เด็กหญิงในชุดเครื่องแบบของโรงเรียน กำลังนั่งขุดดินอย่างตั้งใจ
ขณะที่ฉันยืนมองด้วยความสงสัยว่า เธอทำอะไรอยู่น่ะ?
แต่...
เธอก็ไม่หันหน้ามาให้ถามสักที
ฉันจึงยืนมองเงียบๆ และไม่รบกวนเธอ
.
ทราบภายหลังจากคุณครูว่า...
เธอเป็นนักเรียนที่ชอบปลูกผัก ซึ่งกำลังขุดหลุมฝั่งท่อนไม้เล็กๆ
ไว้สำหรับเป็นเสาให้เมล็ดถั่วฝักยาวของเธอที่กำลังงอกจากดินได้เลื้อยขึ้นอาบแสงอาทิตย์
.
เพราะหลังจากปิดภาคเรียนไปหลายเดือน
แปลงผักที่เคยเขียวก็เหี่ยวเฉาเนื่องจากไม่มีคนดูแล
ช่วงนี้นักเรียนทุกคนกลับเข้าสู่ช่วงเปิดภาคเรียนอีกครั้ง
เมล็ดผักหลากหลายชนิดถูกหวานลงดินและเริ่มงอก
.
นักเรียนชั้น ป.5 และ ป.6
ได้รับมอบหมายจากคุณครูให้ช่วยกันปลูกผักในแปลง
ทุกคนจะช่วยกันดูแลแปลงผักด้วยกัน
ไม่มีการจัดแบ่งเวร
ไม่มีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่
ทุกคนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาดูแล "ตามความสมัครใจ"
ทั้งนักเรียนและคุณครู
.
เช่นเดียวกับเด็กหญิงคนนี้
เธอกำลังเตรียมพื้นที่สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่เธอหวานลงดิน
และหวังว่าเสาไม้
จะช่วยให้ผักของเธอเลื้อยเกาะออกดอกและให้ผลผลิตกับเธอและเพื่อนๆ
.
.
ทราบจากครูอีกว่า...
โรงเรียน "บ้านผับแล้ง" แห่งนี้
เป็นโรงเรียนเล็กแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในชนบท จังหวัดอุบลราชธานี
มีนักเรียนเพียงแค่ 60 กว่าชีวิตเท่านั้น
นักเรียนส่วนใหญ่เป็นลูกชาวนาเกษตรกรจากหมู่บ้านรอบๆ ซึ่งมีฐานะยากจน
.
อีกทั้งคำบอกเล่าจากครูยังกล่าวถึงนักเรียนบางคนว่า...
"
ที่ผ่านมาโรงเรียนเคยให้นักเรียนห่อข้าวมารับประทานที่โรงเรียน
แต่มีนักเรียนบางคนไม่มีห่อข้าวมาเหมือนคนอื่น เขาก็ไม่กล้าไปนั่งทานอาหารกับเพื่อน
และปล่อยให้ท้องหิวตลอดทั้งวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจที่สุด
จากนั้นทางโรงเรียนจึงเปลี่ยนแนวคิดใหม่
โดยขอความร่วมมือจากชาวบ้านและผู้ปกครองนักเรียน
ให้ช่วยบริจาคข้าวสารตามกำลัง นำมารวมไว้สำหรับหุงข้าวให้นักเรียนทุกคน
และทางโรงเรียนได้จัดงบทำอาหารให้กับนักเรียนรับประทานร่วมกัน"
.
นอกจากนี้
เมื่อผักที่ปลูกไว้โตขึ้น นักเรียนจะตัดมาให้แม่ครัวนำไปประกอบอาหาร
แน่นอนว่าอาจปลูกได้เพียงบางชนิด
แต่บางชนิดที่ปลูกได้ คือ การช่วยลดต้นทุนจากการซื้อวัตถุดิบ
อีกทั้งเป็น "ผักปลอดสารเคมี" ที่นักเรียนและครูได้บริโภค...
.
ภาพของเด็กหญิงหลังม่าน "ดอกผักอีตู่" หรือ "ใบแมงลัก"
คือ "ความจริง" ที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนขนาดเล็กในชนบทที่น้อยคนนักจะได้สัมผัส
กิจกรรมดีๆ ซึ่งเป็นประโยชน์กับเด็กๆ ในชุมชนห่างไกล
กับการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติการจริง
.
