ขับรถชนคน ถูกศาลชั้นต้นสั่งจำคุก

เรื่องผ่านมาแล้ว 1ปี คดียังไม่จบ..

เราขับรถยนต์ คู่กรณีขับมอเตอร์ไซต์  จู่ๆมอเตอร์ไซต์ เปลี่ยนเลนส์กระทันหัน ทำให้มาชนที่ข้างรถเรา สุดท้ายมอเตอร์ไซต์เสียชีวิต   ซึ่งเรามีกล้องหน้ารถ ที่เห็นได้ว่าเปลี่ยนเลนส์กระทันหัน   ทำให้พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาประมาทร่วม เพราะบอกเราขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด ส่วนคู่กรณีเปลี่ยนเลนส์กระทันหัน ส่งคดีสู่ชั้นอัยการ อัยการเห็นตามคำฟ้องตำรวจส่งเรื่องคดีอาญา ในชั้นอาญาในรอบแรกเราเลือกปฎิเสธ   ศาลจึงนัดวันสืบพยาน *ประกันไม่จ่ายเงินช่วยเหลือเพราะเป็นประมาทร่วมให้เราสู้คดี ทนายประกันให้เหตุผลว่า เราขับความเร็ว60 (ตรงนั้นมีป้ายระวังความเร็ว 40 ป้ายสีเหลือง ) ซึ่งทนายเห็นว่ามันจะเอาป้ายนี้มายึดไม่ได้ มันต้องเป็นป้ายจำกัดความเร็ว  จึงต้องเอากฎหมายจราจร ว่าการขับรถในชนบทที่มีเกาะกลาง อยู่ที่ความเร็ว 90  จะเอาเหตุผลตรงนี้มาสู้คดีในวันสืบพยาน ในวันสืบพยานเราเลือกเราสารภาพไปเพราะคิดว่ามันจะจบง่ายๆคงแค่รอลงอาญา  (อีกทั้งคนที่พิมพ์คดีในบัลลัง เค้าเห็นคดีเราตั้งแต่รอบที่ขึ้นห้องบัลลังวันแรกแช้วเห็นเราปฏิเสธ เค้าเลยตามมาดูเราว่าจะสืบพยานอีกไหม เค้ามาพูดกับเรากับทนายว่า ทนายไม่สงสารน้องหรอทำไมให้น้องสู้คดี เค้ายกตัวอย่ากรณีเค้าให้ฟังแต่ก็ให้สิทธิ์เราตัดสินใจ  ทนายโทรหาบริษัทประกันบอกแล้วแต่เราตัดสินใจ เราเลือกยอมรับ แต่มันไม่ง่ายเพราะศาลสั่ง จำคุก2ปี เนื่องจากไม่เคยทำความผิดลดโทษเหลือ 1ปี เราจ่ายเงินคู่กรณีไปแล้ว20000 แต่ประกันเราไม่จ่ายเพราะเหตุผลประมาทร่วม  ศาลเห็นว่าเราเยียวยาน้อย จึงสั่งจำคุก ให้เราไปยื่นอุทธรณ์  ..

ตอนนี้เครียดมาก 
เราทำงานราชการ  จะถูกออกไหมคะ เพราะมีข้อบังคับว่าห้ามมีคดีอาญาที่ศาลสั่งจำคุก 
อีกเรื่องเราจะสามรถแก้ไข ตอนนี้ได้ไหม  เช่นถ้าศาลสั่งว่าเราเยียวยาไม่มากพอเราจะสามารถให้คู่กรณีเพิ่ม ในชั้นอุทธรณ์ ได้หรือไม่ ถ้าได้จะเท่าไหร่ที่ศาลจะเห็นว่าเราเยียวยามากพอ แล้วในวันที่เราไปยื่นอุทธรณ์ เราต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ 

ปล . วันที่ศาลอ่านคำพิพากษา เราเพิ่งรู้ว่า คู่กรณีต้องการจากเรา30,000 จากประกัน 1,000,000 เพราะคุยกันไม่เป็นกิจจะลักษณะ ในวันที่สืบพยานแล้วเราเลือกสารภาพศาลจึงไม่ลง เลยได้คุยในวันนั้น ซึ่งสามีของคู่กรณี วันที่คุยล่าสุด เขาไม่ต้องการขนาดนั้นแล้ว เขาแค่อยากได้บ้างอาจประมาน 250,000 เขาอยากจบ เพราะมันผ่านมาปีกว่าแล้ว 
 

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่