หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
สรุปชัดๆ ครั้งเดียวจบ หิ้วแบรนด์เนมเข้าไทย หยิบใช้ถูกสะพายมาแล้ว เสียภาษีหรือไม่?
กระทู้ข่าว
สนามบิน
เที่ยวต่างประเทศ
ภาษีศุลกากร
เพิ่มเติมข้อความ
อ่านความเห็นแล้วเพลียค่ะ ไม่ทราบไม่เข้าใจ ไม่พยายามจะเข้าใจ หรือไม่อยากเข้าใจกันแน่
ข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับ
1. มูลค่า 20000 บาทคือมูลค่าของ
ของใช้ส่วนตัว
ของที่นำออกไป ไม่ใช่มูลค่าที่ซื้อสินค้ากลับมาแล้วไม่ต้องเสียภาษี
2. นำของเข้ามาในราชอาณาจักร์ไม่ว่าจะ ของใหม่ หรือของเก่า ไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการค้า นำมาใช้ส่วนตัว นำมาเป็นของฝาก ทั้งหมดนี้ต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอื่น เช่นสรรพสามิตตามกฏหมายกำหนด
กระทู้นี้คือความพยายามจะนำสินค้าเข้ามาและสำแดงเป็น
ของใช้ส่วนตัว
ศุลกากรจึงอธิบายให้ฟังว่าทำไมถึงโดนภาษี
ทุกเดือน ทุกปี หลายที หลายหน คนไทยยังคงวนเวียนและมีปัญหาให้หงุดหงิดรำคาญใจกับเรื่อง
“ฉันหิ้วของเข้าเมืองไทย อ้าว ฉันโดนศุลกากรเรียกเก็บภาษี!”
อันตัวเราไม่ได้โดนเข้าด้วยตัวเอง แต่ก็หัวร้อนแทนคนอื่นเขา
“ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ศุลกากร บอกว่าไม่เก็บๆ แต่ทำไมเจ้าหน้าที่ไปเรียกเก็บภาษีจากของที่เขาใช้แล้ว เขาคล้องกระเป๋าอยู่คาไหล่ด้วยซ้ำ ไปเรียกเก็บภาษีเขาได้ไง โอ้โห ฉันงง”
สรุปแล้ว จริงแท้อย่างไร? คนไปนอก ชอบช็อปปิ้ง หรือคนไม่ไปนอก ชอบฝากซื้อ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มองว่า ไม่ว่าอย่างไร คุณต้องรู้ไว้ เผื่อวันใดวันหนึ่งคุณอาจโดน!
- ฉันถือกระเป๋า(ใช้งานมาแล้ว) เข้าเมืองไทย ฉันต้องเสียภาษีหรือไม่ วานบอกที -
นายบุญเทียม โชควิวัฒน ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ชี้ชัดๆ ย้ำถี่ๆ ทีมข่าวแปลเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า...
สิ่งของส่วนตัวที่ใช้ระหว่างการเดินทาง หรือที่ชาวเราเข้าใจและเรียกกันว่า
“ของใช้แล้ว”
ไม่ว่าจะเป็น
เสื้อผ้า นาฬิกา กระเป๋า รองเท้า หากสิ่งของเหล่านี้มีมูลค่าเกิน 2 หมื่นบาท
และ
เป็นของใหม่เอี่ยมอ่อง
ชนิดที่เพิ่งถอยจากร้านออกมาหมาดๆ นายบุญเทียม ย้ำว่า
“ต้องชำระภาษี เพราะสิ่งของเหล่านี้มันมีภาระค่าภาษีในตัวของมัน”
**
ยกตัวอย่างเช่น : หากสินค้าเป็นกระเป๋า ผู้โดยสารจะต้องเสียภาษีศุลกากรร้อยละ 20 ของมูลค่าสินค้าที่ซื้อมา + ภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7
กระเป๋าแบรนด์เนม ใบละ 50,000 บาท คิดภาษีศุลกากร ร้อยละ 20 = 10,000 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7 = 4,200 บาท รวมเป็นเงิน(ภาษี)ท่ีต้องจ่ายเพิ่มเติมทั้งสิ้น 14,200 บาท
