วันที่ 1 มิถุนายน 2562 - 12:51 น.
นักสัตววิทยา อึ้ง แค่ 10 ปี พฤติกรรม “นกเขา” เปลี่ยนไป ประกาศเลย ต่อไปนี้จะไม่กลัวคนอีกต่อไป เข้าใกล้ได้ไม่สะทกสะท้าน ปริมาณเพิ่มขึ้น 10 เท่า คนเมืองเมตตา ให้อาหาร ไม่ทำร้าย ศัตรูหมายเลข 1 มีแค่แมวบ้านเท่านั้น
วันที่ 1 มิถุนายน นายเกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ อาจารย์พิเศษคณะวนศาสตร์ นักสัตววิทยา กลุ่มกีฏและสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า หากใครช่างสังเกตจะเห็นว่า ช่วง 10 ปี ที่ผ่าน ปริมาณนกเขาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ นกเขาไฟ นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง และนกเขาชวา จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วงประมาณ 4-5 ปี ที่ผ่านมา พฤติกรรมของนกเขาเหล่านี้ จะเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ นกเขาจะไม่กลัวคนอีกต่อไป สามารถเผชิญหน้ากับคนที่เดินผ่านไปผ่านมาอย่างไม่ค่อยจะสะทกสะท้าน ผิดจากในอดีตที่นกเขาแทบจะไม่เข้าใกล้คนเลย อีกทั้งยังเป็นนกที่ขี้ตกใจ จะบินหนีทันทีเมื่อคนเข้าใกล้
“สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้มีนกเขาจำนวนหนึ่ง บินอพยพเข้ามาในเมือง เพราะพื้นที่เดิมที่อาศัยอยู่นั้นขาดแคลนอาหาร อีกทั้งอาจจะถูกล่ากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะนกเขาใหญ่ หรือนกเขาหลวงที่ถือเป็นสัตว์ป่านอกบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองค่อนข้างถูกล่าเยอะ จึงอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง ซึ่งคนในเมือง โดยเฉพาะคนกรุงเทพนั้นไม่ทำร้าย ไม่สนใจ และไม่ค่อยมีใครกินเนื้อนกเขาอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีคนกลุ่มหนึ่งคอยให้อาหารแก่นกเขาเหล่านี้ด้วย เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ไม่มีศัตรู หรือมีศัตรูน้อยมาก แค่กระแต และแมวเลี้ยงเท่านั้น พวกมันจึงขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว”นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วแล้ว นกเขาเหล่านี้ซึ่งเป็นสัตว์ที่ฉลาด จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกับคนเมือง จะรู้ว่าคนเมืองไม่มีแววตาที่มุ่งมั่นทำลาย แต่ตรงกันข้ามคือ เฉยเมย ไม่สนใจทำให้ทุกวันนี้ คนสามารถเดินเข้าไปใกล้กับนกเขา โดยที่นกเขาไม่ได้หลบหลีก หรือบินหนีไปไหน
“พวกมันรู้จากท่าทีและแววตาของคน ว่าไม่ทำอะไรมันแน่ เพราะมันเป็นนกที่ฉลาดมาก สมองสามารถแยกแยะมิตร และศัตรูได้ชัดเจน นกเขานั้นฉลาดกว่านกเอี้ยง และนกกระจอกที่ยังตื่นต่อคน ไม่ยอมเข้าใกล้คน อย่างไรก็ตาม นกเขายังมีความระแวงและไม่ยอมให้สัตว์เลี้ยงอย่างแมวบ้านเข้าใกล้ในรัศมีที่พวกมันเห็นว่าไม่ปลอดภัยอย่างเด็ดขาด เพราะแมวบ้านจะมีแววตา ท่าทางที่จ้องทำลายนกทุกชนิดตลอดเวลา ซึ่งการที่มันมีสมองที่ค่อนข้างจะฉลาดกว่านกชนิดอื่นนี่เองทำให้มันสามารถแยกแยะความเป็นมิตรและศัตรูชัดเจน”นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ตอนนี้สามารถนับปริมาณนกเขาแต่ละชนิดที่อยู่ในเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครได้ไหมว่ามีจำนวนประชากรเท่าไร นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีใครทำถึงขั้นการนับจำนวนว่ามีเท่าไร เพราะทำได้ค่อนข้างยาก แต่ในสายตาที่หลายๆคนประจักษ์เวลานี้แทบไม่มีใครปฏิเสธว่าปริมาณนกเขาในเมืองนั้นมีเพิ่มมากขึ้น และพฤติกรรมของนกชนิดนี้เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือมันจะไม่กลัวคนอีกต่อไป
“แต่ถ้าให้เห็นภาพชัดๆในพื้นที่ไม่กว้างนักอย่างในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผมสังเกตและคะเนปริมาณนกเขาคร่าวๆน่าจะมีหลักพันตัว แต่ปัจจุบันนี้ ปริมาณดังกล่าว เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าตัว หมายถึงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม นกเขายังไม่มีพฤติกรรมรุกล้ำ ทำลาย และสร้างความเดือดร้อนให้กับคนเมืองเท่ากับพฤติกรรมของนกพิราป เพราะนกเขายังไม่มีพฤติกรรมขี้รดหลังคา หรือไปทำรังตามชายคาบ้านและหลังคาโบสถ์ แต่ยังคงอาศัยอยู่ตามต้นไม้ จึงยังถือว่า นกเขาเป็นสัตว์ประดับเมืองที่สร้างความสวยงามให้โลกอยู่ เพียงแต่พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างที่ใครๆก็คาดไม่ถึงเท่านั้น”นักสัตววิทยา อาจารย์พิเศษคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว
มติชนออนไลน์
