สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ไท่จื่อ (Tàizǐ 太子)
คือ รัชทายาท ว่าที่ฮ๋องเต้คนต่อไป มีอำนาจทุกอย่างรองจากฮ๋องเต้ ทั้งยังมีอำนาจในการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน หากฮ่องเต้ไม่อยู่ ไปทำธุระนอกวัง หรือเกิดการประชวรเจ็บป่วยออกว่าราชการไม่ได้ ก็จะให้ไท่จื่อรั้งตำแหน่งผู้ดูแลงานแทน หรือภาษาจีนเรียกหน้าที่นี้ว่า "เจียนกั๋ว" (jiān guó 监国)
ทั้งนี้การได้รับตำแหน่งรัชทายาท ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ว่าต้องเป็นลูกชายคนโตเสมอไป แต่โดยตามธรรมเนียมหรือกฎมณเฑียรบาลแล้ว รัชทายาทที่ได้มาโดยสายเลือดที่แท้จริงคือ ลูกชายคนแรกที่เกิดจากฮองเฮาในรัชกาลนั้นๆ ซึ่งจะเรียกว่า "ตี๋จื่อ" (dízǐ 嫡子) ซึ่งอาจจะไม่ใช่ลูกชายคนโตของฮ่องเต้ก็เป็นได้ แต่ก็มีกรณียกเว้นอีกหลายอย่าง ที่จะทำให้ไปเลือกลูกชายอื่นอันเกิดจากบรรดาสนมเป็นรัชทายาทแทนได้เหมือนกัน ทั้งเรื่องอายุและความสามารถต่างๆ สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของฮ่องเต้อีก
--------------------------------------------
องค์ชาย (皇子 ฮว๋างจื่อ Huángzǐ หรือเรียกอีกง่ายๆ ว่า 阿哥 อาเกอ Ā gē )
คือลูกชายของฮ่องเต้ ทั้งนี้เป็นการเรียกลูกชายที่ไม่ได้รับการอวยยศอะไรเป็นพิเศษ หากมีลูกชายคนไหนได้รับยศ "หวาง" ตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ต้องเรียกตำแหน่งที่ได้รับแทน
อย่าง หย่งฉี (永琪 Yǒng qí) หรือองค์ชายห้า ในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง เป็นลูกชายที่ร่ำลือกันว่ารักมาก และเป็นตัวเต็งในการเป็นไท่จื่อ ได้รับการอวยยศขึ้นตำแหน่ง "หวาง" ที่สูงสุดเป็นคนแรกในรัชสมัย คือได้ตำแหน่ง "เหอซั่วหรงชินหวาง" (和硕荣亲王 Hé shuò róng qīnwáng ) ตอนอายุแค่ 24 ปี หลังจากได้บุกเข้าช่วยฮ่องเต้ในกองเพลิงขณะเสด็จประพาสทางเรือ ก่อนจะเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ซึ่งการจะอวยยศในในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะอวยยศกันทุก 5 ปี
--------------------------------------------
หวาง (王 Wáng ) หรือที่เรียกว่า "อ๋อง" ในภาษาไทย
คือตำแหน่งของลูกชาย พี่ชาย/น้องชายที่เป็นญาติสนิทฮ่องเต้ ซึ่งฮ่องเต้อวยยศให้เมื่อตอนขึ้นเป็นกษัตริย์ หรือได้รับการอวยยศตามหลังจากการทำคุณงามความดีความชอบให้บ้านเมือง หรือได้รับการอวยยศเมื่อเสียชีวิต
