บทความตามใจฉัน “Nintendo ปะทะ ร้าน VDO” Part 2 End

บทความตามใจฉัน “Nintendo ปะทะ ร้าน VDO” Part 2 End

Part 1 https://ppantip.com/topic/38854911

จาก Part 1 ที่ Nintendo ประสบปัญหาในการหยุดธุรกิจให้เช่าเกมนั้น

ทำให้Nintendo มองหาวิธีขัดขวางและสร้างความไม่สะดวกในแบบที่แรงกว่านี้และน่ากลัวกว่าเดิม

ตามสุภาษิต “เชือดไก่ให้ลิงดู”

วิธีเชือดนั้นไม่มีอะไรที่แรงและมีประสิทธิ์ภาพไปกว่าการลากอีกฝ่ายขึ้นศาลเรียกร้องค่าเสียหายให้เข็ด

ส่วนข้ออ้างเพื่อเชือดนั้น Nintendo ก็เตรียมไว้พร้อม

วิธีเชือดมีแล้ว ข้ออ้างมีแล้ว ทีนี้ก็มองหา “ไก่ตัวใหญ่ ๆ ” เพื่อ “เชือด” ให้ลิงดู

และไก่ตัวที่ใหญ่ที่สุดในวงการร้านเช่า VDO ตอนนั้นก็คือ BlockBuster


จุดที่ BlockBuster พลาดก็คือ “คู่มือ”

ตลับเกมในสมัยก่อน (โดยเฉพาะ NES) นั้นมีขนาดพื้นที่ ROM จำกัดมาก

ตัวเกมจึงต้องตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกให้หมด ทำให้เกมในสมัยนั้น “ไม่มีโหมดสอนวิธีเล่นให้กับผู้เล่น”

ผู้เล่นจะต้องเรียนรู้วิธีเล่นเอาเองจากการเล่นจริง ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ตัวเกมจะสอนวิธีเล่นให้

ติดตรงไหนก็ย้อนดูวิธีเล่นจากในตัวเกมได้หรือจะเข้า Net หาวิธีเล่นก็ได้

ซึ่งในช่วงแรก ๆ ที่เกมยังไม่ซับซ้อนมากนักการปล่อยให้ผู้เล่นเรียนรู้เองก็พอทำได้อยู่แต่ในตอนหลังที่เกม

เริ่มซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ คู่มือจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้วิธีการเล่น

ผู้สร้างเกมเองก็อาศัยคู่มือในการอธิบายหรือบรรยายสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถอธิบายในเกมได้อีกด้วยเช่น

ข้อมูลของศัตรูในเกม, ข้อมูลของตัวละครในเกมหรือเรื่องราวของเกม เป็นต้น


 การให้เช่าเกมของ BlockBuster นั้นจะให้ผู้เช่ายืมคู่มือไปด้วยแต่มักเกิดปัญหา

เช่น ผู้เช่าลืมเอามาคืนบ้าง หายบ้าง ขาดบ้าง พอเป็นแบบนี้คนที่มาเช่าคนต่อไปก็ไม่มีคู่มือให้อ่านแล้วก็ทำให้บางครั้งผู้เล่นไปต่อไม่ได้เพราะไม่รู้วิธีเล่น

ประสบการณ์ส่วนตัวคือ สมัยเล่น Super Mario 3 ผู้เขียนไม่รู้เลยว่าพอมีหางแรคคูนแล้วจะบินได้ กว่าจะรู้ก็ตอนเพื่อนมาเล่นเกมที่บ้าน

เพื่อแก้ปัญหา BlockBuster เลยสำเนาคู่มือเก็บไว้และให้ตัวสำเนากับผู้เช่าไปอ่าน

ตรงจุดนี้เองทำให้เมื่อ สิงหาคม ปี 1989  Nintendo ฟ้อง BlockBuster ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์คู่มือและทำให้คู่กรณีมาขึ้นศาลได้สำเร็จ


ในเบื้องต้น Nintendo เรียกร้องให้ BlockBuster หยุดทำสำเนาคู่มือ ซึ่ง BlockBuster ตอบรับและต่อมาได้แก้ปัญหานี้โดยการทำคู่มือ

Version ของตัวเองให้ลูกค้าที่มาเช่าแทนคู่มือของ Nintendo

คดีนี้ยุติโดยการตกลงกันนอกศาลโดยไม่มีใครรู้ว่าจ่ายกันไปเท่าไหร่

แต่การเชือดไก่นี้ก็ทำให้ธุรกิจให้เช่าเกมชะลอตัวและพอข่าวแพร่ออกไปก็ทำให้ร้านให้เช่าเกม

รายเล็ก ๆ พลอยหยุดให้เช่าไปด้วยเนื่องจากกลัวโดนคดี แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่สามารถหยุดได้ ธุรกิจเช่าเกมนั้นรุ่งเรื่องจนกระทั้ง

internet ความเร็วสูงมา disrupt ธุรกิจนี้ไปพร้อม ๆ กับธุรกิจให้เช่า VDO

โชคดีว่าอเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่มากทำให้ธุรกิจให้เช่า VDO และเกมยังคงมีอยู่ในบางพื้นที่ที่ internet

ความเร็วสูงยังเข้าไม่ถึง ไม่ตายหายไปซะทีเดียว


แต่การกระทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ Nintendo เองในครั้งนี้นอกจากให้ผลตอบแทนที่น้อยแล้วก็มีผลกระทบที่ตามมาด้วยเช่นกัน

โดยในช่วงที่ธุรกิจเช่าเกมกำลังระส่ำระสายการจากอาละวาดของ Nintendo นั้น

บริษัทเครื่องเกมอีกบริษัทหนึ่งมองว่านี่คือโอกาสที่จะขยายฐานลูกค้าของตนจึงเข้าไปติดต่อกับบริษัทให้เช่า

VDO ต่าง ๆ ยื่นข้อเสนอให้นำตลับเกมของตนไปวางแผงให้เช่าแล้วแบ่งผลประโยชน์กัน

นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เครื่องเกมของบริษัทนี้เป็นที่รู้จักจนสามารถเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของ

Nintendo ในอเมริกาช่วงยุคต้น 90s ได้ และเติบโตจนกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในที่สุด

 
เป็นไปตามวิวาทะดังที่ว่า We create our own demons (เราล้วนสร้างปีศาจของตนเอง)


ชื่อของปีศาจตนนั้น


ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด

Facebook Page “บทความตามใจฉัน”

โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ

https://www.facebook.com/uptomejournal/

 
Ref

kotaku.com
https://kotaku.com/why-you-cant-rent-games-in-japan-5914749

wikipedia.org
https://en.wikipedia.org/wiki/Video_rental_shop

Nintendo vs.Video Game Rentals - Gaming Historian
https://www.youtube.com/watch?v=J3xuy5YALl0&t=381
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่