วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเขียนบทวิจารณ์ โดยเฉพาะเจาะจงลงไปที่การเขียนงานวิจารณ์ภาพยนตร์ จากเวทีการเสวนาในหัวข้อ “ศาสตร์และศิลป์การเขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ละคร และศิลปะการแสดง” ที่เป็นส่วนหนึ่งใน “งานรำลึกถึงหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ประจำปี 2561” จัดโดยกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ณ ห้องศศินทร์ ฮอลล์ ชั้น 9 อาคารศศปาฐศาลา สถาบันบริหารธุรกิจ ศศินทร์
จริงๆ แล้วการเสวนาในครั้งนี้มีชื่อหัวข้อเต็มๆ ว่า “ศาสตร์และศิลป์การเขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ละคร และศิลปะการแสดง” โดยมีท่านวิทยาการผู้เสวนาคือ อาจารย์สกุล บุณยทัต , อาจารย์ประวิทย์ แต่งอักษร , อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน และรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม ดำเนินการเสวนาโดยอาจารย์อรยา สูตะบุตร
แม้ว่างานเสวนานี้จะผ่านมาเป็นเวลานานเกือบ 4 เดือนแล้ว แต่ผมคิดว่าข้อมูลจากงานเสวนาในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ที่สนใจ และผู้ที่ทำงานด้านการวิจารณ์โดยตรง ผมคิดว่าข้อมูลจากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่แสดงปาฐกในครั้งนี้น่าจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการได้ด้วย ผมจึงขอบันทึกบางส่วนของการเสวนาครั้งนี้นำมาเผยแพร่ต่อ โดยขอยกมาเฉพาะคำถามแรกสุดที่อาจารย์อรยา ผู้ดำเนินการเสวนาถามวิทยากรทุกท่านว่า “เรามีงานวิจารณ์ไปทำไม?”
(สำหรับรายละเอียดในกระทู้นี้ ผมเขียนเรียบเรียงขึ้นจากการถอดเทปการเสวนา ซึ่งอาจจะมีการตัดและปรับเปลี่ยนคำพูดบางส่วนเพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนั้นถ้ามีข้อความใดที่ผิดเพี้ยนหรือคลาดเคลื่อนไปจากคำพูดที่ท่านวิทยากรได้พูดไว้ ผมก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน นักวิชาการและนักวิจารณ์ภาพยนตร์อิสระ
-จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีคนเสนอและมีคนรับ ในภาษาละครบอกว่ามีแอกชัน (Action) ก็ต้องมีรีแอกชัน (Reaction) ด้วย ในกรณีของงานศิลปะทั่วไปทั้งหนังและละครรวมทั้งงานวรรณกรรมต่างๆ แอกชันคือผู้เป็นเจ้าของผลงาน เป็นผู้เขียน เป็นคนที่ทำละคร ถ้าเขาทำไปฝ่ายเดียวโดยที่ไม่มีรีแอกชันเลย มันก็เหมือนว่าจะเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์
-ละครประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คือบทละคร ที่อยู่ในขั้นของงานวรรณกรรม ส่วนที่ 2 คือการแสดง เมื่อเอางานวรรณกรรมมาแสดงจะกลายเป็นละคร ส่วนที่ 3 คือคนดู ถ้ามีไม่ครบทั้ง 3 ส่วนนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นละคร เมื่อมีคนดูก็จะมีการสะท้อนกลับมาในฐานะของนักวิจารณ์ ทำให้เจ้าของผลงานหรือตัวศิลปินที่แสดงนั้นได้รับทราบว่า ผลงานของตัวเองนั้นได้รับการต้อนรับอย่างใดบ้าง? มีส่วนใดที่ดีที่สังคมอยากพัฒนาต่อไป และมีส่วนใดที่บกพร่องสมควรจะได้รับการแก้ไข
อาจารย์สกุล บุณยทัต นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