**
- ฉันเห็นข่าวสาวถือกระเป๋าใช้แล้ว มาใบเดียว แต่โดนเรียกเก็บภาษี ทำไมเป็นเช่นนั้น วานบอกที -
นายบุญเทียม กล่าวสั้นๆ ก่อนเข้าเรื่องว่า
“เรื่องนี้ ข้อเท็จจริงพูดกันเพียงครึ่งเดียว”
“กระเป๋าราคาเกิน 2 หมื่นที่หญิงสาวถือมา
ไม่ได้มีแค่ใบเดียว
ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากร พิจารณาแล้ว เล็งเห็นว่า
หญิงสาวคนนี้ใช้วิธีการพรางกระเป๋ามา ด้วยการเอากระเป๋าแบรนด์เนมออกมาจากกล่อง
จากนั้น ก็
ทำทีเป็นสะพายไหล่ใช้งาน ทั้งๆ ที่ในกระเป๋าใบนั้น ไม่มีสิ่งของใดๆ อยู่ในกระเป๋าเลย
”
“เจ้าหน้าที่พิจารณาแล้ว กระเป๋าของเธอไม่ได้ใช้อย่างปกติ เธอถือลงมาเฉยๆ จากเครื่อง ทั้งๆ ที่ข้างในไม่มีอะไรในกระเป๋า
ซึ่งเป็นสิ่งผิดวิสัย
ด้วยเหตุนี้ หญิงสาวคนนี้จึงต้องชำระภาษี
แต่เจ้าหน้าที่ให้หญิงสาวชำระภาษีเพียงแค่กระเป๋าใบเดียว
ซึ่งเธอก็ยินดีและปฏิบัติตามโดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ ส่วนที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในโลกสังคมออมไลน์ เป็นเพราะมีผู้ใดก็ไม่ทราบ แคปข้อความของเธอไปโพสต์โดยที่เธอไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วย”
“เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเก็บภาษีใครได้ก็ต่อเมื่อเขายินยอมพร้อมใจ มีเงินพร้อมจ่ายก็จ่าย หรือจะรูดบัตรจ่ายก็ว่ากันไป”
นายบุญเทียม กล่าว
- ฉันถือกระเป๋าใหม่(ใช้งานมาแล้ว) เข้าเมืองไทย ใหม่ขนาดไหน ถึงต้องเสียภาษี วานบอกที -
คำถามต่อมา คือ
สิ่งของชิ้นนั้น มันต้องใหม่ขนาดไหน ถึงจะเข้าเกณฑ์ชำระภาษี?
นายบุญเทียม ไขข้อข้องใจในคำถามนี้ว่า
“เราต้องมาดูกันว่า
เขาซื้อของชิ้นนี้มาในราคาเท่าไร ใช้มาหรือยัง โดยพิจารณาจากสภาพของสิ่งของ ถ้าเป็นของใหม่เอี่ยมก็ต้องชำระภาษี
โดยคิดจากราคาเต็มของสิ่งของ
แต่ถ้ามีร่องรอยการใช้งานมาแล้ว 6-7 วัน และมีสภาพมอมแมม เลอะเทอะ มีรอยตำหนิ หรือใส่ข้าวของต่างๆ อยู่
(ในกรณีกระเป๋า)
หากเจ้าหน้าที่ศุลกากรพิจารณาดูแล้ว สามารถยกเว้นให้ได้ เราก็ยกเว้นให้อยู่แล้ว
”
“ถ้าคุณถือสิ่งของเพียงชิ้นเดียวกลับเข้ามาประเทศไทย แล้วคุณก็ใช้งานมันจริงๆ แม้ราคาของมันจะเกิน 2 หมื่นบาทไปบ้าง เราก็ไม่ได้ไปเข้มงวดกับคุณหรอกครับ”
นายบุญเทียม กล่าวแสดงความเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกของประชาชน
- ฉันถือกระเป๋าใช้แล้ว ใช้เอง เข้าเมืองไทยหลายๆ ใบ ฉันต้องเสียภาษีหรือไม่ วานบอกที -
อีกคำถามที่ตามมาคือ ถ้าฉันซื้อสิ่งของราคาเกิน 2 หมื่นบาทจากเมืองนอกมาหลายชิ้นหลายอย่าง แต่ฉันใช้เองนะ และฉันใช้ไปแล้วด้วย ฉันต้องชำภาษีหรือไม่ อย่างไรเอ่ย...
