SIamspot ขอนำแฟนๆ ไปรู้จักกับผู้ชายร่างท้วมนามว่า "โทนี่ ซินแคลร์" หัวหน้าฝ่ายทำนุบำรุงผืนหญ้าของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ผู้อยู่เบื้องหลังการเป็น 'แชมป์หญ้าสวย' ความสำเร็จเดียวของสโมสรเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา
แม้จะโดนใช้งานอย่างตรากตำ ในพรีเมียร์ลีก 26 นัด, ฟุตบอลถ้วยในประเทศสองรายการ และ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ซึ่งมีทั้งซ้อม แข่งจริง ตลอดจนในฐานะสังเวียนแข้งทีมระดับ ยู-23 แต่ฟลอร์หญ้าที่ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ยังเนียนกริ๊บจนได้รางวัลมาครอง
ซินแคลร์ ทำงานกับ แมนฯ ยูไนเต็ด มานานเกือบ 30 ปี และมีทีมงานเบื้องหลังอีก 30 ชีวิต เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ก็คุ้นเคยกับเขาเป็นอย่างดี ต้องถามสารทุกข์สุขดิบของสนามอยู่ตลอด
งานของ มิสเตอร์ ซินแคลร์ ไม่ใช่แค่การดูแลหญ้าในโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงเอออน เทรนนิ่ง คอมเพล็กซ์, ลิตเติลตันโร้ด และสนามซ้อมเก่าอย่าง เดอะ คลิฟฟ์
"จากสนามซ้อมมาถึงสเตเดี้ยม เรามีหญ้าจริง 23 สนาม, หญ้าเทียมอีก 5 สนามให้ต้องดูแล" ซินแคลร์เผย
"เมื่อแฟนๆมาสนามในวันแข่งขัน พวกเขาจะได้เห็นเส้นสีขาวสว่างใส เห็นเชดสีของหญ้า การจะทำให้สนามดูดีแบบนั้นต้องผ่านอะไรยากๆเยอะเลย และต้องใช้วิทยาศาสตร์มาช่วย"
"พื้นสนามโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เป็นแบบ Desso hybrid (หญ้าจริงผสมหญ้าเทียม) โดยทั่วไปแล้วจะเป็นไนลอน 20 ล้านชิ้น, ฝักลึกลงไป 20 ซม., กว้าง 1.5 ซม. และสูงจากพื้นผิว 2 ซม."
"ตัวอย่างของหญ้าจะถูกตัดไปทุกสัปดาห์ เพื่อเช็คว่าหญ้าเหล่านี้ขาดสารอาหารหรือไม่ ซึ่งถ้าเกิดปัญหา ก็ต้องหาทางแก้ไข เราใช้ไฟในการปรับอุณหภูมิให้หญ้าอยู่ในสภาวะเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต"
กรรมวิธีต่างๆดูยุ่งยากและละเอียดอ่อนพอๆ กับผู้จัดการทีมฟุตบอล หากแต่งานของ ซินแคลร์ ไม่ได้หมดเพียงเท่านี้
อีกความท้าทายของ ซินแคลร์ คือการต้องหาวิธีการกำจัดหนู และพวกเชื้อโรคที่อยู่ในหญ้า โดยใช้กระเทียมหยอดบนพื้นสนาม เพื่อให้ส่งกลิ่น รวมถึงฆ่าเชื้อโรคบางชนิด
นอกจากนี้ เขาต้องต้องปกป้องผืนหญ้าให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ระหว่างการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ใน “โรงละครแห่งความฝัน” เช่นเดียวกับการแข่งขันรักบี้ ลีก แกรนด์ ไฟนัล ที่สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด รับหน้าเสื่อมาตั้งแต่ปี 1998
รวมๆ แล้ว เขาและทีมงานต้องทำงานหนัก 52 สัปดาห์ต่อหนึ่งปี เพื่อทำให้ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด
นี่แหละงานของ 'คนดูแลสนาม'
ไม่ตลกเลยใช่มั้ยคุณ
“ตุ้ย พันเข็ม” เรียบเรียง
Cr.
https://www.siamsport.co.th/football/premierleague/view/142236
.....Breaking News..เผยโฉมผู้อยู่เบื้องหลังโทรฟี่เดียวของมานอูซีซั่นก่อน “แชมป์หญ้าสวย”.....