-งานวิจารณ์เป็นบทสะท้อนของตัวเนื้อหา ศาสตร์ที่เราใช้ในงานวิจารณ์อย่างเช่นการวิจารณ์ภาพยนตร์ ถือว่าเป็นงานศิลปะร่วมหลายแขนง ถ้าไม่มีการวิจารณ์เราก็จะไม่รู้ว่าศิลปะที่มันมารวมกัน มีตั้งแต่การแสดง บทละคร เทคนิคพิเศษ เพลงประกอบ ฯลฯ ดังนั้นถ้าคนจะดูหนังสักเรื่องให้สนุกหรือจะอ่านหนังสือสักเล่มให้มีความหมาย ก็จะต้องรู้จักความหมายและภาษาเฉพาะของภาพยนตร์หรือหนังสือเรื่องนั้นด้วย
-ประสบการณ์และจินตนาการของนักวิจารณ์เป็นเรื่องสำคัญ ในปัจจุบันนักวิจารณ์ในบ้านเรามีน้อยมาก มีนักดูหนังน้อยมากเช่นกัน นักอ่านหนังสือ(คนอ่านหนังสือ)ก็น้อยมาก ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีการสอนเรื่องการวิจารณ์ ปรากฏว่านักศึกษาเป็นคนไม่ดูหนัง เป็นคนไม่อ่านหนังสือ จะวิจารณ์หนังสือก็ลำบาก ไม่รู้ทฤษฎี ไม่รู้โครงสร้าง ไม่รู้องค์ประกอบต่างๆ ว่าส่วนประกอบทั้งหมดคืออะไร? ศิลปะของการวิจารณ์มันเต็มไปด้วยองค์ประกอบหลายประการ ดังนั้นคนที่เป็นนักวิจารณ์ก็ควรต้องเป็นคนที่รอบรู้พอสมควร มีประสบการณ์ มีวิชาการและมีจินตนาการพอสมควรซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ปัจจุบันการเรียนรู้วิชาการวิจารณ์มันขาดประสบการณ์ค่อนข้างมาก ทั้งๆ ที่ในปัจจุบันโลกมีโอกาสทำให้คนเรียนรู้ได้มากขึ้น แต่จริงๆ แล้วคนกลับเรียนรู้ได้น้อยลง เพราะอาจจะรู้แค่ฉาบฉวยและไม่สามารถรู้ลงลึกได้เท่าที่ควร
-ยกตัวอย่างการมองภาพยนตร์เรื่อง First Man (2018) “มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์” ที่เป็นหนังของนีล อาร์มสตรอง ที่ได้ขึ้นไปบนดวงจันทร์ ถามว่าเราจะวิจารณ์หนังเรื่องนี้ในแง่ใดบ้าง? เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงใช่ไหม? เพราะมีคนไม่เชื่อว่า นีล อาร์มสตรอง จะไปถึงดวงจันทร์ได้จริง แล้วประเด็นของหนังในเรื่องจะพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง? ผู้กำกับภาพยนตร์คนนี้ทำหนังส่วนใหญ่เป็นหนังเพลงทั้งนั้น ในเรื่องนี้ก็มีเพลงเพราะมาก ดนตรีประกอบเพราะมาก และมีฉากแอกชันทั้งหมดที่มันลึกซึ้งมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากหนังสือชื่อเดียวกัน ซึ่งตัวหนังสือตั้งใจจะพูดถึงประเด็นที่ว่า การขึ้นไปถึงดวงจันทร์ไม่สำคัญเท่ากับการมองถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และประเด็นสำคัญจริงๆ ของการวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ จริงแล้วโลกของเราพูดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง? พูดถึงความสำเร็จที่ได้ขึ้นไปถึงดวงจันทร์หรือพูดถึงความสำเร็จในครอบครัว? สหรัฐอเมริกามองคนที่เดินทางไปดวงจันทร์ว่าเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งเท่านั้น เป็นบทวิจารณ์ที่เราต้องตั้งคำถามว่ามันเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่? สังคมที่ยกย่องคนที่เดินทางออกไปนอกโลกได้ว่าเป็นความยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกันก็พูดถึงประเด็นที่ว่า แล้วครอบครัวของเขาจะว่าอย่างไร? เมียเขาจะว่าอย่างไร? ลูกเขาจะว่าอย่างไร? พวกคน(นักบินอวกาศ)ที่เดินทางไปนอกโลกเป็นแค่อุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ถ้าเกิดมีใครตายขึ้นมาก็มีอุปกรณ์ชิ้นใหม่(คนใหม่)ขึ้นไปทำหน้าที่แทน
