พท.ปรับทัพรับงานใหญ่ เสธ.แมว ชู คน 2 รุ่น พร้อมสโลแกนใหม่ “ประชาชนคิดเพื่อไทยทำ”
https://www.matichon.co.th/politics/news_1579857
พท.ปรับทัพรับงานใหญ่ เสธ.แมว ชู คน 2 รุ่น พร้อมสโลแกนใหม่ “ประชาชนคิดเพื่อไทยทำ”
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พล.ท.
ภราดร พัฒนถาบุตร ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีพรรคมีมติเลือกนาย
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นหัวหน้าน.อ.
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นเลขาธิการพรรค พร้อมทั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ 29 คนว่า ทั้งหมดเป็นคำตอบว่า พรรคเพื่อไทย ยังมีส.ส. และสมาชิกที่หลากหลายวัยวุฒิ มีเอกภาพ แต่หัวใจผสมผสานกันอย่างลงตัว ระหว่างสมาชิก และส.ส.อาวุโส ซึ่งเชี่ยวชาญงานการเมืองมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาพี่น้องประชาชนมาบวกรวมกับสมาชิกและ ส.ส.คนรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์คิดใหม่ทำใหม่กว้างไกล มาผสมผสานการทำงานร่วมกันย่อมทำให้การแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนอย่างร่วมสมัยและมีประสิทธิภาพภายใต้สโลแกนใหม่
“ประชาชนคิดเพื่อไทยทำ” ที่ยังยืนยันในวิสัยทัศน์ของพรรคเพื่อไทยที่ต้องการคิดใหม่ ทำใหม่อย่างเช่นที่ผ่านมา
“เปรียบเสมือนโรงพยาบาลชั้นเลิศที่มีอาจารย์แพทย์อาวุโส มีประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นตรง และมาร่วมปฏิบัติงานกับคุณหมอรุ่นใหม่ที่ชำนาญการใช้เครื่องไม้ เครื่องมือ นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ท่านสมพงษ์ ผู้นำพรรคคนใหม่ที่เป็นผู้มีมิตรสหายมากมาย เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทั้งปีกฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างให้ความเคารพ ดังนั้น หากเกิดกรณีที่รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำบริหารฉ้อฉลล้มเหลว ก็มีโอกาสสูงที่ส.ส.ซีกรัฐบาลบางกลุ่มจะพิจารณามุมกลับย้ายมาจับมือร่วมกับฝ่ายค้านล้มรัฐบาลสืบทอดอำนาจ จะเห็นได้ว่า ขณะนี้แทบจะทุกวงการต่างทำนายกันว่า รัฐบาลนี้จะมีอายุสั้น ยิ่งเห็นตัวรัฐมนตรีกันชัดๆแล้ว ยิ่งไม่โดนใจในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนได้เลย” พล.ท.
ภราดร กล่าว
อนค.ลงพื้นที่พิษณุโลก ดูปัญหาที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ-อุปสรรคในการทำเกษตรอินทรีย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_1579958
“ทิม พิธา” ชี้ ปัญหาที่ดินของเกษตรกรเป็นเหมือนกระดุมเม็ดบนที่ติดผิด-ชงตุ๊กตา “พ.ร.บ.ป่าพัฒนา” เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เกษตรกร
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ที่ทำการสหกรณ์นิคมสร้างตนเองวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พร้อมด้วยนาย
