อ่านข้อความนี้เแล้คุณจะเศร้าค่ะ..
ในความเป็นจริง ประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อปกป้องพะยูนมานานแล้ว พะยูนได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในปี พ.ศ. 2535 และตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส (CITES) พะยูนซึ่งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ได้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ลำดับ 86 ของบัญชีไซเตส จึงเป็นสัตว์ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น
สำหรับในระดับโลก สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดอันดับให้พะยูนอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย (Vulnerable – VU) อันมีความหมายว่ามีความเสี่ยงที่จะสูญพันธ์ไปแบบไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าไร้ซึ่งการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากมนุษย์
ในปี 2556 ประเทศไทยมีผลสำรวจพบว่าพะยูนที่ทะเลตรังเหลืออยู่เพียงแค่ 110 – 125 ตัว โดยสาเหตุหลักที่ทำให้มันลดลงเนื่องจากผลกระทบจากเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย และพื้นที่หญ้าทะเลซึ่งเป็นแหล่งหากินของพะยูนในจังหวัดตรังลดลงเหลือประมาณ 7,000 กว่าไร่ จาก 12,000 ไร่ จากการสำรวจในปี 2555 ในขณะนั้นจึงมีคาดการณ์กันว่าถ้าปล่อยให้พะยูนตายด้วยอุบัติเหตุเครื่องมือประมงราวปีละ 12 ตัว จะทำให้พะยูนสูญพันธุ์ไปจากทะเลตรังภายใน 16 ปี
ในวันนี้ได้กลายเป็นสัตว์ที่พร้อมที่จะกลับมาอยู่คู่ท้องทะเลไทยอีกครั้ง จากความพยายามอย่างต่อเนื่องของนักอนุรักษ์และชาวบ้านในชุมชน
เมื่อย้อนกลับไปราว 5 – 6 ปีที่แล้ว ในยามที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องทะเลยังมีทิศทางไม่ชัดเจน ผู้ประกอบการประมงเชิงพาณิชย์ยังไม่ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมทางทะเลที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้สัตว์น้ำเจ้าถิ่นซึ่งเป็นตัววัดความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลอย่าง “พะยูน” ต้องอยู่ในภาวะที่ใกล้สูญพันธุ์ นักอนุรักษ์และหน่วยงานทางธรรมชาติจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้สัตว์สายพันธุ์นี้กลับมาอยู่คู่ท้องทะเลไทยอีกครั้ง
แน่นอนว่าเหล่าบรรดานักอนุรักษ์ธรรมชาติย่อมไม่ปล่อยให้สัตว์น่ารักที่อยู่คู่ท้องทะเลไทยต้องสูญพันธุ์ไป นับตั้งแต่นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานทางปกครองในพื้นที่ ได้ร่วมมือกันเพื่อหาทางเพาะพันธุ์และฟื้นฟูปริมาณพะยูนในธรรมชาติให้มีมากขึ้น รวมถึงรณรงค์ให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์พะยูน
ความพยายามอย่างต่อเนื่องของพวกเขาเริ่มผลิดอกออกผล โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีการสำรวจประชากรพะยูนในทะเลตรังอีกครั้ง ค้นพบว่า มีพะยูนคู่แม่ลูก 42 คู่ ซึ่งเป็นข้อมูลยืนยันว่ามีพะยูนมากกว่า 210 ตัว และถ้ามนุษย์ไม่ล่ามันเพิ่มเติม ก็เชื่อว่าในปี 2562 พะยูนจะเพิ่มขึ้นอีกราว 250 ตัว นอกจากนี้ เมื่อนำข้อมูลปี 2560 ซึ่งพบว่ามีพะยูนประมาณ 169 ตัวมาเปรียบเทียบ ก็พบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรพะยูนอย่างน่าดีใจ
สาเหตุที่ประชากรพะยูนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากความพยายามจากนักอนุรักษ์แล้ว ปัจจัยที่สำคัญคือความร่วมมือของชุมชนประมงที่ไม่ใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายกับสัตว์ทะเลหายาก รวมไปถึงการฟื้นฟูหญ้าทะเลให้เป็นแหล่งอาหารของพะยูนอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้จำนวนพะยูนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนเกิดเป็นความหวังว่าพะยูนจะยังเป็นสัตว์สัญลักษณ์คู่จังหวัดตรังและประเทศไทยต่อไป
https://ngthai.com/animals/19415/newhopefordugonginthailand/
และแล้วก็มีลูกพยูนน้อยหลงแม่แห่งเกาะลิบง มาให้ทุกคนได้รู้จักพยูนในท้องทะเลไทยมากขึ้นค่ะ...
ติดตามเรื่องราวของพยูนน้อยน่ารัก ชื่อน้องมารียมกันนะคะ.....