-การมองภาพพวกนี้ออกในการวิจารณ์ภาพยนตร์หรือในจินตนาการจากการอ่านหนังสือ จะทำให้นักวิจารณ์ประสบความสำเร็จในการวิจารณ์ แต่ปัจจุบันการวิจารณ์ในบ้านเรายังขาดอะไรไปบางอย่าง บางทีเราก็วิจารณ์แค่ตัวเรื่อง (Text) อย่างเดียว คือมองที่ตัวเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่ฉากแอกชันยังไม่ได้พูดถึงเลย ในบางครั้งฉากแอกชันก็สำคัญมาก ตัวอย่างเช่น ในตอนท้ายของหนังเรื่อง First Man ทำไมถึงเงียบ ตัวละครเอกเผชิญหน้ากั้นผ่านกระจกกั้น สามีภรรยาจ้องหน้ากันผ่านกระจกกั้น พูดกันไม่ได้ยิน แต่เมื่อตัวละครทั้งคู่เอามือมาสัมผัสกันตรงกระจกได้หนังก็ตัดจบเลย เราต้องคิดว่าผู้กำกับเขาต้องการบอกอะไรเรา องค์ประกอบในการคิดลักษณะอย่างนี้นักวิจารณ์ในบ้านเราควรจะต้องมี ไม่ใช่วิจารณ์แค่ว่าถูกหรือผิด ชอบหรือไม่ชอบ ต้องใช้รากฐานในการเรียนรู้ทั้งหมดซึ่งเป็นองค์ประกอบและเป็นบริบทสำคัญ เป็นความคิด เป็นจิตใจ เป็นอารมณ์ของมนุษย์ ถ้ามีสิ่งพวกนี้แล้วจะทำให้วิจารณ์ได้ดี
-ในสมัยก่อนมีนิตยสาร “สตาร์พิค” เล่มละ 5 บาท เราต้องอ่านบทวิจารณ์หนังของอาจารย์แดง (อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน) เสมอ การวิพากษ์วิจารณ์ในนิตยสารสตาร์พิคนั้นสำคัญมาก ปัจจุบันนี้นิตยสารสตาร์พิคกลับมาอีกครั้งแล้ว ที่พูดมานี้หมายความว่าเราต้องมีเส้นทางการเติบโตในแวดวงการวิจารณ์ ลองถามเด็กสมัยนี้ว่ารู้จักนิตยสาร “สีสัน” หรือไม่? เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักแล้ว รู้จักนิตยสาร “แฮมเบอร์เกอร์” ไหม? รู้จักนิตยสาร “เอนเตอร์เทน” ไหม? ถามเด็กสมัยนี้บอกไม่รู้จักเลย แต่เด็กสมัยนี้บอกว่าจะสร้างหนังจะวิจารณ์หนัง บอกได้เลยว่ามันลำบากมาก การวิจารณ์มันใช้สัญชาตญาณล้วนๆ ไม่ได้ ถ้าจะเป็นนักวิจารณ์แล้วสัญชาตญาณเป็นพื้นฐาน แต่ประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า
-แต่อย่างไรก็ตาม การบอกกล่าวของใครสักคนในฐานะนักวิจารณ์ มันจะช่วยทำให้ศิลปะแขนงนั้นมันเติบโตขึ้นได้ คือมันจะช่วยฉายแสงอะไรบางอย่างให้เห็นได้ อาทิเช่น ถ้าเราจะไปดูหนังเราควรดูหนังตามที่นักวิจารณ์ว่าไว้เสียก่อน แล้วหลังจากนั้นมันจะเป็นอิสระสำหรับตัวเราเองไม่ว่าจะดูอะไรก็ตาม การวิจารณ์จึงจำเป็นต้องมีเพื่อให้รู้ว่าความคิดจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ ถ้านักวิจารณ์ไม่มีความคิด ไม่มีจิตใจ ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกร่วม นักวิจารณ์ก็จะวิจารณ์ไม่ได้ ปัจจุบันนี้อ่านงานวิจารณ์ของเด็กรุ่นใหม่ต่างเต็มไปด้วยทฤษฎีจนทำให้เป็นงานวิจารณ์ที่แข็ง แล้วก็เป็นปัญหาว่าทำไมรางวัลบทวิจารณ์ฯ หม่อมหลวงบุญเหลือ ถึงไม่ค่อยมีรางวัลชนะเลิศ ก็เพราะมันวิจารณ์ตามทฤษฎีเท่านั้น แต่ไม่มีความเป็นจริงของความรู้สึกจริงซึ่งหาได้น้อยมาก
-งานวิจารณ์แต่ละเรื่องต้องมีโครงสร้างของทฤษฎีเฉพาะของมัน ที่สามารถเอาทฤษฎีนั้นมาจับเป็นการวิจารณ์ได้ ไม่ใช่ใช้แค่ทฤษฎีเดียวแล้ววิจารณ์ไปทั่ว ซึ่งสังคมไทยมักจะเป็นอย่างนี้เสมอ ทฤษฎีของการวิจารณ์มีอยู่มากมาย เราต้องรู้ว่าเรื่องไหนจะต้องใช้ทฤษฎีไหนมาวิจารณ์ ถ้าอยากจะเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ต้องดูหนังให้มาก ถ้าจะวิจารณ์หนังสือก็ต้องอ่านหนังสือให้มาก ตราบใดที่คุณไม่ดูหนังไม่อ่านหนังสือ อย่าหาญกล้ามาเป็นนักวิจารณ์เลย
ศาสตร์และศิลป์ในการเขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ... “เรามีงานวิจารณ์ไปทำไม?”
