ปลัดพลังงานชี้ PDP2018 อาจปรับให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่ได้
http://www.energynewscenter.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-pdp2018-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A/
ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย(PDP2018) ฉบับใหม่ อาจปรับแผนบางส่วนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่ได้ ในขณะที่การจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)1.5 ล้านตันต่อปี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ก็ต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่เช่นกัน
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูลรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานที่ผ่านมาและเรื่องต่างๆ ที่ต้องรอให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่มาพิจารณา เพื่อให้การดำเนินงานด้านพลังงานของประเทศสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ สำหรับเรื่องที่สำคัญได้แก่ การผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 (PDP 2018) ที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ได้ แต่เชื่อว่าแผน PDP 2018 ดังกล่าวจะไม่ถูกยกเลิก เพราะได้ผ่านกระบวนการพิจารณามาอย่างรอบคอบและรับฟังความเห็นประชาชนมาหลายครั้งแล้ว
นอกจากนี้ในส่วนของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ขนาด 1.5 ล้านตันต่อปี ที่รัฐบาลกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) นำร่องเป็นผู้จัดหาก๊าซLNG เสรีรายใหม่ของไทยนั้น แม้ปัจจุบัน กฟผ.จะจัดประมูลหาผู้ประกอบการนำเข้า LNG แล้ว แต่ยังคงต้องรอให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่พิจารณาว่าจะให้มีการลงนามตามผลการประมูลที่ผ่านมาหรือไม่
พร้อมกันนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างจัดเตรียมแนวทางการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทกระทรวงพลังงาน 5 ปี (2562-2566) เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่พิจารณาด้วย ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานภายใต้ 5 แผนพลังงานหลัก คือ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ(PDP 2018) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP),แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP),แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (GAS) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (OIL)
โดยจัดเตรียมประเด็นเร่งด่วนในแต่ละด้านที่ต้องรอการตัดสินใจตามนโยบายจากรัฐบาลชุดใหม่ เช่น กรณีการสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าน้ำพองที่จะหมดอายุ ซึ่งตามแผน PDP 2018 จะต้องเข้าระบบในปี 2568 จึงต้องมีความชัดเจนในปี 2562 นี้ ทั้งการจัดส่งก๊าซฯที่จะไปป้อนโรงไฟฟ้าจะมาจากแหล่งใด เช่น แหล่งสินภูฮ่อม หรือการขนส่งLNG ผ่านเส้นทางรถไฟทางคู่ จากแหลมฉบัง-ขอนแก่น ที่ขณะนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคืบหน้า90%แล้ว
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า(EV) หลังจากยกเว้นจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า(รถยนต์นั่ง)จากอาเซียน ทำให้มีรถยนต์ไฟฟ้าเข้าสู่ประเทศมากขึ้นและส่งผลให้การเก็บภาษีรถยนต์ในประเทศน้อยลง ซึ่งจะดำเนินการอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเกิดการพัฒนาแบตเตอรี่ในประเทศขึ้นได้ รวมถึงการเพิ่มนวัตกรรมไฟฟ้าใหม่ๆ เช่น จักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า ที่จะต้องจัดทำเป็นแผนงานออกมา
ขณะเดียวกันยังมีเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ โดยในส่วนของ สปป.ลาว มีความพร้อมที่จะส่งกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำส่วนเกินมาขายให้ไทย ซึ่งคณะกรรมการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการ ที่จะต้องพิจารณาให้เกิดความสมดุลในด้านต่างๆ ทั้งจุดรับ-ส่งไฟฟ้าและ ประสิทธิภาพของสายส่ง โดยเฉพาะช่วงปี 2562-2568 จะเป็นระยะเวลาสำคัญที่จะเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในแผนPDP ที่จะเพิ่มขึ้นในปี2568 เป็นต้นไป
นายกุลิศ ยังกล่าวอีกว่า เรื่องของการเปลี่ยนผ่านของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หลัง พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฯ จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน หรือวันที่ 24 ก.ย.2562นี้ กระทรวงพลังงานจะต้องจัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งการออกกฎหมายลูกรองรับให้เรียบร้อย อีกทั้งเรื่องของการจัดทำมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะขยับจาก มาตรฐานยุโรป ระดับ4(ยูโร4) ไปเป็นมาตรฐาน ยุโรป ระดับ 5(ยูโร 5) เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ด้วย
ส่วนกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน(กองทุนอนุรักษ์ฯ) ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่อนุมัติกรอบจัดสรรเงิน 12,000 ล้านบาทนั้น จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอโครงการฯช่วงกลางเดือน มิ.ย.-สิ้นเดือน ก.ค. 2562 นี้ และจะเริ่มพิจารณาโครงการฯช่วงเดือน ก.ค. 2562 คาดว่าจะอนุมัติโครงการได้ในเดือนส.ค. 2562 ซึ่งจะเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2562 เป็นต้นไป
