วิถีแห่งทุนนิยมย่อมให้ความสำคัญผลประโยชน์เป็นหลักไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยเอกชนหรือองค์กรที่อยู่ภายใต้การควบคุมของภาครัฐก็ตาม
เช่นเดียวกับกรณีความขัดแย้งระหว่าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT กับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ในประเด็นศูนย์การค้าที่กำลังสร้างใหม่ถูกระบุว่ารุกล้ำที่ของสนามบินสุวรรณภูมินั้น แม้อาจดูเป็นเรื่องหยุมหยิม ทว่าแท้จริงแล้วต้นตอของเรื่องมีผลประโยชน์จำนวนมหาศาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
สนามสุวรรณภูมิเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อประเทศไทยกับนานาประเทศโดยรองรับนักเดินทางปีละ 63 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 51 ล้านคนเศษ ที่เหลือเป็นการเดินทางภายในประเทศ เป็นทั้งหน้าด่านต้อนรับนักท่องเที่ยว-นักธุรกิจ และยังเป็นประตูสุดท้ายที่จะส่งผู้มาเยือนกลับไป
หากจำกันได้ช่วงหลังเลือกตั้งเสร็จไปราว 2-3 เดือนมีการประกาศผลประมูลสิทธิ์ 10 ปีบริหารพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร หรือ ดิวตี้ฟรี ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้ชนะคือ บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ส่วนเอกชนรายอื่นรวมไปถึง บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ล้วนพ่ายแพ้ไปอย่างไม่มีลุ้น
ดูเหมือนในยุคนี้ต่อให้เอกชนที่เข้ามาแข่งประมูลจะดีพร้อมปานใด ก็มิอาจต้านทานพลังของ "คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี" ได้เลย ทว่าทุกๆ คนต่างรู้ว่า อย่างไรเสียจำนวนผู้ใช้บริการสนามบินก็จะเติบโตขึ้น โดยมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจุดศูนย์กลางที่ผู้มวลมหามนุษย์จะต้องมาใช้บริการอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
เมื่อ CPN หมดหวังที่พาตัวเองเข้าไปอยู่กลางไข่แดงฟองนี้ได้ กลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้ก็คือ การซุ่มโอบล้อมประตูเข้าออกมันซะเลย
นี่จึงเป็นที่มาที่ว่าทำไม โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล วิลเลจ จึงเข้าใกล้อิงแอบสุวรรณภูมิมากเหลือเกิน มากจนขนาดที่ว่า AOT ต้องออกหน้าทำหนังสือขับให้โครงการก่อสร้างห้างใหม่นี้ต้องร่นออกจากพื้นที่ซึ่งกำลังสร้างอยู่ภายใน 15 วัน
ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ ขืนปล่อยไว้อย่างนี้ "ดิวตี้ฟรี" ที่ปัจจุบันเรียกได้ว่าค้าขายแบบผูกขาดมาตลอดก็อาจต้องเสียส่วนแบ่งการตลาดไปแน่ๆ ซึ่งผลกระทบเชิงลบก็ย่อมจะตกแก่ทั้ง บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ในแง่จำนวนลูกค้า และ AOT ในแง่ของการกำหนดราคาประมูลในอีก 10 ปีข้างหน้า
ด้านผู้อำนวยการ AOT ได้ให้ข้อมูลว่า วันที่ 20 ก.พ. 62 ได้มีเอกชนรายหนึ่ง (น่าจะหมายถึง CPN แน่นอน) เคยทำหนังสือขออนุญาตเข้ามาใช้พื้นที่ของสนามบิน แต่ทางท่าอากาศยานไม่สามารถอนุมัติตามคำขอได้
และต่อมาวันที่ 27 มิ.ย.62 ทาง AOT ทำหนังสือส่งไปยังกรมธนารักษ์และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หลังจากพบบางส่วนของโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล วิลเลจ รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ของกรมธนารักษ์ ซึ่งปัจจุบัน AOT ดำเนินการเช่าอยู่ พร้อมกันนี้ได้สอบถาม กพท. ด้วยว่ามีการขออนุมัติแบบก่อสร้างหรือไม่ เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าวอยู่บริเวณใกล้เคียงกับแนวร่อนของเครื่องบินซึ่งตามหลักการจะต้องมีการยื่นแบบก่อสร้างให้ กพท.พิจารณาก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อความปลอดภัยเรื่องการบิน
ความพยายามของ AOT เพื่อขับไสไล่ส่ง CPN ไม่ว่าจะได้ผลเพียงใดก็ตาม แต่ในมุมของเอกชนรายนี้นับได้ว่า รุกเกมธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมาก อย่างน้อยก็ไม่ต้องไปทุ่มเงินสู้การประมูลเสียค่าส่วนแบ่งรายได้จำนวนมาก รวมไปถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็นอีกไม่รู้เท่าไหร่ สรุปงานนี้โอกาสได้ของ CPN มีมากกว่าเสียแน่นอน
