เราได้ทำการย้ายที่อยู่ซึ่งได้ย้ายออกจากทะเบียนบ้านปัจจุบัน แล้วย้ายเข้าทะเบียนบ้านเล่มใหม่
ส่งผลให้บ้านหลังเดิมไม่มีเจ้าบ้าน แต่มีชื่อผู้อาศัยคือพี่ชายของเราแต่พี่ชายเราได้แต่งงานย้ายไปอยู่อีกจ.นึง นานๆกลับบ้านที
ดังนั้นเราจึงตั้งใจจะย้ายแม่ของเราซึ่งอยู่คนละเลขที่บ้านแต่ในเขตเดียวกันเข้ามาเป็นเจ้าบ้าน
เราจึงได้ไปติดต่อที่ว่าอำเภอ พร้อมเอาเอกสารหลักฐานดังนี้ไปติดต่อ
1.สำเนาโฉนดที่ดินที่มีชื่อเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
2.หนังสือขอญาตก่อสร้างฉบับเดิมที่เคยขออนุญาตสร้างบ้าน
3.หนังสือจำนองที่ดินกับธนาคาร(เอาไปเผื่อเนื่องจากเราไม่มีสัญญาซื้อขาย)
แต่จนท.พร้อมด้วยปลัดอำเภอปฏิเสธเราพร้อมบอกว่าโฉนดที่ดิน ไม่มีคำว่าสิ่งปลูกสร้างใช้ไม่ได้ ให้เราตั้งผู้อาศัยลำดับถัดไปเป็นเจ้าบ้าน หรือต้องให้พี่ชายเรามาเซ็นต์รับแม่เราเป็นเจ้าบ้าน
ณ จุดนี้เราโมโหมากเราแย้งไปว่าในเมื่อเราเป็นเจ้าของบ้าน เราเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ทำไมไม่มีสิทธิ์ตั้งใครเป็นเจ้าบ้านได้เอง อีกทั้งโฉนดก็ใช้ไม่ได้
วิธีแก้ปัญหาของปลัดก็คือให้เรากลับไปให้ผู้ใหญ่บ้านเขียนหนังสือรับรองว่าเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จริงๆ
เราใช้เวลาเดินทางไปกลับถึง4ครั้ง ใน1วันระยะทาง15กิโล กว่าจะตั้งแม่เป็นเจ้าบ้านได้
2ครั้งแรกจนท.บอกใช้เพียงสำเนาโฉนดและเจ้าบ้านตัวจริงพร้อมบัตรปชช.มาแสดง
และเราได้โทรถาม.1548 ก็ได้คำตอบแบบนี้
แต่ครั้งที่3ไม่เจอจนท.คนเดิม เจอจนท.คนใหม่และปลัดอำเภอ
เราแค่อยากถามว่าเอกสารที่ทางราชการออกให้ทุกอย่างมันไม่แน่นพอหรือ เราถึงต้องเสียเวลามากขนาดนี้ และคำตอบของจนท.แต่ละคนทำไมถึงไม่เหมือนกัน การแก้ปัญหาและการตัดสินใจทำได้แค่นี้หรือ?
นี่ยังไม่นับรวมวิธีการและคำพูดที่ใช้พูดกับเราอีก ซึ่งทุกอย่างเราได้หาข้อมูลมาก่อนแล้วถึงไปติดต่อ แต่เจอแบบนี้ เราเพิ่งเคยเจอว่าโฉนดที่ดินที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ใช้ติดต่อทางราชการแล้วมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยกว่าลายเซ็นต์ของผู้ใหญ่บ้านงั้นหรือ
แล้วจนท.ก็พูดเหมือนว่าเราผิดที่ย้ายออกก่อนที่จะตั้งแม่เป็นเจ้าบ้านคนใหม่ ก็เลยต้องใช้เอกสารของผู้ใหญ่บ้านรับรองอีกที
นี่ตกลงเราผิดใช่มั้ย?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ
เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านแต่ไม่สามารถย้ายเจ้าบ้านคนใหม่เข้าในทะเบียนบ้านได้?