นายบุญเทียม แจกแจงข้อสงสัยนี้โดยละเอียดว่า “
ถ้าคุณถือสิ่งของใช้แล้ว สิ่งของใช้เอง (ที่มีราคาเกิน 2 หมื่นบาท) มาหลายชิ้น เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ต้องเรียกเก็บภาษีจากคุณ แม้ว่าสิ่งของนั้นๆ จะมีร่องรอยการใช้งานมาแล้ว 6-7 วัน หรือสิ่งของนั้นๆ จะมีสภาพมอมแมม เลอะเทอะ มีรอยตำหนิ เจ้าหน้าที่เขาก็ต้องเก็บภาษี โดยคิดราคาตามสภาพ ซึ่งมูลค่าอาจจะลดลงมาอยู่ที่ราวๆ 60-70% จากราคาจริง”
“ถ้าเราตรวจเจอว่า คุณมีสิ่งของจำนวนมากๆ เกินคำว่า จะเอามาใช้เป็นของใช้ส่วนตัว และมีท่าทีว่าจะเอาเข้ามาในลักษณะของการค้า เราก็จับกุม แต่
ถ้าคุณมีสิ่งของที่นำมาใช้เองราคาเกิน 2 หมื่นบาทเพียง 1-2 ชิ้น และเมื่อนำมานับรวมดูแล้ว เป็นเงิน 2 หมื่นหรือ 2 หมื่นนิดๆ กรณีอย่างนี้เราก็ไม่ได้ไปเข้มงวด เพราะถ้าคุณถูกจับมันก็จะดูเกินควรไปหน่อย”
“ส่วนใหญ่คนไปต่างประเทศนะครับ
เขามักจะซื้อของที่ราคาเกิน 2 หมื่นบาท กลับมาเมืองไทยอยู่แล้ว ซึ่งบางคนอาจจะซื้อสิ่งของราคาสูงติดไม้ติดมือกลับมา 3-4 อย่างขึ้นไป ผมจะบอกว่า ในฐานะประชาชน คุณควรเสียภาษีให้แก่รัฐ
ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐก็พิจารณาตามสมควร มิได้ใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม”
- เมื่อมีคำว่า ดุลพินิจ เกิดขึ้น คำว่า ทุจริต ก็จะตามมาได้ง่ายหรือไม่? -
เมื่อมาถึงจุดนี้ หลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า หากใช้คำว่า
“ดุลพินิจ”
ของเจ้าหน้าที่
“ดุลพินิจ”
ในที่นี้
อาจนำมาสู่การใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรม หรือนำมาสู่การรับสินบนหรือไม่?
นายบุญเทียม ยอมรับว่า
“คำว่า ดุลพินิจ ฟังดูแล้วอาจจะเป็นภาษาราชการ ซึ่งดุลพินิจอาจให้ความรู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกัน”
“การที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ดุลยพินิจนั้น ถือว่า น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ผู้โดยสารจะมีใบเสร็จอยู่แล้ว ฉะนั้น ราคาก็จะถูกกำหนดตายตัว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่”
นายบุญเทียม ตอบอย่างกว้างๆ
“ถ้าจะมีปัญหาในเรื่องการใช้ดุลพินิจ ก็คงจะเป็นเรื่องของการต่อรองราคา ถ้าสิ่งของที่คุณซื้อมาใหม่เอี่ยม คุณจะให้เราลดราคาได้อย่างไร
เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ต้องเก็บภาษีเข้าประเทศอยู่แล้ว มิใช่ว่า จะเก็บเข้ากระเป๋าตัวเองเสียเมื่อไหร่
” นายบุญเทียมกล่าวอย่างตรงไปตรงมา
- ฉันใช้ของแบรนด์เนมทั้งร่างตั้งแต่เด็กจนโต เก็บภาษีทุกชิ้น มิอ่วมหรือ วานบอกที? -
นายบุญเทียม ไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ว่า
“เรื่องปกติของบางคน คือ สิ่งของทุกชิ้นที่เขาใช้ เป็นของแบรนด์เนมทั้งหมด หลายคนอาจจะสงสัยว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ เวลาเขาเดินทางกลับเข้าไทย มิต้องเก็บภาษีคนผู้นั้นทั้งหมดทุกชิ้นเลยหรือ คำตอบคือ โดยหลักแล้ว
