money2know.com/pttor-3/
หมายเหตุ : การวิเคราะห์เบื้องต้นไม่ได้ทำเพื่อธุรกิจหรือการค้าทั้งหมดล้วนเป็นมุมมองและข้อมูลที่ผู้เขียนสืบค้นมาได้จากเอกสารที่เผยแพร่เป็นทางการ ทางผู้เขียนจึงไม่ขอรับผิดชอบใดๆหากนำข้อมูลไปใช้ต่อ
ท่านสามารถติดต่อข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนความคิดใน Fan Page Facebook ของผมได้ที่
https://www.facebook.com/Mr.MoneyNeverSleeps/
ขอบพระคุณมากครับ
PTTOR ความหวังใหม่ของหุ้นที่รอคอย
ที่ผ่านมามีคนมาถามผมเยอะเลยว่าช่วงนี้มีอะไรน่าลงทุนบ้าง? นอกจากเปิดร้านกาแฟกับร้านชานมไข่มุกขอแบบไม่ต้องใช้แรง เอาเงินลงทุนให้เงินทำงานก็ได้(พูดมาดูเท่มากครับ) ลงทุนหุ้นก็ได้เอาแบบกินปันผลซื้อแล้วถือยาว ๆ ไม่น่าเป็นห่วงนะ และมันก็เป็นเรื่องบังเอิญมาก ๆ ครับ ที่จะมีหุ้น PTTOR จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ซึ่งในหัวก็ปิ๊งขึ้นมากับคำของรุ่นพี่ที่เวลาเล่นดัมมี่มักพูดกับผมว่า ไม่สดไม่ใหม่อย่าตี 555)
ล่าสุดผมได้เห็นข่าวว่าPTT จะขอมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณายื่นแบบนำเสนอข้อมูลเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ยื่นไฟลิ่ง) ของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ได้ในช่วงไตรมาส 3/2562 หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างเรียบร้อย ผมก็เลยคันไม้คันมืออยากจะลองสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ PTTOR แล้วมานำมาแบ่งปันกันเผื่อใครมีข้อมูลมากกว่าผม จะได้เอามาแชร์หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า เป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ แถมข้อมูลก็สืบค้นจากเว็บกูเกิลนี่แหละครับ ที่ใช้การวิเคราะห์แบบนักเศรษฐศาตร์เคยเป็นมาร์เก็ตติ้งหุ้นที่มีประสบการณ์การลงทุนมายาวนานพอสมควรอาจจะถูกหรือผิดก็ได้นะครับ ซึ่งบทความนี้ไม่ได้นำไปใช้ในธุรกิจจึงไม่ขอรับผิดชอบใดๆนะครับ (แค่เป็นมุมมองส่วนตัวในพื้นที่ส่วนบุคคลแต่เผยแพร่เป็นสาธารณะครับ แหะๆ)
ปัจจุบันตลาดค้าปลีกน้ำมันเป็นตลาดแข่งขันเสรีโดยสมบูรณ์ผู้ค้ามีเสรีในการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีรัฐบาลกำกับดูแลและวางกฎกติกาในรูปแบบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อการกำกับดูแลกิจการพลังงานต่าง ๆ ไม่ให้เกิดการผูกขาด ไม่ให้ขาดแคลน รวมถึงให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้ค้าทุกราย ปัจจุบันมีผู้ค้ามาตรา 7 ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 46 ราย (ข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน ณ เดือนมิถุนายน 2562) โดยทุกรายเป็นผู้ประกอบการเอกชนยกเว้น ปตท. “ดังนั้น เมื่อ ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนคู่แข่งรายอื่นเป็นเอกชน ทำให้มุมมองของภาคสังคมทั่วไปมองว่า ปตท. อาจจะได้เปรียบในการทำงาน ทั้ง ๆ ที่กว่าจะเป็นเบอร์ 1 ในตลาดได้นั้น ปตท. ต้องปรับวิธีการทำงานเพื่อการแข่งขันมาโดยตลอดและใช้กลยุทธ์การออกแบบสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ภายใต้แนวคิดLiving Community คือ สถานีบริการน้ำมันที่เป็นมากกว่าจุดเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแต่เป็นจุดเติมความสุขของประชาชน ผ่านสินค้าและบริการที่หลากหลายอีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางชุมชนสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ชุมชนโดยรอบอีกด้วย” (จากคำสัมภาษณ์ของ คุณจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (PTTOR)ให้ไว้กับ Marketeer)