ส่งผลให้บ้านหลังเดิมไม่มีเจ้าบ้าน แต่มีชื่อผู้อาศัยคือพี่ชายของเราแต่พี่ชายเราได้แต่งงานย้ายไปอยู่อีกจ.นึง นานๆกลับบ้านที
ดังนั้นเราจึงตั้งใจจะย้ายแม่ของเราซึ่งอยู่คนละเลขที่บ้านแต่ในเขตเดียวกันเข้ามาเป็นเจ้าบ้าน
เราจึงได้ไปติดต่อที่ว่าอำเภอ พร้อมเอาเอกสารหลักฐานดังนี้ไปติดต่อ
1.สำเนาโฉนดที่ดินที่มีชื่อเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
2.หนังสือขอญาตก่อสร้างฉบับเดิมที่เคยขออนุญาตสร้างบ้าน
3.หนังสือจำนองที่ดินกับธนาคาร(เอาไปเผื่อเนื่องจากเราไม่มีสัญญาซื้อขาย)
แต่จนท.พร้อมด้วยปลัดอำเภอปฏิเสธเราพร้อมบอกว่าโฉนดที่ดิน ไม่มีคำว่าสิ่งปลูกสร้างใช้ไม่ได้ ให้เราตั้งผู้อาศัยลำดับถัดไปเป็นเจ้าบ้าน หรือต้องให้พี่ชายเรามาเซ็นต์รับแม่เราเป็นเจ้าบ้าน
ณ จุดนี้เราโมโหมากเราแย้งไปว่าในเมื่อเราเป็นเจ้าของบ้าน เราเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ทำไมไม่มีสิทธิ์ตั้งใครเป็นเจ้าบ้านได้เอง อีกทั้งโฉนดก็ใช้ไม่ได้
วิธีแก้ปัญหาของปลัดก็คือให้เรากลับไปให้ผู้ใหญ่บ้านเขียนหนังสือรับรองว่าเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จริงๆ
เราใช้เวลาเดินทางไปกลับถึง4ครั้ง ใน1วันระยะทาง15กิโล กว่าจะตั้งแม่เป็นเจ้าบ้านได้
2ครั้งแรกจนท.บอกใช้เพียงสำเนาโฉนดและเจ้าบ้านตัวจริงพร้อมบัตรปชช.มาแสดง
และเราได้โทรถาม.1548 ก็ได้คำตอบแบบนี้
แต่ครั้งที่3ไม่เจอจนท.คนเดิม เจอจนท.คนใหม่และปลัดอำเภอ
เราแค่อยากถามว่าเอกสารที่ทางราชการออกให้ทุกอย่างมันไม่แน่นพอหรือ เราถึงต้องเสียเวลามากขนาดนี้ และคำตอบของจนท.แต่ละคนทำไมถึงไม่เหมือนกัน การแก้ปัญหาและการตัดสินใจทำได้แค่นี้หรือ?
นี่ยังไม่นับรวมวิธีการและคำพูดที่ใช้พูดกับเราอีก ซึ่งทุกอย่างเราได้หาข้อมูลมาก่อนแล้วถึงไปติดต่อ แต่เจอแบบนี้ เราเพิ่งเคยเจอว่าโฉนดที่ดินที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ใช้ติดต่อทางราชการแล้วมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยกว่าลายเซ็นต์ของผู้ใหญ่บ้านงั้นหรือ
แล้วจนท.ก็พูดเหมือนว่าเราผิดที่ย้ายออกก่อนที่จะตั้งแม่เป็นเจ้าบ้านคนใหม่ ก็เลยต้องใช้เอกสารของผู้ใหญ่บ้านรับรองอีกที
นี่ตกลงเราผิดใช่มั้ย?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้