ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 70,000 คน/ปี โดย 95 เปอร์เซ็นต์ มาจากประเทศที่กำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย
แม้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 มาตรา 5 ระบุให้วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และข้อบังคับแพทยสภา อนุญาตให้แพทย์ยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมายหากเข้าเกณฑ์ตามข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคือ
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพกาย-สุขภาพจิตของมารดา แต่เพราะที่ผ่านมา อุปสรรคสำคัญคือความคิดเรื่องบาปบุญคุณโทษของบุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้บริการ
“การทำแท้งเป็นเรื่องความชั่วร้ายที่ต้องเกิดขึ้นกับพวกเธอ บริการทำแท้งจึงไม่ใช่หน้าที่ของเรา ความคิดแบบนี้ทำให้มีผู้หญิงอีกหลายๆ คนถูกหมอทำร้าย ด้วยวาจา ด้วยสายตา และด้วยความจงเกลียดจงชัง”
ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็เคยคิดเช่นนั้น แต่เพราะ ‘ความตาย’ ของหลายชีวิตจากการทำแท้งเถื่อน ค่อยๆ เปลี่ยนคุณหมอให้บอกตัวเองว่า “เราคือคนนอก”
“อย่าเอาตัวเราเข้าไปเป็นเขา ไม่ต้องมาเป็นผู้มอบความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ถ้าเขาต้องการเลือกวิธี ทางออกแบบไหนเราต้องแนะนำ ว่าสิ่งที่คุณเลือกมา มันปลอดภัยหรือไม่ ถ้าปลอดภัยก็ทำซะ”
และสำหรับคุณหมอ ชีวิตตรงหน้า สำคัญกว่าบาปบุญคุณโทษ
อ่านสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่
https://waymagazine.org/safe-abortion-interview/
(ยาว แต่ดีมากค่ะ)
ทำแท้งปลอดภัย: “สำหรับผม ชีวิตตรงหน้า สำคัญกว่าบาปบุญคุณโทษ” ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ
ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 70,000 คน/ปี โดย 95 เปอร์เซ็นต์ มาจากประเทศที่กำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย
แม้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 มาตรา 5 ระบุให้วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และข้อบังคับแพทยสภา อนุญาตให้แพทย์ยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมายหากเข้าเกณฑ์ตามข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคือ
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพกาย-สุขภาพจิตของมารดา แต่เพราะที่ผ่านมา อุปสรรคสำคัญคือความคิดเรื่องบาปบุญคุณโทษของบุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้บริการ
“การทำแท้งเป็นเรื่องความชั่วร้ายที่ต้องเกิดขึ้นกับพวกเธอ บริการทำแท้งจึงไม่ใช่หน้าที่ของเรา ความคิดแบบนี้ทำให้มีผู้หญิงอีกหลายๆ คนถูกหมอทำร้าย ด้วยวาจา ด้วยสายตา และด้วยความจงเกลียดจงชัง”
ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็เคยคิดเช่นนั้น แต่เพราะ ‘ความตาย’ ของหลายชีวิตจากการทำแท้งเถื่อน ค่อยๆ เปลี่ยนคุณหมอให้บอกตัวเองว่า “เราคือคนนอก”
“อย่าเอาตัวเราเข้าไปเป็นเขา ไม่ต้องมาเป็นผู้มอบความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ถ้าเขาต้องการเลือกวิธี ทางออกแบบไหนเราต้องแนะนำ ว่าสิ่งที่คุณเลือกมา มันปลอดภัยหรือไม่ ถ้าปลอดภัยก็ทำซะ”
และสำหรับคุณหมอ ชีวิตตรงหน้า สำคัญกว่าบาปบุญคุณโทษ
อ่านสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่ https://waymagazine.org/safe-abortion-interview/
(ยาว แต่ดีมากค่ะ)