ตำนานหอคอยหนู Bingen



บนเกาะเล็กแห่งหนี่งในแม่น้ำ Rhine
นอกเมือง Bingen am Rhein ใน Germany
ยังมีหอคอยหินในศตวรรษที่ 10
ตั้งตระหง่านอยู่พร้อมกับตำนานที่น่าสยดสยอง

เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปี  970
เกิดความขาดแคลนอาหารกันอย่างรุนแรงในเยอรมันนี
จนทำให้ชาวบ้านต้องกินหมากินแมวเพื่อให้รอดตาย
แต่ก็ยังมีคนเสียชีวิตอีกหลายพันคนเพราะความอดอยาก
ในเวลานั้น หัวหน้าบาทหลวง Archbishop of Mainz
ชื่อ Hatto II เป็นผู้ปกครองที่โหดร้ายทารุณ/ชั่วร้ายอย่างแรง
เป็นผู้ปกครองที่ตระหนี่ขี้เหนียวโลภมากอย่างน่ารังเกียจ
เกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นมาเพราะอยากเพิ่มพูนสมบัติตนเอง
ด้วยวิธีการที่อยุติธรรม/ฉวยโอกาสค้ากำไรเกินควร

หมายเหตุ

ในยุคนั้น บาทหลวง/พระสันตปาปา มีกองทัพของตนเอง
แบบ 2 in 1 เป็นทั้งนักรบและนักการศาสนา
มีในหนังสือ The Prince ของ Niccolò Machiavelli
แบบกาหลิบ ที่เคยมีบทบาทในยุคอาณาจักรออตโตมัน
และกลุ่ม ISIS พยายามจะเลียบแบบและรื้อฟื้นกลับมา

ในยุ้งฉางของ Hatto II เต็มไปด้วยเมล็ดข้าว
แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อแจกจ่ายคนจนที่หิวโหย
เพราะ Hatto II ต้องการจะขายในราคาแพงเกินจริง
จนชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่สามารถหาซื้อได้
ทำให้พวกชาวบ้านเริ่มโกรธและวางแผนที่จะก่อการกบฏ

ดังนั้น Hatto II จึงคิดอุบายที่โหดร้าย
โดยสัญญาว่าจะให้ข้าวกับชาวบ้านทุกคน
และจะเลี้ยงอาหารผู้คนผู้หิวโหยทุกคน
แล้ว Hatto II ก็บอกให้ชาวบ้านไปรวมตัวกันที่ยุ้งฉางเปล่า
และรอให้ Hatto II นำอาหารมามอบให้
พวกชาวบ้านต่างมีความสุขและเดินไปที่ยุ้งฉาง
เพื่อรอคอยการมาของ Hatto II พร้อมอาหาร
และเมื่อชาวบ้านเข้าไปอยู่ในยุ้งข้าวเต็มแล้ว
Hatto II ก็สั่งให้ปิดประตูยุ้งฉางทันที
ทั้งนี้เพื่อขังชาวบ้านทุกคนไว้ข้างใน
แล้วก็จุดไฟเผาชาวบ้านให้ตายทั้งเป็น


credit: Arcalino/Wikimedia


เมื่อ Hatto II เดินกลับไปที่ปราสาทของตนเอง
ทันใดนั้น Hatto II ก็ถูกล้อมโดยกองทัพหนู
จึงต้องวิ่งหลบหนีจากสัตว์ฟันแทะหน้าเหล่านี้
Hatto II จึงวิ่งไปหลบภัยในหอคอยที่ตั้งอยู่บนเกาะ ณ แม่น้ำ Rhine
เพราะคาดว่าฝูงหนูคงจะไม่สามารถว่ายน้ำได้
แต่ฝูงหนูยังคงไล่ติดตามไปและหลั่งไหลลงไปในแม่น้านับพัน ๆ ตัว
และในขณะที่หนูหลายตัวจมน้ำตายก่อนไปถึงเกาะ
แต่ฝูงหนูที่ขึ้นบนเกาะได้แล้ว
ต่างกัดแทะประตูไม้ของหอคอยจนเป็นรู
แล้วคลานขึ้นไปชั้นบนสุดของหอคอย
จนพบ Hatto II อยู่ที่นั่นเลยกัดกินทั้งเป็น