แม้จะโดนใช้งานอย่างตรากตำ ในพรีเมียร์ลีก 26 นัด, ฟุตบอลถ้วยในประเทศสองรายการ และ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ซึ่งมีทั้งซ้อม แข่งจริง ตลอดจนในฐานะสังเวียนแข้งทีมระดับ ยู-23 แต่ฟลอร์หญ้าที่ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ยังเนียนกริ๊บจนได้รางวัลมาครอง
ซินแคลร์ ทำงานกับ แมนฯ ยูไนเต็ด มานานเกือบ 30 ปี และมีทีมงานเบื้องหลังอีก 30 ชีวิต เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ก็คุ้นเคยกับเขาเป็นอย่างดี ต้องถามสารทุกข์สุขดิบของสนามอยู่ตลอด
งานของ มิสเตอร์ ซินแคลร์ ไม่ใช่แค่การดูแลหญ้าในโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงเอออน เทรนนิ่ง คอมเพล็กซ์, ลิตเติลตันโร้ด และสนามซ้อมเก่าอย่าง เดอะ คลิฟฟ์
"จากสนามซ้อมมาถึงสเตเดี้ยม เรามีหญ้าจริง 23 สนาม, หญ้าเทียมอีก 5 สนามให้ต้องดูแล" ซินแคลร์เผย
"เมื่อแฟนๆมาสนามในวันแข่งขัน พวกเขาจะได้เห็นเส้นสีขาวสว่างใส เห็นเชดสีของหญ้า การจะทำให้สนามดูดีแบบนั้นต้องผ่านอะไรยากๆเยอะเลย และต้องใช้วิทยาศาสตร์มาช่วย"
"พื้นสนามโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เป็นแบบ Desso hybrid (หญ้าจริงผสมหญ้าเทียม) โดยทั่วไปแล้วจะเป็นไนลอน 20 ล้านชิ้น, ฝักลึกลงไป 20 ซม., กว้าง 1.5 ซม. และสูงจากพื้นผิว 2 ซม."
"ตัวอย่างของหญ้าจะถูกตัดไปทุกสัปดาห์ เพื่อเช็คว่าหญ้าเหล่านี้ขาดสารอาหารหรือไม่ ซึ่งถ้าเกิดปัญหา ก็ต้องหาทางแก้ไข เราใช้ไฟในการปรับอุณหภูมิให้หญ้าอยู่ในสภาวะเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต"
กรรมวิธีต่างๆดูยุ่งยากและละเอียดอ่อนพอๆ กับผู้จัดการทีมฟุตบอล หากแต่งานของ ซินแคลร์ ไม่ได้หมดเพียงเท่านี้
อีกความท้าทายของ ซินแคลร์ คือการต้องหาวิธีการกำจัดหนู และพวกเชื้อโรคที่อยู่ในหญ้า โดยใช้กระเทียมหยอดบนพื้นสนาม เพื่อให้ส่งกลิ่น รวมถึงฆ่าเชื้อโรคบางชนิด
นอกจากนี้ เขาต้องต้องปกป้องผืนหญ้าให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ระหว่างการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ใน “โรงละครแห่งความฝัน” เช่นเดียวกับการแข่งขันรักบี้ ลีก แกรนด์ ไฟนัล ที่สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด รับหน้าเสื่อมาตั้งแต่ปี 1998
รวมๆ แล้ว เขาและทีมงานต้องทำงานหนัก 52 สัปดาห์ต่อหนึ่งปี เพื่อทำให้ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด
นี่แหละงานของ 'คนดูแลสนาม'
ไม่ตลกเลยใช่มั้ยคุณ
“ตุ้ย พันเข็ม” เรียบเรียง
Cr.
https://www.siamsport.co.th/football/premierleague/view/142236