"เก็บเงินจากเงินที่สมมติว่าหายไปแล้ว" เทคนิคการออมเงิน สำหรับคนเก็บเงิน (ไม่) อยู่

"เก็บเงินจากเงินที่สมมติว่าหายไปแล้ว"
เทคนิคการออมเงิน สำหรับคนเก็บเงิน (ไม่) อยู่.

อ้างอิงจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2561
ระบุ คนไทย 88% มีเงินเก็บในบัญชีออมทรัพย์ไม่ถึง 5 หมื่นบาท เป็นตัวเลขที่น่าตกใจแบบมีนัยสำคัญ.

ปล.สำหรับคนที่เป็น12% เรายินดีด้วยครับ คุณมีวินัยการออมดีมากๆ หรือบางคนไม่มีในบัญชีแต่มีในพอร์ตมากกว่า คิดว่าบทความนี้คงไม่มีความจำเป็นสำหรับคุณ จะผ่านเลยได้ ใครมีมากมีน้อยมีเป็นสินทรัพย์อย่างอื่น มีอะไรมากมายเท่าไร คิดว่าคงไม่จำเป็นต้องบอกในที่นี้ได้เช่นกันครับ.
**บทความนี้เป็นเพียงแค่อีกหนึ่งทางเลือกให้คนที่ไม่มีวินัยในการออมเลยซึ่งมีจำนวนมาก อาจจะเป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่เริ่มจากจุดเล็กๆที่สุด ง่ายที่สุด ค่อยๆฝึกการออมเงินได้ต่อไป ถ้าคุณเป็นคนที่เป็นเช่นนั้นอ่านบรรทัดต่อไปได้เลยครับ.

เราก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เก็บเงินไม่อยู่ เต็มไปด้วยข้อแก้ตัวสารพัด เหมือนคนส่วนใหญ่ มีเท่าไรใช้หมด อยากได้อะไรถ้าชอบซื้อหมด ทั้งๆที่ไม่เคยใช้ของสิ่งนั้นเลยด้วยซ้ำ มานึกดูก็รู้สึกเศร้าใจที่คนไทย 88% ของประชากรทั้งประเทศ มีเงินเก็บไม่ถึง 50,000 บาท.

เมื่อปีที่แล้วจึงทดลองหาวิธีเก็บเงิน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยที่ไม่เดือนร้อนดู ด้วยคอนเซ็ป "เก็บเงินจากเงินที่สมมติว่าหายไปแล้ว"
เริ่มจากไปซื้อถังมาจากร้านขายวัสดุก่อสร้าง เอามาเจาะรู (ใช้กล่องอะไรก็ได้แล้วเอามาเจาะรู) ที่ซื้อถังใหญ่เพราะตอนแรกกะกว่าจะโยนๆเก็บไปจนถึงตอนเกษียณแล้วค่อยเปิด เหตุผลทำไมถึงเปิดให้รออ่าน (ตอนที่ 2 นะครับ)

ตอนแรกเราเริ่มโยนๆเก็บเศษเงินที่สมมติว่าหายไปแล้วทุกวัน
ตั้งแต่วันที่ 17.02.2562 - 11.06.2562 เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี กับ 4 เดือน เก็บเงินได้ทั้งสิ้น 21,503.25 บาท.
รู้สึกดีใจมากที่เจียดเงินที่คิดว่าหายไปแล้ว โยนๆใส่ถังเก็บเงินถ้าไม่เริ่มในวันนั้นเมื่อปีที่แล้ว วันนี้ผมก็คงไม่มีเงินจำนวนนี้เหมือนเดิมครับ,
จึงอยากแชร์วิธีการให้กับสังคมครับ.

วิธีการ คือ
1. ให้คิดว่าถ้าเศษสตางค์หรือเงินจำนวนนี้หายไปแล้วก็ไม่เสียดาย เช่น เศษสตางค์ 1 บาท, 5 บาท อาจจะหายตอนนั่งขับรถแล้วร่วงไปใต้เบาะรถ แล้วล้วงไปเก็บไม่ได้ หรือแบงก์20 หายไปตอนล้วงกระเป๋าแล้วตกพื้น สมมติผมยอมรับได้ว่าวันนี้ผมทำเงินหายไป 5 บาท,
กลับมาบ้านผมจะโยนๆใส่ถังเก็บเงินเอาไว้ 5 บาท, ถ้าวันหนึ่งคุณได้เงินมามากๆ เช่น วันเงินเดือนออก, เงินที่ได้จากการรับรางวัล, เงินที่ได้จากงานพิเศษ จะใส่แบงก์ 500 หรือ แบงก์ 1,000 ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด.

2. ให้เลิกแก้ตัว, เลิกแถ, เลิกอ้างว่าเงินไม่พอใช้ (คนมักจะหาข้ออ้างได้เสมอ) เพราะไม่ใช่เก็บจากเงินก้อนโตอะไรเลย อาจจะเริ่มจากเก็บวันละ 1 บาทก็ได้,
พอเวลาผ่านไปคุณอาจจะโยนๆเศษสตางค์ที่ติดอยู่ในกระเป๋ากางเกงทั้งหมดลงถัง ก่อนเปลี่ยนกางเกงขาสั้น,

3. กฏเหล็กคือ "ห้ามนำเงินที่เก็บไว้ในส่วนนี้ออกมาใช้เด็ดขาด" ไม่ว่าจะด้วยข้ออ้างอะไร อย่าลืมว่าเงินจำนวนนี้ได้หายไปแล้ว.

4. ถ้าจะเอาเงินออกมาใช้ให้กลับไปอ่านที่ข้อ 3.

5. ถ้าในที่สุดคุณเอาออกมาใช้ ยินดีด้วยคุณก็จะได้เป็นคนเดิมที่ไม่สามารถเก็บเงินได้เหมือนเดิม แม้แต่เหรียญ 1 บาท.
ให้นึกถึงตอนเกษียณยามที่คุณไม่มีแรง จะหวังแต่ประกันสังคมหรือเงินคนชราอย่างเดียวคงไม่พอแน่ๆ ยิ่งต่อไปจะเป็นสังคมคนชราด้วย เก็บเงินไว้เถอะครับ เชื่อผม.

ด้วยรัก.


ปล. ทุกๆปีเงินที่เปิดออกมา ผมจะเอาไปทำอะไรโปรดติดตามตอนต่อไปครับ.

**ถ้าคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ช่วยไลค์ ช่วยแชร์ ตามลิ้งข้างล่างด้วยนะครับ^^
หาเรื่อง "เขียน" กับ ทาคุยะ
https://www.facebook.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%B0-2370786376522692/

"เก็บเงินจากเงินที่สมมติว่าหายไปแล้ว" เทคนิคการออมเงิน สำหรับคนเก็บเงิน (ไม่) อยู่
https://www.facebook.com/2370786376522692/posts/2370817323186264/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่