ปล. จขกทไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Growth Hacking และการทำ Growth Hacking นั้นมีหลายวิธีมาก ในกระทู้นี้จะมุ่งเป้าที่การออกโปรโมชันที่พวกเราคุ้นเคยกันเท่านั้น
ทุกคนคงเคยเจอ Promotion ของผู้ประกอบการต่างๆ ทั้งในรูปแบบของการส่งรหัสชิงโชค สินค้าราคาพิเศษจำนวนจำกัด คูปองส่วนลด แนะนำเพื่อน และอื่นๆ
การออกโปรโมชันเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำ Growth Hacking เพื่อให้ธุรกิจเติบโต ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาฐานลูกค้าไม่ให้ถูกคู่แข่งแย่งไป
หลายคนคงอาจจะสงสัยว่าการออกโปรโมชันแรงๆ ไม่ทำให้บริษัทขาดทุนแย่เหรอ คำตอบคือใช่และไม่ใช่ หลายๆบริษัททั้ง Lazada, Shopee, Uber, Grab, Get, LINE และอื่นๆ มีการออกโปรโมชั่นที่ทั้งขาดทุนและไม่ขาดทุน โดยส่วนมากแล้วจะขาดทุนในช่วงแรกเพื่อให้ได้ฐานลูกค้า และลดโปรโมชันลงภายหลังเพื่อให้ถึงจุดที่เริ่มทำกำไร การขาดทุนในช่วงแรกจะมองว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ฐานลูกค้ามาและทำให้เป็นผู้นำตลาดมองผลกำไรในอนาคต แต่หลายบริษัทที่เงินหนาไม่พอหรือตลาดไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังก็ต้องปิดตัวลงหลังขาดทุนไปจำนวนมาก
ตัวอย่างของการออกโปรโมชั่นที่ขาดทุนที่เห็นภาพชัดที่สุดคือ Grab Taxi หลายๆครั้งที่ Grab ออกคูปองลด 40 บาทบ้าง 50 บาทบ้าง หรือมากกว่านั้น สมมติว่าเรานั่ง Grab Taxi มิเตอร์ขึ้น 100 บาท เราจะเสียค่าเรียกใช้บริการผ่าน Application จำนวน 25 บาท โดยใน 25 บาทนี้ Grab จะได้บางส่วน และบางส่วนจะถูกจ่ายให้คนขับ ถ้าเราใช้คูปองลด 40 บาท จะเห็นได้ว่า Grab ขาดทุนแน่นอน เพราะคนขับได้เงินอย่างน้อย 100 บาท จาก Grab แต่เราจ่ายเพียง 85 บาท เมื่อผู้ใช้ Grab ได้ลองใช้บริการแล้วติดใจ ก็จะใช้งานอีกถึงแม้จะไม่มีส่วนลด ซึ่งจะทำให้ Grab เริ่มทำกำไร
Grab ทำ Growth Hacking ได้ฐานลูกค้า ซึ่งฐานลูกค้านี้สามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นบริการใหม่ๆได้ ปัจจุบัน Grab มีบริการหลากหลายทั้ง Car, Bike, Food, Delivery, Groceries และอื่นๆ
ถ้าผู้ประกอบการทำ Growth Hacking อย่างใสสะอาด ส่วนลด โปรโมชันต่างๆ ใช้ได้จริง ก็จะ Win Win ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ถ้าผู้ประกอบการเล่นไม่ซื่อ ออกโปรโมชัน ออกคูปอง ที่ใช้จริงไม่ได้ เป็นเพียงแค่การเรียกแขก ก็จะเข้าข่าย False Advertising ตัวอย่างเช่น โฆษณาว่า คูปองลด 100 บาท จำนวน 1000 ใบ แต่ออกจริงเพียงแค่ 10 ใบ แบบนี้ผู้บริโภคจะมั่นใจได้อย่างไรและมีหน่วยงานไหนที่จะสอดส่องดูแล
ในกระทู้นี้อยากให้ทุกคนร่วมแชร์ประสบการณ์ การใช้โปรโมชันที่ใช้ได้จริงที่ชอบที่สุด แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือโปรโมชันที่ใช้ไม่ได้จริง
สำหรับจขกทชอบกินไอศกรีม Daily Queen มาก ปีที่ผ่านมาได้ใช้โปรโมชันของบัตร Rabbit ซื้อไอศกรีมในราคา 1 บาท ไปหลายสิบครั้ง