จริงๆ แล้วการเสวนาในครั้งนี้มีชื่อหัวข้อเต็มๆ ว่า “ศาสตร์และศิลป์การเขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ละคร และศิลปะการแสดง” โดยมีท่านวิทยาการผู้เสวนาคือ อาจารย์สกุล บุณยทัต , อาจารย์ประวิทย์ แต่งอักษร , อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน และรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม ดำเนินการเสวนาโดยอาจารย์อรยา สูตะบุตร
แม้ว่างานเสวนานี้จะผ่านมาเป็นเวลานานเกือบ 4 เดือนแล้ว แต่ผมคิดว่าข้อมูลจากงานเสวนาในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ที่สนใจ และผู้ที่ทำงานด้านการวิจารณ์โดยตรง ผมคิดว่าข้อมูลจากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่แสดงปาฐกในครั้งนี้น่าจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการได้ด้วย ผมจึงขอบันทึกบางส่วนของการเสวนาครั้งนี้นำมาเผยแพร่ต่อ โดยขอยกมาเฉพาะคำถามแรกสุดที่อาจารย์อรยา ผู้ดำเนินการเสวนาถามวิทยากรทุกท่านว่า “เรามีงานวิจารณ์ไปทำไม?”
-จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีคนเสนอและมีคนรับ ในภาษาละครบอกว่ามีแอกชัน (Action) ก็ต้องมีรีแอกชัน (Reaction) ด้วย ในกรณีของงานศิลปะทั่วไปทั้งหนังและละครรวมทั้งงานวรรณกรรมต่างๆ แอกชันคือผู้เป็นเจ้าของผลงาน เป็นผู้เขียน เป็นคนที่ทำละคร ถ้าเขาทำไปฝ่ายเดียวโดยที่ไม่มีรีแอกชันเลย มันก็เหมือนว่าจะเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์
-ละครประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คือบทละคร ที่อยู่ในขั้นของงานวรรณกรรม ส่วนที่ 2 คือการแสดง เมื่อเอางานวรรณกรรมมาแสดงจะกลายเป็นละคร ส่วนที่ 3 คือคนดู ถ้ามีไม่ครบทั้ง 3 ส่วนนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นละคร เมื่อมีคนดูก็จะมีการสะท้อนกลับมาในฐานะของนักวิจารณ์ ทำให้เจ้าของผลงานหรือตัวศิลปินที่แสดงนั้นได้รับทราบว่า ผลงานของตัวเองนั้นได้รับการต้อนรับอย่างใดบ้าง? มีส่วนใดที่ดีที่สังคมอยากพัฒนาต่อไป และมีส่วนใดที่บกพร่องสมควรจะได้รับการแก้ไข
-งานวิจารณ์เป็นบทสะท้อนของตัวเนื้อหา ศาสตร์ที่เราใช้ในงานวิจารณ์อย่างเช่นการวิจารณ์ภาพยนตร์ ถือว่าเป็นงานศิลปะร่วมหลายแขนง ถ้าไม่มีการวิจารณ์เราก็จะไม่รู้ว่าศิลปะที่มันมารวมกัน มีตั้งแต่การแสดง บทละคร เทคนิคพิเศษ เพลงประกอบ ฯลฯ ดังนั้นถ้าคนจะดูหนังสักเรื่องให้สนุกหรือจะอ่านหนังสือสักเล่มให้มีความหมาย ก็จะต้องรู้จักความหมายและภาษาเฉพาะของภาพยนตร์หรือหนังสือเรื่องนั้นด้วย
