วันที่ อังคาร พฤษภาคม 2562
เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน
หลายคนอาจสงสัยว่า ในสมัยก่อนเราเรียก กรุงเทพมหานครว่า บางกอก แต่ในปัจจุบัน เรียกกันว่า กรุงเทพมหานคร เหตุใดจึงเปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็นกรุงเทพ ปัจจุบัน กรุงเทพฯของเราขึ้นอันดับเป็นมหานครแห่งหนึ่งของโลกแล้ว มีประชากรจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ถึง 7,791,000 คน และยังมีคนที่อยู่อาศัยโดยไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎร กับคนจากปริมณฑลที่เข้ามาทำงาน รวมทั้งนักท่องเที่ยวซึ่งเห็นได้อยู่ทั่วไปอีก แต่ละวันกรุงเทพมหานครจึงมีผู้คนขวักไขว่เกินกว่า 10 ล้านคนขึ้นไปมาก
กรุงเทพฯ ยังสร้างเรื่องเหลือเชื่อไว้ด้วยว่า เป็น เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก หรือ World’s Best City Award และได้รับรางวัลนี้มาตั้งแต่ปี 2553 - 2556 ถึง 4 ปีซ้อน จาก เทรเวล แอนด์ เลชเชอร์ (Travel + Leisure) นิตยสารท่องเที่ยวยอดนิยมของสหรัฐอเมริกา
ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ยังเป็นเพียงหมู่บ้านที่เรียกกันว่าบางกอก มีชื่อเสียงทางด้านปลูกผลไม้ และมีหลักฐานจากวัดเก่า ๆ หลายวัด ว่าสร้างมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียอีก ในแผนที่และเอกสารของชาวตะวันตก ปรากฏชื่อเขียนต่าง ๆ กัน เช่น Bancoc, Bancok, Banckok, Bankoc, Banckock, Bangok, Bancocq, Bancock ส่วนคำว่า Bangkok เป็นคำที่สังฆราชฝรั่งเศสใช้เขียนรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงปารีสเป็นประจำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอักษรไปถึงพวกฝรั่งก็ทรงใช้คำนี้ จึงได้ถือเป็นคำทางการตลอดมา
บางกอก เคยเป็นที่ตั้งของด่านภาษี ซึ่งพ่อค้าชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้เมื่อปี 2160 - 2161 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กล่าวถึงบางกอกไว้ว่า
จากปากน้ำเข้าไป 5 ไมล์ เป็นที่ตั้งของเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงมีชื่อว่า บางกอก ณ ที่นี่เป็นที่ตั้งของด่านภาษีแห่งแรก เรียกว่า ขนอนบางกอก (Canen Bangkok) ซึ่งเรือและสำเภาทุกลำไม่ว่าจะมาจากชาติใดก็ตาม จะต้องหยุดจอดทอดสมอ และแจ้งให้ด่านนี้ทราบก่อนว่าจะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์อันใด
ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า
สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่งแม่น้ำ โดยทวนขึ้นไปสู่เมืองสยาม (หมายถึงกรุงศรีอยุธยา) ถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหารซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา
บาทหลวงตาชาร์ด ซึ่งเข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน บันทึกไว้ว่า
และโดยที่บางกอกเป็นเมืองสวนของประเทศสยาม ซึ่งมีผลไม้รสเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรมารวมกันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เขาจึงนำมาให้เป็นของกำนัลแก่เราเข่งหนึ่ง
สมัยกรุงธนบุรี สวนผลไม้ของบางกอกได้ขยายไปถึงตำบลบางช้าง สมุทรสงคราม มีคำพูดกันว่า สวนในเรียกบางกอก สวนนอกเรียกบางช้าง และยังแบ่งเป็น บางบน กับ บางล่าง โดยอยู่เหนือพระราชวังก็เรียก บางบน อยู่ใต้ลงไปเรียก บางล่าง ผลไม้ของบางกอกฝั่งธนบุรี มีรสชาติขึ้นชื่อเป็นย่าน ๆ
