เพลง William Tell Overture
ผู้ประพันธ์ Gioachino Rossini (Italian) คนอิตาลีออกเสียงว่า จวกคีโนะ โรสซินี (ฟังการออกเสียงตามลิ้งค์ล่าง)
อ่านเรื่องย่อโอเปร่า วิลเลี่ยม แทล ได้ที่นี่
เพลง
William Tell Overture (วิลเลี่ยม แทล โอเวอเช่อร์
บางครั้งก็ออกเสียงว่าโอเวอร์ชัว) เป็นเพลงโหมโรงจากโอเปร่าเรื่อง
(ไม่ใช่ออกเสียงว่า “เทล” อย่างที่คนไทยมักออกเสียงกัน
และถ้าออกเสียงเป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาที่ใช้แต่งโอเปร่าเรื่องนี้จะอ่านว่า
กีโยม(เมอ) แตล Guillaume Tell
เพลงนี้เป็นเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเพลงหนึ่งในบรรดาเพลงโหมโรง
มีการนำทำนองส่วนหนึ่งไปใส่ไว้ในเพลงคลาสสิกอื่นก็มีด้วย เช่น
ตอนท้ายของมูฟเม้นท์ที่หนึ่งของซิมโฟนีหมายเลข 15 ประพันธ์โดย Dmitri Shostakovich และ Johann Strauss Sr.
นำไปใช้กับ William Tell Galop (Op. 29b)
และมีการนำไปใช้ในภาพยนตร์ซีรีย์ การ์ตูน ใช้เป็นเพลงประกอบโฆษณา
และดัดแปลงไปใช้ในวงแตร (brass band)
เป็นเพลงที่ได้ยินได้ฟังกันอยู่บ่อยมาก
แต่ที่ได้ยินนั้นเป็นการตัดมาจากส่วนท้ายเพลงซึ่งมีความยาวสองนาทีเศษ
เป็นส่วนที่เรียกว่า "March Of The Swiss Soldiers,"
ที่มีท่วงทำนองตื่นเต้นเร้าใจเหมือนการควบม้าเข้าชาร์จ
รายละเอียดการบรรเลงเพลง
หมายเหตุ – การบรรยายการบรรเลงว่าช่วงเวลาไหนบรรยายอะไรนั้น ใช้กับวีดีโอแรกนี้เท่านั้น
เพลงนี้ยาวประมาณ 12 นาที
เป็นการวาดภาพผ่านทางเสียงดนตรีบรรยายถึงวิถีชีวิตผู้คนในเทือกเขาสวิสแอลป์
สถานที่ตามเนื้อเรื่องในโอเปร่าเรื่องนี้
การบรรเลงจะบรรเลงติดต่อกันไปโดยไม่มีการหยุด
แต่ตามรูปแบบโครงสร้างเนื้อหาและอารมณ์ของเพลง
สามารถแบ่งออกเป็นสี่ส่วนได้อย่างชัดเจน
1.Prelude: Dawn รุ่งเช้า
เพลงจะเริ่มช้า ๆ ด้วยเดี่ยวเชลโล่ (cello) เสียงต่ำเบา ๆ ในช่วงต้น ๆ
แล้วก็จะมีเชลโล่อีก 5 ตัว ตามมาและจะมีเสียงดับเบิลเบส (double bass)
สอดแทรกบ้าง อารมณ์เพลงจะ
หม่น ๆ ไม่สดใสเท่าที่ควร ทั้ง ๆ
ในเนื้อเรื่องของโอเปร่าจะเป็นยามเช้าที่ชาวบ้านกำลังจัดเตรียมงานเลี้ยงฉลองการแต่งงาน)
ทำนองจะเอื่อย ๆ โดยเชลโล่กับเบส(ดับเบิลเบส) เป็นหลักเรื่อยไป
จะมีการรัวกลองทิมปานี เบา ๆ ตอน 1: 15 และในช่วงท้ายของส่วนนี้ตอน 2:13
จะมีการรัวกลองทิมปานี timpani เบา ๆ เป็นเหมือนเสียงฟ้าคำรามอยู่ไกล ๆ
เป็นการบอกเตือนว่าจะมีพายุ
และเป็นเตรียมนำไปสู่ช่วงที่สองที่บรรยายถึงพายุ
เพราะตามเนื้อเรื่องจะมีพายุในช่วงต่อไปตอนลงเรือข้ามทะเลสาบ Lucerne
