ย้อนกลับไปในอดีต โลกของเรานั้นเต็มไปด้วยอารยธรรมเก่าแก่มากมาย บางอารยธรรมยิ่งใหญ่รุ่งเรือง บางอารยธรรมไม่ได้ยิ่งใหญ่แต่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งสุดท้ายแล้วอารยธรรมโบราณเหล่านี้ก็มักจะล่มสลายและผลัดเปลี่ยนหมุนไปตามกาลเวลา จากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ โรคระบาด ความอดอยาก
แต่สำหรับบางอารยธรรมนั้น นักประวัติศาสตร์เองก็สับสนไม่รู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นหายไปจากประวัติศาสตร์โลกได้อย่างไร วันนี้จะขอพามาชมอารยธรรมที่เชื่อกันว่าสาบสูญไปอย่างเป็นปริศนา มาลองดูกันว่าจะมีอารยธรรมอะไรกันบ้าง
1. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Valley)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คืออารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย (ประมาณ 2500 – 1900 ก่อนคริสตกาล) เชื่อกันว่าแพร่หลายจากอินเดียตะวันตกไปจนถึงอัฟกานิสถานเลยทีเดียว โดยอารยธรรมเก่าแก่นี้มีประชากรในชุมชนอยู่ถึง 5 ล้านคน ภายในมีการวางผังเมือง มีถนน มีสุขาภิบาล ทุกบ้านมีห้องน้ำ มีท่อระบายน้ำเสีย พวกเขาเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าอารยธรรมไหนๆ บนโลกในสมัยนั้น สิ่งที่โดดเด่นก็คือพวกเขาไม่มีการแบ่งชนชั้นในสังคม
แต่ที่น่าแปลกใจคือ ไม่มีใครระบุได้เลยว่า อารยะธรรมที่รุ่งเรืองสุดๆ แห่งนี้สิ้นสุดที่ไหน อย่างไร ไม่มีหลักฐานของการสู้รบใดๆ มีหลายทฤษฏีที่สันนิษฐานว่าพวกเขาหายไปไหนอาจเป็นเพราะอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุถูกโจมตีอย่างรุนแรง พบโครงกระดูกถูกฆ่าตายจำนวนมาก หรืออาจล่มสลายเพราะภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม หรือโรคระบาด แม้ว่ามีการพบศิลาจารึกมากมายแต่เป็นภาษาเฉพาะที่ปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถอ่านมันออกได้
2. อารยธรรมอนาซาซี (Anasazi)
อนาซาซี (ประมาณ ค.ศ. 100 – 1300) เป็นบรรพบุรุษของชาวอเมริกันพื้นเมืองที่อยู่ในสี่พื้นที่ของประเทศสหรัฐอเมริกา คือนิวเม็กซิโก แอริโซนา โคโลลาโด และยูทาห์ พวกเขามีวัฒนธรรมมีการพัฒนาการปลูกพืชสวน ข้าวโพดและสคอซ นอกจากนั้เขายังได้สร้างที่พำนักริมหน้าผา และตามยอดเขายาวตลอดบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า Anasazi Ruins ซึ่งอยู่ในเขตแดน เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่มาก โดยเจาะหน้าหา เอาหิน อิฐ ดินโคลนมาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย
จากการสำรวจพบเครื่องปั้นดินเผา รองเท้ากก เสื้อคลุมขนกระต่าย หินบด และคันธนูและลูกศร แต่แล้วไม่ทราบเหตุผลกลใดที่เขาได้ทอดทิ้งบ้านที่ใหญ่โตเหล่านี้ทิ้งร้างเอาไว้ นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าน่าจขะเป็นเพราะพื้นที่ทำการเกษตรเสื่อมโทรมหรือเกิดความแห้งแล้งในภูมิภาคทำให้ขาดแคลนอาหาร หรือไม่ก็เกิดปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรงนำไปสู่จบจุดของอารยธรรมอนาซาซี