พวกมันใช้ฟันกัดแทะก้อนหิน
และตอนนี้กัดกินกระดูกบาทหลวง
พวกมันแทะเนื้อติดกระดูก
พวกมันถูกส่งมาเพื่อลงโทษ 
บทกวีของ Robert Southey

พวกมันเกือบจะกลืนฉันด้วยการจูบ
แขนขาพวกมันโอบกอดฉัน
จนฉันนึกถึงบิชอปแห่ง Bingen
ในหอคอยหนูบนแม่น้ำไรน์ 
The Children's Hour โดย  Henry Wadsworth Longfellow



ตั้งแต่นั้นมาหอคอยแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า
หอคอยหนู Mouse Tower หรือ Mäuseturm

แต่ตำนานเรื่องนี้ไม่มีหลักฐานจริงตามประวัติศาสตร์
Bishop Hatto II เป็นผู้ปกครองที่จิตใจดีและไม่ชั่วร้ายเลย
ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ท่านได้สร้างโบสถ์ St George บนเกาะ Reichenau
และบริจาคเงินทองข้าวของอย่างมากให้กับโบสถ์ Fulda กับ Reichenau
ทั้งยังเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของ Regino of Prüm



credit: travis nobles/Flickr

แต่เรื่องนี้น่าจะเป็น Hatto I
บาทหลวงในนิกาย Benedictine ที่มาตระกูลขุนนางใน Swabia
เป็นผู้ซึ่งไร้ความปรานีเพราะมีความทะเยอทะยานทางการเมือง
ด้วยการใช้อิทธิพลเหนือกษัตริย์ East Frankish
ทั้งนี้เพื่อส่งเสริม/ให้ตนเองบรรลุตำแหน่งที่ต้องการ

และเมื่อ Hatto I ตายในปี 913
ก็มีตำนานมากมายที่เป็นเรื่องราวที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ในการลงโทษฐานทำความชั่วอย่างแรงกับ Hatto I หลังความตาย
เช่น ถูกฟ้าผ่าตาย ถูกโยนทั้งเป็นลงไปในปล่องภูเขาไฟ Mount Etna โดยปีศาจ

มีเรื่องราวที่แปลกประหลาดมากที่สุดคือ
Hatto I ถูกฝูงหนูห้อมล้อมและกัดกินทั้งเป็น
เพราะการปฏิบัติต่อคนยากจนในช่วงเกิดความอดอยาก/ภาวะขาดแคลนอาหาร
เรื่องราวเดียวกันที่เล่าสิบต่อ ๆ กันมา
จึงสันนิษฐานว่ากลายมาเป็น Hatto II
เพราะทั้งสองคนมีชื่อเดียวกัน



Photo credit: Frank Kehren/Flickr

กองทัพโรมันได้สร้างหอคอยบนพื้นที่แห่งนี้
ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้น Franconia
มีการพังทลายและปลุกสร้างขึ้นมาใหม่หลายครั้ง
จนกระทั่ง Hatto II Archbishop of Mainz สร้างหอคอยขึ้นมาในปี  968
ในปี 1298 หอคอยกลายเป็นด่านศุลกากร
แล้วถูกทำลายลงโดยกองทัพฝรั่งเศสในปี 1689
แล้วถูกสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี 1855
โดย Prussian เพื่อเป็นหอคอยส่งสัญญาณ


อย่างไรก็ตามชื่อของหอคอย Mäuseturm นั้น
สามารถสืบย้อนหลังไปถึงต้นกำเนิดเดิมที่แตกต่างกันได้
ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 13  บาทหลวงของ Mainz ได้ใช้หอคอยแห่งนี้
เป็นสถานีศุลกากรเก็บภาษีสินค้าที่ผ่านทางขาขึ้นขาลง
Maut  ในภาษาเยอรมันคือ การดักรอ
Mautturm  ในภาษาเยอรมันคือ หอยาม
Mouse Tower  เดิมถูกใช้เป็นหอคอยส่งสัญญาณ
เพราะ Bingen Hole เป็นร่องน้ำแคบ
เรือจำต้องรอน้ำขึ้นน้ำลงจึงจะแล่นผ่านไปมาได้
จนกระทั่งร่องน้ำจุดนี้ถูกขยายให้กว้างขึ้นในปี 1970 