ศุลกากรจะเก็บภาษีเฉพาะของใหม่ ไม่ได้ไปเก็บของเก่า"
“ยกเว้นกรณีของคนที่ไปซื้อของมือสองกลับมาเป็นจำนวนมาก แม้ราคาจะไม่ถึง 2 หมื่นบาท ก็ต้องเสียภาษี
เพราะถือว่าไม่ใช่ของใช้ส่วนตัว”
นายบุญเทียม กล่าวถึงคนหัวการค้าบางราย
"ถ้าของสิ่งนั้น อยู่ในวงเงิน 2 หมื่นบาท และมีแค่ชิ้นเดียว ไม่มีใครเขาไปเก็บภาษีหรอก
แต่ถ้าเป็นแสน หรือหลายๆ แสน ซึ่งจำนวนเงินเกิน 2 หมื่นบาทไปมากๆ
คุณก็ต้องเสียภาษีเข้ารัฐ เพราะหลักการของศุลกากร คือ
ของที่เข้ามาใหม่ต้องเสียภาษีทั้งสิ้น"
3 บรรทัดง่ายๆ ที่ ผอ.ศุลกากร ตรวจของผู้โดยสาร สุวรรณภูมิ อธิบายไว้ให้เข้าใจง่ายๆ
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก : aot บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน)
Cr:
https://www.thairath.co.th/scoop/1236871
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
ใครเจอผลกระทบจากการช้อปปิ้ง คสอ ขนม จากต่างประเทศ เข้ามาแล้วโดนภาษีบ้างคะ
ช่วยแชร์ ปสก ด้วยค่ะ ปริมาณการซื้อที่โดนขนาดไหน มีใครถูกเรียกเก็บแบบ ตามดุลพินิจ จนท แล้วค่าปรับดูแพงเกินเหตุมั้ยคะ เห็นในทวิตข่าวว่าช่วงนี้ตรวจเข้มมาก ส่วนตัวเราซื้อของเยอะหลายรายการ มาก โดยเฉพาะ คสอ
jibjoy
ผมสงสัยงานที่แฟนผมทำครับ อยู่ต่างประเทศหลายๆประเทศไปครั้งนึง2-3เดือนแล้วแต่ประเทศที่ไปเค้าทำอะไรกันแน่ครับ
คือตามหัวข้อเลยครับ แฟนทำงานต่างประเทศเค้าไปมาทั้งเกาหลี ใต้หวัน ญี่ปุ่น รอบนี้สิงคโปส์ครับ ผมเคยถามเค้าว่าทำงานอะไรกันแน่ เพราะผมติดตามข่าวของพวกผีน้อยอยู่พอสมควร เค้าบอกจะเป็นร้านนวดในต่างประเทศครับ
สมาชิกหมายเลข 5412236
อยากทราบว่าญี่ปุ่นปัจจุบันร่ำรวยจากอะไรบ้างคะ ปรากฏว่ารวยเงียบ ไม่เหมือนที่เดี๊ยนคิดไว้
เคยคิดว่าญี่ปุ่นสู้เกาหลีใต้และจีนไม่ได้แล้ว และอยู่ในภาวะเงินฝืด โดยเฉพาะค่ายโซนี ปรากฏว่าซอฟต์แบงค์เข้าไปถือหุ้นกิจการไอทีด้านต่าง ๆ นอกประเทศไว้เพียบ ค่ายโซนีก็มีรายได้จากความบันเทิง เครื่องใช้ไฟฟ
อวัยวะชิ้นนั้น
ตำรับอาหารที่คุณตาทำไว้ให้คุณแม่
เป็นสมุดจดตำรับอาหารที่คุณตาจิ้น มุสิกะลักษณ์ จดไว้ให้คุณป้าและคุณแม่ท่านละชุด เมื่อ พ.ศ. 2475 คุณตาทำอาหารไม่เป็น แต่ท่านทำไว้เพื่ออนาคตลูกของท่านจะได้ใช้ทำมาหากิน ทำได้แค่ถ่ายภาพออกมา สแกนไม
tuk-tuk@korat
ฝากบอกน้องพนักงานขายทั้งหลาย กรุณาอย่าเรียกดิฉันว่า "แม่" นะคะ
รู้ตัวค่ะว่าอ้วน มีผมหงอกสี่ห้าเส้น หุ่นเหมือนผู้สูงวัย แต่ช่วยสบตาลูกค้าก่อนที่จะเรียกใครว่าแม่ก็ดีนะคะ
นึงส่องซ่ำ
คลังสั่ง 3 กรมภาษีเร่งทำยอด-2เดือนหืดจับ สรรพากรบี้ “ผู้ค้าออนไลน์” เข้าระบบ
กระทรวงการคลังสั่งการ 3 กรมภาษีเร่งเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บ เปิดข้อมูลเก็บภาษี 2 เดือนแรก “หืดจับ” รมช.จุลพันธ์ยอมรับโจทย์ยากขึ้นทุกปี มอบนโยบาย 
