Chernobyl Mini Series สถานที่ที่ยังมีการแผ่รังสีมากที่สุดจากอดีตถึงปัจจุบัน


สวัสดีเพื่อนๆ พันทิปทุกคนนะคะ มีใครได้ดู มินิซีรีย์เรื่อง Chernobyl ของ HBO บ้างงงงงงงงง
ใครดูแล้ว สนใจอยากรู้เรื่องราวเพิ่มเติมหรือมีเรื่องมาแชร์กัน มาคุยกันได้นะคะ 

หลังจากเราได้ดูซีรีย์เรื่องนี้จบก็ได้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาเยอะมาก มีข้อมูลน่าสนใจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือเรื่องที่นำมาเขียนในกระทู้นี้
วันนี้จะนำมาแชร์ให้อ่านกันนะคะ 

สถานที่ที่ยังมีการแผ่รังสีเยอะที่สุดใน Chernobyl 

วันที่ 24 เมษา ปี 1986 ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น ที่เครื่องปฏิกรณ์หมายเลขสี่ของโรงไฟฟ้าเชอโนบิล ใกล้เมืองพริเพียต แคว้นเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) จากการระเบิดทำให้ฝุ่นที่มีกัมมันตรังสีสูงพุ่งออกสู่ชั้นบรรยากาศ ลมหอบเอาอนุภาคกัมมันตรังสีกระจายไปทั่วทั้งทวีป ปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย

**** ใครอยากรู้รายละเอียดของการระเบิดและเรื่องราวในตอนนั้น แนะนำให้หาซีรีย์ Chernobyl มาดูนะคะ มันดีมากจริงๆ ในเว็บ IMDb ได้คะแนนตั้ง 9.7/10 *****

ปัจจุบัน Chernobyl และบริเวณเมืองรอบข้าง ไม่ได้มีการแผ่รังสีมากเท่าในปี 1986 บางพื้นที่มีน้อยมากถึงแทบจะไม่มีเลย แต่ก็ยังมีพื้นที่ต้องห้าม 
ซึ่งยังมีการแผ่รังสีในระดับอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์เราอยู่เช่นกัน แต่ก่อนจะไปรู้จักพื้นที่เหล่านี้ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าวัดรังสีกันก่อนนะคะ

ในกระทู้นี้ การวัดรังสีจะใช้หน่วยเป็น Roentgen (เรินต์เกน) เป็นการวัดความแรงของสนามรังสี ณ ตำแหน่งที่มีการแผ่อนุภาคของรังสีในอากาศ วัดได้ด้วย เครื่องสำรวจรังสี (survey meter) สำหรับค่าปริมาณรังสีที่ได้รับที่เป็นอันตรายถึงชีวิตคือ 500 เรินด์เกน (ทั้งนี้ ระดับความอันตรายขึ้นอยู่กับเวลาที่ได้รับรังสี ปริมาณของรังสี  เช่น ถ้าปริมาณรังสีน้อย แต่คุณได้รับเป็นเวลานานเป็นชั่วโมง อาจมีอันตรายมากกว่าการที่อยู่ใกล้พื้นที่ที่มีการแผ่รังมีมาก แต่เวลาแปปเดียว เป็นต้น)  ข้อมูลจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=38&chap=7&page=t38-7-infodetail12.html

ปัจจุบัน ทางการของยูเครนได้เปิดให้ Chernobyl เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่คุณต้องไปโดยติดต่อกับทัวร์ที่ได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาลยูเครนเท่านั้น และหากคุณมีโอกาสได้ไปที่นั่นละก็ ลองไปชมสถานที่อันตรายเหล่านี้ดูค่ะ 

1. Metal Claw

ระดับรังสี : 0.03 เรินต์เกน หากคุณยืนอยู่ใกล้กรงเล็บยักษ์นี้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง คุณจะได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกายเท่ากับเครื่องตรวจเอกซเรย์ปอด 3 เครื่อง


Metal Claw กรงเล็บเหล็กยักษ์นี้ ถูกใช้ในการเก็บชิ้นส่วนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซากยูเรเนียม ซากตะกั่วดำและวัตถุอื่นๆ ที่หลงเหลือจากการระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้าเชอโนบิลในปี 1986 ตลอดการใช้งานเจ้ากรงเล็บยักษ์นี้ปนเปื้อนกัมมันตรังสีมากมหาศาลขนาดที่ ผ่านมาแล้ว 33 ปี  วัตถุชิ้นนี้ยังมีการแผ่รังสีในระดับ 0.03 เรินต์เกนต่อชั่วโมง 

   
ปัจจุบันกรงเล็บยักษ์นี้ยังถูกวางทิ้งร้างในป่า เมือง Pripyat ห่างจากโรงไฟฟ้าไปเพียง 30 นาที

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
2. Hospital Basement 

ระดับรังสี : 10 เท่าของกรงเล็บยักษ์ รองเท้าคือส่วนที่มีการผ่รังสีมากที่สุด  ปัจจุบันยังมีการแผ่รังสี 0.3 เรินต์เกนต่อชั่วโมง หรือเท่ากับเครื่องตรวจเอกซเรย์ปอด 30 เครื่อง 