3. อารยธรรมคูคูเตนี (Cucuteni-Trypillian)
คูคูเตนี เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่มีอายุถึง 4800-3000 ปีก่อนคริสตกาล ที่อยู่ในภูมิภาคโรมาเนีย มอลโดวา และยูเครน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 35,000 กิโลเมตร ถือว่าเป็นตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปสมัยนั้น สิ่งที่น่าทึ่งคือ ในทุกๆ 60-80 ปี พวกเขาจะทำการวางเพลิงเผาหมู่บ้านตัวเอง ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าพวกเขาทำไปเพราะอะไร
สภาพสังคมนั้นมีการแบ่งส่วนชัดเจน ฝ่ายหญิงจะทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน ทำงานเกษตร ทักทอเสื้อผ้า และเครื่องปั้นดินเผา ส่วนฝ่ายชายเป็นนักล่าและดูแลสัตว์ อารยธรรมแห่งนี้นับถือบูชาวัว ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์และท้องฟ้า) และงู ซึ่งหมายถึงความเป็นนิรันดร์
แต่อย่างไรก็ตาม อารยธรรมนี้ก็หายไปอย่างลึกลับ หนึ่งในทฤษฏีที่เป็นไปได้ก็คือการเสียท่าให้กับอารยธรรมคู่แข่งอย่างคูร์กันในสงคราม อย่างไรก็ตามจากการค้นพบหลักฐานโบราณคดีล่าสุดพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่ทำให้เกิดภัยแล้งที่เลวร้ายในประวัติศาสตร์ยุโรปทำให้มีผลกระทบต่อการอยู่อาศัยและการทำฟาร์ม
4. อารยธรรมมิโนอัน (Minoans)
อารยธรรมมิโนอัน มาจาก “ไมนอส” ซึ่งเป็นพระนามของกษัตริย์ในตำนานกรีก ไมนอสเกี่ยวข้องกับตำนานวงกตและมิโนทอร์ที่อาศัยบนเกาะครีต โดยอารยธรรมดังกล่าวมีอายุมากถึง 3000-1000 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรมของพวกเขามีพระราชวังและสิ่งประดิษฐ์มากมาย แสดงให้เห็นว่ามีความล้ำหน้าในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นมีองค์กรทางสังคม ศิลปะและการค้า
แต่นักโบราณคดียังคงสงสัยอยู่ว่ามันเกิดอะไรขึ้นที่ทำให้อารยธรรมนี้หายไป ทฤษฏีที่เชื่อมากที่สุดคือการเกิดการระเบิดของภูเขาไฟธีรา ผลการตรวจสอบผืนดินบริเวณนั้น ทำให้นักโบราณคดีคาดเดาว่า การระเบิดครั้งใหญ่ทำให้อาณาจักรต้องล่มสลายลง แต่ก็เป็นแค่สันนิษฐาน เพราะมันไม่มีหลักฐาน ว่ามีเศษขี้เถ้าภูเขาไฟอยู่บริเวณนี้เลย
5. อารยธรรมโคลวิส (Clovis)
โคสวิส เป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของคนอเมริกันพื้นเมือง ซึ่งนานกว่า 10,000 ปีคริสตกาล มีศูนย์กลางอยู่ที่ราบภาคใต้และตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ พวกเขารู้จักการใช้หอกล่าสัตว์ตั้งแต่ กระต่าย กวาง ช้าง และกระทิง อีกทั้งยังเป็นต้นกำหนดวัฒนธรรมของมนุษย์ในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อีกด้วย
นักวิชาการเชื่อว่าพวกเขาอพยพมาจากไซบีเรียโดยผ่านดินแดนและสะพานน้ำแข็งบริเวณช่องแคบแบริ่งเพื่อหาพื้นที่อบอุ่น แต่จู่ๆ พวกเขาก็หายอย่างไร้ร่องรอย มีหลายทฤษฏีพยายามอธิบายการหายไป บ้างก็ว่าเกิดจากการเข้ามาของอารยธรรมใหม่ หรืออาจเป็นเพราะสัตว์ที่มีให้ล่าน้อยลงทำให้พวกเขาต้องอพยพไปเรื่อยๆ จนไปถึงทฤษฎีที่ว่าดาวหางพุ่งเข้าชนโลกทำให้สิ่งมีชีวิตมากมายต้องสูญพันธุ์ รวมไปถึงเป็นอันสิ้นสุดยุคอารยธรรมโคลวิสอีกด้วย