ในยุคกลาง  การลงโทษนักโทษโดยให้ฝูงหนูกัดกินทั้งเป็น
แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นการลงโทษที่โหดร้าย
แต่ก็สมควรอย่างยิ่งกับความโหดร้ายของนักโทษ
ตำนานดังกล่าวจึงเกี่ยวข้องกับผู้ปกครองที่ชั่วร้ายนับไม่ถ้วน
แต่หนึ่งในนั้นมี  Hatto II เป็นคนที่โด่งดังที่สุด

เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2SlN604
http://bit.ly/2XSUsyc











กองพลเหมียว Meowing Division  จำนวน 5,000 ตัว
ได้ช่วยชาวเมือง St. Petersburg ปราบหนู
หลังจากที่เมืองปลอดจากการถูกนาซีเยอรมันปิดล้อมแล้ว
เพราะความอดหยากขนาดที่ชาวเมืองต้องฆ่าหมาแมวกินเป็นอาหาร
ทำให้หนูเจริญพันธ์ุมากมายจนกำจัดไม่ไหวเพราะไม่มีแมวมากำจัด




เรื่องจินตนาการ  ชีวิตพวกกบฎ


เรื่องเล่าไร้สาระ


ในอดีตกำแพงเมืองจีนจะมีหอคอยส่งสัญญาณ
โดยการจุดไฟขึ้นบนหอคอยพร้อมกับตีฆ้องกลองส่งเสียงดัง
โดยจะมีการจุดต่อกันมาเป็นทอด ๆ แต่ละหอคอย
จนกระทั่งสัญญาณส่งถึงเมืองหลวงปักกิ่ง
เพื่อให้เตรียมรับมือกับข้าศึกนอกด่าน

ฮ่องเต้โจวอิวหวาง ราชวงศ์โจวตะวันตก
ปลดฮองเฮาบุตรสาวแคว้นเซิน กับรัชทายาทออกจากตำแหน่ง
แล้วมาหลงใหลฮองเฮาคนใหม่ชื่อ เปาซื่อ
แต่พระนางไม่เคยมีรอยยิ้มเลย
ฮ่องเต้ทรงคิดหาหนทางมากมายทำให้นางยิ้มแต่ไม่เคยสำเร็จ
สุดท้ายทรงนึกแผนการออกมาได้อย่างหนึ่ง คือ
รับสั่งให้จุดไฟพร้อมตีกลองส่งสัญญาณบนหอคอยว่ามีข้าศึกบุกประชิด
ทั้งแม่ทัพนายกองและอ๋องทั้งหลายตามชายแดนเห็นสัญญาณ
ก็รีบระดมทัพมาเมืองหลวงทันที แต่มาถึงก็รู้ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องเข้าใจผิด
เปาซื่อพอเห็นแม่ทัพแต่ละคนหน้าเหวอไปตามๆ กันก็หัวเราะออกมา
ฮ่องเต้เมื่อทรงเห็นดังนั้นก็พอพระทัยมาก

คราวหลังเลยแกล้งจุดไฟตีกลองส่งสัญญาณอีกหลายครั้ง
กระทั่งท้ายที่สุดแคว้นเซินยกทัพมาตีเมืองจริงๆ
เจ้าแคว้นเซิน คือ อดีตพ่อตาฮ่องเต้
ถือเหตุหาเรื่องมาแก้แค้นแทนลูกสาวที่เป็นฮองเฮาคนแรก
แต่คราวนี้ ฮ่องเต้โจวอิวหวางไม่ว่าจะจุดไฟกับตีกลองอย่างไร
ก็ไม่มีทัพไหนยกมาช่วยแล้ว เมืองจึงถูกตีแตก
แล้วฮ่องเต้ก็ถูกปลงพระชนม์ ราชวงศ์โจวตะวันตกจึงสูญสลาย
ส่วนเปาซื่อเองก็หายสาบสูญไป  Credit : บุษรา เรืองไทย