และเพื่อให้ภาพของ ปตท. หลุดพ้นจากการเป็นองค์กรของรัฐที่มีความได้เปรียบรวมทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนสอดคล้องตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 75 ซึ่งระบุไว้ว่า รัฐต้องไม่ทำกิจการแข่งกับภาคเอกชนจึงเป็น 2 เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับโครงสร้าง ปตท. ด้วยการเอาหน่วยธุรกิจน้ำมันที่ทำธุรกิจแบบเอกชนออกมาเป็น PTTOR และมีแผนการที่จะเอาบริษัทนี้เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
เพื่อให้ง่ายแก่การมองภาพผมขอแยกผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจค้าปลีก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ธุรกิจน้ำมัน ประกอบด้วย
- ค้าปลีกน้ำมันผ่านสถานีบริการทั้งในและต่างประเทศ (ปั๊มน้ำมัน)หรือเรียกกันว่า PTT Station.
- จำหน่ายเชื้อเพลิงหล่อลื่นทั้งในและต่างประเทศ คือ PTT Lubricants นั้นเอง
- จำหน่ายน้ำมันและก๊าซ แอลพีจีให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น น้ำมันเรือ น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซที่ใช้ในอุตสาหกรรม ฯลฯ
- จำหน่ายแอลพีจีในครัวเรือนหรือเรียกว่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ง่ายๆก็ แก๊ซถังเขียวนั้นแหละครับ
- บริหารโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจน้ำมัน
2. ธุรกิจค้าปลีกด้านอื่นๆ และให้บริการด้านบำรุงรักษายานยนต์
- Café Amazon
- FIT Auto
- ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ที”
- Jiffy
- Daddy Dough
- ฮั่วเซ้งฮง
- Texas Chicken
ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ปตท. น้ำมันและ การค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ซึ่ง ปตท. ถือหุ้น 100% ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท พีทีทีโออาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 4,190,000 บาท โดย PTTOR ถือหุ้น 100% มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในต่างประเทศของ PTTOR เท่ากับว่าก็มีอีกหนึ่งบริษัทย่อยของ PTTOR เป็นบริษัทข้ามชาติ หรือ บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation หรือ Multinational Company) ที่หาเงินเข้าประเทศนั้นเอง (อันนี้แอบชื่นชมส่วนตัวครับ)
จากการหาข้อมูลในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2562 บริษัท ปตท. น้ำมันและ การค้าปลีกจำกัด (มหาชน) หรือชื่อภาษาอังกฤษ PTT OIL AND RETAIL BUSINESS ได้ทำการจดทะเบียนการค้าหรือที่เรียกกันว่าหนังสือบริคณห์สนธิ ตามที่แนบมาครับ
