คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ให้ทำแยกออกจากกัน คุณบนกับใครอะไรไว้ เวลาแก้บนให้ แยกออกจากกันจากเรื่องส่วนตัว อย่าใช้ของชุดเดียวกัน ถือว่าคุณไม่ให้เกียรติ
แม้แต่ธูป ก็ยังต้องใช้คนละชุด เวลาจุดไหว้
เรื่องเจ้ากรรมนายเวรของคุณกับพ่อแม่คุณ หรือเทวดาประจำสังขาร ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของคุณ อย่าเอาไปปนกับสิ่งที่คุณจะแก้บน
โลกทิพย์นั้นตรงไปตรงมา มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ กลับไป-กลับมา ถ้าให้สัจจะวาจาเอาไว้ว่าอย่างไร ต้องตามนั้น และต้องแยกออกจากเรื่องส่วนตัวชัดเจน
(ส่วนเรื่องกรวดน้ำ ไม่จำเป็น เพราะแต่เดิมเป็นพิธีการของพราหมณ์ ให้คุณพนมมือตั้งจิตอุทิศบุญได้เลย)
การกรวดน้ำ แต่เดิมเป็นคติความเชื่อของพราหมณ์ ที่เวลาจะให้อะไรใครจะต้องเทน้ำราดมือ
พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อทำบุญกับพระพุทธเจ้า จึงเทน้ำรดมือพระพุทธเจ้า
เพราะพื้นเพเดิมคนที่นั่นเค้าทำกันมาแบบนั้น พระพุทธเจ้า ท่านก็ไม่ขัด
จึงทำให้การกรวดน้ำ มีอยู่จนถึงปัจจุบัน
ถ้าใครจะบอกว่าในพระไตรปิฏกไม่มีการกรวดน้ำ ก็ถูกต้อง เพราะในศาสนาพุทธไม่มีพิธีนี้
แต่ด้วยเนื่องจาก หลังจากทำบุญแล้ว มักจะมีการอุทิศบุญกุศล ให้กับเจ้ากรรมนายเวรและญาติ
ชาวบ้านทั่วไปที่มีสมาธิไม่มั่นคง เมื่อได้ทำการกรวดน้ำ ก็เป็นอุบายในการเพ่งรวมจิตเพื่ออุทิศบุญได้ดี
เพราะในขณะที่เทน้ำ จิตก็จับอยู่กับการเทน้ำ-รดน้ำ เป็นอุบายอย่างนึงในการเพ่งรวมจิตให้มีสมาธิ เพื่ออุทิศบุญกุศล
เพราะนึกว่าน้ำที่เราเท เปรียบเสมือนบุญที่เราไหลเทมอบให้กับผู้อื่น (บางคนชอบแบบนี้ เพราะดูมีแอ๊คชั่นกายภาพในการกระทำ ว่าบุญไหลไปแน่)
อะไรที่ดี มีประโยชน์ ศาสนาพุทธไม่ขัดศรัทธาใคร วิธีการนี้จึงสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
แต่สำหรับผู้ที่มีจิตใจมั่นคง มีสมาธิดีแล้ว การกรวดน้ำอาจจะไม่จำเป็น
เพราะผู้ที่มีสมาธิดีแล้ว การ "เพ่งรวมจิต" เพื่ออุทิศบุญกุศลจึงสามารถทำได้เลย ไม่ต้องใช้การกรวดน้ำ (บางคนเรียกว่าเป็นการ อุทิศบุญแบบแห้ง)
รวมทั้งไม่จำเป็นจะต้องท่องคำสวดด้วยภาษาบาลีอะไรใดๆ ให้ใช้ภาษาไทยตามปกติพูดได้เลย เพราะโลกของบุญกุศล ใช้จิตเป็นสำคัญ ไม่ใช่ภาษา
(คุณสามารถที่จะกล่าวคำอุทิศบุญกุศล โดยใช้ภาษาไทยได้เลย)