ส่วนเรื่องการหากินฉวยโอกาสเรื่องข้าว
ชาวญี่ปุ่นในเมืองช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่ต่างอดหยากเพราะข้าวปลาอาหารขาดแคลน
แม้ว่าจะมีการปันส่วนอาหารก็ยังไม่เพียงพอ
ทำให้ชาวเมืองต้องออกไปขอซื้อข้าวจากชาวนาที่นอกเมือง
ก็ถูกพวกชาวนาโขกสับด้วยการรีดเลือดกับปู(ชาวเมือง)
โดยชาวเมืองต้องนำทรัพย์สินจำนวนมากไปแลกข้าวกับชาวนา
หรือถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องจำยอมพลีกายแลกข้าว

จนทำให้ในอดีตคนญี่ปุ่นชาวเมืองจะเกลียดพวกชาวนามาก
เพราะความหน้าเลือดใจดำของพวกชาวนาที่พบเจอ
จากการขูดรีดเงินทอง/ทรัพย์สินชาวเมืองในการไปแลกข้าวปลาอาหาร
เรื่องนี้คือ  ด้านดำมืดของพวกชาวนาญี่ปุ่น
ที่แบบรู้ ๆ กันแต่ไม่อยากบอกเล่าให้ฟังกัน
อาจจะเพราะเสียรู้หรือเพราะจำยอมในอดีต
แบบโครงกระดูกในตู้ของ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ที่เรื่องราวคนในครอบครัวไม่อยากเล่าให้คนอื่นฟัง



แถวบ้านก็มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเรื่องราวหลายสิบปีแล้ว
จากสตรีผู้สูงวัยที่ผมเคารพ/เชื่อถือได้เล่าให้ฟังนานแล้ว
สมัยที่มีการซื้อตัวผู้หญิงจากภาคเหนือมาเป็นโสเภณี
ผู้หญิงคนไหนไม่ยอมทำก็จะมีการตบตีก่อน
ถ้ายังไม่ได้ผลก็จะใช้วิธีการใส่หนู
ลงไปในเสื้อผ้า/ผ้าถุงที่ปิดทางเข้าออกของหนู
ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะกลัวหนูด้วย มักจะยอม
ส่วนคนไหนยังไม่ยอม หนูจะกัดแทะเหยื่อจนต้องยอม

มีแม่เล้าคนหนึ่งที่ถูกเล่าลือและอ้างอิงถึง
บั้นปลายชีวิตสามีตาย และเริ่มจะเลิกกิจการ
จึงได้ให้เงินกับลูกชายคนรองไปเปิด Pub
แต่ก็ไปไม่รอดเพราะไปกู้เงินเจ้าหนี้นอกระบบ
จนทำให้มีหนี้สินรุงรังไปหมด
เจ้าหนี้เลยฟ้องศาลยึดทรัพย์อายัดทรัพย์ชั่วคราว
อ้างว่าจำเลยมีพฤติกรรมจะขนย้ายทรัพย์สิน
ประเภทเครื่องดนตรี เครื่องเสียงไปขาย
จึงให้ศาลออกหมายอายัดทรัพย์
และฝากให้ลูกหนี้ครอบครองดูแล(ถ้าหายก็ถูกคดีอาญา)
สุดท้ายธุรกิจก็ไปไม่รอด  ลูกน้องก็หนีไปหมด
เพราะคนเราอยู่ได้ด้วยการมีเงินไปซื้ออาหาร
คำสรรเสริญเยินยอไม่ทำให้คนเราอิ่มท้องได้

ต่อมา ไม่นานนักลูกชายแกก็เกิดอุบัติเหตุ
ยืมรถยนต์เพื่อนขับไปชนรถยนต์อีกคันตายคาที่แถวสุราษฏร์ธานี
ส่วนพี่ชายแกก็ไปขับรถตุ๊กตุ๊กรับจ้าง
ต่อมาไม่นานก็หายหน้าหายตาไปจากบ้านเกิด
บ้านเดิมที่เป็น Pub ก็ถูกขายทอดตลาดไป
กลายเป็นทางเข้าออกที่จอดรถยนต์ของโรงแรมแห่งหนึ่ง
ที่มีเนื้อที่ติดต่อกับ Pub แห่งนี้ โดยไปเคาะซื้อที่ศาล
ส่วนแม่แกได้ข่าวหลังสุดว่าไปบวชชีแถวอีศาน
ชาวบ้านเลยบอกว่าเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่