#โครงการโรงเรียนกินสบายใจ
หลังม่าน "ดอกผักอีตู่"
ขณะที่ฉันยืนมองด้วยความสงสัยว่า เธอทำอะไรอยู่น่ะ?
แต่...
เธอก็ไม่หันหน้ามาให้ถามสักที
ฉันจึงยืนมองเงียบๆ และไม่รบกวนเธอ
.
ทราบภายหลังจากคุณครูว่า...
เธอเป็นนักเรียนที่ชอบปลูกผัก ซึ่งกำลังขุดหลุมฝั่งท่อนไม้เล็กๆ
ไว้สำหรับเป็นเสาให้เมล็ดถั่วฝักยาวของเธอที่กำลังงอกจากดินได้เลื้อยขึ้นอาบแสงอาทิตย์
.
เพราะหลังจากปิดภาคเรียนไปหลายเดือน
แปลงผักที่เคยเขียวก็เหี่ยวเฉาเนื่องจากไม่มีคนดูแล
ช่วงนี้นักเรียนทุกคนกลับเข้าสู่ช่วงเปิดภาคเรียนอีกครั้ง
เมล็ดผักหลากหลายชนิดถูกหวานลงดินและเริ่มงอก
.
นักเรียนชั้น ป.5 และ ป.6
ได้รับมอบหมายจากคุณครูให้ช่วยกันปลูกผักในแปลง
ทุกคนจะช่วยกันดูแลแปลงผักด้วยกัน
ไม่มีการจัดแบ่งเวร
ไม่มีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่
ทุกคนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาดูแล "ตามความสมัครใจ"
ทั้งนักเรียนและคุณครู
.
เช่นเดียวกับเด็กหญิงคนนี้
เธอกำลังเตรียมพื้นที่สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่เธอหวานลงดิน
และหวังว่าเสาไม้
จะช่วยให้ผักของเธอเลื้อยเกาะออกดอกและให้ผลผลิตกับเธอและเพื่อนๆ
.
.
ทราบจากครูอีกว่า...
โรงเรียน "บ้านผับแล้ง" แห่งนี้
เป็นโรงเรียนเล็กแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในชนบท จังหวัดอุบลราชธานี
มีนักเรียนเพียงแค่ 60 กว่าชีวิตเท่านั้น
นักเรียนส่วนใหญ่เป็นลูกชาวนาเกษตรกรจากหมู่บ้านรอบๆ ซึ่งมีฐานะยากจน
.
อีกทั้งคำบอกเล่าจากครูยังกล่าวถึงนักเรียนบางคนว่า...
"ที่ผ่านมาโรงเรียนเคยให้นักเรียนห่อข้าวมารับประทานที่โรงเรียน
แต่มีนักเรียนบางคนไม่มีห่อข้าวมาเหมือนคนอื่น เขาก็ไม่กล้าไปนั่งทานอาหารกับเพื่อน
และปล่อยให้ท้องหิวตลอดทั้งวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจที่สุด
จากนั้นทางโรงเรียนจึงเปลี่ยนแนวคิดใหม่
โดยขอความร่วมมือจากชาวบ้านและผู้ปกครองนักเรียน
ให้ช่วยบริจาคข้าวสารตามกำลัง นำมารวมไว้สำหรับหุงข้าวให้นักเรียนทุกคน
และทางโรงเรียนได้จัดงบทำอาหารให้กับนักเรียนรับประทานร่วมกัน"
.
นอกจากนี้
เมื่อผักที่ปลูกไว้โตขึ้น นักเรียนจะตัดมาให้แม่ครัวนำไปประกอบอาหาร
แน่นอนว่าอาจปลูกได้เพียงบางชนิด
แต่บางชนิดที่ปลูกได้ คือ การช่วยลดต้นทุนจากการซื้อวัตถุดิบ
อีกทั้งเป็น "ผักปลอดสารเคมี" ที่นักเรียนและครูได้บริโภค...
.
ภาพของเด็กหญิงหลังม่าน "ดอกผักอีตู่" หรือ "ใบแมงลัก"
คือ "ความจริง" ที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนขนาดเล็กในชนบทที่น้อยคนนักจะได้สัมผัส
กิจกรรมดีๆ ซึ่งเป็นประโยชน์กับเด็กๆ ในชุมชนห่างไกล
กับการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติการจริง
.
#โครงการโรงเรียนกินสบายใจ