6. อาณาจักรเขมร (Khmer Empire)
อาณาจักรเขมรหนึ่งในอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ไปจนถึงศตวรรษที่ 14 ที่หลายคนรู้จักกันดีว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างนครวัดในประเทศกัมพูชา อีกทั้งยังเป็นอารยธรรมที่มีความมั่งคั่งและเป็นต้นกำเนิดความเชื่อมากมาย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายาน อีกทั้งยังมีกองกำลังทหารที่น่าเกรงขามอย่างมากในเวลานั้น
แต่อย่างไรก็ตามอาณาจักรเขมรก็หายไปอย่างลึกลับ ซึ่งข้อสันนิษฐานก็มีหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าเป็นการปกครองที่เสื่อมลง รวมไปถึงการถูกท้าทายของเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเขมร
7. อารยธรรมไมซีเนีย (Mycenaeans)
ไมซีเนีย คืออารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ทางภาคใต้ของกรีกเมื่อประมาณ 1600-1100 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวกันว่ามาซีเนียเป็นอารยธรรมที่ร่ำรวยเพราะทองคำ และมีความแข็งแกร่งทางการทหาร พวกเขาสร้างมืองใหญ่มากมายที่รู้จักกันดี เช่น Mycenae, Tiryns, Pylos, Athens, Thebes, Orchomenus, Iolkos และ Knossos ในตำนานกรีกได้เล่าว่า ไมซีเนียเป็นศูนย์กลางของตำนานต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเก่งเรื่องทางทะเล การค้า แต่อย่างไรก็ตามจู่ๆ อารยธรรมแห่งนี้ก็ล่มสลายไปอย่างลึกลับเช่นกัน
ไม่มีใครรู้แน่นอนว่าไมซีเนียหายไปไหน มีทฤษฏีหนึ่งบอกว่าเป็นเพราะเกิดความวุ่นวายของชนชั้นชาวนาและชนชั้นปกครองที่นำไปสู้จุดจบของไมซีเนีย หรืออาจเป็นเพราะการหยุดชะงักในเส้นทางการค้าหรือปัจจัยธรรมชาติเช่น แผ่นดินไหว แต่ทฤษฏีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือพวกเขาถูกบุกรุกโดยอารยธรรมที่เหนือกว่าเช่น Dorians ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่หลังจากการล่มสลายของไมซีเนีย
8. จักรวรรดิอัคซูไมท์ (Aksumite Empire)
จักรวรรดิอัคซูไมท์ (ค.ศ. 50 – ค.ศ. 940) เป็นจักรวรรดิสำคัญทางการค้าขายที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล และมารุ่งเรืองเอาเมื่อคริสต์ศักราชที่ 1 เมืองหลวงเก่าของอัคซูไมท์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย และที่กำเนิดของราชินีแห่งชีบา อาณาจักรแห่งนี้เป็นศูนย์กลางสำคัญในการส่งออกงาช้างและทรัพยากรทางการเกษตรตลอดจนเครือข่ายการค้าตามชายฝั่งทะเลแดง และเมืองอื่นๆ ตามชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือและอินเดีย ด้วยเหตุนี้ทำให้จักรวรรดิอัคซูไมท์ร่ำรวยมากและเป็นอารยธรรมแรกๆ ของแอฟริกาที่ออกเหรียญเป็นของตนเอง
