ชาวนาในเอเชียใช้เป็ดเป็นทางเลือกในการกำจัดศัตรูพืชมานับหลายศตวรรษแล้ว ขณะที่เป็ดว่ายน้ำอยู่ในทุ่งนาก็จะคอยฉีกพวกวัชพืชและกินแมลง อีกทั้งยังมีมูลเป็ดที่กลายเป็นปุ๋ยอีกด้วย โดยเป็ดจะเดินในนาและตรวจสอบแมลงแล้วกินเข้าไปบางครั้งอาจจะมีปัญหาที่ไปเหยียบให้เกิดความเสียหายกับข้าวได้ แต่ในศตวรรษที่ 21 นี้ วิธีนี้ก็ไม่ค่อยแพร่หลายนัก เทคโนโลยีอาจเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยลดการใช้ยากำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลงได้ ล่าสุด นิสสันได้พัฒนาหุ่นยนต์กำจัดวัชพืชที่มีการทำงานคล้ายกับเป็ด
Tetsuma Nakamura วิศวกรจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Nissan ได้สร้างหุ่นยนต์สำหรับใช้เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของเป็ดในนาข้าว ตามรายงานของ Nippon.com และ Nerdist นั้น เขากำลังทดลองหุ่นยนต์ตัวต้นแบบในอำเภอยามากาตะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ซึ่ง ณ เวลานี้ ยังดูเหมือนเป็นเพียงโปรเจค DIY และยังไม่มีแผนที่จะต่อยอดจำหน่ายหรือมีข้อมูลประกอบว่าหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพแค่ไหน แต่ก็เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
แต่ถึงกระนั้นก็ตามที ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หุ่นยนต์เป็ด ไอกาโมะ เป็นไอเดียและนวัตกรรมที่น่าสนใจยิ่ง ด้วยการค้นคิดเทคโนโลยีในการกำจัดศัตรูพืช ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หุ่นดังกล่าวมีชื่อว่า 'duck' มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
ไอกาโมะ (Aigamo) ส่วนที่มาของชื่อไอกาโมะนั้น ก็นำมาจากชื่อสายพันธุ์ของเป็ดชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงไว้ในทุ่งนา ซึ่งหน้าตานั้นอาจจะไม่ได้คล้ายกับเป็ดในธรรมชาติ แต่ก็มีความพิเศษนอกจากลอยน้ำและเคลื่อนที่ไปในนาแบบเบาๆ ทำงานผ่านแบตเตอรี่ และ มีระบบ GPS และ WiFi ในตัว และดูหน้าตาก็น่ารักเวลาวิ่งอยู่ในนาข้าว
แม้ว่ายังเป็นหุ่นยนต์ทดลองเพื่อพัฒนาให้ออกมาเป็นจริงในอนาคต แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็ตื่นเต้นที่หุ่นยนต์เริ่มมีส่วนร่วมกับชีวิตของคนเข้าไปทุกที และการพัฒนาต่อไปที่หุ่นยนต์ Duck จะทำคือ นอกจากกำจัดวัชพืช ยังจะดูแลข้าวของชาวนาได้อีกด้วย
หุ่นยนต์ Aigamo ได้รับการตั้งชื่อตามพันธุ์ของเป็ด มีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมและมีขนาดเท่ากับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นขนาดใหญ่ ใช้ระบบ Wi-Fi แบตเตอรี พลังงานแสงอาทิตย์ และ GPS ในการเคลื่อนที่ ด้านล่างมีแปรงยางหมุนสองอันทำหน้าที่คล้ายเท้าเป็ด ซึ่งช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำและป้องกันการหยั่งรากของวัชพืช
คุณสามารถรับชมวีดีโอด้านบนเพื่อดูการทำงานของเป็ดหุ่นยนต์ได้ แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษประกอบ ทั้งนี้ ก็นับว่าเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถผสมผสานเทคนิคการเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมและแบบใหม่เข้าด้วยกันได้ดี ในญี่ปุ่นเองที่การทำนาข้าวนั้นถูกคุกคามเนื่องจากการบริโภคที่น้อยลงและมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น หุ่นยนต์นี้อาจเป็นทางรอดของวงการเกษตรกรรมในศตวรรษที่ 21 ก็เป็นได้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :Engadget
ที่มา The Verge
workpointnews
เป็ดหุ่นยนต์ช่วยชาวนาญี่ปุ่นกำจัดวัชพืช
Tetsuma Nakamura วิศวกรจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Nissan ได้สร้างหุ่นยนต์สำหรับใช้เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของเป็ดในนาข้าว ตามรายงานของ Nippon.com และ Nerdist นั้น เขากำลังทดลองหุ่นยนต์ตัวต้นแบบในอำเภอยามากาตะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ซึ่ง ณ เวลานี้ ยังดูเหมือนเป็นเพียงโปรเจค DIY และยังไม่มีแผนที่จะต่อยอดจำหน่ายหรือมีข้อมูลประกอบว่าหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพแค่ไหน แต่ก็เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
แต่ถึงกระนั้นก็ตามที ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หุ่นยนต์เป็ด ไอกาโมะ เป็นไอเดียและนวัตกรรมที่น่าสนใจยิ่ง ด้วยการค้นคิดเทคโนโลยีในการกำจัดศัตรูพืช ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หุ่นดังกล่าวมีชื่อว่า 'duck' มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ไอกาโมะ (Aigamo) ส่วนที่มาของชื่อไอกาโมะนั้น ก็นำมาจากชื่อสายพันธุ์ของเป็ดชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงไว้ในทุ่งนา ซึ่งหน้าตานั้นอาจจะไม่ได้คล้ายกับเป็ดในธรรมชาติ แต่ก็มีความพิเศษนอกจากลอยน้ำและเคลื่อนที่ไปในนาแบบเบาๆ ทำงานผ่านแบตเตอรี่ และ มีระบบ GPS และ WiFi ในตัว และดูหน้าตาก็น่ารักเวลาวิ่งอยู่ในนาข้าว
แม้ว่ายังเป็นหุ่นยนต์ทดลองเพื่อพัฒนาให้ออกมาเป็นจริงในอนาคต แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็ตื่นเต้นที่หุ่นยนต์เริ่มมีส่วนร่วมกับชีวิตของคนเข้าไปทุกที และการพัฒนาต่อไปที่หุ่นยนต์ Duck จะทำคือ นอกจากกำจัดวัชพืช ยังจะดูแลข้าวของชาวนาได้อีกด้วย
หุ่นยนต์ Aigamo ได้รับการตั้งชื่อตามพันธุ์ของเป็ด มีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมและมีขนาดเท่ากับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นขนาดใหญ่ ใช้ระบบ Wi-Fi แบตเตอรี พลังงานแสงอาทิตย์ และ GPS ในการเคลื่อนที่ ด้านล่างมีแปรงยางหมุนสองอันทำหน้าที่คล้ายเท้าเป็ด ซึ่งช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำและป้องกันการหยั่งรากของวัชพืช
คุณสามารถรับชมวีดีโอด้านบนเพื่อดูการทำงานของเป็ดหุ่นยนต์ได้ แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษประกอบ ทั้งนี้ ก็นับว่าเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถผสมผสานเทคนิคการเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมและแบบใหม่เข้าด้วยกันได้ดี ในญี่ปุ่นเองที่การทำนาข้าวนั้นถูกคุกคามเนื่องจากการบริโภคที่น้อยลงและมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น หุ่นยนต์นี้อาจเป็นทางรอดของวงการเกษตรกรรมในศตวรรษที่ 21 ก็เป็นได้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :Engadget
ที่มา The Verge
workpointnews