ชุดของเซ็นเตอร์ประจำซิงเกิล ประเด็นนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องท่ีละเอียดอ่อน หากมองกันอย่างผิวเผินแล้วก็คงไม่มีอะไร แต่ถ้าหากมองลงไปลึกๆ แล้วพบว่าเป็นเรื่องที่มีที่มาที่ไปพอสมควรจากทางฝั่งวงรุ่นพี่ AKB48
เมื่องาน NIPPON HAKU BANGKOK 2018 ที่ผ่านมา BNK48 รุ่น 2 ได้ทำการแสดง โดยในชุดที่สะดุดตา คงจะหนีไม่พ้น คุ้กกี้เสี่ยงทาย ชุดของเพลงที่ทำให้ทุกคนได้รู้จัก BNK48 นั่นเอง เป็นภาพแปลกตาที่เราไม่เคยเห็นที่ไหน ที่รุ่น 2 ทั้งรุ่นจะมาในชุดของ เพลงฤดูใหม่ และคุ้กกี้เสี่ยงทายพร้อมกัน
ถ้ามองผ่านๆ ก็คงนึกว่า ใครคนไหนก็ใส่ชุดของใครก็ได้ โดยเฉพาะในชุดของเซ็นเตอร์ ที่มีวัฒนธรรมจากรุ่นพี่คือ ห้ามยืมใส่กัน เพราะถือว่าตำแหน่งเซ็นเตอร์เป็นสิ่งที่ไม่ใช่จะได้มากันง่ายๆ เป็นตำแหน่งทีทรงคุณค่า และทุกคนต้องพูดถึงสมาชิกคนนี้เมื่อเล่นเพลงนั้น
ครั้งหนึ่งใน VOOV ของเฌอได้พูดถึงตอนที่ไป World Senbatsu ว่าจะมีอยู่ช่วงหนึ่งของสเตจที่เขาให้เมมเบอร์เลือกชุดอะไรก็ได้ขึ้นไป โดยเฌอเลือกชุดของเพลง Jabaja (ジャーバージャ) ที่ โซตันโตคุ Yokoyama Yui ใส่ในเอ็มวีนั่นเอง
ชุดของ Yokoyama Yui (คนซ้ายสุด) คือชุดที่เฌอปรางใส่ในเวที World Senbatsu เมื่อเทียบกับเซ็นเตอร์ของเพลงที่ Okada Nana (คนหน้าสุด) โอชิของเฌอปราง แล้วมีความคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่รายละเอียด
ตัวอย่างจากทางฝั่งรุ่นพี่ Yuko Oshima (คนขวา จบการศึกษาไปแล้ว) ในชุดเซ็นเตอร์เพลง Heavy Rotation
กับชุดของ Mion Mukaichi ในเพลงเดียวกัน หากดูในรายละเอียดแล้วมีความแตกต่างอยู่พอสมควร
ชุดของเซ็นเตอร์เองนับเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติยศ และการได้ตำแหน่งนี้มา ทีมบริหารต้องพิจารณาถึงความเหมาะของสมของตัวเพลงและเมมเบอร์เองด้วย หากมองย้อนกลับไป ไม่ว่าชุดเซ็นเตอร์ของซิงเกิลไหน เราแทบจะไม่ให้คนอื่นที่ไม่ใช่เซ็นเตอร์ ได้มีโอกาสใส่ชุดของเซ็นเตอร์ในเพลงนั้นๆ เลย อย่างที่ทราบกันดีว่า BNK48 ได้นำวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของฝั่งรุ่นพี่ AKB48 มาใช้ และบางอย่างก็ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพสังคมและวัฒนธรรมบ้านเรา
ลองคิดเล่นๆ ว่าหาก BNK Office จะให้ใครก็ได้มาใส่ชุดของเซ็นเตอร์ได้ตามใจชอบ ก็คงไม่ดีนัก นอกจะจะทำให้คุณค่าของเพลงๆ นั้นรวมถึงเมมเบอร์ลดลงแล้ว ความน่าเชื่อถือของวงก็น่าจะลดลงด้วย ส่วนหนึ่งที่เป็นฐานเสียงสำคัญของวงคือแฟนคลับ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทำเรื่องเล่นๆ ให้เป็นเรื่องที่จริงจัง ที่สำคัญเอามาใช้สร้างเม็ดเงินได้ ประเด็นของชุดเซ็นเตอร์จึงมีนัยสำคัญ ท้ายที่สุดแล้วหากเรายังคงถกเถียงกันเรื่องการเอาชุดคนนั้นคนนี้มาใส่ ก็ผลไม่ได้ประโยชน์อะไรนัก สิ่งที่ BNK Office และทางต้นสังกัด AKS ตัดสินใจ น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณามาอย่างถี่ถ้วนแล้ว
“รุ่นพี่สร้างไว้ได้ดีแค่ไหน
แต่ฉันก็จะสร้างสิ่งใหม่ให้ดียิ่งกว่า
ด้วยโชว์ที่สะดุดตา
และได้ชื่อว่าเป็นโชว์ของฉันเอง”
หากตีความหมายท่อนนี้ของเพลง ‘วันแรก’ แล้ว ก็คงจะเป็นความกดดันที่รุ่น 2 ต้องเจริญรอยตาม และเอารุ่นพี่เป็นแบบอย่าง แม้จะมีรอบบินที่ยังไม่เท่ากัน แต่เชื่อว่าสักวันหนึ่งรุ่น 2 ต้องมีทางของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น และนำพาวงไปสู่ความสำเร็จต่อไป