โดยโบราณสถานที่หลายคนรู้จักที่สุดคืออนุสาวรีย์เสาศิลาแห่งอาซุม (Obelisk of Axum) ขนาดยักษ์ที่มีห้าที่เป็นเครื่องหมายของหลุมฝังศพของกษัตริย์และขุนนางชั้นสูงตามความเชื่อของเทพเจ้าของพวกเขา และเป็นอารยธรรมแอฟริกาแรกๆ ที่นับถือศาสนาคริสต์และถูกเชื่อว่าเป็นที่ซ่อนของหีบพันธสัญญา แต่อย่างไรก็ตามอาณาจักรนี้จู่ๆ ก็ล่มสลายไปอย่างไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การแยกตัวจากการค้าทำให้อาณาจักรแห่งนี้เสื่อมถอยไป
9. อารยธรรมนาบาเทียน (Nabataeans)
ชาวนาบาเทียน เป็นชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับโบราณ ที่ตั้งถิ้นฐานในช่วง ค.ศ. 37-100 พวกเขาอาศัยอยู่ในบางส่วนของจอร์แดน, คานันและอารเบีย ชาวนาบาเทียนเก่งเรื่องวิศกรรมเป็นอย่างมาก พวกเขาสามารถสกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง อีกทั้งเก่งเรื่องค้าขาย และรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน
แต่จู่ๆ พวกเขาก็หายไปเหลือทิ้งนครเปตราที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลทางตอนใต้ของจอร์แดนเอาไว้ให้คนรุ่นหลังเท่านั้น ซึ่งนครดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความมั่งคั่งจากการค้า และเป็นสถานที่รวบรวมสินค้าต่างๆ จากหลายอารยธรรม ไม่ว่าจะเป็น กรีก โรม อารเบีย และแอสซีเรีย เพราะนครเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น แต่เหตุใดจู่ๆ พวกเขาถึงทิ้งเมืองที่มั่งคั่งนี้ไป และเมืองก็ร้างเป็นเวลานานกว่า 700 ปีซึ่งปัจจุบันยังไม่มีใครรู้สาเหตุ ซึ่งไม่น่าจะถูกขับไล่ออกไป แต่เชื่อว่าน่ามาจากมีเส้นทางการค้าทางการค้าใหม่ที่อื่นทำให้พวกเขาจำเป็นต้องทิ้งเมืองไป
ที่มา : toptenz | dek-d | เรียบเรียงโดย เพชรมายา
10 อารยธรรมที่สาบสูญไปอย่างเป็นปริศนา
แต่สำหรับบางอารยธรรมนั้น นักประวัติศาสตร์เองก็สับสนไม่รู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นหายไปจากประวัติศาสตร์โลกได้อย่างไร วันนี้จะขอพามาชมอารยธรรมที่เชื่อกันว่าสาบสูญไปอย่างเป็นปริศนา มาลองดูกันว่าจะมีอารยธรรมอะไรกันบ้าง
1. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Valley)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คืออารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย (ประมาณ 2500 – 1900 ก่อนคริสตกาล) เชื่อกันว่าแพร่หลายจากอินเดียตะวันตกไปจนถึงอัฟกานิสถานเลยทีเดียว โดยอารยธรรมเก่าแก่นี้มีประชากรในชุมชนอยู่ถึง 5 ล้านคน ภายในมีการวางผังเมือง มีถนน มีสุขาภิบาล ทุกบ้านมีห้องน้ำ มีท่อระบายน้ำเสีย พวกเขาเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าอารยธรรมไหนๆ บนโลกในสมัยนั้น สิ่งที่โดดเด่นก็คือพวกเขาไม่มีการแบ่งชนชั้นในสังคม
แต่ที่น่าแปลกใจคือ ไม่มีใครระบุได้เลยว่า อารยะธรรมที่รุ่งเรืองสุดๆ แห่งนี้สิ้นสุดที่ไหน อย่างไร ไม่มีหลักฐานของการสู้รบใดๆ มีหลายทฤษฏีที่สันนิษฐานว่าพวกเขาหายไปไหนอาจเป็นเพราะอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุถูกโจมตีอย่างรุนแรง พบโครงกระดูกถูกฆ่าตายจำนวนมาก หรืออาจล่มสลายเพราะภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม หรือโรคระบาด แม้ว่ามีการพบศิลาจารึกมากมายแต่เป็นภาษาเฉพาะที่ปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถอ่านมันออกได้