เช่น ทุเรียนบางบนมีรสมันมากกว่าหวาน ทุเรียนบางล่างมีรสหวานมากกว่ามัน มะปรางท่าอิฐ เงาะบางยี่ขัน ลิ้นจี่บางอ้อ ขนุนบางล่าง ลำไยบางน้ำชน กระท้อนคลองอ้อม ฝรั่งบางเสาธง เงาะ - ลางสาดคลองสาน ละมุดสีดาราษฎร์บูรณะ ส้มเขียวหวานบางมด สวนฝั่งตะวันออกแถวตรอกจันทร์ ถนนตก ก็ขึ้นชื่อเรื่องลิ้นจี่และลำไย
ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีชาวตะวันตกเข้ามา หลังจากขาดหายไปตั้งแต่สิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สังฆราชปาเลอกัว ซึ่งเข้ามาในปี 2373 ได้บรรยายภาพของกรุงเทพฯ ขณะย่างก้าวเข้ารับวัฒนธรรมตะวันตกไว้ว่า
กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนที่อุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มตลอดปี จึงงามเหมือนภาพวาด กลุ่มเรือใบประดับธงจอดเป็นทิวแถวตามสองฝั่งแม่น้ำ ยอดแหลมหุ้มทองของมณฑปและโครงสร้างอันสวยงามของพระปรางค์ ที่มีการประดับอย่างสวยงามด้วยกระเบื้องเคลือบหลากสี ลอยสูงเด่นอยู่ในอากาศ ยอดเจดีย์หุ้มทองประดับกระเบื้องหลากสีสะท้อนแสงเหมือนสีรุ้ง
เบื้องหน้าของท่านจะมองเห็นร้านค้าบนเรือนแพจำนวนนับพันเรียงเป็นสองแถวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำ มีเรือสวยงามแล่นตัดข้ามฟากไปมา ตลอดความยาวของลำน้ำอันคดเคี้ยว ป้อมสีขาวคล้ายหิมะ ตัวเมืองซึ่งมีหอคอยแลประตูมากมาย ลำคลองที่ตัดผ่านไปรอบเมือง ยอดแหลมของปราสาทราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง สามารถมองเห็นได้จากทั้งสี่ทิศ มีอาคารแบบจีน อินเดีย และยุโรป เสื้อผ้าอาภรณ์ที่แตกต่างกันไปของแต่ละชาติ เสียงดนตรี เสียงเพลงจากโรงละคร ความเคลื่อนไหวของชีวิตในเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวต่างชาติมองด้วยความชื่นชมและพิศวง
ในขณะนั้น กรุงเทพฯ ไม่มีรถยนต์สักคันเดียว ใช้กันแต่การสัญจรทางน้ำ แม่น้ำและลำคลองเป็นเหมือนถนนอันจอแจ มีเพียงใจกลางเมืองและย่านตลาดเท่านั้นที่มีถนนปูด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ๆ แต่ก็เป็นถนนสำหรับคนเดิน ส่วนถนนสำหรับรถสายแรกเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 ในปี 2400 เมื่อกงสุลอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และนายห้างต่างประเทศได้ร้องว่า เรือสินค้าที่ต้องขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ นั้น เสียเวลามาก เพราะแม่น้ำคดเคี้ยว และไหลเชี่ยวในฤดูน้ำหลาก หากลงไปตั้งห้างแถวปากคลองพระโขนง แล้วขุดคลองลัดมาเชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษมจะสะดวกขึ้นมาก
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแยกจากจากคลองผดุงกรุงเกษม ผ่าทุ่งหัวลำโพงเป็นเส้นตรงไปบรรจบคลองพระโขนงที่ใกล้ปากคลอง นำดินขึ้นมาถมด้านเหนือเพียงด้านเดียว พูนดินเป็นถนนคู่ขนานกันไป เรียกกันว่า คลองตรง และ ถนนตรง แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า คลองหัวลำโพง และ ถนนหัวลำโพง ซึ่งนับเป็นถนนสายแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงพระราชทานนามใหม่ให้ถนนหัวลำโพงในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ว่าถนนพระรามที่ 4 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายนี้
เมื่อขุดคลองถนนตรงให้ตามคำขอแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีบริษัทห้างร้านของชาวตะวันตกย้ายไปอยู่ที่ปากคลองพระโขนงตามที่อ้างเลย ต่อมาในปี 2404 ชาวตะวันตกเหล่านั้นก็เข้าชื่อกันกราบบังคมทูลอีกว่า
ชาวยุโรปเคยขี่รถ ขี่ม้า เที่ยวตากอากาศได้ตามสบาย ไม่มีเจ็บไข้ เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพพระมหานคร ไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้า พากันเจ็บไข้เนืองๆ
ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายใหม่ตามคำขออีก โดยเริ่มจากคลองรอบกรุงตรงสะพานดำรงสถิตที่สามยอดในปัจจุบัน ไปเชื่อมกับถนนตรงที่คลองผดุงกรุงเกษมตรงหัวลำโพง สายหนึ่ง แล้วตัดแยกจากถนนใหม่นี้ที่เหนือวัดสามจีน (วัดไตรมิตร) ตรงไปจนตกแม่น้ำที่บางคอแหลม อีกสายหนึ่ง จุดที่แยกออกเป็น 2 สายนี้ เรียกกันว่า สามแยก การสร้างถนนสายนี้นับเป็นสายแรกที่ใช้วิทยาการตะวันตก เรียกกันว่า ถนนใหม่ ชาวตะวันตกเรียก นิวโรด ต่อมาจึงพระราชทานนามว่า ถนนเจริญกรุง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเกิดถนนและสะพานขึ้นมากมายสำหรับรถยนต์ แต่ก็ยังไม่ทิ้งคลอง มีการขุดเชื่อมหัวเมืองใกล้เคียงขึ้นอีกหลายคลอง บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากในรัชกาลนี้ ย่านการค้าที่คึกคักที่สุดในยามนั้น ได้แก่ ย่านเยาวราช ซึ่งเป็นชุมชนของคนจีน มีท่าเรือที่ถนนทรงวาด ย่านบางรักเป็นชุมชนของชาวยุโรป เป็นที่ตั้งของสถานทูต และมีท่าเรือตลอดถนนตก ส่วนบางลำพูเป็นย่านการค้าของคนไทย มีสินค้าที่ข้ามมาจากฝั่งธนบุรีและจากหัวเมืองทางแม่น้ำ
กรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งจำนวนประชากรและสภาพบ้านเมือง โดยเฉพาะในช่วงก่อนปี 2540 ที่ฟองสบู่แตก มองไปทางไหนในกรุงเทพฯ ก็เห็นแค่เครนยักษ์กำลังสร้างตึก ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวหลายทวีปต่างก็ตั้งเป้าหมายปลายทางมาที่กรุงเทพฯ จนเป็นเมืองอันดับ 2 รองแต่กรุงลอนดอนเท่านั้น ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนมากในรอบปี
เรียบเรียงโดย: NIXA
แหล่งที่มา:
https://www.partiharn.com/
https://board.postjung.com/1145853
โดย อิศรา
เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน
เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน
หลายคนอาจสงสัยว่า ในสมัยก่อนเราเรียก กรุงเทพมหานครว่า บางกอก แต่ในปัจจุบัน เรียกกันว่า กรุงเทพมหานคร เหตุใดจึงเปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็นกรุงเทพ ปัจจุบัน กรุงเทพฯของเราขึ้นอันดับเป็นมหานครแห่งหนึ่งของโลกแล้ว มีประชากรจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ถึง 7,791,000 คน และยังมีคนที่อยู่อาศัยโดยไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎร กับคนจากปริมณฑลที่เข้ามาทำงาน รวมทั้งนักท่องเที่ยวซึ่งเห็นได้อยู่ทั่วไปอีก แต่ละวันกรุงเทพมหานครจึงมีผู้คนขวักไขว่เกินกว่า 10 ล้านคนขึ้นไปมาก
กรุงเทพฯ ยังสร้างเรื่องเหลือเชื่อไว้ด้วยว่า เป็น เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก หรือ World’s Best City Award และได้รับรางวัลนี้มาตั้งแต่ปี 2553 - 2556 ถึง 4 ปีซ้อน จาก เทรเวล แอนด์ เลชเชอร์ (Travel + Leisure) นิตยสารท่องเที่ยวยอดนิยมของสหรัฐอเมริกา
ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ยังเป็นเพียงหมู่บ้านที่เรียกกันว่าบางกอก มีชื่อเสียงทางด้านปลูกผลไม้ และมีหลักฐานจากวัดเก่า ๆ หลายวัด ว่าสร้างมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียอีก ในแผนที่และเอกสารของชาวตะวันตก ปรากฏชื่อเขียนต่าง ๆ กัน เช่น Bancoc, Bancok, Banckok, Bankoc, Banckock, Bangok, Bancocq, Bancock ส่วนคำว่า Bangkok เป็นคำที่สังฆราชฝรั่งเศสใช้เขียนรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงปารีสเป็นประจำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอักษรไปถึงพวกฝรั่งก็ทรงใช้คำนี้ จึงได้ถือเป็นคำทางการตลอดมา