parn 256
อาศัยอยู่ต่างประเทศ ถ้าถือกระเป๋าแบรนด์เนมกลับไทยจะโดนเรียกเก็บภาษีมั้ยคะ
เราอาศัยและทำงานอยู่ต่างประเทศค่ะ มีแพลนจะกลับไทย เราสงสัยว่าถ้าถือกระเป๋าแบรนด์เนมราคาเกิน20000บาทกลับประเทศจะโดนภาษีมั้ยคะ ตอนซื้อเราจ่ายเต็มจำนวน ขอtax refundไม่ได้เพราะเรามีresidncyอยู่ที่นี่ แต่ก
สมาชิกหมายเลข 5202057
เพื่อนๆคิดไงคะ กับคนที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมใบละหลายแสน มาจากตปท.แล้วผ่านศก.ได้โดยไม่ต้องเสียภาษีเลย แล้วเอามาโพสในกลุ่ม
ตามหัวข้อเลยค่ะ ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมใบละหลายแสน (จำได้ว่าให้สิทธิ์ทุกคนไม่เกิน20000บาท ไม่ว่าจะซื้อมาใช้เองหรือขาย) แต่สามารถคุยกับศุลกากรที่สนามบินสุวรรณภูมิได้ และผ่านโดยที่ไม่ต้องจ่ายภาษีเลย แล้วเอ
สมาชิกหมายเลข 859848
Abandon fee ผู้รับหรือผู้ส่งจะเป็นคนเสีย?
มีใครมีความรู้เรื่องนำเข้า-ส่งออกไหมคะ พอดีเราสั่งของจากฮ่องกงส่งผ่าน UPS แล้วติดกรมศุลกากรที่ปท.ไทย ทาง UPS คิดค่าเคลียร์ของ 2 เท่าของค่าของ เราเลยปฏิเสธรับของไป ทีนี้ทางบ.ที่ฮ่องกงแจ้งเราให้ไปเอาของ
สมาชิกหมายเลข 7380957
ถ้าเดินเข้าช่อง มีของต้องสำแดง ที่สุวรรณภูมิ จะโดนคิดอัตราภาษีเรทไหนครับ
ด้วยความสงสัยครับ ถ้าผมเดินเข้าช่องมีสิ่งของต้องสำแดง เจ้าหน้าที่จะประเมิณราคาของสิ่งของที่เรานำเข้ามา อ้างอิงจากเรทไหน หรือประเมิณตามดุลยพินิจครับ ของเป็นของใช้ในบ้าน กล่องเก็บของอันเล็กๆ จะเอาเข้
CATtheRAIN
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
สนามบิน
เที่ยวต่างประเทศ
ภาษีศุลกากร
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 25.0 พัน
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
สรุปชัดๆ ครั้งเดียวจบ หิ้วแบรนด์เนมเข้าไทย หยิบใช้ถูกสะพายมาแล้ว เสียภาษีหรือไม่?
อ่านความเห็นแล้วเพลียค่ะ ไม่ทราบไม่เข้าใจ ไม่พยายามจะเข้าใจ หรือไม่อยากเข้าใจกันแน่
ข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับ
1. มูลค่า 20000 บาทคือมูลค่าของ ของใช้ส่วนตัว ของที่นำออกไป ไม่ใช่มูลค่าที่ซื้อสินค้ากลับมาแล้วไม่ต้องเสียภาษี
2. นำของเข้ามาในราชอาณาจักร์ไม่ว่าจะ ของใหม่ หรือของเก่า ไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการค้า นำมาใช้ส่วนตัว นำมาเป็นของฝาก ทั้งหมดนี้ต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอื่น เช่นสรรพสามิตตามกฏหมายกำหนด
กระทู้นี้คือความพยายามจะนำสินค้าเข้ามาและสำแดงเป็น ของใช้ส่วนตัว ศุลกากรจึงอธิบายให้ฟังว่าทำไมถึงโดนภาษี
ทุกเดือน ทุกปี หลายที หลายหน คนไทยยังคงวนเวียนและมีปัญหาให้หงุดหงิดรำคาญใจกับเรื่อง “ฉันหิ้วของเข้าเมืองไทย อ้าว ฉันโดนศุลกากรเรียกเก็บภาษี!”