2. อารยธรรมอนาซาซี (Anasazi)
อนาซาซี (ประมาณ ค.ศ. 100 – 1300) เป็นบรรพบุรุษของชาวอเมริกันพื้นเมืองที่อยู่ในสี่พื้นที่ของประเทศสหรัฐอเมริกา คือนิวเม็กซิโก แอริโซนา โคโลลาโด และยูทาห์ พวกเขามีวัฒนธรรมมีการพัฒนาการปลูกพืชสวน ข้าวโพดและสคอซ นอกจากนั้เขายังได้สร้างที่พำนักริมหน้าผา และตามยอดเขายาวตลอดบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า Anasazi Ruins ซึ่งอยู่ในเขตแดน เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่มาก โดยเจาะหน้าหา เอาหิน อิฐ ดินโคลนมาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย
จากการสำรวจพบเครื่องปั้นดินเผา รองเท้ากก เสื้อคลุมขนกระต่าย หินบด และคันธนูและลูกศร แต่แล้วไม่ทราบเหตุผลกลใดที่เขาได้ทอดทิ้งบ้านที่ใหญ่โตเหล่านี้ทิ้งร้างเอาไว้ นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าน่าจขะเป็นเพราะพื้นที่ทำการเกษตรเสื่อมโทรมหรือเกิดความแห้งแล้งในภูมิภาคทำให้ขาดแคลนอาหาร หรือไม่ก็เกิดปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรงนำไปสู่จบจุดของอารยธรรมอนาซาซี
3. อารยธรรมคูคูเตนี (Cucuteni-Trypillian)
คูคูเตนี เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่มีอายุถึง 4800-3000 ปีก่อนคริสตกาล ที่อยู่ในภูมิภาคโรมาเนีย มอลโดวา และยูเครน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 35,000 กิโลเมตร ถือว่าเป็นตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปสมัยนั้น สิ่งที่น่าทึ่งคือ ในทุกๆ 60-80 ปี พวกเขาจะทำการวางเพลิงเผาหมู่บ้านตัวเอง ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าพวกเขาทำไปเพราะอะไร
สภาพสังคมนั้นมีการแบ่งส่วนชัดเจน ฝ่ายหญิงจะทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน ทำงานเกษตร ทักทอเสื้อผ้า และเครื่องปั้นดินเผา ส่วนฝ่ายชายเป็นนักล่าและดูแลสัตว์ อารยธรรมแห่งนี้นับถือบูชาวัว ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์และท้องฟ้า) และงู ซึ่งหมายถึงความเป็นนิรันดร์
แต่อย่างไรก็ตาม อารยธรรมนี้ก็หายไปอย่างลึกลับ หนึ่งในทฤษฏีที่เป็นไปได้ก็คือการเสียท่าให้กับอารยธรรมคู่แข่งอย่างคูร์กันในสงคราม อย่างไรก็ตามจากการค้นพบหลักฐานโบราณคดีล่าสุดพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่ทำให้เกิดภัยแล้งที่เลวร้ายในประวัติศาสตร์ยุโรปทำให้มีผลกระทบต่อการอยู่อาศัยและการทำฟาร์ม
4. อารยธรรมมิโนอัน (Minoans)
อารยธรรมมิโนอัน มาจาก “ไมนอส” ซึ่งเป็นพระนามของกษัตริย์ในตำนานกรีก ไมนอสเกี่ยวข้องกับตำนานวงกตและมิโนทอร์ที่อาศัยบนเกาะครีต โดยอารยธรรมดังกล่าวมีอายุมากถึง 3000-1000 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรมของพวกเขามีพระราชวังและสิ่งประดิษฐ์มากมาย แสดงให้เห็นว่ามีความล้ำหน้าในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นมีองค์กรทางสังคม ศิลปะและการค้า
