●●กางข้อกฎหมายย้ำ "เงินกู้" คือรายได้พรรคการเมือง - เสรี สุวรรณภานนท์ ●●
วันที่ 22 พ.ค.นาย เสรี สุวรรณภานนท์ อดีต ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง
(สปท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เสรี สุวรรณภานนท์ ระบุข้อความว่า...
ที่บอกว่า “เงินกู้ยืม ไม่ถือเป็นเงินได้” ตามที่กล่าวถึงนั้น มันเป็นเรื่องของระบบทางบัญชีของบริษัท ห้าง ร้าน
ที่เป็นเรื่องของการค้าขายและการทำธุรกิจ ที่มีการลงทุน และต้องนำเงินได้มาเสียภาษี เงินกู้ที่ได้มาทางบัญชี
จะอยู่ในหมวดเงินลงทุน
เงินที่กู้มาจึงไม่เป็นรายได้ที่จะนำมาเสียภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร
แต่ในส่วนของพรรคการเมือง หากมีการกู้ยืม เงินที่ได้มา ไม่ใช่เงินได้จากธุรกิจการค้า แต่เป็นเงินหรือ
ประโยชน์อื่นใดที่พรรคการเมืองได้มา เมื่อนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมของพรรคการเมือง
เงินที่ได้มาดังกล่าวจึงเป็นรายได้ของพรรคการเมือง ตาม พรป.พรรคการเมือง มาตรา 62 และตามหมวด 5
“รายได้ของพรรคการเมือง”
คำว่า “เงินได้”ตามประมวลรัษฎากร จึงเป็นคนละกรณีกับคำว่า “รายได้” ของพรรคการเมือง
ตาม พรป.พรรคการเมือง
ดังนั้น เงินที่พรรคการเมืองไปกู้มา จึงเป็นรายได้ของพรรคการเมือง ที่ต้องถูกควบคุม ตาม พรป.พรรคการเมือง มาตรา 62 และตามหมวด 5 ในเรื่อง “รายได้ของพรรคการเมือง”
และที่มาอ้างว่ามีสัญญากู้ยืมเงินนั้น สัญญากู้ดังกล่าวอาจเป็นนิติกรรมอำพรางก็ได้ ซึ่งนิติกรรมจริงหรือ
เจตนาที่แท้จริง อาจเป็นสัญญาให้ก็ได้
การให้พรรคกู้เงินแล้วบอกไม่เป็นรายได้ ก็จะกลายเป็นการได้เงินเข้าพรรคโดยไม่มีจำนวนจำกัด
และไม่ถูกตรวสอบ มันยิ่งทำให้การเมืองไม่เกิดการปฏิรูปให้มันดีขึ้นตามที่ทำการปฏิรูปการเมืองกันมา
Cr.
https://siamrath.co.th/n/80852
●●กางข้อกฎหมายย้ำ "เงินกู้" คือรายได้พรรคการเมือง - เสรี สุวรรณภานนท์●●
วันที่ 22 พ.ค.นาย เสรี สุวรรณภานนท์ อดีต ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง
(สปท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เสรี สุวรรณภานนท์ ระบุข้อความว่า...
ที่บอกว่า “เงินกู้ยืม ไม่ถือเป็นเงินได้” ตามที่กล่าวถึงนั้น มันเป็นเรื่องของระบบทางบัญชีของบริษัท ห้าง ร้าน
ที่เป็นเรื่องของการค้าขายและการทำธุรกิจ ที่มีการลงทุน และต้องนำเงินได้มาเสียภาษี เงินกู้ที่ได้มาทางบัญชี
จะอยู่ในหมวดเงินลงทุน
เงินที่กู้มาจึงไม่เป็นรายได้ที่จะนำมาเสียภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร
แต่ในส่วนของพรรคการเมือง หากมีการกู้ยืม เงินที่ได้มา ไม่ใช่เงินได้จากธุรกิจการค้า แต่เป็นเงินหรือ
ประโยชน์อื่นใดที่พรรคการเมืองได้มา เมื่อนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมของพรรคการเมือง
เงินที่ได้มาดังกล่าวจึงเป็นรายได้ของพรรคการเมือง ตาม พรป.พรรคการเมือง มาตรา 62 และตามหมวด 5
“รายได้ของพรรคการเมือง”
คำว่า “เงินได้”ตามประมวลรัษฎากร จึงเป็นคนละกรณีกับคำว่า “รายได้” ของพรรคการเมือง
ตาม พรป.พรรคการเมือง
ดังนั้น เงินที่พรรคการเมืองไปกู้มา จึงเป็นรายได้ของพรรคการเมือง ที่ต้องถูกควบคุม ตาม พรป.พรรคการเมือง มาตรา 62 และตามหมวด 5 ในเรื่อง “รายได้ของพรรคการเมือง”
และที่มาอ้างว่ามีสัญญากู้ยืมเงินนั้น สัญญากู้ดังกล่าวอาจเป็นนิติกรรมอำพรางก็ได้ ซึ่งนิติกรรมจริงหรือ
เจตนาที่แท้จริง อาจเป็นสัญญาให้ก็ได้
การให้พรรคกู้เงินแล้วบอกไม่เป็นรายได้ ก็จะกลายเป็นการได้เงินเข้าพรรคโดยไม่มีจำนวนจำกัด
และไม่ถูกตรวสอบ มันยิ่งทำให้การเมืองไม่เกิดการปฏิรูปให้มันดีขึ้นตามที่ทำการปฏิรูปการเมืองกันมา
Cr. https://siamrath.co.th/n/80852