●● "นักวิชาการ" ลั่นอาเซียนอยู่ด้วยกันได้เพราะยึดกฎไม่แทรกแซง...ติง"ธนาธร"ไม่เข้าใจอยู่เงียบๆดีกว่า ●●

●● "นักวิชาการ" ลั่นอาเซียนอยู่ด้วยกันได้เพราะยึดกฎไม่แทรกแซง...
          ติง"ธนาธร"ไม่เข้าใจอยู่เงียบๆดีกว่า ●●

             
"นักวิชาการ" ลั่นอาเซียนอยู่ด้วยกันมาได้เพราะเคารพกฎไม่แทรกแซงกิจการภายใน
แต่หลายครั้งที่ปลดล็อกกฎนี้ได้ก็ต่อเมื่อผู้นำประเทศนั้นๆขอความช่วยเหลือมาเท่านั้น

ติง "ธนาธร" ไม่เข้าใจกระบวนการอะไรเลยแล้ววิพากษ์วิจารณ์โดยใช้ความคิดเห็นล้วนๆ
แนะอยู่เงียบๆก็ไม่มีใครว่า

วันที่ 26 มิ.ย. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมสนทนาในรายการ "คนเคาะข่าว" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง "นิวส์วัน"
ในหัวข้อ "บทสรุปอาเซียนซัมมิท ครั้งที่ 34" 

โดย ดร.ปิติ ได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า ตนให้คะแนนอาเซียนซัมมิทในฐานะที่ไทยเป็นประธานเที่ยวนี้ เต็ม 100
ให้ 95 ที่ไม่ให้อีก 5 คะแนน เพราะเรายังไม่สามารถผลักดันเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐยะไข่ได้เท่าที่ควร
เพราะเป็นเรื่องเปราะบาง เป็นเรื่องภายใน

เราต้องเข้าใจว่าอาเซียนอยู่ด้วยกันได้ มีการประชุมวางหลักการของอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำ
อาเซียนครั้งที่ 1 เกิดในปี 1976 ที่บาหลี ได้เอกสารที่เรียกว่า Treaty of Amity and Cooperation in
Southeast Asiaหรือ TAC (หมายถึงสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

กำหนดว่าอาเซียนจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะการที่เราไปยุ่งอาจจะทำให้
อาเซียนแตกเลยก็ได้ อย่างปรากฎการณ์เบร็กซิท คือออกจากการเป็นสมาชิก อาเซียนก็เคารพกฎนี้มาตลอด
52 ปีของการอยู่ด้วยกัน 

ดร.ปิติ กล่าวอีกว่า ตนเห็นบางคน บางพรรค ไม่รู้จะพูดเรื่องอะไร ก็ออกมาพูดเพราะอาจจะคิดว่าพูดแล้วเท่
แล้วก็บอกให้ยกเลิกการเคารพกฎนี้ออกไป

นี่คือความเห็นล้วน ๆ แต่ไม่ได้ดูสถานการณ์จริง ในหลายคราวหลายวาระที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เมื่อมี
การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง เราผ่อนผันกฎข้อนี้ได้เสมอ และวิธีที่จะปลดล็อกข้อนี้ก็คือ เมื่อผู้นำของประเทศนั้นขอความช่วยเหลือ มันเคยเกิดขึ้นแล้วด้วย อย่างเช่น กรณีของติมอร์ วาฮิด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พูดกับที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ปิดห้องคุย ขอความช่วยเหลือจากอาเซียน ระดมสมอง 10 ผู้นำอาเซียน
จนสามารถเริ่มกระบวนการสันติภาพของติมอร์ได้ แล้วตอนนี้ติมอร์ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับอินโดนีเซีย 