ซึ่งในเชิงการประพันธ์เพลงที่มีเนื้อหาหลายอย่างการจะเปลี่ยนช่วงทำนองอารมณ์เพลงก็อาจจะมีตัวเชื่อมต่อให้เข้ากันได้ราบรื่นด้วย
2. ช่วงบรรยายพายุ (storm)
พอบรรเลงมาถึง 2.46 ก็จะเข้าช่วงพายุ กลุ่มเครื่องสาย(strings)
ก็จะเริ่มทำเสียงหวีดหวิวเลียนแบบเสียงลมพายุพัดมา ตอนแรกก็จะเบา ๆ
และจะดังขึ้น ๆ แบบพายุโหมกระหน่ำ เต็มที่ในตอน ราว 3: 45 –
ซึ่งช่วงนี้เครื่องดนตรีทุกชิ้นจะเล่นพร้อมกัน (tutti)
ดังมากจะบรรยายพายุนานพอควรแล้วจะค่อย ๆ เบาลง ๆ(ตั้งแต่ช่วง 5: 0)
เพราะพายุสงบลง
เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ส่วนที่สามเป็นการบรรยายเกี่ยวกับคนเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า
3. การบรรยายเกี่ยวกับคนเลี้ยงสัตว์ Ranz des Vaches or Kuhreihen or "Call to the Cows"
จะมีเสียงขลุ่ย(เขาสัตว์ horn ในชีวิตจริง) เรียกวัวในท้องทุ่งเป็นหลัก
ซึ่งเป็นช่วงที่อ่อนหวานไพเราะเพราะพริ้งที่สุดของเพลง
ซึ่งจะเริ่มได้ยินเสียงฟลูตนำไปก่อนในช่วง 5:24 –
ช่วงนี้เครื่องดนตรีที่จะเป็นตัวเดินทำนองที่สำคัญมากคือ คอร์อังเกลส์ (cor
anglais หรือ English horn) เล่นสลับโต้ตอบกันไปมากับฟลูต(flute)
โดยคอร์อังเกลส์ cors anglais จะบรรเลงทำนองหลักตอน 5 : 45
(จะเห็นคนเป่าชัด ๆ ตอน 5:50
คอร์อังเกลส์จะมีสีดำเหมือนคลาริเน็ตกับโอโบแต่ต่างกันตรงส่วนก้านที่ใช้เป่าจะโค้งไม่ตรง)
โดยมีฟลูตบรรเลงสอดแทรกสลับกันไป มาการบรรเลงจะค่อยลง ๆ
แล้วในทันใดนั้นเอง (ช่วง 8:20) ก็จะเข้าสู่ส่วนสุดท้าย
4. การบรรยายส่วนท้าย Finale: March of the Swiss Soldiers
เป็นช่วงจบเป็นตอนที่กองกำลังชาวสวิสเดินทางมาช่วยชาวบ้านต่อสู้กับทหารออสเตรียที่ปกครองสวิสอยู่ในขณะนั้น
เพลงช่วงนี้คนนิยมฟังกันมากที่สุดเพราะที่มีท่วงทำนอง
จังหวะและการบรรเลงอึกทึกครึกโครมตื่นเต้นดุเดือดเร้าใจสุด ๆ
ฟังดูเหมือนการควบม้าเข้าชาร์จต่อสู้กันฟังแล้วมันสะใจที่สุด
การฟังเพลงนี้ไม่ควรเน้นฟังเฉพาะส่วนท้าย
แต่ควรตั้งใจฟังทั้งเพลงเพื่อเป็นการให้คุ้นการฟังดนตรีที่บรรยายเรื่องราวโดยผ่านทางเสียงดนตรี
ซึ่งเพลงคลาสสิกส่วนหนึ่งจะเป็นเพลงแบบนี้
คือมีเนื้อหาเป็นเรื่องเป็นราว
หรือบรรยายเหตุการณ์หรือสิ่งที่ประทับใจให้เราคิดไปถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมีเสียงดนตรีนำให้เราคิดไปถึงสิ่งนั้น
ๆ ซึ่งศัพท์ทางดนตรีเรียกดนตรีแบบนี้ว่าเป็นโปรแกรมมิวสิก (program
music : music that is intended to evoke images or convey the impression
of events)
เพลง William Tell overture