นักสัตววิทยา อึ้ง แค่ 10 ปี พฤติกรรม “นกเขา” เปลี่ยน ประกาศเลย ต่อไปนี้จะไม่กลัวคนอีกแล้ว
นักสัตววิทยา อึ้ง แค่ 10 ปี พฤติกรรม “นกเขา” เปลี่ยนไป ประกาศเลย ต่อไปนี้จะไม่กลัวคนอีกต่อไป เข้าใกล้ได้ไม่สะทกสะท้าน ปริมาณเพิ่มขึ้น 10 เท่า คนเมืองเมตตา ให้อาหาร ไม่ทำร้าย ศัตรูหมายเลข 1 มีแค่แมวบ้านเท่านั้น
วันที่ 1 มิถุนายน นายเกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ อาจารย์พิเศษคณะวนศาสตร์ นักสัตววิทยา กลุ่มกีฏและสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า หากใครช่างสังเกตจะเห็นว่า ช่วง 10 ปี ที่ผ่าน ปริมาณนกเขาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ นกเขาไฟ นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง และนกเขาชวา จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วงประมาณ 4-5 ปี ที่ผ่านมา พฤติกรรมของนกเขาเหล่านี้ จะเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ นกเขาจะไม่กลัวคนอีกต่อไป สามารถเผชิญหน้ากับคนที่เดินผ่านไปผ่านมาอย่างไม่ค่อยจะสะทกสะท้าน ผิดจากในอดีตที่นกเขาแทบจะไม่เข้าใกล้คนเลย อีกทั้งยังเป็นนกที่ขี้ตกใจ จะบินหนีทันทีเมื่อคนเข้าใกล้
“สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้มีนกเขาจำนวนหนึ่ง บินอพยพเข้ามาในเมือง เพราะพื้นที่เดิมที่อาศัยอยู่นั้นขาดแคลนอาหาร อีกทั้งอาจจะถูกล่ากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะนกเขาใหญ่ หรือนกเขาหลวงที่ถือเป็นสัตว์ป่านอกบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองค่อนข้างถูกล่าเยอะ จึงอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง ซึ่งคนในเมือง โดยเฉพาะคนกรุงเทพนั้นไม่ทำร้าย ไม่สนใจ และไม่ค่อยมีใครกินเนื้อนกเขาอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีคนกลุ่มหนึ่งคอยให้อาหารแก่นกเขาเหล่านี้ด้วย เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ไม่มีศัตรู หรือมีศัตรูน้อยมาก แค่กระแต และแมวเลี้ยงเท่านั้น พวกมันจึงขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว”นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วแล้ว นกเขาเหล่านี้ซึ่งเป็นสัตว์ที่ฉลาด จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกับคนเมือง จะรู้ว่าคนเมืองไม่มีแววตาที่มุ่งมั่นทำลาย แต่ตรงกันข้ามคือ เฉยเมย ไม่สนใจทำให้ทุกวันนี้ คนสามารถเดินเข้าไปใกล้กับนกเขา โดยที่นกเขาไม่ได้หลบหลีก หรือบินหนีไปไหน
“พวกมันรู้จากท่าทีและแววตาของคน ว่าไม่ทำอะไรมันแน่ เพราะมันเป็นนกที่ฉลาดมาก สมองสามารถแยกแยะมิตร และศัตรูได้ชัดเจน นกเขานั้นฉลาดกว่านกเอี้ยง และนกกระจอกที่ยังตื่นต่อคน ไม่ยอมเข้าใกล้คน อย่างไรก็ตาม นกเขายังมีความระแวงและไม่ยอมให้สัตว์เลี้ยงอย่างแมวบ้านเข้าใกล้ในรัศมีที่พวกมันเห็นว่าไม่ปลอดภัยอย่างเด็ดขาด เพราะแมวบ้านจะมีแววตา ท่าทางที่จ้องทำลายนกทุกชนิดตลอดเวลา ซึ่งการที่มันมีสมองที่ค่อนข้างจะฉลาดกว่านกชนิดอื่นนี่เองทำให้มันสามารถแยกแยะความเป็นมิตรและศัตรูชัดเจน”นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ตอนนี้สามารถนับปริมาณนกเขาแต่ละชนิดที่อยู่ในเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครได้ไหมว่ามีจำนวนประชากรเท่าไร นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีใครทำถึงขั้นการนับจำนวนว่ามีเท่าไร เพราะทำได้ค่อนข้างยาก แต่ในสายตาที่หลายๆคนประจักษ์เวลานี้แทบไม่มีใครปฏิเสธว่าปริมาณนกเขาในเมืองนั้นมีเพิ่มมากขึ้น และพฤติกรรมของนกชนิดนี้เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือมันจะไม่กลัวคนอีกต่อไป
“แต่ถ้าให้เห็นภาพชัดๆในพื้นที่ไม่กว้างนักอย่างในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผมสังเกตและคะเนปริมาณนกเขาคร่าวๆน่าจะมีหลักพันตัว แต่ปัจจุบันนี้ ปริมาณดังกล่าว เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าตัว หมายถึงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม นกเขายังไม่มีพฤติกรรมรุกล้ำ ทำลาย และสร้างความเดือดร้อนให้กับคนเมืองเท่ากับพฤติกรรมของนกพิราป เพราะนกเขายังไม่มีพฤติกรรมขี้รดหลังคา หรือไปทำรังตามชายคาบ้านและหลังคาโบสถ์ แต่ยังคงอาศัยอยู่ตามต้นไม้ จึงยังถือว่า นกเขาเป็นสัตว์ประดับเมืองที่สร้างความสวยงามให้โลกอยู่ เพียงแต่พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างที่ใครๆก็คาดไม่ถึงเท่านั้น”นักสัตววิทยา อาจารย์พิเศษคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว
มติชนออนไลน์