อีกกรณี ปี 2008 พายุนาร์กิส ถล่มตอนใต้ของเมียนมาร์ เวลานั้นยังเป็นรัฐเผด็จการทหาร ปิดประเทศ
โลกตะวันตก ฝรั่งเศส อเมริกา ส่งคนเข้าช่วยเหลือ เอาของเข้าไม่ได้ เพราะเมียนมาร์กลัวถูกแทรกแซง
ฉะนั้นความช่วยเหลือของฝรั่งเศสมาพร้อมกับเรือดำน้ำติดขีปนาวุธ เรือบรรทุกเครื่องบิน มาที่อ่าวอ่าวมะตะบัน มหาสมุทรอินเดียแล้ว ถ้ายังปิดประเทศ สิทธิมนุษยชนถูกย่ำยีจากภัยธรรมชาติ ในที่สุดมันก็จะเกิดการใช้
กองกำลังรักษาสันติภาพ เหมือนในซีเรีย อัฟกานิสถาน อิรัก คือเข้าไปถล่มล้มระบบก่อนแล้วช่วยเหลือคน
แต่มันเป็นการช่วยในยามที่เหลือแต่ซากปรักหักพัง ฉะนั้นอาเซียนให้ยอมเกิดเรื่องพวกนี้ไม่ได้ เลขาธิการ
อาเซียน กับนายกฯไทยตอนนั้นก็เข้าไปเจรจากับผู้นำพม่า จนในที่สุดผู้นำพม่าไว้ใจอาเซียน ให้สามารถเอา
ความช่วยเหลือทั้งหมดผ่านให้อาเซียนสกรีนแล้วเข้าพม่าได้ สิทธิมนุษยชนก็ได้รับการแก้ไข พม่าก็ไม่ถูก
แทรกแซงจากโลกตะวันตก 

ดร.ปิติ กล่าวต่ออีกว่า ในกรณีของโรฮิงญา การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเที่ยวนี้ มีการประชุมแบบไม่เป็น
ทางการ ผู้นำปิดห้องคุย ผู้นำอาเซียนเสนอว่าถ้าอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ขอความช่วยเหลือเมื่อไหร่
พร้อมช่วย คำถามต่อมาคือพม่าเองยอมให้เราเข้าไปช่วยหรือเปล่า เพราะเพิ่งเปลี่ยนระบอบการปกครอง
มีเรื่องต้องทำมากมาย ที่ผ่านมาเมื่อไหร่รัฐบาลทะเลาะกับกองทัพจะเกิดปฏิวัติทุกครั้ง อองซานซูจียอมให้
ทหารปฏิวัติไม่ได้ จึงไม่กล้าที่จะรับปากให้ต่างชาติเข้าไป ส่วนทหารที่เกรงใจอองซานซูจีก็เพราะประชาชน
รักอองซานซูจี แต่ประชาชนที่รักอองซานซูจีไม่ได้รักโรฮิงญา ฉะนั้นถ้าแตะเรื่องนี้ไพ่ใบสุดท้ายที่ประชาชน
รักอองซานซูจีจะหายทันที อองซานซูจีเลยอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก 

ดร.ปิติ กล่าวอีกว่า ถ้าตนเป็นพล.อ.ประยุทธ์จะเสนอว่าไหนๆเราเปิดตัวคลังสินค้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ไหนๆมีศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน เราเอาของในคลังกับแพทย์ไปช่วยคนโรฮิงญาที่บังคลาเทศ ไม่เกี่ยวกับพม่า
ไม่ได้แทรกแซง ไปในนามอาเซียน ถ้าทำอย่างนี้มันจะเท่และหล่อมาก 

"สิ่งที่เราไม่ควรทำมากที่สุด คือการที่ไม่เข้าใจกระบวนการอะไรเลยทั้งหมดแล้ววิพากษ์วิจารณ์โดยใช้
ความคิดเห็น แล้วไปบอกเค้าว่าควรจะทำอย่างนั้นควรจะทำอย่างนี้ เช่นยกเลิกเรื่องของการแทรกแซง
กิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่ไม่รู้ว่าอาเซียนมันมีความสัมพันธ์และอยู่ด้วยกันมาได้เพราะ
มันยึดถือกฎนี้

คุณจะเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนของอนาคต หรืออะไรก็ตาม แต่ถ้าเกิดไม่เรียนรู้อดีตที่ผ่านมาว่ามันอยู่ด้วยกัน
มาได้อย่างไร ไม่รู้เรื่องความสัมพันธ์ ทฤษฎี หลักการ ไม่รู้วิธีการปฏิบัติ อยู่เงียบๆก็ไม่มีใครว่า" ดร.ปิติ กล่าว       

Cr.  https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000061024  
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่