เกษมสันต์ มีทิพย์,นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.บัญชีรายชื่อ และที่ปรึกษานโนบายด้านการเกษตรพรรคอนาคตใหม่ ในฐานะสมาชิกคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ ลงพื้นที่พบปะรับฟังปัญหาจากเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ โดยเกษตรกรในพื้นที่นี้ปลูกมะม่วงเป็นหลัก รวมถึงผักผลไม้อื่นๆ ที่ผ่านมาประสบปัญหาไม่สามารถปลูกเพื่อการส่งออกได้ และถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาลงโดยไม่เป็นธรรม เนื่องจากผลผลิตไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agrigultural Products) และ GMP (Good Manufacturing Products) ด้วยความที่ที่ดินเป็นที่ดินนิคมสร้างตนเองที่ไม่มีเอกสารสิทธิ และในระยะหลังกลายเป็นพื้นที่พิพาทป่าสงวนแห่งชาติ
นาย
พิธา กล่าวว่า มาที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อมาดูปัญหาสองเรื่องหลักๆ เรื่องแรกคือเรื่องของพื้นที่ป่าทับที่ชาวบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาในระดับทั่วประเทศ ตามรายงานของทางการระบุไว้ว่ามีพื้นที่ทับซ้อนในลักษณะนี้ถึง 6 ล้านไร่ แต่ตนเชื่อว่า ตัวเลขสูงกว่านั้น เนื่องจากเพียงแค่ในพื้นที่ของสหกรณ์นิคมสร้างตนเองทั่วประเทศก็เป็นตัวเลขถึงกว่า 1 ล้านไร่แล้ว ปัญหาตรงนี้เกิดจากการทำแผนที่ของนักรบห้องแอร์ เอาปากกาเมจิกมานั่งวาดกันในห้องแอร์โดยไม่ได้ลงสำรวจพื้นที่จริง แล้วแต่ละหน่วยงานก็มีแผนที่ไม่ตรงกัน แม้จะมีโครงการจะทำแผนที่เดียวกันด้วยระบบดาวเทียม แต่ก็ยังไม่มีการปฏิบัติจริง ประการที่สอง ตนมาเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงของสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับจังหวัดพิษณุโลก ตนลงมาที่สนามบินพิษณุโลก เห็นป้ายโฆษณาอันใหญ่มากเขียนว่า พิษณุโลกเมืองเกษตรอินทรีย์ แต่ทราบหรือไม่ว่า ไทยเป็นประเทศที่นำเข้าสารเคมีทางการเกษตรสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งๆที่เนื้อที่ทางการเกษตรเป็นแค่อันดับที่ 48 ของโลก แต่ที่สำคัญกว่า คือพิษณุโลกมีจำนวนผู้ป่วยจากสารเคมีทางการเกษตรสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันกับป้ายโฆษณาดังกล่าว
ทั้งนี้ นาย
พิธากล่าวว่าตนเข้าใจถึงอุปสรรค ว่าเกษตรกรจำนวนมากไม่มีทางเลือก ถ้าไม่ใช้สารเคมี ผลผลิตก็ไม่งาม ไม่สามารถนำออกขายในตลาดได้ การทำเกษตรอินทรีย์ก็มีต้นทุนและความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ ในสภาพที่เกษตรกรเป็นหนี้เป็นสิน ต้องการความแน่นอนในผลผลิต การใช้สารเคมีเป็นสภาพจำยอม แต่ถ้าเราไปดูอย่างเวียดนาม เขามีนโยบายปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ส่งออก จัดสรรที่ดิน 8 ล้านไร่ทั่วประเทศปลูกสมุนไพร ทำเกษตรอินทรีย์ส่งออกโดยเฉพาะ นี่ไม่ใช่การบอกว่าสิ่งนี้ถูกหรือผิดหรือจะทำตามหรือไม่ทำตาม แต่เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในระดับนโยบาย ที่จะยกระดับให้เกิดการปลูกพืชในแนวทางอินทรีย์จริงๆ มีการสนับสนุนจากภาครัฐให้เกิดขึ้นได้จริง
นาย
พิธา ยังกล่าวอีกว่าปัญหาสำคัญของเกษตรกรในประเทศไทยคือเรื่องของที่ดิน อย่างในพื้นที่นิคมสร้างตนเองที่พี่น้องที่มากันวันนี้ใช้ทำกินเป็นหลัก ก็เป็นพื้นที่ๆมีลักษณะทับซ้อน การจัดสรรที่ดินเป็นเหมือนกระดุมเม็ดแรกที่ถ้าเริ่มแบบผิดๆทุกอย่างก็ไปไม่ได้ เช่นหนึ่งในวิธีการยกระดับหรือเพิ่มมูลค่าของสินค้าสำหรับส่งออก คือการขอ GAP และ GMP แต่การได้รับการรับรอง GAP หรือ GMP พื้นที่เพาะปลูกต้องมีเอกสารสิทธิ แต่ในสภาพที่เกษตรกรจำนวนมากยังไม่มีเอกสารสิทธิเป็นของตัวเอง การจะได้รับ GAP หรือ GMP เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาที่ดินคือกระดุมเม็ดแรกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆได้