CPN ยิ่งใกล้ยิ่งทำ AOT เจ็บ
เช่นเดียวกับกรณีความขัดแย้งระหว่าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT กับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ในประเด็นศูนย์การค้าที่กำลังสร้างใหม่ถูกระบุว่ารุกล้ำที่ของสนามบินสุวรรณภูมินั้น แม้อาจดูเป็นเรื่องหยุมหยิม ทว่าแท้จริงแล้วต้นตอของเรื่องมีผลประโยชน์จำนวนมหาศาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
สนามสุวรรณภูมิเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อประเทศไทยกับนานาประเทศโดยรองรับนักเดินทางปีละ 63 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 51 ล้านคนเศษ ที่เหลือเป็นการเดินทางภายในประเทศ เป็นทั้งหน้าด่านต้อนรับนักท่องเที่ยว-นักธุรกิจ และยังเป็นประตูสุดท้ายที่จะส่งผู้มาเยือนกลับไป
หากจำกันได้ช่วงหลังเลือกตั้งเสร็จไปราว 2-3 เดือนมีการประกาศผลประมูลสิทธิ์ 10 ปีบริหารพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร หรือ ดิวตี้ฟรี ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้ชนะคือ บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ส่วนเอกชนรายอื่นรวมไปถึง บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ล้วนพ่ายแพ้ไปอย่างไม่มีลุ้น
ดูเหมือนในยุคนี้ต่อให้เอกชนที่เข้ามาแข่งประมูลจะดีพร้อมปานใด ก็มิอาจต้านทานพลังของ "คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี" ได้เลย ทว่าทุกๆ คนต่างรู้ว่า อย่างไรเสียจำนวนผู้ใช้บริการสนามบินก็จะเติบโตขึ้น โดยมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจุดศูนย์กลางที่ผู้มวลมหามนุษย์จะต้องมาใช้บริการอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
เมื่อ CPN หมดหวังที่พาตัวเองเข้าไปอยู่กลางไข่แดงฟองนี้ได้ กลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้ก็คือ การซุ่มโอบล้อมประตูเข้าออกมันซะเลย
นี่จึงเป็นที่มาที่ว่าทำไม โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล วิลเลจ จึงเข้าใกล้อิงแอบสุวรรณภูมิมากเหลือเกิน มากจนขนาดที่ว่า AOT ต้องออกหน้าทำหนังสือขับให้โครงการก่อสร้างห้างใหม่นี้ต้องร่นออกจากพื้นที่ซึ่งกำลังสร้างอยู่ภายใน 15 วัน
ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ ขืนปล่อยไว้อย่างนี้ "ดิวตี้ฟรี" ที่ปัจจุบันเรียกได้ว่าค้าขายแบบผูกขาดมาตลอดก็อาจต้องเสียส่วนแบ่งการตลาดไปแน่ๆ ซึ่งผลกระทบเชิงลบก็ย่อมจะตกแก่ทั้ง บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ในแง่จำนวนลูกค้า และ AOT ในแง่ของการกำหนดราคาประมูลในอีก 10 ปีข้างหน้า
ด้านผู้อำนวยการ AOT ได้ให้ข้อมูลว่า วันที่ 20 ก.พ. 62 ได้มีเอกชนรายหนึ่ง (น่าจะหมายถึง CPN แน่นอน) เคยทำหนังสือขออนุญาตเข้ามาใช้พื้นที่ของสนามบิน แต่ทางท่าอากาศยานไม่สามารถอนุมัติตามคำขอได้
และต่อมาวันที่ 27 มิ.ย.62 ทาง AOT ทำหนังสือส่งไปยังกรมธนารักษ์และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หลังจากพบบางส่วนของโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล วิลเลจ รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ของกรมธนารักษ์ ซึ่งปัจจุบัน AOT ดำเนินการเช่าอยู่ พร้อมกันนี้ได้สอบถาม กพท. ด้วยว่ามีการขออนุมัติแบบก่อสร้างหรือไม่ เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าวอยู่บริเวณใกล้เคียงกับแนวร่อนของเครื่องบินซึ่งตามหลักการจะต้องมีการยื่นแบบก่อสร้างให้ กพท.พิจารณาก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อความปลอดภัยเรื่องการบิน
ความพยายามของ AOT เพื่อขับไสไล่ส่ง CPN ไม่ว่าจะได้ผลเพียงใดก็ตาม แต่ในมุมของเอกชนรายนี้นับได้ว่า รุกเกมธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมาก อย่างน้อยก็ไม่ต้องไปทุ่มเงินสู้การประมูลเสียค่าส่วนแบ่งรายได้จำนวนมาก รวมไปถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็นอีกไม่รู้เท่าไหร่ สรุปงานนี้โอกาสได้ของ CPN มีมากกว่าเสียแน่นอน