ส่วนโปรโมชันที่ใช้ไม่ได้นั้นมีอยู่ 2 อย่างที่พยายามใช้ในสัปดาห์นี้คือ Grab Food กับ Lazada
Grab Food
มีส่ง Promotion เข้ามาใน Inbox พอกดเข้าไปที่ Grab Food ก็มี Pop Up ขึ้นมาแจ้งโปรโมชันอีกครั้ง พอเลือกเมนูและจะใส่รหัส ปรากฏว่าไม่มีรหัสซะงั้น ไม่ได้ทั้ง 120FIN, 170FIN, 270FIN อันนี้ไม่แน่ใจว่าเป็น User Error, System Error หรืออื่นๆ
Lazada + UOB and Krungsri
Lazada ถือเป็น Online Marketplace อันดับต้นๆของประเทศไทย สินค้าที่จัดจำหน่ายบน Lazada มักจะมีราคาถูกกว่าห้างสรรพสินค้าเนื่องจากมีต้นทุนเรื่องช่องทางจำหน่ายที่ถูกกว่า นอกจากนี้ผู้ซื้อยังสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าจากร้านค้าต่างๆได้ ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา ที่น่าสนใจที่สุดคือมี Coupon ส่วนลดมากมาย ทั้งในส่วนของ โปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิต ส่วนลดสมาชิกใหม่ วันพิเศษ และอื่นๆอีกสารพัด
วันนี้ผมได้ทดลอง Discount Code 2 รหัสคือ KCCDAY15 และ UOBLZ15
เวลาที่ผมลองคือประมาณ 00.15 ของวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2562 ระบบแจ้งว่า Discount Code ได้ถูกใช้หมดทั้งสองรหัส
KCCDAY15 จำกัด 1,500 สิทธิ์ต่อเดือน (375 สิทธิ์ต่อสัปดาห์นับจากวันจันทร์ - วันอาทิตย์) เพิ่มสิทธิ์ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ ใช้โค้ดได้ตั้งแต่ 10.00 โมงเช้าเป็นต้นไป
https://www.krungsricard.com/th/Promotion/ShopOnline/Lazada.html
UOBLZ15 โค้ดมีจำนวนจำกัด 100 สิทธิ์ ต่อวัน (เฉพาะวันพฤหัสบดีเท่านั้น)
https://www.uob.co.th/personal/promotions/creditcard/lazada/lazada.page
สำหรับ KCCDAY15 ถูกใช้หมด 375 ครั้ง ภายใน 3 วัน ตรงนี้ผมมองว่าอาจจะปกติ
สำหรับ UOBLZ15 ถูกใช้หมด 100 ครัง ภายในระยะเวลา 10 นาทีนิดๆ
ตรงนี้มองว่าคนอาจจะใช้เยอะจริงจนครบโควต้า หรือเป็น System Error ระหว่าง Lazada กับทางธนาคาร หรืออาจจะเป็นสินค้าไม่ร่วมรายการแต่ Error Message ไม่ถูกต้อง
สุดท้ายนี้เราในฐานะผู้บริโภคเราจะสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้ประกอบการจริงใจกับเรา ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เติบโตเร็วมาก การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดมากขึ้น บริษัทต่างๆต้องทำ Growth Hacking เพื่อให้ตัวเองเป็นเจ้าตลาด และต้องทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันคู่แข่ง การออกโปรโมชั่น ส่วนลด หรือคูปองต่างๆถือเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากมีอยู่จริง ส่วนลดใช้ได้จริง ก็คงไม่มีปัญหาอะไร คงเป็นต้นทุนการตลาดที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับเพื่อหวังผลกำไรในอนาคต แต่หากโปรโมชั่นเหล่านั้นถูกออกมาเพื่อเพียงแค่เรียกลูกค้า แต่ผู้ประกอบการไม่ได้ให้ส่วนลดจริงๆ ผู้บริโภคอย่างเราจะตรวจสอบได้อย่างไร และหน่วยงานรัฐจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าผู้ประกอบการนั้นจริงใจ ว่าการออกโปรโมชันนั้นไม่ใช่ False Advertising