🌂มาลาริน/วันอาทิตย์สบายๆ มาชมพยูนไทย ในยุคลุงตู่ ยุคที่รัฐบาลเห็นความสำคัญของท้องทะเลไทยและสัตว์ทะเลของไทยกันค่ะ
ในความเป็นจริง ประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อปกป้องพะยูนมานานแล้ว พะยูนได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในปี พ.ศ. 2535 และตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส (CITES) พะยูนซึ่งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ได้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ลำดับ 86 ของบัญชีไซเตส จึงเป็นสัตว์ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น
สำหรับในระดับโลก สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดอันดับให้พะยูนอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย (Vulnerable – VU) อันมีความหมายว่ามีความเสี่ยงที่จะสูญพันธ์ไปแบบไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าไร้ซึ่งการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากมนุษย์
ในปี 2556 ประเทศไทยมีผลสำรวจพบว่าพะยูนที่ทะเลตรังเหลืออยู่เพียงแค่ 110 – 125 ตัว โดยสาเหตุหลักที่ทำให้มันลดลงเนื่องจากผลกระทบจากเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย และพื้นที่หญ้าทะเลซึ่งเป็นแหล่งหากินของพะยูนในจังหวัดตรังลดลงเหลือประมาณ 7,000 กว่าไร่ จาก 12,000 ไร่ จากการสำรวจในปี 2555 ในขณะนั้นจึงมีคาดการณ์กันว่าถ้าปล่อยให้พะยูนตายด้วยอุบัติเหตุเครื่องมือประมงราวปีละ 12 ตัว จะทำให้พะยูนสูญพันธุ์ไปจากทะเลตรังภายใน 16 ปี
ในวันนี้ได้กลายเป็นสัตว์ที่พร้อมที่จะกลับมาอยู่คู่ท้องทะเลไทยอีกครั้ง จากความพยายามอย่างต่อเนื่องของนักอนุรักษ์และชาวบ้านในชุมชน
เมื่อย้อนกลับไปราว 5 – 6 ปีที่แล้ว ในยามที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องทะเลยังมีทิศทางไม่ชัดเจน ผู้ประกอบการประมงเชิงพาณิชย์ยังไม่ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมทางทะเลที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้สัตว์น้ำเจ้าถิ่นซึ่งเป็นตัววัดความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลอย่าง “พะยูน” ต้องอยู่ในภาวะที่ใกล้สูญพันธุ์ นักอนุรักษ์และหน่วยงานทางธรรมชาติจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้สัตว์สายพันธุ์นี้กลับมาอยู่คู่ท้องทะเลไทยอีกครั้ง
แน่นอนว่าเหล่าบรรดานักอนุรักษ์ธรรมชาติย่อมไม่ปล่อยให้สัตว์น่ารักที่อยู่คู่ท้องทะเลไทยต้องสูญพันธุ์ไป นับตั้งแต่นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานทางปกครองในพื้นที่ ได้ร่วมมือกันเพื่อหาทางเพาะพันธุ์และฟื้นฟูปริมาณพะยูนในธรรมชาติให้มีมากขึ้น รวมถึงรณรงค์ให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์พะยูน
ความพยายามอย่างต่อเนื่องของพวกเขาเริ่มผลิดอกออกผล โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีการสำรวจประชากรพะยูนในทะเลตรังอีกครั้ง ค้นพบว่า มีพะยูนคู่แม่ลูก 42 คู่ ซึ่งเป็นข้อมูลยืนยันว่ามีพะยูนมากกว่า 210 ตัว และถ้ามนุษย์ไม่ล่ามันเพิ่มเติม ก็เชื่อว่าในปี 2562 พะยูนจะเพิ่มขึ้นอีกราว 250 ตัว นอกจากนี้ เมื่อนำข้อมูลปี 2560 ซึ่งพบว่ามีพะยูนประมาณ 169 ตัวมาเปรียบเทียบ ก็พบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรพะยูนอย่างน่าดีใจ
สาเหตุที่ประชากรพะยูนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากความพยายามจากนักอนุรักษ์แล้ว ปัจจัยที่สำคัญคือความร่วมมือของชุมชนประมงที่ไม่ใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายกับสัตว์ทะเลหายาก รวมไปถึงการฟื้นฟูหญ้าทะเลให้เป็นแหล่งอาหารของพะยูนอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้จำนวนพะยูนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนเกิดเป็นความหวังว่าพะยูนจะยังเป็นสัตว์สัญลักษณ์คู่จังหวัดตรังและประเทศไทยต่อไป
https://ngthai.com/animals/19415/newhopefordugonginthailand/
และแล้วก็มีลูกพยูนน้อยหลงแม่แห่งเกาะลิบง มาให้ทุกคนได้รู้จักพยูนในท้องทะเลไทยมากขึ้นค่ะ...
ติดตามเรื่องราวของพยูนน้อยน่ารัก ชื่อน้องมารียมกันนะคะ.....