ทุนจดทะเบียน 90,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 9,000 ล้านหุ้น หุ้นละ 10 บาท โดยงบแสดงฐานะทางการเงินปี 2561 มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 202,432 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินจำนวน 112,221 ล้านบาท และส่วนของทุน 90,211 ล้านบาท กำไร(สุทธิหลังหักภาษี)จำนวน 801 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วอยู่ 0.089 บาทต่อหุ้น
ในส่วนของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญที่ผมขอยกนำมาพิจารณาดู 3 ตัวที่เรามักใช้บ่อย ๆ คือ ROA, ROE และ D/E
ตัวแรกเลยคือ ROA (Return On Asset) หมายถึงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์สูตรโดยทั่วไปเท่ากับ ผลกำไร/สินทรัพย์รวม โดยผลกำไรที่นิยมใช้จะใช้ค่ากำไรก่อนภาระดอกเบี้ยและภาษี(EBIT) เนื่องจากเป็นผลกำไรที่ไม่คำนึงถึงภาระของหนี้สินซึ่งเป็นส่วนของต้นทุนทางการเงินค่า ROA ค่ายิ่งสูงยิ่งดีแสดงว่า ในส่วนของ PTTOR ค่านี้งบปี 2561 อยู่ที่ 0.79 ซึ่งยังถือว่าน้อยหากมีการบริหารจัดการดีขึ้นค่าจะขึ้นไปสูงกว่า 1 แน่นอน
ถัดมา ROE (Return On Equity) หมายถึงอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูตรทั่วไปเท่ากับ Net Profit / Equity โดยสังเกตได้ว่า ROE จะใช้ NP เนื่องจาก ROE เป็นการเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับเครดิตหรือต้นทุนของเงินทุนดังนั้น กำไรที่ได้ต้องหักดอกเบี้ยออกเสมอเพราะหนี้สินถือเป็นต้นทุนของเงินทุนด้วย จึงสังเกตได้ว่าบริษัทที่หนี้สินมากจะมี ROE สูงกว่าบริษัทที่หนี้สินน้อย ของ PTTOR ในงบปี 2561 ค่านี้เท่ากับ 1.78 ถือว่ายังน้อยมากสำหรับกิจการระดับนี้
ตัวสุดท้ายที่มักใช้ดูกัน D/E Ratio (Debt to Equity Ratio) หมายถึง หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นการคำนวณโดยการนำรวมหนี้สินทั้งหมดของบริษัทมาหารกับส่วนของผู้ถือหุ้นค่าที่ได้จะบอกว่าหนี้มากหรือน้อย สำหรับผู้ถือหุ้นยิ่งค่านี้น้อยยิ่งดี ยิ่งชอบแต่บางธุรกิจก็ไม่สามารถเอามาวัดได้ของ PTTOR งบปี 2561 อยู่ที่ 1.24 เท่า ซึ่งถ้าเทียบกับบริษัทใหญ่ๆถือว่าไม่สูงเลยครับ และคาดว่าหลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้วค่า D/E น่าจะลดลงต่ำกว่า 1 อีกครับ
สำหรับหุ้นสามัญ PTTOR ที่จะเสนอขาย เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 55 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งหมด(จากข้อมูลเบื้องต้นก็จะเป็น 4,950 ล้านหุ้นมูลค่าของหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) 10 บาท แต่ถ้ามีการเพิ่มทุนก่อน หุ้นก็น่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกจากจำนวน9,000ล้านหุ้นตามหนังสือบริคณห์สนธิครับ)ภายหลังรายการ IPO โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นสามัญของ PTTOR ที่เสนอขาย(ประมาณ 4,702 ล้านหุ้น) และ 2) การเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ ปตท. ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น(ประมาณ 247.5 ล้านหุ้น ผมกดเครื่องคิดเลขคร่าวๆได้ว่าผู้ถือหุ้น PTT เดิมจำนวน 115.406หุ้นได้สิทธิจองซื้อ PTTOR จำนวน 1 หุ้น) แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่ทำให้ PTTOR มีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (Preferential Share Offering) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 5 ของหุ้นสามัญของ PTTOR ที่เสนอขาย โดย ปตท. และ PTTOR จะวางแผนและกำหนดหลักเกณฑ์การกระจายหุ้น เพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นของ PTTOR ในการ IPO จะสามารถกระจายไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงส่วนราคาเสนอขายยังมิได้มีการกำหนด ซึ่งจะพิจารณาจากความ
