หักกงเกวียน จากมมุมมองนักประวัติศาสตร์

กระทู้สนทนา
จากมุมมองนักประวัติศาสตร์ Brent Sirota

“การจะหักกงเกวียนของเวสเทอรอสได้ ต้องให้อำนาจพระราชายิ่งกว่านี้ ไม่ใช่ลดทอน”
https://twitter.com/BrentSirota/status/1130422047291715584?s=19

“บทสรุปทางการเมืองในเรื่องมันน่ากังขามาก เพราะนักเขียนไม่ได้เข้าใจเลยว่าอะไรคือปัญหาของระบอบปกครองของเวสเทอรอส ถ้าเรายอมรับตรงกันว่าแรงบันดาลใจของเรื่องมาจากสงครามกุหลาบ ในยุคกลางตอนปลาย (แลนนิสเตอร์=แลนแคสเตอร์ VS สตาร์ค=ยอร์ค) ปัญหาของเวสเทอรอสควรจะเป็นการที่ขุนนาง/ชนชั้นสูงอยากแยกตัวเป็นเอกเทศมากกว่า”

“หนังสือ De laudibus legum Angliæ (Wars of the Roses) ของ Sir John Fortescue เรียกมันว่า ‘ปัญหากระจายอำนาจเกินไป’ หมายถึงขุนนางที่มีทั้งกำลังทรัพย์และกำลังทหารพอต่อกรกับราชบัลลังก์ได้”

“ยูโรปช่วงปลายยุคกลาง ประชากรและเศรษฐกิจที่เสื่อมถอยลงจากโรคระบาดกาฬมรณะ ทำให้ขุนนางและชนชั้นสูงมีโอกาสขยายเขตยึดครอง เขากดขี่ชนชั้นล่างและพยายามไขว่คว้าที่ดินและอำนาจอย่างไม่มีขอบเขต ราชสำนักที่ตอบสนองความต้องการนี้ไม่ได้ล้วนตกเป็นเหยื่อของขุนนางเหล่านี้”

“ลักษณะดังกล่าวค่อนข้างตรงกับเวสเทอรอส ราชวงศ์ที่ถูกชิงอำนาจโดยกลุ่มขุนนางมักใหญ่ใฝ่สูง พระเจ้าแผ่นดินคนใหม่ที่ไม่สนใจกิจการแผ่นดิน
และครองราชย์เป็นเวลานานจนอำนาจทางการเมืองเปลี่ยนมือ และราชสำนักติดหนี้มากมาย”

“ถ้ามองจากมุมนี้แล้ว การรื้อฟื้นราชวงศ์ทาร์แกเรียนก็เปรียบได้กับตระกูลทูดอร์ - เขาหักกงเกวียนด้วยกำลัง รวบอำนาจสู่ศูนย์กลาง และปรับเปลี่ยนระบบเสียใหม่ไม่ให้ขุนนางและตระกูลใหญ่ปกครองตนเองอีก”

(บ่นเรื่องมุมมองคนอเมริกันนิดหน่อย)

“ปัญหาที่แท้จริงของเจ็ดราชอาณาจักร คือระบอบศักดินาธิปไตย และศูนย์รวมการปกครองที่อ่อนแอนี่แหละ ‘ปัญหากระจายอำนาจเกินไป’ การหักกงเกวียนต้องรวบอำนาจให้มากขึ้น ไม่ใช่ยิ่งกระจายออก ราชบัลลังก์ที่ควบคุมประเทศยิ่งขึ้น ไม่ใช่ให้ความเป็นไท”

“แต่นักเขียนบทเชื่อว่าจิตใต้สำนึกแบบเสรีนิยมของเรา จะทำให้เราไม่สามารถเห็นดีเห็นงามไปกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ จึงเรียกแผนของเดนีว่า ปลดแอก/ให้เอกราช แต่พอเนื้อเรื่องดำเนินมาถึงจุดที่ไม่อาจอำพรางเป้าหมายของเธอได้อีก เขาก็พลิกไปใช้คำว่า ทรราชย์ ทันที คำคำนี้ถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกในตอนอวสาน ย้ำอีกทีว่า เพราะเขาเชื่อว่าเราไม่อาจเห็นดีเห็นงามไปกับการรวบอำนาจ”

“แล้วทันทีที่คนที่กำลังจะกลายเป็นซีซาร์ถูกฆ่า เราก็ได้... ระบอบราชาธิปไตยแบบมีการเลือกตั้ง โดยมีชายคนหนึ่งที่ไม่มีภรรยา ไม่มีผู้สืบทอด เป็นประมุข
อย่างกับว่าที่ผ่านมาเรามีปัญหาราชบัลลังก์มีอำนาจเกินไปอย่างนั้นแหละ และยิ่งแคว้นเหนือขอแยกตัวออกไป ยิ่งตอกย้ำระบอบศักดินาและการกระจายอำนาจที่เป็นต้นตอปัญหาเข้าไปใหญ่”

“บทสรุปทางการเมืองตามเนื้อเรื่อง เป็นการทำให้เวสเทอรอสกลายเป็นประเทศอ่อนแอด้วยระบอบราชาธิปไตยแบบมีการเลือกตั้ง (เหมือน Poland) ที่ราชบัลลังก์เป็นเพียงหุ่นเชิดของขุนนาง ให้พวกในราชสำนักได้นั่งภูมิใจเฉลิมฉลองกันเองที่ช่วยโลกไว้ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันแสนน่ากลัวจากทวีปตะวันออก ของเดเนอริส ทาร์แกเรียน”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่