Promotion มีจริงหรือแค่ Growth Hacking
ทุกคนคงเคยเจอ Promotion ของผู้ประกอบการต่างๆ ทั้งในรูปแบบของการส่งรหัสชิงโชค สินค้าราคาพิเศษจำนวนจำกัด คูปองส่วนลด แนะนำเพื่อน และอื่นๆ
การออกโปรโมชันเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำ Growth Hacking เพื่อให้ธุรกิจเติบโต ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาฐานลูกค้าไม่ให้ถูกคู่แข่งแย่งไป
หลายคนคงอาจจะสงสัยว่าการออกโปรโมชันแรงๆ ไม่ทำให้บริษัทขาดทุนแย่เหรอ คำตอบคือใช่และไม่ใช่ หลายๆบริษัททั้ง Lazada, Shopee, Uber, Grab, Get, LINE และอื่นๆ มีการออกโปรโมชั่นที่ทั้งขาดทุนและไม่ขาดทุน โดยส่วนมากแล้วจะขาดทุนในช่วงแรกเพื่อให้ได้ฐานลูกค้า และลดโปรโมชันลงภายหลังเพื่อให้ถึงจุดที่เริ่มทำกำไร การขาดทุนในช่วงแรกจะมองว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ฐานลูกค้ามาและทำให้เป็นผู้นำตลาดมองผลกำไรในอนาคต แต่หลายบริษัทที่เงินหนาไม่พอหรือตลาดไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังก็ต้องปิดตัวลงหลังขาดทุนไปจำนวนมาก
ตัวอย่างของการออกโปรโมชั่นที่ขาดทุนที่เห็นภาพชัดที่สุดคือ Grab Taxi หลายๆครั้งที่ Grab ออกคูปองลด 40 บาทบ้าง 50 บาทบ้าง หรือมากกว่านั้น สมมติว่าเรานั่ง Grab Taxi มิเตอร์ขึ้น 100 บาท เราจะเสียค่าเรียกใช้บริการผ่าน Application จำนวน 25 บาท โดยใน 25 บาทนี้ Grab จะได้บางส่วน และบางส่วนจะถูกจ่ายให้คนขับ ถ้าเราใช้คูปองลด 40 บาท จะเห็นได้ว่า Grab ขาดทุนแน่นอน เพราะคนขับได้เงินอย่างน้อย 100 บาท จาก Grab แต่เราจ่ายเพียง 85 บาท เมื่อผู้ใช้ Grab ได้ลองใช้บริการแล้วติดใจ ก็จะใช้งานอีกถึงแม้จะไม่มีส่วนลด ซึ่งจะทำให้ Grab เริ่มทำกำไร
Grab ทำ Growth Hacking ได้ฐานลูกค้า ซึ่งฐานลูกค้านี้สามารถนำไปต่อยอดสร้างเป็นบริการใหม่ๆได้ ปัจจุบัน Grab มีบริการหลากหลายทั้ง Car, Bike, Food, Delivery, Groceries และอื่นๆ
ถ้าผู้ประกอบการทำ Growth Hacking อย่างใสสะอาด ส่วนลด โปรโมชันต่างๆ ใช้ได้จริง ก็จะ Win Win ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ถ้าผู้ประกอบการเล่นไม่ซื่อ ออกโปรโมชัน ออกคูปอง ที่ใช้จริงไม่ได้ เป็นเพียงแค่การเรียกแขก ก็จะเข้าข่าย False Advertising ตัวอย่างเช่น โฆษณาว่า คูปองลด 100 บาท จำนวน 1000 ใบ แต่ออกจริงเพียงแค่ 10 ใบ แบบนี้ผู้บริโภคจะมั่นใจได้อย่างไรและมีหน่วยงานไหนที่จะสอดส่องดูแล
ในกระทู้นี้อยากให้ทุกคนร่วมแชร์ประสบการณ์ การใช้โปรโมชันที่ใช้ได้จริงที่ชอบที่สุด แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือโปรโมชันที่ใช้ไม่ได้จริง
สำหรับจขกทชอบกินไอศกรีม Daily Queen มาก ปีที่ผ่านมาได้ใช้โปรโมชันของบัตร Rabbit ซื้อไอศกรีมในราคา 1 บาท ไปหลายสิบครั้ง
ส่วนโปรโมชันที่ใช้ไม่ได้นั้นมีอยู่ 2 อย่างที่พยายามใช้ในสัปดาห์นี้คือ Grab Food กับ Lazada
Grab Food