อันตัวเราไม่ได้โดนเข้าด้วยตัวเอง แต่ก็หัวร้อนแทนคนอื่นเขา “ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ศุลกากร บอกว่าไม่เก็บๆ แต่ทำไมเจ้าหน้าที่ไปเรียกเก็บภาษีจากของที่เขาใช้แล้ว เขาคล้องกระเป๋าอยู่คาไหล่ด้วยซ้ำ ไปเรียกเก็บภาษีเขาได้ไง โอ้โห ฉันงง”
สรุปแล้ว จริงแท้อย่างไร? คนไปนอก ชอบช็อปปิ้ง หรือคนไม่ไปนอก ชอบฝากซื้อ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มองว่า ไม่ว่าอย่างไร คุณต้องรู้ไว้ เผื่อวันใดวันหนึ่งคุณอาจโดน!
- ฉันถือกระเป๋า(ใช้งานมาแล้ว) เข้าเมืองไทย ฉันต้องเสียภาษีหรือไม่ วานบอกที -
นายบุญเทียม โชควิวัฒน ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชี้ชัดๆ ย้ำถี่ๆ ทีมข่าวแปลเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า...
สิ่งของส่วนตัวที่ใช้ระหว่างการเดินทาง หรือที่ชาวเราเข้าใจและเรียกกันว่า “ของใช้แล้ว” ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า นาฬิกา กระเป๋า รองเท้า หากสิ่งของเหล่านี้มีมูลค่าเกิน 2 หมื่นบาท และเป็นของใหม่เอี่ยมอ่อง ชนิดที่เพิ่งถอยจากร้านออกมาหมาดๆ นายบุญเทียม ย้ำว่า “ต้องชำระภาษี เพราะสิ่งของเหล่านี้มันมีภาระค่าภาษีในตัวของมัน”
**
ยกตัวอย่างเช่น : หากสินค้าเป็นกระเป๋า ผู้โดยสารจะต้องเสียภาษีศุลกากรร้อยละ 20 ของมูลค่าสินค้าที่ซื้อมา + ภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7
กระเป๋าแบรนด์เนม ใบละ 50,000 บาท คิดภาษีศุลกากร ร้อยละ 20 = 10,000 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7 = 4,200 บาท รวมเป็นเงิน(ภาษี)ท่ีต้องจ่ายเพิ่มเติมทั้งสิ้น 14,200 บาท
**
- ฉันเห็นข่าวสาวถือกระเป๋าใช้แล้ว มาใบเดียว แต่โดนเรียกเก็บภาษี ทำไมเป็นเช่นนั้น วานบอกที -
นายบุญเทียม กล่าวสั้นๆ ก่อนเข้าเรื่องว่า “เรื่องนี้ ข้อเท็จจริงพูดกันเพียงครึ่งเดียว”
“กระเป๋าราคาเกิน 2 หมื่นที่หญิงสาวถือมา ไม่ได้มีแค่ใบเดียว ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากร พิจารณาแล้ว เล็งเห็นว่า หญิงสาวคนนี้ใช้วิธีการพรางกระเป๋ามา ด้วยการเอากระเป๋าแบรนด์เนมออกมาจากกล่อง จากนั้น ก็ทำทีเป็นสะพายไหล่ใช้งาน ทั้งๆ ที่ในกระเป๋าใบนั้น ไม่มีสิ่งของใดๆ อยู่ในกระเป๋าเลย”
“เจ้าหน้าที่พิจารณาแล้ว กระเป๋าของเธอไม่ได้ใช้อย่างปกติ เธอถือลงมาเฉยๆ จากเครื่อง ทั้งๆ ที่ข้างในไม่มีอะไรในกระเป๋า ซึ่งเป็นสิ่งผิดวิสัย ด้วยเหตุนี้ หญิงสาวคนนี้จึงต้องชำระภาษี แต่เจ้าหน้าที่ให้หญิงสาวชำระภาษีเพียงแค่กระเป๋าใบเดียว ซึ่งเธอก็ยินดีและปฏิบัติตามโดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ ส่วนที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในโลกสังคมออมไลน์ เป็นเพราะมีผู้ใดก็ไม่ทราบ แคปข้อความของเธอไปโพสต์โดยที่เธอไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วย”
“เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเก็บภาษีใครได้ก็ต่อเมื่อเขายินยอมพร้อมใจ มีเงินพร้อมจ่ายก็จ่าย หรือจะรูดบัตรจ่ายก็ว่ากันไป” นายบุญเทียม กล่าว
- ฉันถือกระเป๋าใหม่(ใช้งานมาแล้ว) เข้าเมืองไทย ใหม่ขนาดไหน ถึงต้องเสียภาษี วานบอกที -
คำถามต่อมา คือ สิ่งของชิ้นนั้น มันต้องใหม่ขนาดไหน ถึงจะเข้าเกณฑ์ชำระภาษี?