"ขอให้อานิสงส์ในการทำบุญนี้ จงมีแด่เจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้าทุกท่าน ขอให้เจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้าทุกท่าน ได้โปรดมาโมทนารับผลบุญนี้ไปด้วยเถิด และขอได้โปรด อดโทษ ยกโทษ อโหสิกรรม และถอนอาการทั้งปวงที่เกี่ยวกับข้าพเจ้าคืนกลับไปด้วยเถิด ขอให้พระยายมราช ได้โปรดจงเป็นพยานด้วยเถิด"
แต่ถ้าเห็นใคร ยังทำการกรวดน้ำอยู่ ก็อย่าไปนึกเพ่งโทษ
หรือแม้แต่พระสงฆ์ผู้ที่เป็นตัวแทนรับถวายสังฆทาน ถ้าท่านยังบอกให้ชาวบ้านกรวดน้ำอยู่ ก็อย่าไปนึกเพ่งโทษท่าน
(เพราะท่านอาจจะรู้แล้วว่าไม่ใช่พิธีพุทธเหมือนกัน แต่ถ้ามีประโยชน์กับชาวบ้าน และถ้า ไม่ผิดศีล-ไม่ผิดธรรม ก็สามารถที่จะทำได้)
เพราะว่า คนเราแต่ละคนมีกำลังใจไม่เสมอกัน และ มีจริตความชอบในการปฏิบัติไม่เหมือนกัน คนเราจึงปฏิบัติตนไปตามจริตความชอบของตน
และแม้ว่าคุณจะลืม ว่าจะอุทิศบุญกุศลให้กับใครดีในตอนนั้น
คุณก็สามารถที่จะมานึกอธิษฐานจิต ขออุทิศบุญกุศลในการทำบุญในครั้งนั้น ย้อนหลังให้กับผู้อื่นได้
ให้ทำแยกออกจากกัน คุณบนกับใครอะไรไว้ เวลาแก้บนให้ แยกออกจากกันจากเรื่องส่วนตัว อย่าใช้ของชุดเดียวกัน ถือว่าคุณไม่ให้เกียรติ
แม้แต่ธูป ก็ยังต้องใช้คนละชุด เวลาจุดไหว้
เรื่องเจ้ากรรมนายเวรของคุณกับพ่อแม่คุณ หรือเทวดาประจำสังขาร ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของคุณ อย่าเอาไปปนกับสิ่งที่คุณจะแก้บน
โลกทิพย์นั้นตรงไปตรงมา มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ กลับไป-กลับมา ถ้าให้สัจจะวาจาเอาไว้ว่าอย่างไร ต้องตามนั้น และต้องแยกออกจากเรื่องส่วนตัวชัดเจน
(ส่วนเรื่องกรวดน้ำ ไม่จำเป็น เพราะแต่เดิมเป็นพิธีการของพราหมณ์ ให้คุณพนมมือตั้งจิตอุทิศบุญได้เลย)
การกรวดน้ำ แต่เดิมเป็นคติความเชื่อของพราหมณ์ ที่เวลาจะให้อะไรใครจะต้องเทน้ำราดมือ
พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อทำบุญกับพระพุทธเจ้า จึงเทน้ำรดมือพระพุทธเจ้า
เพราะพื้นเพเดิมคนที่นั่นเค้าทำกันมาแบบนั้น พระพุทธเจ้า ท่านก็ไม่ขัด
จึงทำให้การกรวดน้ำ มีอยู่จนถึงปัจจุบัน
ถ้าใครจะบอกว่าในพระไตรปิฏกไม่มีการกรวดน้ำ ก็ถูกต้อง เพราะในศาสนาพุทธไม่มีพิธีนี้
แต่ด้วยเนื่องจาก หลังจากทำบุญแล้ว มักจะมีการอุทิศบุญกุศล ให้กับเจ้ากรรมนายเวรและญาติ
ชาวบ้านทั่วไปที่มีสมาธิไม่มั่นคง เมื่อได้ทำการกรวดน้ำ ก็เป็นอุบายในการเพ่งรวมจิตเพื่ออุทิศบุญได้ดี