-ประสบการณ์และจินตนาการของนักวิจารณ์เป็นเรื่องสำคัญ ในปัจจุบันนักวิจารณ์ในบ้านเรามีน้อยมาก มีนักดูหนังน้อยมากเช่นกัน นักอ่านหนังสือ(คนอ่านหนังสือ)ก็น้อยมาก ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีการสอนเรื่องการวิจารณ์ ปรากฏว่านักศึกษาเป็นคนไม่ดูหนัง เป็นคนไม่อ่านหนังสือ จะวิจารณ์หนังสือก็ลำบาก ไม่รู้ทฤษฎี ไม่รู้โครงสร้าง ไม่รู้องค์ประกอบต่างๆ ว่าส่วนประกอบทั้งหมดคืออะไร? ศิลปะของการวิจารณ์มันเต็มไปด้วยองค์ประกอบหลายประการ ดังนั้นคนที่เป็นนักวิจารณ์ก็ควรต้องเป็นคนที่รอบรู้พอสมควร มีประสบการณ์ มีวิชาการและมีจินตนาการพอสมควรซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ปัจจุบันการเรียนรู้วิชาการวิจารณ์มันขาดประสบการณ์ค่อนข้างมาก ทั้งๆ ที่ในปัจจุบันโลกมีโอกาสทำให้คนเรียนรู้ได้มากขึ้น แต่จริงๆ แล้วคนกลับเรียนรู้ได้น้อยลง เพราะอาจจะรู้แค่ฉาบฉวยและไม่สามารถรู้ลงลึกได้เท่าที่ควร
-ยกตัวอย่างการมองภาพยนตร์เรื่อง First Man (2018) “มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์” ที่เป็นหนังของนีล อาร์มสตรอง ที่ได้ขึ้นไปบนดวงจันทร์ ถามว่าเราจะวิจารณ์หนังเรื่องนี้ในแง่ใดบ้าง? เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงใช่ไหม? เพราะมีคนไม่เชื่อว่า นีล อาร์มสตรอง จะไปถึงดวงจันทร์ได้จริง แล้วประเด็นของหนังในเรื่องจะพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง? ผู้กำกับภาพยนตร์คนนี้ทำหนังส่วนใหญ่เป็นหนังเพลงทั้งนั้น ในเรื่องนี้ก็มีเพลงเพราะมาก ดนตรีประกอบเพราะมาก และมีฉากแอกชันทั้งหมดที่มันลึกซึ้งมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากหนังสือชื่อเดียวกัน ซึ่งตัวหนังสือตั้งใจจะพูดถึงประเด็นที่ว่า การขึ้นไปถึงดวงจันทร์ไม่สำคัญเท่ากับการมองถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และประเด็นสำคัญจริงๆ ของการวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ จริงแล้วโลกของเราพูดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง? พูดถึงความสำเร็จที่ได้ขึ้นไปถึงดวงจันทร์หรือพูดถึงความสำเร็จในครอบครัว? สหรัฐอเมริกามองคนที่เดินทางไปดวงจันทร์ว่าเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งเท่านั้น เป็นบทวิจารณ์ที่เราต้องตั้งคำถามว่ามันเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่? สังคมที่ยกย่องคนที่เดินทางออกไปนอกโลกได้ว่าเป็นความยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกันก็พูดถึงประเด็นที่ว่า แล้วครอบครัวของเขาจะว่าอย่างไร? เมียเขาจะว่าอย่างไร? ลูกเขาจะว่าอย่างไร? พวกคน(นักบินอวกาศ)ที่เดินทางไปนอกโลกเป็นแค่อุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ถ้าเกิดมีใครตายขึ้นมาก็มีอุปกรณ์ชิ้นใหม่(คนใหม่)ขึ้นไปทำหน้าที่แทน