บางกอก เคยเป็นที่ตั้งของด่านภาษี ซึ่งพ่อค้าชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้เมื่อปี 2160 - 2161 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กล่าวถึงบางกอกไว้ว่า
จากปากน้ำเข้าไป 5 ไมล์ เป็นที่ตั้งของเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงมีชื่อว่า บางกอก ณ ที่นี่เป็นที่ตั้งของด่านภาษีแห่งแรก เรียกว่า ขนอนบางกอก (Canen Bangkok) ซึ่งเรือและสำเภาทุกลำไม่ว่าจะมาจากชาติใดก็ตาม จะต้องหยุดจอดทอดสมอ และแจ้งให้ด่านนี้ทราบก่อนว่าจะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์อันใด
ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า
สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่งแม่น้ำ โดยทวนขึ้นไปสู่เมืองสยาม (หมายถึงกรุงศรีอยุธยา) ถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหารซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา
บาทหลวงตาชาร์ด ซึ่งเข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน บันทึกไว้ว่า
และโดยที่บางกอกเป็นเมืองสวนของประเทศสยาม ซึ่งมีผลไม้รสเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรมารวมกันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เขาจึงนำมาให้เป็นของกำนัลแก่เราเข่งหนึ่ง
สมัยกรุงธนบุรี สวนผลไม้ของบางกอกได้ขยายไปถึงตำบลบางช้าง สมุทรสงคราม มีคำพูดกันว่า สวนในเรียกบางกอก สวนนอกเรียกบางช้าง และยังแบ่งเป็น บางบน กับ บางล่าง โดยอยู่เหนือพระราชวังก็เรียก บางบน อยู่ใต้ลงไปเรียก บางล่าง ผลไม้ของบางกอกฝั่งธนบุรี มีรสชาติขึ้นชื่อเป็นย่าน ๆ
เช่น ทุเรียนบางบนมีรสมันมากกว่าหวาน ทุเรียนบางล่างมีรสหวานมากกว่ามัน มะปรางท่าอิฐ เงาะบางยี่ขัน ลิ้นจี่บางอ้อ ขนุนบางล่าง ลำไยบางน้ำชน กระท้อนคลองอ้อม ฝรั่งบางเสาธง เงาะ - ลางสาดคลองสาน ละมุดสีดาราษฎร์บูรณะ ส้มเขียวหวานบางมด สวนฝั่งตะวันออกแถวตรอกจันทร์ ถนนตก ก็ขึ้นชื่อเรื่องลิ้นจี่และลำไย
ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีชาวตะวันตกเข้ามา หลังจากขาดหายไปตั้งแต่สิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สังฆราชปาเลอกัว ซึ่งเข้ามาในปี 2373 ได้บรรยายภาพของกรุงเทพฯ ขณะย่างก้าวเข้ารับวัฒนธรรมตะวันตกไว้ว่า
กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนที่อุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มตลอดปี จึงงามเหมือนภาพวาด กลุ่มเรือใบประดับธงจอดเป็นทิวแถวตามสองฝั่งแม่น้ำ ยอดแหลมหุ้มทองของมณฑปและโครงสร้างอันสวยงามของพระปรางค์ ที่มีการประดับอย่างสวยงามด้วยกระเบื้องเคลือบหลากสี ลอยสูงเด่นอยู่ในอากาศ ยอดเจดีย์หุ้มทองประดับกระเบื้องหลากสีสะท้อนแสงเหมือนสีรุ้ง
เบื้องหน้าของท่านจะมองเห็นร้านค้าบนเรือนแพจำนวนนับพันเรียงเป็นสองแถวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำ มีเรือสวยงามแล่นตัดข้ามฟากไปมา ตลอดความยาวของลำน้ำอันคดเคี้ยว ป้อมสีขาวคล้ายหิมะ ตัวเมืองซึ่งมีหอคอยแลประตูมากมาย ลำคลองที่ตัดผ่านไปรอบเมือง ยอดแหลมของปราสาทราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง สามารถมองเห็นได้จากทั้งสี่ทิศ มีอาคารแบบจีน อินเดีย และยุโรป เสื้อผ้าอาภรณ์ที่แตกต่างกันไปของแต่ละชาติ เสียงดนตรี เสียงเพลงจากโรงละคร ความเคลื่อนไหวของชีวิตในเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวต่างชาติมองด้วยความชื่นชมและพิศวง
