การขับเคลื่อนการลงทุนของกลุ่ม ปตท.ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาสอดรับแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ว่าด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรืออีสต์เทิร์นซีบอร์ดที่ดำเนินการมากว่า 30 ปี เพื่อมุ่งหวังยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก และเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน ก้าวพ้นกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางเสียที หลังจากที่ประเทศไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มานานหลายสิบปี
ในฐานะรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนรายใหญ่ของประเทศ บมจ.ปตท. ได้อัดงบลงทุนในช่วง 5 ปีนี้ (2562-2566) รวม 167,114 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนตามแผนงานที่วางไว้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติถึง 45% ของงบลงทุน มีทั้งการลงทุนสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Terminal) ขนาด 7.5 ล้านตันต่อปี โครงการท่อก๊าซฯ เส้นที่ 5 เป็นต้น โดยปีนี้บริษัทใส่งบลงทุนถึง 7 หมื่นล้านบาท และยังกันงบพิเศษเพื่อการลงทุนในอนาคต (Provision)187,616 ล้านบาท ซึ่งวางแผนไว้ลงทุนธุรกิจ New S-Curve รวมทั้งโครงการการลงทุนที่ไม่อยู่ในแผนงาน พร้อมทั้งสั่งให้บริษัทลูกมองหาโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมที่รัฐให้การส่งเสริมในพื้นที่อีอีซียื่นเสนอมาให้คณะกรรมการบริษัทฯอนุมัติโดยด่วน เนื่องจากกลุ่ม ปตท.มีฐานธุรกิจหลักอยู่ในภาคตะวันออก โดยเฉพาะมาบตาพุด จ.ระยอง ที่เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง
จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ระยะแรกกำหนด 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นโอกาสดีที่ ปตท.จะเร่งขยายการลงทุนเพิ่มเติมต่อยอดในธุรกิจปัจจุบันที่ดำเนินการอยู่ รวมทั้งหาธุรกิจใหม่ (New S-Curve) เพื่อสร้างการเติบโตให้กลุ่มบริษัทอย่างยั่งยืนในอนาคต ส่วนแหล่งเงินทุนไม่ใช่ปัญหา เฉพาะ ปตท.ก็มีเงินตุนอยู่ในกระเป๋าถึงแสนล้านบาท ไม่รวมบริษัทลูกๆ ขอแค่เป็นโปรเจกต์ดี ผลตอบแทนเหมาะสม และมีพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ ทางกลุ่ม ปตท.ก็พร้อมที่จะลงทุนได้ทันที
ขณะที่ภาครัฐก็ส่งสัญญาณให้ ปตท.เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ลงทุน หวังเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนของไทยและต่างชาติเข้ามา ทำให้กลุ่ม ปตท.เป็นบริษัทไทยรายอันดับต้นๆ ที่ประกาศตัวลงทุนในอีอีซีด้วยวงเงินกว่า 3 แสนล้านบาท และทยอยลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม
นับตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจ (EECi) บนพื้นที่ 3,500 ไร่ โดย ปตท.มีการก่อตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อให้เกิดนวัตกรรม โดยคณะกรรมการบริษัท ปตท.ได้อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน EECi ระยะแรกวงเงิน 2,500 ล้านบาท ซึ่งจะการก่อสร้างอาคาร สาธารณูปโภคถนน ไฟฟ้า ฯลฯ พัฒนาให้ EECi เป็นเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้) รองรับการเป็นศูนย์กลางงานวิจัยด้านเทคโนโลยี วัสดุ พลังงานทดแทน และดิจิทัล มีการทำโรดโชว์เพื่อดึงสถาบันชั้นนำในต่างประเทศเพื่อเข้ามาใช้พื้นที่ EECi ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ด้วย
EEC - ปตท. ปักหมุดการลงทุน
จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ระยะแรกกำหนด 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นโอกาสดีที่ ปตท.จะเร่งขยายการลงทุนเพิ่มเติมต่อยอดในธุรกิจปัจจุบันที่ดำเนินการอยู่ รวมทั้งหาธุรกิจใหม่ (New S-Curve) เพื่อสร้างการเติบโตให้กลุ่มบริษัทอย่างยั่งยืนในอนาคต ส่วนแหล่งเงินทุนไม่ใช่ปัญหา เฉพาะ ปตท.ก็มีเงินตุนอยู่ในกระเป๋าถึงแสนล้านบาท ไม่รวมบริษัทลูกๆ ขอแค่เป็นโปรเจกต์ดี ผลตอบแทนเหมาะสม และมีพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ ทางกลุ่ม ปตท.ก็พร้อมที่จะลงทุนได้ทันที
ขณะที่ภาครัฐก็ส่งสัญญาณให้ ปตท.เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ลงทุน หวังเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนของไทยและต่างชาติเข้ามา ทำให้กลุ่ม ปตท.เป็นบริษัทไทยรายอันดับต้นๆ ที่ประกาศตัวลงทุนในอีอีซีด้วยวงเงินกว่า 3 แสนล้านบาท และทยอยลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม
นับตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจ (EECi) บนพื้นที่ 3,500 ไร่ โดย ปตท.มีการก่อตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อให้เกิดนวัตกรรม โดยคณะกรรมการบริษัท ปตท.ได้อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน EECi ระยะแรกวงเงิน 2,500 ล้านบาท ซึ่งจะการก่อสร้างอาคาร สาธารณูปโภคถนน ไฟฟ้า ฯลฯ พัฒนาให้ EECi เป็นเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้) รองรับการเป็นศูนย์กลางงานวิจัยด้านเทคโนโลยี วัสดุ พลังงานทดแทน และดิจิทัล มีการทำโรดโชว์เพื่อดึงสถาบันชั้นนำในต่างประเทศเพื่อเข้ามาใช้พื้นที่ EECi ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ด้วย