>>ที่มา : โอตะเฉพาะกิจ
📣📣ช่วงนานาสาระ รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ได้ “เกียรติยศชุดเซ็นเตอร์ สิ่งที่สืบทอดมาจากรุ่นพี่” (ก็อปมา)
เมื่องาน NIPPON HAKU BANGKOK 2018 ที่ผ่านมา BNK48 รุ่น 2 ได้ทำการแสดง โดยในชุดที่สะดุดตา คงจะหนีไม่พ้น คุ้กกี้เสี่ยงทาย ชุดของเพลงที่ทำให้ทุกคนได้รู้จัก BNK48 นั่นเอง เป็นภาพแปลกตาที่เราไม่เคยเห็นที่ไหน ที่รุ่น 2 ทั้งรุ่นจะมาในชุดของ เพลงฤดูใหม่ และคุ้กกี้เสี่ยงทายพร้อมกัน
ถ้ามองผ่านๆ ก็คงนึกว่า ใครคนไหนก็ใส่ชุดของใครก็ได้ โดยเฉพาะในชุดของเซ็นเตอร์ ที่มีวัฒนธรรมจากรุ่นพี่คือ ห้ามยืมใส่กัน เพราะถือว่าตำแหน่งเซ็นเตอร์เป็นสิ่งที่ไม่ใช่จะได้มากันง่ายๆ เป็นตำแหน่งทีทรงคุณค่า และทุกคนต้องพูดถึงสมาชิกคนนี้เมื่อเล่นเพลงนั้น
ครั้งหนึ่งใน VOOV ของเฌอได้พูดถึงตอนที่ไป World Senbatsu ว่าจะมีอยู่ช่วงหนึ่งของสเตจที่เขาให้เมมเบอร์เลือกชุดอะไรก็ได้ขึ้นไป โดยเฌอเลือกชุดของเพลง Jabaja (ジャーバージャ) ที่ โซตันโตคุ Yokoyama Yui ใส่ในเอ็มวีนั่นเอง
ชุดของ Yokoyama Yui (คนซ้ายสุด) คือชุดที่เฌอปรางใส่ในเวที World Senbatsu เมื่อเทียบกับเซ็นเตอร์ของเพลงที่ Okada Nana (คนหน้าสุด) โอชิของเฌอปราง แล้วมีความคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่รายละเอียด
ตัวอย่างจากทางฝั่งรุ่นพี่ Yuko Oshima (คนขวา จบการศึกษาไปแล้ว) ในชุดเซ็นเตอร์เพลง Heavy Rotation
กับชุดของ Mion Mukaichi ในเพลงเดียวกัน หากดูในรายละเอียดแล้วมีความแตกต่างอยู่พอสมควร
ชุดของเซ็นเตอร์เองนับเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติยศ และการได้ตำแหน่งนี้มา ทีมบริหารต้องพิจารณาถึงความเหมาะของสมของตัวเพลงและเมมเบอร์เองด้วย หากมองย้อนกลับไป ไม่ว่าชุดเซ็นเตอร์ของซิงเกิลไหน เราแทบจะไม่ให้คนอื่นที่ไม่ใช่เซ็นเตอร์ ได้มีโอกาสใส่ชุดของเซ็นเตอร์ในเพลงนั้นๆ เลย อย่างที่ทราบกันดีว่า BNK48 ได้นำวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของฝั่งรุ่นพี่ AKB48 มาใช้ และบางอย่างก็ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพสังคมและวัฒนธรรมบ้านเรา
ลองคิดเล่นๆ ว่าหาก BNK Office จะให้ใครก็ได้มาใส่ชุดของเซ็นเตอร์ได้ตามใจชอบ ก็คงไม่ดีนัก นอกจะจะทำให้คุณค่าของเพลงๆ นั้นรวมถึงเมมเบอร์ลดลงแล้ว ความน่าเชื่อถือของวงก็น่าจะลดลงด้วย ส่วนหนึ่งที่เป็นฐานเสียงสำคัญของวงคือแฟนคลับ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทำเรื่องเล่นๆ ให้เป็นเรื่องที่จริงจัง ที่สำคัญเอามาใช้สร้างเม็ดเงินได้ ประเด็นของชุดเซ็นเตอร์จึงมีนัยสำคัญ ท้ายที่สุดแล้วหากเรายังคงถกเถียงกันเรื่องการเอาชุดคนนั้นคนนี้มาใส่ ก็ผลไม่ได้ประโยชน์อะไรนัก สิ่งที่ BNK Office และทางต้นสังกัด AKS ตัดสินใจ น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณามาอย่างถี่ถ้วนแล้ว
“รุ่นพี่สร้างไว้ได้ดีแค่ไหน
แต่ฉันก็จะสร้างสิ่งใหม่ให้ดียิ่งกว่า
ด้วยโชว์ที่สะดุดตา
และได้ชื่อว่าเป็นโชว์ของฉันเอง”
หากตีความหมายท่อนนี้ของเพลง ‘วันแรก’ แล้ว ก็คงจะเป็นความกดดันที่รุ่น 2 ต้องเจริญรอยตาม และเอารุ่นพี่เป็นแบบอย่าง แม้จะมีรอบบินที่ยังไม่เท่ากัน แต่เชื่อว่าสักวันหนึ่งรุ่น 2 ต้องมีทางของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น และนำพาวงไปสู่ความสำเร็จต่อไป
>>ที่มา : โอตะเฉพาะกิจ