-การมองภาพพวกนี้ออกในการวิจารณ์ภาพยนตร์หรือในจินตนาการจากการอ่านหนังสือ จะทำให้นักวิจารณ์ประสบความสำเร็จในการวิจารณ์ แต่ปัจจุบันการวิจารณ์ในบ้านเรายังขาดอะไรไปบางอย่าง บางทีเราก็วิจารณ์แค่ตัวเรื่อง (Text) อย่างเดียว คือมองที่ตัวเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่ฉากแอกชันยังไม่ได้พูดถึงเลย ในบางครั้งฉากแอกชันก็สำคัญมาก ตัวอย่างเช่น ในตอนท้ายของหนังเรื่อง First Man ทำไมถึงเงียบ ตัวละครเอกเผชิญหน้ากั้นผ่านกระจกกั้น สามีภรรยาจ้องหน้ากันผ่านกระจกกั้น พูดกันไม่ได้ยิน แต่เมื่อตัวละครทั้งคู่เอามือมาสัมผัสกันตรงกระจกได้หนังก็ตัดจบเลย เราต้องคิดว่าผู้กำกับเขาต้องการบอกอะไรเรา องค์ประกอบในการคิดลักษณะอย่างนี้นักวิจารณ์ในบ้านเราควรจะต้องมี ไม่ใช่วิจารณ์แค่ว่าถูกหรือผิด ชอบหรือไม่ชอบ ต้องใช้รากฐานในการเรียนรู้ทั้งหมดซึ่งเป็นองค์ประกอบและเป็นบริบทสำคัญ เป็นความคิด เป็นจิตใจ เป็นอารมณ์ของมนุษย์ ถ้ามีสิ่งพวกนี้แล้วจะทำให้วิจารณ์ได้ดี
-ในสมัยก่อนมีนิตยสาร “สตาร์พิค” เล่มละ 5 บาท เราต้องอ่านบทวิจารณ์หนังของอาจารย์แดง (อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน) เสมอ การวิพากษ์วิจารณ์ในนิตยสารสตาร์พิคนั้นสำคัญมาก ปัจจุบันนี้นิตยสารสตาร์พิคกลับมาอีกครั้งแล้ว ที่พูดมานี้หมายความว่าเราต้องมีเส้นทางการเติบโตในแวดวงการวิจารณ์ ลองถามเด็กสมัยนี้ว่ารู้จักนิตยสาร “สีสัน” หรือไม่? เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักแล้ว รู้จักนิตยสาร “แฮมเบอร์เกอร์” ไหม? รู้จักนิตยสาร “เอนเตอร์เทน” ไหม? ถามเด็กสมัยนี้บอกไม่รู้จักเลย แต่เด็กสมัยนี้บอกว่าจะสร้างหนังจะวิจารณ์หนัง บอกได้เลยว่ามันลำบากมาก การวิจารณ์มันใช้สัญชาตญาณล้วนๆ ไม่ได้ ถ้าจะเป็นนักวิจารณ์แล้วสัญชาตญาณเป็นพื้นฐาน แต่ประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า
-แต่อย่างไรก็ตาม การบอกกล่าวของใครสักคนในฐานะนักวิจารณ์ มันจะช่วยทำให้ศิลปะแขนงนั้นมันเติบโตขึ้นได้ คือมันจะช่วยฉายแสงอะไรบางอย่างให้เห็นได้ อาทิเช่น ถ้าเราจะไปดูหนังเราควรดูหนังตามที่นักวิจารณ์ว่าไว้เสียก่อน แล้วหลังจากนั้นมันจะเป็นอิสระสำหรับตัวเราเองไม่ว่าจะดูอะไรก็ตาม การวิจารณ์จึงจำเป็นต้องมีเพื่อให้รู้ว่าความคิดจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ ถ้านักวิจารณ์ไม่มีความคิด ไม่มีจิตใจ ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกร่วม นักวิจารณ์ก็จะวิจารณ์ไม่ได้ ปัจจุบันนี้อ่านงานวิจารณ์ของเด็กรุ่นใหม่ต่างเต็มไปด้วยทฤษฎีจนทำให้เป็นงานวิจารณ์ที่แข็ง แล้วก็เป็นปัญหาว่าทำไมรางวัลบทวิจารณ์ฯ หม่อมหลวงบุญเหลือ ถึงไม่ค่อยมีรางวัลชนะเลิศ ก็เพราะมันวิจารณ์ตามทฤษฎีเท่านั้น แต่ไม่มีความเป็นจริงของความรู้สึกจริงซึ่งหาได้น้อยมาก
-งานวิจารณ์แต่ละเรื่องต้องมีโครงสร้างของทฤษฎีเฉพาะของมัน ที่สามารถเอาทฤษฎีนั้นมาจับเป็นการวิจารณ์ได้ ไม่ใช่ใช้แค่ทฤษฎีเดียวแล้ววิจารณ์ไปทั่ว ซึ่งสังคมไทยมักจะเป็นอย่างนี้เสมอ ทฤษฎีของการวิจารณ์มีอยู่มากมาย เราต้องรู้ว่าเรื่องไหนจะต้องใช้ทฤษฎีไหนมาวิจารณ์ ถ้าอยากจะเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ต้องดูหนังให้มาก ถ้าจะวิจารณ์หนังสือก็ต้องอ่านหนังสือให้มาก ตราบใดที่คุณไม่ดูหนังไม่อ่านหนังสือ อย่าหาญกล้ามาเป็นนักวิจารณ์เลย