เพราะในขณะที่เทน้ำ จิตก็จับอยู่กับการเทน้ำ-รดน้ำ เป็นอุบายอย่างนึงในการเพ่งรวมจิตให้มีสมาธิ เพื่ออุทิศบุญกุศล
เพราะนึกว่าน้ำที่เราเท เปรียบเสมือนบุญที่เราไหลเทมอบให้กับผู้อื่น (บางคนชอบแบบนี้ เพราะดูมีแอ๊คชั่นกายภาพในการกระทำ ว่าบุญไหลไปแน่)
อะไรที่ดี มีประโยชน์ ศาสนาพุทธไม่ขัดศรัทธาใคร วิธีการนี้จึงสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
แต่สำหรับผู้ที่มีจิตใจมั่นคง มีสมาธิดีแล้ว การกรวดน้ำอาจจะไม่จำเป็น
เพราะผู้ที่มีสมาธิดีแล้ว การ "เพ่งรวมจิต" เพื่ออุทิศบุญกุศลจึงสามารถทำได้เลย ไม่ต้องใช้การกรวดน้ำ (บางคนเรียกว่าเป็นการ อุทิศบุญแบบแห้ง)
รวมทั้งไม่จำเป็นจะต้องท่องคำสวดด้วยภาษาบาลีอะไรใดๆ ให้ใช้ภาษาไทยตามปกติพูดได้เลย เพราะโลกของบุญกุศล ใช้จิตเป็นสำคัญ ไม่ใช่ภาษา
(คุณสามารถที่จะกล่าวคำอุทิศบุญกุศล โดยใช้ภาษาไทยได้เลย)
"ขอให้อานิสงส์ในการทำบุญนี้ จงมีแด่เจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้าทุกท่าน ขอให้เจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้าทุกท่าน ได้โปรดมาโมทนารับผลบุญนี้ไปด้วยเถิด และขอได้โปรด อดโทษ ยกโทษ อโหสิกรรม และถอนอาการทั้งปวงที่เกี่ยวกับข้าพเจ้าคืนกลับไปด้วยเถิด ขอให้พระยายมราช ได้โปรดจงเป็นพยานด้วยเถิด"
แต่ถ้าเห็นใคร ยังทำการกรวดน้ำอยู่ ก็อย่าไปนึกเพ่งโทษ
หรือแม้แต่พระสงฆ์ผู้ที่เป็นตัวแทนรับถวายสังฆทาน ถ้าท่านยังบอกให้ชาวบ้านกรวดน้ำอยู่ ก็อย่าไปนึกเพ่งโทษท่าน
(เพราะท่านอาจจะรู้แล้วว่าไม่ใช่พิธีพุทธเหมือนกัน แต่ถ้ามีประโยชน์กับชาวบ้าน และถ้า ไม่ผิดศีล-ไม่ผิดธรรม ก็สามารถที่จะทำได้)
เพราะว่า คนเราแต่ละคนมีกำลังใจไม่เสมอกัน และ มีจริตความชอบในการปฏิบัติไม่เหมือนกัน คนเราจึงปฏิบัติตนไปตามจริตความชอบของตน
และแม้ว่าคุณจะลืม ว่าจะอุทิศบุญกุศลให้กับใครดีในตอนนั้น
คุณก็สามารถที่จะมานึกอธิษฐานจิต ขออุทิศบุญกุศลในการทำบุญในครั้งนั้น ย้อนหลังให้กับผู้อื่นได้
แสดงความคิดเห็น
จะแก้บนหลวงพ่อกวยด้วยการถวายสังฆทานให้ท่าน ตอนกรวดน้ำเราอุทิศบุญให้ท่านแต่เพียงผู้เดียวหรือให้เจ้ากรรมนายเวรได้ด้วยครับ
แล้วตอนกรวดน้ำ เราต้องพูดอุทิศบุญให้ท่านคนเดียวเลยใช่ไหม? ให้พ่อแม่ ญาติ(ที่ล่วงลับ) เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยได้ไหมครับ?
ถ้าได้ ตอนพูดอุทิศบุญให้ขึ้นชื่อใครก่อน? หลวงพ่อก่อน หรือ พ่อแม่ก่อน