“มันคือกระดุมเม็ดบนที่ติดผิดมาโดยตลอด เกษตรกรจำนวนมากมีปัญหาเอกสารสิทธิบ้าง มีปัญหาป่าทับที่บ้าง พอมีปัญหาแบบนี้ เรื่องที่สองที่สามที่ผมอยากทำไม่ต้องคิดเลย เรื่องเกษตรกรแปรรูป เรื่องการเลิกใช้สารเคมี ตราบใดที่เกษตรกรยังมีชีวิตบนความเสี่ยง มีหนี้สิน มันเป็นสภาพที่ลองผิดลองถูกไม่ได้ พอกระดุมเม็ดแรกมันติดผิดมันไปไหนต่อไม่ได้” นาย
พิธากล่าว
ดังนั้น ตนจึงเห็นว่าการแก้ปัญหาที่ดินจึงเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาในขั้นต่อๆไปสำหรับเกษตรกรได้ ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำมีมาจากหลายสาเหตุ ปัญหาเอกสารสิทธิในที่ดินเป็นหนึ่งในนั้น อย่างที่ตนบอกไป ทั่วประเทศเกษตรกรที่มีปัญหาที่ดินทับซ้อนแบบนี้มีจำนวนมากกว่า 6 ล้านไร่ ผลผลิตทางการเกษตรหลายตัว อย่างทุเรียนเอง หลายพื้นที่ก็มีปัญหาในการส่งออกเพราะเหตุผลนี้ ขอใบรับรอง GAP-GMP ไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราจะแก้ปัญหาตรงนี้เป็นขั้นแรกได้ ขั้นต่อๆไปเราก็จะเริ่มมองเห็นหนทางไปต่อ
“ให้ผมนึกเร็วๆ เราทำเป็น พ.ร.บ.ออกมาให้เป็นพื้นที่ “พ.ร.บ.ป่าพัฒนา” ได้ไหม เป็นพื้นที่กลาง ไม่ใช่ทั้งของรัฐและของประชาชน เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อแก้ปัญหาเอกสารสิทธิ ในประเทศไทยเราทำเขตเศรษฐกิจพิเศษให้ต่างชาติมาเยอะแล้ว เราทำให้คนไทยสักครั้งได้มั้ย เราแก้ปัญหาที่ดินได้ เราก็ขอ GAP-GMP ให้เกษตรกรได้ ก็ยกระดับราคาสินค้าได้ในระดับหนึ่ง” นาย
พิธากล่าว
JJNY : 4in1 พท.ปรับทัพรับงานใหญ่พร้อมสโลแกนใหม่/อนค.ลงพื้นที่พิษณุโลก/รุมชำแหละคดีกรุงไทย/แล้งพ่นพิษชาวขอนแก่นกระทบหนัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_1579857
พท.ปรับทัพรับงานใหญ่ เสธ.แมว ชู คน 2 รุ่น พร้อมสโลแกนใหม่ “ประชาชนคิดเพื่อไทยทำ”
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีพรรคมีมติเลือกนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นหัวหน้าน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นเลขาธิการพรรค พร้อมทั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ 29 คนว่า ทั้งหมดเป็นคำตอบว่า พรรคเพื่อไทย ยังมีส.ส. และสมาชิกที่หลากหลายวัยวุฒิ มีเอกภาพ แต่หัวใจผสมผสานกันอย่างลงตัว ระหว่างสมาชิก และส.ส.อาวุโส ซึ่งเชี่ยวชาญงานการเมืองมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาพี่น้องประชาชนมาบวกรวมกับสมาชิกและ ส.ส.คนรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์คิดใหม่ทำใหม่กว้างไกล มาผสมผสานการทำงานร่วมกันย่อมทำให้การแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนอย่างร่วมสมัยและมีประสิทธิภาพภายใต้สโลแกนใหม่ “ประชาชนคิดเพื่อไทยทำ” ที่ยังยืนยันในวิสัยทัศน์ของพรรคเพื่อไทยที่ต้องการคิดใหม่ ทำใหม่อย่างเช่นที่ผ่านมา