ในปี 1986 ณ เหตุระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอโนบิล พนักงานดับเพลิงในเมือง Pripyat และละแวกใกล้เคียงได้รับแจ้งเหตุระเบิดไฟไหม้ โดยนักดับเพลิงเหล่านี้ไม่รู้ตัวเลยว่าสถานที่ที่พวกเขากำลังไปดับไฟนั้นได้มีการลุกไหม้ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ พวกเขาแค่ทราบมาว่ามีไฟไหม้บนหลังคาของโรงไฟฟ้าเท่านั้น ตลอดช่วงเวลาในการดับเพลิงพวกเขาได้รับปริมาณรังสีที่เป็นอันตรายระดับถึงแก่ชีวิต พนักงานดับเพลิงหลายคนมีอาการหน้ามืด อาเจียน ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงพองคล้ายโดนไฟไหม้ นักดับเพลิงเหล่านี้ได้ถูกส่งไปที่โรงพยาบาลทันทีด้วยผลกระทบจากรังสีที่ได้รับมากเกินไป 


ในช่วงเวลาของการดับไฟ รองเท้าของพวกเขาเหยียบไปบนเศษชิ้นส่วนของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีการแผ่รังสีในปริมาณมหาศาล เสื้อผ้ารองเท้าของพวกเขาถูกถอดออกโดยเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลและถูกนำไปไว้ที่ชั้นใต้ดิน และเสื้อผ้ารองเท้าของนักดับเพลิงเหล่านี้ก็ยังอยู่ตรงนั้นจนถึงปัจจุบัน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
3. Inside the Sarcohagus

ระดับรังสี : 30,000 เท่าของระดับรังสีของรองเท้าบู้ท ปริมาณรังสี 10,000 เรินต์เกนต่อชั่วโมง หรือเท่ากับเครื่องตรวจเอกซเรย์ปอด 1,000,000 เครื่อง



ค.ศ. 1996 , 10 ปี หลังการระเบิด ภายในและบริเวณรอบของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ยังมีการแผ่รังสีในระดับมหาศาล ประมาณ 10,000 เรินต์เกนต่อชั่วโมง หรือเท่ากับเครื่องตรวจเอกซเรย์ปอด 1,000,000 เครื่อง 

ปัจจุบัน รัฐบาลยูเครนได้มีการร่วมมือระหว่างประเทศสร้างโดมยักษ์ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับโรงเก็บเครื่องบิน ใช้เงินเป็นค่าก่อสร้างราว 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 57,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงขันกันของ 28 ประเทศ  รวมถึงองค์กรปรมาณูเพื่อสันตินานาชาติอีกหลายแห่ง ซึ่งมันจะช่วยป้องกันการรั่วไหลของกัมมันตรังสี และทำให้ประชาชนในภูมิภาคนี้ ได้รับความปลอดภัยไปอีก 100 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม เศษซากที่หลงเหลือจากการหลอมเหลวของเตาปฏิกรณ์และกัมมันตรังสียังคงอยู่ภายในโรงไฟฟ้าแห่งนี้  ความร้อนจากการระเบิดละลายส่วนประกอบต่างๆ ของเตาปฏิกรณ์จนเกิดเป็นลาวาไหลลงไปตามท่อปั้มน้ำของโรงไฟฟ้าลงไปยังชั้นใต้ดิน มวลดังกล่าวประกอบด้วยทราย แก้วและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จำนวนมากที่รั่วออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์ ก่อเกิดเป็นวัตถุรูปร่างประหลาด เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปทำการสำรวจได้ตั้งชื่อวัตถุนี้ว่า Elephant Foot ตามลักษณะและรอยย่นของมัน เป็นกลุ่มก้อนมีพิษที่ว่ากันว่ามีความรุนแรงที่สุดในโลก


ระดับรังสีของ Elephant Foot คือ 1,000 เรินต์เกนต่อชั่วโมง แค่ยืนข้างๆ เจ้า Elephant Foot นี้แค่ 30 นาทีก็ทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณได้แล้ว รูปภาพด้านล่างนี้รูปจริง เกิดจากการทำปฏิกิริยาของรังสีต่อถล้องถ่ายรูป รังสีทำให้ภาพถ่ายของเท้าช้างมีสีและรูปร่างผิดเพี้ยนไปมาก 


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ปัจจุบัน ไม่มีข้อมูลแน่นอนว่าระดับของการแผ่รังสีภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีประมาณเท่าไหร่ อาจจะลดลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่กว่าระดับของการแผ่รังสีจะหมดไปจนปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์ในการอยู่อาศัย  อาจจะต้องใช้เวลาไปอีกประมาณ 100 ปี 

เนื้อหาฝากไว้เท่านี้นะคะ ไว้ว่างๆ จะมาเขียนเกี่ยวกับ Chernobyl ใหม่ ยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากมาเล่าค่ะ  ^_ ^miniheart

 *** ข้อมูลส่วนใหญ่นำมาจากเว็บต่างประเทศ แปลเองและหาข้อมูลเอง ถ้ามีข้อมูลไหนผิดไปต้องขออภัยด้วยนะคะ 
 *** ขอใช้คำสุภาพในการคอมเม้นนะคะ ไม่เม้นหยาบคายเนอะ 

Credit และขอบคุณรูปภาพจาก Google จ้า https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A5#%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5

https://www.youtube.com/watch?v=7YMf1NRByV8
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่