มีส่ง Promotion เข้ามาใน Inbox พอกดเข้าไปที่ Grab Food ก็มี Pop Up ขึ้นมาแจ้งโปรโมชันอีกครั้ง พอเลือกเมนูและจะใส่รหัส ปรากฏว่าไม่มีรหัสซะงั้น ไม่ได้ทั้ง 120FIN, 170FIN, 270FIN อันนี้ไม่แน่ใจว่าเป็น User Error, System Error หรืออื่นๆ
Lazada + UOB and Krungsri
Lazada ถือเป็น Online Marketplace อันดับต้นๆของประเทศไทย สินค้าที่จัดจำหน่ายบน Lazada มักจะมีราคาถูกกว่าห้างสรรพสินค้าเนื่องจากมีต้นทุนเรื่องช่องทางจำหน่ายที่ถูกกว่า นอกจากนี้ผู้ซื้อยังสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าจากร้านค้าต่างๆได้ ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา ที่น่าสนใจที่สุดคือมี Coupon ส่วนลดมากมาย ทั้งในส่วนของ โปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิต ส่วนลดสมาชิกใหม่ วันพิเศษ และอื่นๆอีกสารพัด
วันนี้ผมได้ทดลอง Discount Code 2 รหัสคือ KCCDAY15 และ UOBLZ15
เวลาที่ผมลองคือประมาณ 00.15 ของวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2562 ระบบแจ้งว่า Discount Code ได้ถูกใช้หมดทั้งสองรหัส
KCCDAY15 จำกัด 1,500 สิทธิ์ต่อเดือน (375 สิทธิ์ต่อสัปดาห์นับจากวันจันทร์ - วันอาทิตย์) เพิ่มสิทธิ์ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ ใช้โค้ดได้ตั้งแต่ 10.00 โมงเช้าเป็นต้นไป
https://www.krungsricard.com/th/Promotion/ShopOnline/Lazada.html
UOBLZ15 โค้ดมีจำนวนจำกัด 100 สิทธิ์ ต่อวัน (เฉพาะวันพฤหัสบดีเท่านั้น)
https://www.uob.co.th/personal/promotions/creditcard/lazada/lazada.page
สำหรับ KCCDAY15 ถูกใช้หมด 375 ครั้ง ภายใน 3 วัน ตรงนี้ผมมองว่าอาจจะปกติ
สำหรับ UOBLZ15 ถูกใช้หมด 100 ครัง ภายในระยะเวลา 10 นาทีนิดๆ
ตรงนี้มองว่าคนอาจจะใช้เยอะจริงจนครบโควต้า หรือเป็น System Error ระหว่าง Lazada กับทางธนาคาร หรืออาจจะเป็นสินค้าไม่ร่วมรายการแต่ Error Message ไม่ถูกต้อง
สุดท้ายนี้เราในฐานะผู้บริโภคเราจะสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้ประกอบการจริงใจกับเรา ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เติบโตเร็วมาก การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดมากขึ้น บริษัทต่างๆต้องทำ Growth Hacking เพื่อให้ตัวเองเป็นเจ้าตลาด และต้องทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันคู่แข่ง การออกโปรโมชั่น ส่วนลด หรือคูปองต่างๆถือเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากมีอยู่จริง ส่วนลดใช้ได้จริง ก็คงไม่มีปัญหาอะไร คงเป็นต้นทุนการตลาดที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับเพื่อหวังผลกำไรในอนาคต แต่หากโปรโมชั่นเหล่านั้นถูกออกมาเพื่อเพียงแค่เรียกลูกค้า แต่ผู้ประกอบการไม่ได้ให้ส่วนลดจริงๆ ผู้บริโภคอย่างเราจะตรวจสอบได้อย่างไร และหน่วยงานรัฐจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าผู้ประกอบการนั้นจริงใจ ว่าการออกโปรโมชันนั้นไม่ใช่ False Advertising