เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เอบีบี (ABB) ;
บริษัทวิศวกรรมที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเน้นการปฏิบัติการในส่วนของหุ่นยนต์ ระบบไฟฟ้าและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ ได้รับรางวัลชนะเลิศ Commercial Order จากการพัฒนาเทคโนโลยี
“15-second flash charging” หรือ
“เทคโนโลยีชาร์ทแบตเตอร์รี่ภายใน 15 วินาที” สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการขนส่งมวลชนในเมือง Geneva ประเทศ Switzerland โดยรถบัสประจำทางจะวิ่งรถเส้นทางเดิมเป็นประจำและ จะต้องจอดรถเพื่อให้ผู้โดยสารขึ้น หรือลงจากรถเมื่อถึงที่หมาย ทำให้ทาง ABB สามารถวางแผนเลือกสถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่ได้ โดยสถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่จะอยู่ระหว่างเส้นทางการเดินรถของรถบัสคันนั้นๆ และจะทำการชาร์ทแบตเตอร์รี่ขณะที่ผู้โดยสารขึ้นหรือลงจากรถนั่นเอง ซึ่งตัวชาร์ทที่อยู่ระหว่างเส้นทางจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. Flash-charging stations หรือ สถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่ระยะสั้น โดยจะทำการติดตั้งตัวชาร์ทไว้ตามป้ายรถประจำทางที่เลือกไว้
จากนั้นตัวชาร์ทที่อยู่ด้านบนของตัวรถจะเชื่อมต่อเข้ากับหลังคาของป้ายรถเพื่อทำการชาร์ทด้วยกำลังไฟ
600 กิโลวัตต์ ประมาณ 15 – 20 วินาที
2.Terminal feeding stations หรือ สถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่ปลายทาง ที่จะทำการชาร์ทด้วยกำลังไฟ 400
กิโลวัตต์ ประมาณ 4 – 5 นาที เพื่อทำการชาร์ทแบตเตอร์รี่ให้เต็ม โดยตัวชาร์ทที่สถานีปลายทาง จะมี IGBT-based
rectifier ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าตรง (DC) เพื่อให้สามารถใช้กับรถบัสได้
นี่มันเทคโนโลยีปฏิวิติวงการเลยนะครับ จะสามารถพัฒนามาใช้กับรถบ้าน หรือพวกการชาร์ทแบตมือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆได้ไหมครับ
ชาร์ทไฟรถบัสเต็มภายใน 15 วินาที ? อันนี้จริงไหมครับ
“15-second flash charging” หรือ “เทคโนโลยีชาร์ทแบตเตอร์รี่ภายใน 15 วินาที” สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการขนส่งมวลชนในเมือง Geneva ประเทศ Switzerland โดยรถบัสประจำทางจะวิ่งรถเส้นทางเดิมเป็นประจำและ จะต้องจอดรถเพื่อให้ผู้โดยสารขึ้น หรือลงจากรถเมื่อถึงที่หมาย ทำให้ทาง ABB สามารถวางแผนเลือกสถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่ได้ โดยสถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่จะอยู่ระหว่างเส้นทางการเดินรถของรถบัสคันนั้นๆ และจะทำการชาร์ทแบตเตอร์รี่ขณะที่ผู้โดยสารขึ้นหรือลงจากรถนั่นเอง ซึ่งตัวชาร์ทที่อยู่ระหว่างเส้นทางจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. Flash-charging stations หรือ สถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่ระยะสั้น โดยจะทำการติดตั้งตัวชาร์ทไว้ตามป้ายรถประจำทางที่เลือกไว้
จากนั้นตัวชาร์ทที่อยู่ด้านบนของตัวรถจะเชื่อมต่อเข้ากับหลังคาของป้ายรถเพื่อทำการชาร์ทด้วยกำลังไฟ
600 กิโลวัตต์ ประมาณ 15 – 20 วินาที
2.Terminal feeding stations หรือ สถานีชาร์ทแบตเตอร์รี่ปลายทาง ที่จะทำการชาร์ทด้วยกำลังไฟ 400
กิโลวัตต์ ประมาณ 4 – 5 นาที เพื่อทำการชาร์ทแบตเตอร์รี่ให้เต็ม โดยตัวชาร์ทที่สถานีปลายทาง จะมี IGBT-based
rectifier ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าตรง (DC) เพื่อให้สามารถใช้กับรถบัสได้
นี่มันเทคโนโลยีปฏิวิติวงการเลยนะครับ จะสามารถพัฒนามาใช้กับรถบ้าน หรือพวกการชาร์ทแบตมือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆได้ไหมครับ