เพื่อนเอารถไป ไม่ยอมเอามาคืน ชื่อเรา ธนาคารฟ้องเรา ตอนนี้เครียดมาก ทำยังไงดี

เพื่อนคนนี้ใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่น มา 10 กว่าปี และย้ายกลับมาเมื่อไทยมาเสนอให้เราร่วมทำธุรกิจด้วย ปลายปี 60 แต่เขาไม่มีเครดิตในการซื้อรถขอให้เราซื้อรถให้ CRV สรุปผ่อนได้ 3 งวด Project ที่เขาเสนอมาก็เป็น Project mี่หลอกลวงเรายอมรับว่าโง่จริงๆ ไว้ใจเขา เขาผ่อนได้ 3 เดือน และหายไปเลย 
1.เราไปแจ้งความตำรวจบอกว่าเราให้เขาไปเองไม่เป็นคดีอาญา แต่เราลงบันทึกประจำวันไว้
2.พี่สาวเขาเป็นคนค้ำก็เดือดร้อนเหมือนกัน ไปขึ้นศาลพร้อมกันเราก็สงสารเขา เขาบกว่าน้องสามีคนนี้เคยเจอหน้าแค่ 2 ครั้งตอนพ่อกับแม่ตาย เขาออกจากบ้านไปตั้งแต่เด็ก ๆ 
3.มีหมายศาลมาเราไปไกล่เกลี่ย ขอผ่อนชำระ เราก็ผ่อนบ้างไม่ผ่อนบ้างเพราะเราก็ลำบาก 
4.เพื่อนคนนี้เราติดต่อได้ตลอด แต่พูดยังไงก็ไม่ยอมเอารถมาคืน 
คำถามคือเราจะทำยังไงได้บ้างหรือต้องก้ทหน้ารับกรรมต่อไป 

ขอบคุณค่ะ 
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 26
ถ้าหากยักยอกทรัพย์ ก็ต้องแจ้งความหรือฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ มิฉะนั้นแล้วคดีจะขาดอายุความ เมื่อฟ้องคดีผู้นั้นไปต่อศาล ในคดีอาญานั้นถ้าคดีขาดอายุความ ศาลจะมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นการยักยอกมากกว่า ผิดสัญญาทางแพ่ง ให้ได้ก่อนนะ การผิดสัญญาทางแพ่งนั้นหมายความว่า เดิมคู่สัญญาไม่มีเจตนาจะโกง เช่น  ขณะทำสัญญาลูกหนี้ไม่มีเจตนาจะเบี้ยว ทำสัญญาไปตามปกติถูกต้องครบถ้วน แต่ภายหลังจากที่ทำสัญญาแล้วสถานะทางการเงินไม่ดี ขาดสภาพคล่องถึงไม่มีเงินมาใช้หนี้แล้ว แบบนี้จะเป็นกรณีผิดสัญญาทางแพ่ง หรือ ผิดสัญญาเนื่องจากรับปากว่าจะทำตามสัญญาแต่ทำแล้วแต่ทำไม่สำเร็จ ไม่ได้เป็นการหลอกลวง เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น

กรณีจะเป็นความผิดฐานยักยอกนั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนาเบียดบังเอาทรัยย์สินนั้นมาเป็นของตน ซึ่งการเบียดบังนั้นจะต้องกระทำในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ มิใช่เพียงการยึดถือไว้ชั่วคราวเท่านั้น และต้องมีองค์ประกอบคือ คนกระทำเจตนาและรู้ตัว เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ยักยอก ซึ่งผู้ครอบครองทรัพย์ก็คือผู้มีอำนาจควบคุมจัดการทรัพย์นั้นได้ กรณียืมใช้ ผู้ยืมทรัพย์จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ยืม เมื่อไม่ยอมคืนโดยไม่มีเหตุผลก็จะเป็นความผิดฐานยักยอก

หรืออีกข้อหานึงที่อาจจะดูคือ ฉ้อโกง การจะผิดฐานฉ้อโกง จะต้องเป็นกรณีให้คำมั่นสัญญาหรือให้คำรับรองไว้ตั้งแต่แรก โดยมีลักษณะเจตนาอันเป็นเท็จตั้งแต่แรก หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นทำให้ได้ทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงทำการถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่