แต่นักโบราณคดียังคงสงสัยอยู่ว่ามันเกิดอะไรขึ้นที่ทำให้อารยธรรมนี้หายไป ทฤษฏีที่เชื่อมากที่สุดคือการเกิดการระเบิดของภูเขาไฟธีรา ผลการตรวจสอบผืนดินบริเวณนั้น ทำให้นักโบราณคดีคาดเดาว่า การระเบิดครั้งใหญ่ทำให้อาณาจักรต้องล่มสลายลง แต่ก็เป็นแค่สันนิษฐาน เพราะมันไม่มีหลักฐาน ว่ามีเศษขี้เถ้าภูเขาไฟอยู่บริเวณนี้เลย
5. อารยธรรมโคลวิส (Clovis)
โคสวิส เป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของคนอเมริกันพื้นเมือง ซึ่งนานกว่า 10,000 ปีคริสตกาล มีศูนย์กลางอยู่ที่ราบภาคใต้และตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ พวกเขารู้จักการใช้หอกล่าสัตว์ตั้งแต่ กระต่าย กวาง ช้าง และกระทิง อีกทั้งยังเป็นต้นกำหนดวัฒนธรรมของมนุษย์ในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อีกด้วย
นักวิชาการเชื่อว่าพวกเขาอพยพมาจากไซบีเรียโดยผ่านดินแดนและสะพานน้ำแข็งบริเวณช่องแคบแบริ่งเพื่อหาพื้นที่อบอุ่น แต่จู่ๆ พวกเขาก็หายอย่างไร้ร่องรอย มีหลายทฤษฏีพยายามอธิบายการหายไป บ้างก็ว่าเกิดจากการเข้ามาของอารยธรรมใหม่ หรืออาจเป็นเพราะสัตว์ที่มีให้ล่าน้อยลงทำให้พวกเขาต้องอพยพไปเรื่อยๆ จนไปถึงทฤษฎีที่ว่าดาวหางพุ่งเข้าชนโลกทำให้สิ่งมีชีวิตมากมายต้องสูญพันธุ์ รวมไปถึงเป็นอันสิ้นสุดยุคอารยธรรมโคลวิสอีกด้วย
6. อาณาจักรเขมร (Khmer Empire)
อาณาจักรเขมรหนึ่งในอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ไปจนถึงศตวรรษที่ 14 ที่หลายคนรู้จักกันดีว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างนครวัดในประเทศกัมพูชา อีกทั้งยังเป็นอารยธรรมที่มีความมั่งคั่งและเป็นต้นกำเนิดความเชื่อมากมาย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายาน อีกทั้งยังมีกองกำลังทหารที่น่าเกรงขามอย่างมากในเวลานั้น
แต่อย่างไรก็ตามอาณาจักรเขมรก็หายไปอย่างลึกลับ ซึ่งข้อสันนิษฐานก็มีหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าเป็นการปกครองที่เสื่อมลง รวมไปถึงการถูกท้าทายของเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเขมร
7. อารยธรรมไมซีเนีย (Mycenaeans)
ไมซีเนีย คืออารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ทางภาคใต้ของกรีกเมื่อประมาณ 1600-1100 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวกันว่ามาซีเนียเป็นอารยธรรมที่ร่ำรวยเพราะทองคำ และมีความแข็งแกร่งทางการทหาร พวกเขาสร้างมืองใหญ่มากมายที่รู้จักกันดี เช่น Mycenae, Tiryns, Pylos, Athens, Thebes, Orchomenus, Iolkos และ Knossos ในตำนานกรีกได้เล่าว่า ไมซีเนียเป็นศูนย์กลางของตำนานต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเก่งเรื่องทางทะเล การค้า แต่อย่างไรก็ตามจู่ๆ อารยธรรมแห่งนี้ก็ล่มสลายไปอย่างลึกลับเช่นกัน