นายบุญเทียม ไขข้อข้องใจในคำถามนี้ว่า “เราต้องมาดูกันว่า เขาซื้อของชิ้นนี้มาในราคาเท่าไร ใช้มาหรือยัง โดยพิจารณาจากสภาพของสิ่งของ ถ้าเป็นของใหม่เอี่ยมก็ต้องชำระภาษี โดยคิดจากราคาเต็มของสิ่งของ แต่ถ้ามีร่องรอยการใช้งานมาแล้ว 6-7 วัน และมีสภาพมอมแมม เลอะเทอะ มีรอยตำหนิ หรือใส่ข้าวของต่างๆ อยู่(ในกรณีกระเป๋า) หากเจ้าหน้าที่ศุลกากรพิจารณาดูแล้ว สามารถยกเว้นให้ได้ เราก็ยกเว้นให้อยู่แล้ว”
“ถ้าคุณถือสิ่งของเพียงชิ้นเดียวกลับเข้ามาประเทศไทย แล้วคุณก็ใช้งานมันจริงๆ แม้ราคาของมันจะเกิน 2 หมื่นบาทไปบ้าง เราก็ไม่ได้ไปเข้มงวดกับคุณหรอกครับ” นายบุญเทียม กล่าวแสดงความเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกของประชาชน
- ฉันถือกระเป๋าใช้แล้ว ใช้เอง เข้าเมืองไทยหลายๆ ใบ ฉันต้องเสียภาษีหรือไม่ วานบอกที -
อีกคำถามที่ตามมาคือ ถ้าฉันซื้อสิ่งของราคาเกิน 2 หมื่นบาทจากเมืองนอกมาหลายชิ้นหลายอย่าง แต่ฉันใช้เองนะ และฉันใช้ไปแล้วด้วย ฉันต้องชำภาษีหรือไม่ อย่างไรเอ่ย...
นายบุญเทียม แจกแจงข้อสงสัยนี้โดยละเอียดว่า “ถ้าคุณถือสิ่งของใช้แล้ว สิ่งของใช้เอง (ที่มีราคาเกิน 2 หมื่นบาท) มาหลายชิ้น เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ต้องเรียกเก็บภาษีจากคุณ แม้ว่าสิ่งของนั้นๆ จะมีร่องรอยการใช้งานมาแล้ว 6-7 วัน หรือสิ่งของนั้นๆ จะมีสภาพมอมแมม เลอะเทอะ มีรอยตำหนิ เจ้าหน้าที่เขาก็ต้องเก็บภาษี โดยคิดราคาตามสภาพ ซึ่งมูลค่าอาจจะลดลงมาอยู่ที่ราวๆ 60-70% จากราคาจริง”
“ถ้าเราตรวจเจอว่า คุณมีสิ่งของจำนวนมากๆ เกินคำว่า จะเอามาใช้เป็นของใช้ส่วนตัว และมีท่าทีว่าจะเอาเข้ามาในลักษณะของการค้า เราก็จับกุม แต่ถ้าคุณมีสิ่งของที่นำมาใช้เองราคาเกิน 2 หมื่นบาทเพียง 1-2 ชิ้น และเมื่อนำมานับรวมดูแล้ว เป็นเงิน 2 หมื่นหรือ 2 หมื่นนิดๆ กรณีอย่างนี้เราก็ไม่ได้ไปเข้มงวด เพราะถ้าคุณถูกจับมันก็จะดูเกินควรไปหน่อย”
“ส่วนใหญ่คนไปต่างประเทศนะครับ เขามักจะซื้อของที่ราคาเกิน 2 หมื่นบาท กลับมาเมืองไทยอยู่แล้ว ซึ่งบางคนอาจจะซื้อสิ่งของราคาสูงติดไม้ติดมือกลับมา 3-4 อย่างขึ้นไป ผมจะบอกว่า ในฐานะประชาชน คุณควรเสียภาษีให้แก่รัฐ ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐก็พิจารณาตามสมควร มิได้ใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม”
- เมื่อมีคำว่า ดุลพินิจ เกิดขึ้น คำว่า ทุจริต ก็จะตามมาได้ง่ายหรือไม่? -
เมื่อมาถึงจุดนี้ หลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า หากใช้คำว่า “ดุลพินิจ” ของเจ้าหน้าที่ “ดุลพินิจ” ในที่นี้ อาจนำมาสู่การใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นธรรม หรือนำมาสู่การรับสินบนหรือไม่?