ในขณะนั้น กรุงเทพฯ ไม่มีรถยนต์สักคันเดียว ใช้กันแต่การสัญจรทางน้ำ แม่น้ำและลำคลองเป็นเหมือนถนนอันจอแจ มีเพียงใจกลางเมืองและย่านตลาดเท่านั้นที่มีถนนปูด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ๆ แต่ก็เป็นถนนสำหรับคนเดิน ส่วนถนนสำหรับรถสายแรกเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 ในปี 2400 เมื่อกงสุลอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และนายห้างต่างประเทศได้ร้องว่า เรือสินค้าที่ต้องขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ นั้น เสียเวลามาก เพราะแม่น้ำคดเคี้ยว และไหลเชี่ยวในฤดูน้ำหลาก หากลงไปตั้งห้างแถวปากคลองพระโขนง แล้วขุดคลองลัดมาเชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษมจะสะดวกขึ้นมาก
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแยกจากจากคลองผดุงกรุงเกษม ผ่าทุ่งหัวลำโพงเป็นเส้นตรงไปบรรจบคลองพระโขนงที่ใกล้ปากคลอง นำดินขึ้นมาถมด้านเหนือเพียงด้านเดียว พูนดินเป็นถนนคู่ขนานกันไป เรียกกันว่า คลองตรง และ ถนนตรง แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า คลองหัวลำโพง และ ถนนหัวลำโพง ซึ่งนับเป็นถนนสายแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงพระราชทานนามใหม่ให้ถนนหัวลำโพงในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ว่าถนนพระรามที่ 4 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายนี้
เมื่อขุดคลองถนนตรงให้ตามคำขอแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีบริษัทห้างร้านของชาวตะวันตกย้ายไปอยู่ที่ปากคลองพระโขนงตามที่อ้างเลย ต่อมาในปี 2404 ชาวตะวันตกเหล่านั้นก็เข้าชื่อกันกราบบังคมทูลอีกว่า
ชาวยุโรปเคยขี่รถ ขี่ม้า เที่ยวตากอากาศได้ตามสบาย ไม่มีเจ็บไข้ เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพพระมหานคร ไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้า พากันเจ็บไข้เนืองๆ
ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายใหม่ตามคำขออีก โดยเริ่มจากคลองรอบกรุงตรงสะพานดำรงสถิตที่สามยอดในปัจจุบัน ไปเชื่อมกับถนนตรงที่คลองผดุงกรุงเกษมตรงหัวลำโพง สายหนึ่ง แล้วตัดแยกจากถนนใหม่นี้ที่เหนือวัดสามจีน (วัดไตรมิตร) ตรงไปจนตกแม่น้ำที่บางคอแหลม อีกสายหนึ่ง จุดที่แยกออกเป็น 2 สายนี้ เรียกกันว่า สามแยก การสร้างถนนสายนี้นับเป็นสายแรกที่ใช้วิทยาการตะวันตก เรียกกันว่า ถนนใหม่ ชาวตะวันตกเรียก นิวโรด ต่อมาจึงพระราชทานนามว่า ถนนเจริญกรุง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเกิดถนนและสะพานขึ้นมากมายสำหรับรถยนต์ แต่ก็ยังไม่ทิ้งคลอง มีการขุดเชื่อมหัวเมืองใกล้เคียงขึ้นอีกหลายคลอง บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากในรัชกาลนี้ ย่านการค้าที่คึกคักที่สุดในยามนั้น ได้แก่ ย่านเยาวราช ซึ่งเป็นชุมชนของคนจีน มีท่าเรือที่ถนนทรงวาด ย่านบางรักเป็นชุมชนของชาวยุโรป เป็นที่ตั้งของสถานทูต และมีท่าเรือตลอดถนนตก ส่วนบางลำพูเป็นย่านการค้าของคนไทย มีสินค้าที่ข้ามมาจากฝั่งธนบุรีและจากหัวเมืองทางแม่น้ำ
กรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งจำนวนประชากรและสภาพบ้านเมือง โดยเฉพาะในช่วงก่อนปี 2540 ที่ฟองสบู่แตก มองไปทางไหนในกรุงเทพฯ ก็เห็นแค่เครนยักษ์กำลังสร้างตึก ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวหลายทวีปต่างก็ตั้งเป้าหมายปลายทางมาที่กรุงเทพฯ จนเป็นเมืองอันดับ 2 รองแต่กรุงลอนดอนเท่านั้น ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนมากในรอบปี
เรียบเรียงโดย: NIXA
แหล่งที่มา: https://www.partiharn.com/
https://board.postjung.com/1145853
โดย อิศรา