“เปรียบเสมือนโรงพยาบาลชั้นเลิศที่มีอาจารย์แพทย์อาวุโส มีประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นตรง และมาร่วมปฏิบัติงานกับคุณหมอรุ่นใหม่ที่ชำนาญการใช้เครื่องไม้ เครื่องมือ นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ท่านสมพงษ์ ผู้นำพรรคคนใหม่ที่เป็นผู้มีมิตรสหายมากมาย เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทั้งปีกฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างให้ความเคารพ ดังนั้น หากเกิดกรณีที่รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำบริหารฉ้อฉลล้มเหลว ก็มีโอกาสสูงที่ส.ส.ซีกรัฐบาลบางกลุ่มจะพิจารณามุมกลับย้ายมาจับมือร่วมกับฝ่ายค้านล้มรัฐบาลสืบทอดอำนาจ จะเห็นได้ว่า ขณะนี้แทบจะทุกวงการต่างทำนายกันว่า รัฐบาลนี้จะมีอายุสั้น ยิ่งเห็นตัวรัฐมนตรีกันชัดๆแล้ว ยิ่งไม่โดนใจในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนได้เลย” พล.ท.ภราดร กล่าว
อนค.ลงพื้นที่พิษณุโลก ดูปัญหาที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ-อุปสรรคในการทำเกษตรอินทรีย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_1579958
“ทิม พิธา” ชี้ ปัญหาที่ดินของเกษตรกรเป็นเหมือนกระดุมเม็ดบนที่ติดผิด-ชงตุ๊กตา “พ.ร.บ.ป่าพัฒนา” เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เกษตรกร
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ที่ทำการสหกรณ์นิคมสร้างตนเองวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พร้อมด้วยนายเกษมสันต์ มีทิพย์,นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.บัญชีรายชื่อ และที่ปรึกษานโนบายด้านการเกษตรพรรคอนาคตใหม่ ในฐานะสมาชิกคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ ลงพื้นที่พบปะรับฟังปัญหาจากเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ โดยเกษตรกรในพื้นที่นี้ปลูกมะม่วงเป็นหลัก รวมถึงผักผลไม้อื่นๆ ที่ผ่านมาประสบปัญหาไม่สามารถปลูกเพื่อการส่งออกได้ และถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาลงโดยไม่เป็นธรรม เนื่องจากผลผลิตไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agrigultural Products) และ GMP (Good Manufacturing Products) ด้วยความที่ที่ดินเป็นที่ดินนิคมสร้างตนเองที่ไม่มีเอกสารสิทธิ และในระยะหลังกลายเป็นพื้นที่พิพาทป่าสงวนแห่งชาติ
นายพิธา กล่าวว่า มาที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อมาดูปัญหาสองเรื่องหลักๆ เรื่องแรกคือเรื่องของพื้นที่ป่าทับที่ชาวบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาในระดับทั่วประเทศ ตามรายงานของทางการระบุไว้ว่ามีพื้นที่ทับซ้อนในลักษณะนี้ถึง 6 ล้านไร่ แต่ตนเชื่อว่า ตัวเลขสูงกว่านั้น เนื่องจากเพียงแค่ในพื้นที่ของสหกรณ์นิคมสร้างตนเองทั่วประเทศก็เป็นตัวเลขถึงกว่า 1 ล้านไร่แล้ว ปัญหาตรงนี้เกิดจากการทำแผนที่ของนักรบห้องแอร์ เอาปากกาเมจิกมานั่งวาดกันในห้องแอร์โดยไม่ได้ลงสำรวจพื้นที่จริง แล้วแต่ละหน่วยงานก็มีแผนที่ไม่ตรงกัน แม้จะมีโครงการจะทำแผนที่เดียวกันด้วยระบบดาวเทียม แต่ก็ยังไม่มีการปฏิบัติจริง ประการที่สอง ตนมาเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงของสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับจังหวัดพิษณุโลก ตนลงมาที่สนามบินพิษณุโลก เห็นป้ายโฆษณาอันใหญ่มากเขียนว่า พิษณุโลกเมืองเกษตรอินทรีย์ แต่ทราบหรือไม่ว่า ไทยเป็นประเทศที่นำเข้าสารเคมีทางการเกษตรสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งๆที่เนื้อที่ทางการเกษตรเป็นแค่อันดับที่ 48 ของโลก แต่ที่สำคัญกว่า คือพิษณุโลกมีจำนวนผู้ป่วยจากสารเคมีทางการเกษตรสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันกับป้ายโฆษณาดังกล่าว