นายบุญเทียม ยอมรับว่า “คำว่า ดุลพินิจ ฟังดูแล้วอาจจะเป็นภาษาราชการ ซึ่งดุลพินิจอาจให้ความรู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกัน”
“การที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ดุลยพินิจนั้น ถือว่า น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ผู้โดยสารจะมีใบเสร็จอยู่แล้ว ฉะนั้น ราคาก็จะถูกกำหนดตายตัว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่” นายบุญเทียม ตอบอย่างกว้างๆ
“ถ้าจะมีปัญหาในเรื่องการใช้ดุลพินิจ ก็คงจะเป็นเรื่องของการต่อรองราคา ถ้าสิ่งของที่คุณซื้อมาใหม่เอี่ยม คุณจะให้เราลดราคาได้อย่างไร เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ต้องเก็บภาษีเข้าประเทศอยู่แล้ว มิใช่ว่า จะเก็บเข้ากระเป๋าตัวเองเสียเมื่อไหร่” นายบุญเทียมกล่าวอย่างตรงไปตรงมา
- ฉันใช้ของแบรนด์เนมทั้งร่างตั้งแต่เด็กจนโต เก็บภาษีทุกชิ้น มิอ่วมหรือ วานบอกที? -
นายบุญเทียม ไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ว่า “เรื่องปกติของบางคน คือ สิ่งของทุกชิ้นที่เขาใช้ เป็นของแบรนด์เนมทั้งหมด หลายคนอาจจะสงสัยว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ เวลาเขาเดินทางกลับเข้าไทย มิต้องเก็บภาษีคนผู้นั้นทั้งหมดทุกชิ้นเลยหรือ คำตอบคือ โดยหลักแล้ว ศุลกากรจะเก็บภาษีเฉพาะของใหม่ ไม่ได้ไปเก็บของเก่า"
“ยกเว้นกรณีของคนที่ไปซื้อของมือสองกลับมาเป็นจำนวนมาก แม้ราคาจะไม่ถึง 2 หมื่นบาท ก็ต้องเสียภาษี เพราะถือว่าไม่ใช่ของใช้ส่วนตัว”นายบุญเทียม กล่าวถึงคนหัวการค้าบางราย
"ถ้าของสิ่งนั้น อยู่ในวงเงิน 2 หมื่นบาท และมีแค่ชิ้นเดียว ไม่มีใครเขาไปเก็บภาษีหรอก
แต่ถ้าเป็นแสน หรือหลายๆ แสน ซึ่งจำนวนเงินเกิน 2 หมื่นบาทไปมากๆ
คุณก็ต้องเสียภาษีเข้ารัฐ เพราะหลักการของศุลกากร คือ ของที่เข้ามาใหม่ต้องเสียภาษีทั้งสิ้น"
3 บรรทัดง่ายๆ ที่ ผอ.ศุลกากร ตรวจของผู้โดยสาร สุวรรณภูมิ อธิบายไว้ให้เข้าใจง่ายๆ
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก : aot บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน)
Cr: https://www.thairath.co.th/scoop/1236871