วิศวะกรรมการบิน วิศวะกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน และเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน แต่งต่างกันอย่างไร?

วิศวะกรรมการบินและอวกาศ วิศวะกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน และเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน ผมอยากรูว่า 3 คณะนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไรครับ
ซึ่ง วิศวะกรรมการบินและอวกาศ เห็นมี ม.จุฬา ม.เกษตร และอีก 2-3 แห่งที่เปิดสอน อันนี้ค่าเทอมมีตังแต่ 1 แสนถึง 8 แสนกว่า
ส่วนวิศวะกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน เห็นมี ม.รังสิต ที่เปิดสอน ค่าเทอม 7 แสนกว่าๆ
และสุดท้าย เทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน ของ ม.รังสิตเหมือนกัน ซึ่งค่าเทอม จะอยู่ที่ 4 แสนกว่าๆ  
อยากทราบว่าทั้ง 3 คณะนี้แต่งต่างกันยังไง และอยู่สายงานเดียวกันไหมครับเมื่อจบไปแล้ว?
ใครรู้ช่วยทีครับกำลังสนใจเกี่ยวกับคณะเหล่านี้อยู่ ขอบคุณครับ.

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตอบคร่าวๆนะครับ ตอบยาวเกินไปเดี๋ยวจะขี้เกียจอ่าน

คณะวิศวกรรมการบินและอวกาศ กับ คณะวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน จะเรียนคล้ายๆกันครับ คือทั้งสองคณะจะเรียนพื้นฐานวิศวะกรรมศาสตร์และเรียนพื้นฐานความรู้ด้านอากาศยาน  วิศวกรรมการบินและอวกาศจะมีเพิ่มเติมเรื่องการออกแบบและการผลิตอากาศยานและจะมีเรื่องของดาวเทียม ส่วนวิศวกรรมซ่อมบำรุงก็จะเน้นเรื่องระบบของอากาศยานและการซ่อมบำรุง ทั้งสองคณะนี้จบมาจะได้วุฒิ วิศวกรรมศาสตร์บัญฑิต ไปสมัครการตามสายการบิน หรือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน หรือไม่ก็ไปสมัครงานเป็นวิศวกรตามบริษัทหรือโรงงานต่างๆก็ได้  แต่อย่าลืมว่าต้องไปแข่งกับคนที่เรียนจบวิศวกรรมสายตรง หลักสูตรวิศวกรรมการบินของ ม.เกษตร สามารถสอบใบ กว เครื่องกลได้ ส่วนของที่อื่นผมไม่แน่ใจว่าของใครจะสอบได้บ้าง ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเอาเองครับ

คณะเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน ( ของ ม.รังสิต ) การเรียนจะเน้นไปในเรื่องระบบและการซ่อมบำรุงอากาศยาน และ ความรู้พื้นฐานทั่วไปสำหรับปริญญาตรีแต่ไม่ได้เรียนพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์   จบมาจะได้วุฒิ เทคโนโลยีบัญฑิต ( ไม่ใช่วิศวกรรมศาสตร์บัญฑิต )   ไปสมัครงานกับสายการบินก็ได้  หรือ ถ้าจะไปทำงานในภาคอุดสาหกรรมอื่นก็คงใช้วุฒิปริญตรีเพื่อสมัครงานได้ แต่อาจจะไม่ได้ตำแห่งวิศวกร เพราะไม่ได้เรียนพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์และไม่ได้วุฒิวิศวกรรมศาสตร์บัญฑิต

ทั้งสามคณะนี้ ถ้าไปสมัครงานสายการบินในแผนก Engineering ทุกคนมีสิทธิสมัครได้ทุกตำแหน่งเท่าเทียมกันเลยครับ เพราะงานในสายการบินนั้นเป็นงานซ่อมบำรุงอากาศยาน  จริงๆแล้วทักษะความรู้ชั้นสูงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  หรือความรู้ทางด้านการออกแบบอากาศยาน หรือ ความรู้ทางด้านการคำนวนชั้นสูงนั้นไม่ได้ใช้เลย  สายการบินเพียงต้องการคนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีและมีความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทางด้านอากาศยานมาบ้างก็ใช้ได้แล้ว เมื่อไปทำงานทุกคนต้องเรียนรู้เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดครับ คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเวลาสมัครงานใครจะสอบทำคะแนนได้ดีและสัมภาษณ์ได้ดีกว่ากัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่