ทั้งนี้ นายพิธากล่าวว่าตนเข้าใจถึงอุปสรรค ว่าเกษตรกรจำนวนมากไม่มีทางเลือก ถ้าไม่ใช้สารเคมี ผลผลิตก็ไม่งาม ไม่สามารถนำออกขายในตลาดได้ การทำเกษตรอินทรีย์ก็มีต้นทุนและความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ ในสภาพที่เกษตรกรเป็นหนี้เป็นสิน ต้องการความแน่นอนในผลผลิต การใช้สารเคมีเป็นสภาพจำยอม แต่ถ้าเราไปดูอย่างเวียดนาม เขามีนโยบายปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ส่งออก จัดสรรที่ดิน 8 ล้านไร่ทั่วประเทศปลูกสมุนไพร ทำเกษตรอินทรีย์ส่งออกโดยเฉพาะ นี่ไม่ใช่การบอกว่าสิ่งนี้ถูกหรือผิดหรือจะทำตามหรือไม่ทำตาม แต่เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในระดับนโยบาย ที่จะยกระดับให้เกิดการปลูกพืชในแนวทางอินทรีย์จริงๆ มีการสนับสนุนจากภาครัฐให้เกิดขึ้นได้จริง
นายพิธา ยังกล่าวอีกว่าปัญหาสำคัญของเกษตรกรในประเทศไทยคือเรื่องของที่ดิน อย่างในพื้นที่นิคมสร้างตนเองที่พี่น้องที่มากันวันนี้ใช้ทำกินเป็นหลัก ก็เป็นพื้นที่ๆมีลักษณะทับซ้อน การจัดสรรที่ดินเป็นเหมือนกระดุมเม็ดแรกที่ถ้าเริ่มแบบผิดๆทุกอย่างก็ไปไม่ได้ เช่นหนึ่งในวิธีการยกระดับหรือเพิ่มมูลค่าของสินค้าสำหรับส่งออก คือการขอ GAP และ GMP แต่การได้รับการรับรอง GAP หรือ GMP พื้นที่เพาะปลูกต้องมีเอกสารสิทธิ แต่ในสภาพที่เกษตรกรจำนวนมากยังไม่มีเอกสารสิทธิเป็นของตัวเอง การจะได้รับ GAP หรือ GMP เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาที่ดินคือกระดุมเม็ดแรกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆได้
“มันคือกระดุมเม็ดบนที่ติดผิดมาโดยตลอด เกษตรกรจำนวนมากมีปัญหาเอกสารสิทธิบ้าง มีปัญหาป่าทับที่บ้าง พอมีปัญหาแบบนี้ เรื่องที่สองที่สามที่ผมอยากทำไม่ต้องคิดเลย เรื่องเกษตรกรแปรรูป เรื่องการเลิกใช้สารเคมี ตราบใดที่เกษตรกรยังมีชีวิตบนความเสี่ยง มีหนี้สิน มันเป็นสภาพที่ลองผิดลองถูกไม่ได้ พอกระดุมเม็ดแรกมันติดผิดมันไปไหนต่อไม่ได้” นายพิธากล่าว
ดังนั้น ตนจึงเห็นว่าการแก้ปัญหาที่ดินจึงเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาในขั้นต่อๆไปสำหรับเกษตรกรได้ ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำมีมาจากหลายสาเหตุ ปัญหาเอกสารสิทธิในที่ดินเป็นหนึ่งในนั้น อย่างที่ตนบอกไป ทั่วประเทศเกษตรกรที่มีปัญหาที่ดินทับซ้อนแบบนี้มีจำนวนมากกว่า 6 ล้านไร่ ผลผลิตทางการเกษตรหลายตัว อย่างทุเรียนเอง หลายพื้นที่ก็มีปัญหาในการส่งออกเพราะเหตุผลนี้ ขอใบรับรอง GAP-GMP ไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราจะแก้ปัญหาตรงนี้เป็นขั้นแรกได้ ขั้นต่อๆไปเราก็จะเริ่มมองเห็นหนทางไปต่อ
“ให้ผมนึกเร็วๆ เราทำเป็น พ.ร.บ.ออกมาให้เป็นพื้นที่ “พ.ร.บ.ป่าพัฒนา” ได้ไหม เป็นพื้นที่กลาง ไม่ใช่ทั้งของรัฐและของประชาชน เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อแก้ปัญหาเอกสารสิทธิ ในประเทศไทยเราทำเขตเศรษฐกิจพิเศษให้ต่างชาติมาเยอะแล้ว เราทำให้คนไทยสักครั้งได้มั้ย เราแก้ปัญหาที่ดินได้ เราก็ขอ GAP-GMP ให้เกษตรกรได้ ก็ยกระดับราคาสินค้าได้ในระดับหนึ่ง” นายพิธากล่าว