ไม่มีใครรู้แน่นอนว่าไมซีเนียหายไปไหน มีทฤษฏีหนึ่งบอกว่าเป็นเพราะเกิดความวุ่นวายของชนชั้นชาวนาและชนชั้นปกครองที่นำไปสู้จุดจบของไมซีเนีย หรืออาจเป็นเพราะการหยุดชะงักในเส้นทางการค้าหรือปัจจัยธรรมชาติเช่น แผ่นดินไหว แต่ทฤษฏีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือพวกเขาถูกบุกรุกโดยอารยธรรมที่เหนือกว่าเช่น Dorians ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่หลังจากการล่มสลายของไมซีเนีย
8. จักรวรรดิอัคซูไมท์ (Aksumite Empire)
จักรวรรดิอัคซูไมท์ (ค.ศ. 50 – ค.ศ. 940) เป็นจักรวรรดิสำคัญทางการค้าขายที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล และมารุ่งเรืองเอาเมื่อคริสต์ศักราชที่ 1 เมืองหลวงเก่าของอัคซูไมท์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย และที่กำเนิดของราชินีแห่งชีบา อาณาจักรแห่งนี้เป็นศูนย์กลางสำคัญในการส่งออกงาช้างและทรัพยากรทางการเกษตรตลอดจนเครือข่ายการค้าตามชายฝั่งทะเลแดง และเมืองอื่นๆ ตามชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือและอินเดีย ด้วยเหตุนี้ทำให้จักรวรรดิอัคซูไมท์ร่ำรวยมากและเป็นอารยธรรมแรกๆ ของแอฟริกาที่ออกเหรียญเป็นของตนเอง
โดยโบราณสถานที่หลายคนรู้จักที่สุดคืออนุสาวรีย์เสาศิลาแห่งอาซุม (Obelisk of Axum) ขนาดยักษ์ที่มีห้าที่เป็นเครื่องหมายของหลุมฝังศพของกษัตริย์และขุนนางชั้นสูงตามความเชื่อของเทพเจ้าของพวกเขา และเป็นอารยธรรมแอฟริกาแรกๆ ที่นับถือศาสนาคริสต์และถูกเชื่อว่าเป็นที่ซ่อนของหีบพันธสัญญา แต่อย่างไรก็ตามอาณาจักรนี้จู่ๆ ก็ล่มสลายไปอย่างไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การแยกตัวจากการค้าทำให้อาณาจักรแห่งนี้เสื่อมถอยไป
9. อารยธรรมนาบาเทียน (Nabataeans)
ชาวนาบาเทียน เป็นชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับโบราณ ที่ตั้งถิ้นฐานในช่วง ค.ศ. 37-100 พวกเขาอาศัยอยู่ในบางส่วนของจอร์แดน, คานันและอารเบีย ชาวนาบาเทียนเก่งเรื่องวิศกรรมเป็นอย่างมาก พวกเขาสามารถสกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง อีกทั้งเก่งเรื่องค้าขาย และรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน
แต่จู่ๆ พวกเขาก็หายไปเหลือทิ้งนครเปตราที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลทางตอนใต้ของจอร์แดนเอาไว้ให้คนรุ่นหลังเท่านั้น ซึ่งนครดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความมั่งคั่งจากการค้า และเป็นสถานที่รวบรวมสินค้าต่างๆ จากหลายอารยธรรม ไม่ว่าจะเป็น กรีก โรม อารเบีย และแอสซีเรีย เพราะนครเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น แต่เหตุใดจู่ๆ พวกเขาถึงทิ้งเมืองที่มั่งคั่งนี้ไป และเมืองก็ร้างเป็นเวลานานกว่า 700 ปีซึ่งปัจจุบันยังไม่มีใครรู้สาเหตุ ซึ่งไม่น่าจะถูกขับไล่ออกไป แต่เชื่อว่าน่ามาจากมีเส้นทางการค้าทางการค้าใหม่ที่อื่นทำให้พวกเขาจำเป็นต้องทิ้งเมืองไป
ที่มา : toptenz | dek-d | เรียบเรียงโดย เพชรมายา