หุ้นโรงไฟฟ้า กำลังจะกลับมาอีกรอบ รอบจบรอบสุดท้ายจริงๆ...ใครตาดีได้ตาร้ายเสียนะฮะ
http://www.energynewscenter.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-pdp2018-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A/
ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย(PDP2018) ฉบับใหม่ อาจปรับแผนบางส่วนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่ได้ ในขณะที่การจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)1.5 ล้านตันต่อปี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ก็ต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่เช่นกัน
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูลรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานที่ผ่านมาและเรื่องต่างๆ ที่ต้องรอให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่มาพิจารณา เพื่อให้การดำเนินงานด้านพลังงานของประเทศสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ สำหรับเรื่องที่สำคัญได้แก่ การผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 (PDP 2018) ที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ได้ แต่เชื่อว่าแผน PDP 2018 ดังกล่าวจะไม่ถูกยกเลิก เพราะได้ผ่านกระบวนการพิจารณามาอย่างรอบคอบและรับฟังความเห็นประชาชนมาหลายครั้งแล้ว
นอกจากนี้ในส่วนของการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ขนาด 1.5 ล้านตันต่อปี ที่รัฐบาลกำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) นำร่องเป็นผู้จัดหาก๊าซLNG เสรีรายใหม่ของไทยนั้น แม้ปัจจุบัน กฟผ.จะจัดประมูลหาผู้ประกอบการนำเข้า LNG แล้ว แต่ยังคงต้องรอให้รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่พิจารณาว่าจะให้มีการลงนามตามผลการประมูลที่ผ่านมาหรือไม่
พร้อมกันนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างจัดเตรียมแนวทางการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทกระทรวงพลังงาน 5 ปี (2562-2566) เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่พิจารณาด้วย ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานภายใต้ 5 แผนพลังงานหลัก คือ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ(PDP 2018) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP),แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP),แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (GAS) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (OIL)
โดยจัดเตรียมประเด็นเร่งด่วนในแต่ละด้านที่ต้องรอการตัดสินใจตามนโยบายจากรัฐบาลชุดใหม่ เช่น กรณีการสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าน้ำพองที่จะหมดอายุ ซึ่งตามแผน PDP 2018 จะต้องเข้าระบบในปี 2568 จึงต้องมีความชัดเจนในปี 2562 นี้ ทั้งการจัดส่งก๊าซฯที่จะไปป้อนโรงไฟฟ้าจะมาจากแหล่งใด เช่น แหล่งสินภูฮ่อม หรือการขนส่งLNG ผ่านเส้นทางรถไฟทางคู่ จากแหลมฉบัง-ขอนแก่น ที่ขณะนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคืบหน้า90%แล้ว
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า(EV) หลังจากยกเว้นจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า(รถยนต์นั่ง)จากอาเซียน ทำให้มีรถยนต์ไฟฟ้าเข้าสู่ประเทศมากขึ้นและส่งผลให้การเก็บภาษีรถยนต์ในประเทศน้อยลง ซึ่งจะดำเนินการอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเกิดการพัฒนาแบตเตอรี่ในประเทศขึ้นได้ รวมถึงการเพิ่มนวัตกรรมไฟฟ้าใหม่ๆ เช่น จักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า ที่จะต้องจัดทำเป็นแผนงานออกมา
ขณะเดียวกันยังมีเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ โดยในส่วนของ สปป.ลาว มีความพร้อมที่จะส่งกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำส่วนเกินมาขายให้ไทย ซึ่งคณะกรรมการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการ ที่จะต้องพิจารณาให้เกิดความสมดุลในด้านต่างๆ ทั้งจุดรับ-ส่งไฟฟ้าและ ประสิทธิภาพของสายส่ง โดยเฉพาะช่วงปี 2562-2568 จะเป็นระยะเวลาสำคัญที่จะเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในแผนPDP ที่จะเพิ่มขึ้นในปี2568 เป็นต้นไป
นายกุลิศ ยังกล่าวอีกว่า เรื่องของการเปลี่ยนผ่านของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หลัง พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฯ จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน หรือวันที่ 24 ก.ย.2562นี้ กระทรวงพลังงานจะต้องจัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งการออกกฎหมายลูกรองรับให้เรียบร้อย อีกทั้งเรื่องของการจัดทำมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะขยับจาก มาตรฐานยุโรป ระดับ4(ยูโร4) ไปเป็นมาตรฐาน ยุโรป ระดับ 5(ยูโร 5) เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ด้วย
ส่วนกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน(กองทุนอนุรักษ์ฯ) ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่อนุมัติกรอบจัดสรรเงิน 12,000 ล้านบาทนั้น จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอโครงการฯช่วงกลางเดือน มิ.ย.-สิ้นเดือน ก.ค. 2562 นี้ และจะเริ่มพิจารณาโครงการฯช่วงเดือน ก.ค. 2562 คาดว่าจะอนุมัติโครงการได้ในเดือนส.ค. 2562 ซึ่งจะเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2562 เป็นต้นไป