แต่บางครั้งการอวยยศ "หวาง" ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะบางกรณีฮ่องเต้ก็จงใจอวยยศให้เป็นพิเศษ เหมือนเป็นการให้ความสำคัญ แต่แอบริดรอนอำนาจในมือคนนั้นลง และส่งให้ไปดูแลพื้นที่ที่อยู่ไกลๆ กันดารๆ เพื่อเป็นการตัดอำนาจทางการเมือง เมื่อแลเห็นว่าญาติตัวเองเริ่มคิดไม่ซื่อ พร้อมก่อการกบฎ ก็จะใช้วิธีอวยยศให้ แต่ยึดอำนาจคืน แล้วไล่ไปไกลจากวังหลวงและพื้นที่สำคัญ
โดยตามตำแหน่งแล้ว "ไท่จื่อ" นั้นมีตำแหน่งและขอบข่ายอำนาจสูงกว่าตำแหน่ง "หวาง" เพราะเป็นว่าที่ฮ่องเต้ เป็นรองแค่ฮ่องเต้คนเดียวเท่านั้น หวางคนอื่นๆ ยังไงก็ต้องเคารพต่อว่าที่ฮ่องเต้ในอนาคต
แต่ในทางศักดิ์และอายุ ไท่จื่อจะต้องรักษาภาพพจน์ที่ดีของตัวเอง ด้วยการให้ความเคารพหวางที่มีศักดิ์เป็นลุง/อา และมีเมตตาต่อหวางที่มีศักดิ์เป็นพี่ชาย/น้องชาย ซึ่งฮ่องเต้ส่วนใหญ่จะถือเรื่องรักพี่น้อง เคารพญาติผู้ใหญ่มาก แม้ตัวฮ่องเต้เองกว่าจะขึ้นบัลลังก์ได้ก็ฟาดฟันพี่น้องนับไม่ถ้วน แต่ก็ไม่ชอบที่จะให้ลูกเจริญรอยตามในจุดนี้
ส่วนคำว่า "ต้าหวาง" (大王 Dàwáng ) จะเป็นคำเรียกผู้ครองเมือง/แคว้นในช่วงก่อนเป็นราชวงศ์ฉิน ซึ่งเป็นยุคสมัยที่จีนยังไม่รวมแผ่นดิน ยังเป็นแว่นแคว้น เมืองเล็กเมืองน้อย ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีการใช้คำว่า "ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิ" (皇上 ฮว๋างซฺร่าง Huángshàng )
คือ รัชทายาท ว่าที่ฮ๋องเต้คนต่อไป มีอำนาจทุกอย่างรองจากฮ๋องเต้ ทั้งยังมีอำนาจในการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน หากฮ่องเต้ไม่อยู่ ไปทำธุระนอกวัง หรือเกิดการประชวรเจ็บป่วยออกว่าราชการไม่ได้ ก็จะให้ไท่จื่อรั้งตำแหน่งผู้ดูแลงานแทน หรือภาษาจีนเรียกหน้าที่นี้ว่า "เจียนกั๋ว" (jiān guó 监国)
ทั้งนี้การได้รับตำแหน่งรัชทายาท ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ว่าต้องเป็นลูกชายคนโตเสมอไป แต่โดยตามธรรมเนียมหรือกฎมณเฑียรบาลแล้ว รัชทายาทที่ได้มาโดยสายเลือดที่แท้จริงคือ ลูกชายคนแรกที่เกิดจากฮองเฮาในรัชกาลนั้นๆ ซึ่งจะเรียกว่า "ตี๋จื่อ" (dízǐ 嫡子) ซึ่งอาจจะไม่ใช่ลูกชายคนโตของฮ่องเต้ก็เป็นได้ แต่ก็มีกรณียกเว้นอีกหลายอย่าง ที่จะทำให้ไปเลือกลูกชายอื่นอันเกิดจากบรรดาสนมเป็นรัชทายาทแทนได้เหมือนกัน ทั้งเรื่องอายุและความสามารถต่างๆ สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของฮ่องเต้อีก
--------------------------------------------
องค์ชาย (皇子 ฮว๋างจื่อ Huángzǐ หรือเรียกอีกง่ายๆ ว่า 阿哥 อาเกอ Ā gē )
คือลูกชายของฮ่องเต้ ทั้งนี้เป็นการเรียกลูกชายที่ไม่ได้รับการอวยยศอะไรเป็นพิเศษ หากมีลูกชายคนไหนได้รับยศ "หวาง" ตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ต้องเรียกตำแหน่งที่ได้รับแทน