หลายคนคงอยากให้ผมบอกแล้วว่าราคาเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนครั้งแรกของบริษัทที่เปิดให้ระดมทุนหรือที่เรียกกันว่า ราคา IPO นั้นเป็นราคาเท่าไร ผมขอตอบกันตรง ๆ เลยนะครับว่า "ผมไม่รู้ครับ" เพราะขนาดหมวดอุตสาหกรรมผมยังเดายากเลยครับ เท่าที่ดู ๆ จะอยู่หมวดพลังงานก็ได้หมวดพาณิชย์ก็ไม่ผิดอะไร
แต่หากจากข้อมูลที่ได้มาแล้วใช้หลักการทำนาย(เรียกภาษาชาวบ้านว่าเดานั้นเองครับ)แบบง่ายๆ โดยไม่ได้ใช้วิธี Discounted Cash Flow Approach หรือคิดอีกวิธีคือ Relative Valuation Approach ซึ่งหากใครเรียนสายการเงินมาน่าจะรู้จักกันดี แต่ผมขอใช้วิธีง่าย ๆ ของผมในการเดาราคาแล้วกันนะครับ จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 9,000 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 10 บาท กำไรต่อหุ้นปี 2561 เฉลี่ยอยู่ที่ 0.089 บาทต่อหุ้น เอาสินทรัพย์หารจำนวนหุ้น อยู่ที่ประมาณ 22.222 บาท ถ้าใช้หลักการเดาง่ายๆ ของผมก็แค่เอาการคิด Due Diligence ที่ใช้ค่าคำนวณส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะใช่ค่าที่ 2 - 3 เท่า มาคิดในกรอบราคาก็น่าจะอยู่ แถวๆ 45 – 65 บาทต่อหุ้น(บอกไว้ก่อนเลยนะครับว่าเป็นค่าที่ได้จากการเดาที่ผ่านประสบการณ์ล้วน ๆ ต้องรอประกาศวันจองและราคาIPO เราถึงจะรู้กันว่าผมเดาแม่นหรือเปล่าครับ)
ถ้าคิดแบบเทียบ P/E และแบบ P/BV ก็จะได้ราคาที่สูงกว่านี้อีกนิดหน่อยครับ ซึ่งถ้าแค่พิจารณาดูจากงบปี 2561 โดยไม่ได้แยกบริษัทฯย่อยแต่ละบริษัทฯให้ดูกันและมูลค่าของแบรนด์อีกครับ
แต่เท่าที่ดูแล้วบอกได้เลยครับว่า PTTOR จะเป็นหุ้นขนาดไซส์ใหญ่อีกตัวที่น่าจับตามองและมีอนาคตครับ ผมถึงกล้าบอกเลยว่าเก็บเงินรอซื้อไว้ได้เลยครับ มีไว้ลงทุนยาว ๆ ไม่น่าจะทำให้ผิดหวังครับ ซึ่ง ณ ตอนนี้เราก็ยังไม่รู้วันไหนที่จะเปิดให้จองซื้อครับ ผมก็ทำได้แค่เพียงเก็บเงินและรอข่าวประกาศออกมาเพื่อที่ดูว่าผมเดาแม่นหรือเปล่าครับ.
ที่มาข้อมูล :
เว็บไซค์ PTTOR : https://www.pttor.com/about.aspx
เว็บไซค์ กรมธุรกิจการค้า : https://www.dbd.go.th/index.php
https://www.isranews.org/isranews-pr-news/55813-pttor.html
https://marketeeronline.co/archives/110483
http://www.investerest.co/business/pttor-and-ptt/
https://money2know.com/pttor-3/
หมายเหตุ : การวิเคราะห์เบื้องต้นไม่ได้ทำเพื่อธุรกิจหรือการค้าทั้งหมดล้วนเป็นมุมมองและข้อมูลที่ผู้เขียนสืบค้นมาได้จากเอกสารที่เผยแพร่เป็นทางการ ทางผู้เขียนจึงไม่ขอรับผิดชอบใดๆหากนำข้อมูลไปใช้ต่อ
ท่านสามารถติดต่อข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนความคิดใน Fan Page Facebook ของผมได้ที่ https://www.facebook.com/Mr.MoneyNeverSleeps/
ขอบพระคุณมากครับ