เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์
เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) หรือ พระปทุมวรราชสุริยวงษ ในจารึกพระเจ้าอินแปงออกนามว่า เจ้าพระปทุม
ดำรงตำแหน่งเจ้าประเทศราชครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานีในภาคอีสานของประเทศไทย)
นามเดิมว่า เจ้าคำผง หรือ ท้าวคำผง
ด้วยการที่พระประทุมราชวงศา(เจ้าคำผง) ร่วมมือกับเจ้าฝ่ายหน้าผู้อนุชาซึ่งไปตั้งกองนอกเก็บส่วยอยู่ที่บ้านสิงห์โคกสิงห์ท่า(เมืองยโสธร)
และถูกบังคับให้ช่วยเหลือกองทัพเมืองนครราชสีปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้วได้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ
ให้พระประทุมราชวงศาเป็นที่พระปทุมวรราชสุริยวงษทรงยกเมืองอุบลขึ้นเป็นอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชยกฐานะ
เมืองอุบลราชธานีเป็นเมืองประเทศราช
และสถาปนาพระปทุมราชวงศาเป็นเจ้าเมืองอุบลองค์แรกเมื่อพ.ศ. 2321
พระปรมาภิไธย
เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์
พระอิสริยยศ
เจ้าประเทศราช
ราชวงศ์สุวรรณปางคำ
รัชกาลถัดไป
เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าทิดพรหม)
พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ครองเมืองอุบลราชธานีมาแต่ตั้งเมืองเป็นเวลารวมได้17 ปีจนถึงพ.ศ. 2338จึงถึงแก่พิราลัยสิริรวมชนมายุได้85 ปี
มีการประกอบพระราชทานเพลิงศพด้วยเมรุนกสักกะไดลิงก์ ณทุ่งศรีเมืองแล้วเก็บอัฐิธาตุบรรจุในพระธาตุเจดีย์ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง
ณบริเวณที่เป็นธนาคารออมสินสาขาอุบลราชธานีทุกวันนี้
ต่อมาภายหลังเมื่อมีการสร้างเรือนจำขึ้นในบริเวณดังกล่าวจึงย้ายอัฐิไปประดิษฐานณวัดหลวงเมืองอุบลราชธานีจนทุกวันนี้
ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าคำผง) ประดิษฐาน2 ที่1
คือวัดหลวงโดยมีพระเจ้าใหญ่องค์หลวงเป็นพระประธานนานมานับแต่สร้างเมือง
และเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปได้มีการจัดสร้างพิธีเททองหล่อพระที่มีชื่อว่าหลวงพ่อปากดำองค์จำลองจากองค์จริงที่มีอายุนับร้อยปีขึ้นมา
เพื่อประดิษฐานณพระอุโบสถหลังใหม่เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและอุทิศบุญทั้งหมดอันเกิดจากการสร้างพระประธานหลวงพ่อปากดำองค์นี้ให้แด่เจ้าเมือง
และผู้ที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อแลกกับผืนแผ่นดินจนมีปัจจุบันทุกวันนี้
กล่าวคำถวาย
อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ
โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง
ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าฯ ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปอันไเ้แก่หลวงพ่อปากดำนี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้
เพื่อประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง และเพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาสืบไป สิ้นกาลนานเทอญ
หมายเหตุ : ภาพนี้ด้านบนนี้ ขอสงวนลิขสิทธิ์ มีเพียงภาพเดียวเท่านั้นที่เป็นต้นฉบับ
ขออนุญาติเป็นการภายในครอบครัวเท่านั้น
และอีกที่หนึ่ง ณ ทุ่งศรีเมือง กลางเมืองอุบลราชธานี
สกุลที่สืบเชื้อสาย
เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์เป็นต้นกำเนิดของสายสกุลต่างๆในเมืองอุบลราชธานีหลายสกุลเช่น
ณอุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือพระอุบลเดชประชารักษ์(เสือณอุบล)กรมการเมืองพิเศษ
เมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่5
สุวรรณกูฏ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา(กุทองสุวรรณกูฏ)เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่3 พระราชโอรสในเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศา
สิงหัษฐิตสกุลสายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะพระนัดดาในเจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่3
ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลคือพระวิภาคย์พจนกิจบิดาของนายเติมวิภาคย์พจนกิจผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน
ทองพิทักษ์ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าอุปฮาด(สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
อมรดลใจสกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจอดีตบรรดาศักดิ์ที่ท้าวสุริยวงศ์เจ้าเมืองตระการพืชผลองค์แรกท่านนี้เป็นบุตร
ในพระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่3
โทนุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัยหรือท้าวคำพูนสุวรรณกูฏผู้เป็นบุตรในพระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่3
โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่าพระเรืองชัยชนะเจ้าเมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี
ต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้การปกครองของเมืองอุบลราชธานี
บุตโรบล สายนี้สืบมาจากเจ้าราชบุตร(สุ่ย)และเจ้าราชบุตร(คำ) โอรสในเจ้าสีหาราชทั้งสองพระองค์เป็นพระราชอนุชาในเจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์
ผู้รับพระราชทานสกุลคือพระอุบลกิจประชากรสายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญานางเจียงคำบุตโรบล(หม่อมเจียงคำชุมพลณอยุธยา)
ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าชุมพลสมโภชกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
อนึ่งทายาทบุตรหลานสายใดก็ดีหรือสกุลใดก็ดีหรือมิได้สืบเชื้อสายก็ดีมิได้มีราชสกุลหรือนามสกุลโดยตรงกับท่านก็ดีชาวอุบลราชธานีทุกๆคน
ก็ถือเป็นลูกหลานของท่านมิผิดแท้
จึงขอเผยแพร่ชื่อเสียงของท่านโดยสังเขปให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลผู้ต่างบ้านต่างเมืองหรือผู้อาจยังมิเคยล่วงรู้มาก่อนว่า
ชื่อเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์คือผู้ใดกัน
ทั้งนี้มิได้มีการกล่าวถึงประวัติของท่านโดยละเอียดแต่เพียงแค่เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆที่เราในฐานะลูกหลานชาวอุบล
ได้ถูกบอกเล่ากล่าวมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนพลอยทราบซึ้งเคารพและระลึกถึงบุญคุณของท่านที่ทำให้มีจังหวัดอุบลราชธานีมาจนจวบทุกวันนี้
ในการนี้ หลวงปู่ ได้เมตตา มอบรูปหล่อองค์จำลอง
เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์
แก่ลูกหลานเพื่อเป็นที่เคารพ เป็นสิริมงคล และเพื่อสักการะ ระลึกถึงท่าน
ให้เรียกท่านว่า “พ่อใหญ่”
[พ่อ-ใหญ่] ในภาษาอีสาน แปลว่า คุณตา/คุณปู่/คำเรียกขานผู้ชายอาวุโส
วัดหลวง จังหวัดอุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ด้านหน้า ติดถนน ด้านหลัง ติด ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้นกับท่าจวน (ตลาดใหญ่)สมัยนี้ที่เรียกกัน
พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)