อย่าง หย่งฉี (永琪 Yǒng qí) หรือองค์ชายห้า ในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง เป็นลูกชายที่ร่ำลือกันว่ารักมาก และเป็นตัวเต็งในการเป็นไท่จื่อ ได้รับการอวยยศขึ้นตำแหน่ง "หวาง" ที่สูงสุดเป็นคนแรกในรัชสมัย คือได้ตำแหน่ง "เหอซั่วหรงชินหวาง" (和硕荣亲王 Hé shuò róng qīnwáng ) ตอนอายุแค่ 24 ปี หลังจากได้บุกเข้าช่วยฮ่องเต้ในกองเพลิงขณะเสด็จประพาสทางเรือ ก่อนจะเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ซึ่งการจะอวยยศในในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะอวยยศกันทุก 5 ปี
--------------------------------------------
หวาง (王 Wáng ) หรือที่เรียกว่า "อ๋อง" ในภาษาไทย
คือตำแหน่งของลูกชาย พี่ชาย/น้องชายที่เป็นญาติสนิทฮ่องเต้ ซึ่งฮ่องเต้อวยยศให้เมื่อตอนขึ้นเป็นกษัตริย์ หรือได้รับการอวยยศตามหลังจากการทำคุณงามความดีความชอบให้บ้านเมือง หรือได้รับการอวยยศเมื่อเสียชีวิต
แต่บางครั้งการอวยยศ "หวาง" ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะบางกรณีฮ่องเต้ก็จงใจอวยยศให้เป็นพิเศษ เหมือนเป็นการให้ความสำคัญ แต่แอบริดรอนอำนาจในมือคนนั้นลง และส่งให้ไปดูแลพื้นที่ที่อยู่ไกลๆ กันดารๆ เพื่อเป็นการตัดอำนาจทางการเมือง เมื่อแลเห็นว่าญาติตัวเองเริ่มคิดไม่ซื่อ พร้อมก่อการกบฎ ก็จะใช้วิธีอวยยศให้ แต่ยึดอำนาจคืน แล้วไล่ไปไกลจากวังหลวงและพื้นที่สำคัญ
โดยตามตำแหน่งแล้ว "ไท่จื่อ" นั้นมีตำแหน่งและขอบข่ายอำนาจสูงกว่าตำแหน่ง "หวาง" เพราะเป็นว่าที่ฮ่องเต้ เป็นรองแค่ฮ่องเต้คนเดียวเท่านั้น หวางคนอื่นๆ ยังไงก็ต้องเคารพต่อว่าที่ฮ่องเต้ในอนาคต
แต่ในทางศักดิ์และอายุ ไท่จื่อจะต้องรักษาภาพพจน์ที่ดีของตัวเอง ด้วยการให้ความเคารพหวางที่มีศักดิ์เป็นลุง/อา และมีเมตตาต่อหวางที่มีศักดิ์เป็นพี่ชาย/น้องชาย ซึ่งฮ่องเต้ส่วนใหญ่จะถือเรื่องรักพี่น้อง เคารพญาติผู้ใหญ่มาก แม้ตัวฮ่องเต้เองกว่าจะขึ้นบัลลังก์ได้ก็ฟาดฟันพี่น้องนับไม่ถ้วน แต่ก็ไม่ชอบที่จะให้ลูกเจริญรอยตามในจุดนี้
ส่วนคำว่า "ต้าหวาง" (大王 Dàwáng ) จะเป็นคำเรียกผู้ครองเมือง/แคว้นในช่วงก่อนเป็นราชวงศ์ฉิน ซึ่งเป็นยุคสมัยที่จีนยังไม่รวมแผ่นดิน ยังเป็นแว่นแคว้น เมืองเล็กเมืองน้อย ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีการใช้คำว่า "ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิ" (皇上 ฮว๋างซฺร่าง Huángshàng )
แสดงความคิดเห็น
ไท่จื่อ กับ อ๋อง ต่างกันอย่างไรคะ ใครใหญ่กว่า
ไท่จื่อ กับ องค์ชาย เหมือนกันมั้ย
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