คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ตาม คห. 4 ครับ ค่านิยมของคนโบราณสมัยอยุทธยาถึงกรัตนโกสินทร์ก่อนรัชกาลที่ ๔ ไม่นิยมเขียนรูปหรือทำรูปของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะเชื่อว่าทำให้อายุสั้นบ้าง อาจใช้ทำคุณไสยบ้าง ในสมัยที่กล้องถ่ายรูปเข้ามาใหม่ๆ คนก็ไม่นิยมถ่ายด้วยแนวคิดเดียวกัน
สำหรับพระมหากษัตริย์ นิยมสร้างเป็นเทวรูปหรือพระพุทธรูปแทนพระองค์ ปรากฏมีเทวรูปพระเจ้าอู่ทอง พระนเรศวร และ พระร่วง-พระลือ ที่สร้างขึ้นแทนองค์พ่อขุนรามคำแหงกับพญาลิไท
รูปพระร่วง-พระลือ ประติมากรรมสำริดคู่ สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ จากกุฏิพระร่วง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ องค์เดิมปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาว่าเดิมสร้างจากงาช้างเผือกงาดำ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเทครัวเมืองสวรรคโลกมาที่พิษณุโลกจึงอัญเชิญมาด้วย ภายหลังเข้าใจว่าอัญเชิญลงไปอยุทธยาแล้วไม่ปรากฏอีก
รูปพระนเรศวรปรากฏกล่าวถึงในพงศาวดารว่าก่อนจะเสียกรุง "อนึ่งรูปพระนเรศรเจ้าโรงแสงใน กระทืบพระบาทสนั่นไปทั้ง ๔ ทิศ อากาศวิปริตไปต่าง ๆ บอกเหตุบอกลางจะเสียกรุง"
ส่วนคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าพระรูปนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถหลังสมเด็จพระนเรศวรสวรรคต คำให้การขุนหลวงหาวัดระบุลางบอกเหตุตอนเสยกรุงคล้ายๆ กันว่า "เทวรูปพระนเรศวรนั้นมีน้ำพระเนตรไหลแลเปล่งศัพทสำเนียงเสียงอันดัง"
แต่การสร้างรูปเหมือนบุคคล (สร้างแบบไม่ใช่เทวรูป อาจจะไม่ได้เหมือนคนจริงเป๊ะๆ แต่มีลักษณะที่เป็นคนธรรมดา) ก็น่าจะมีมาตั้งแต่โบราณเหมือนกัน ในคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิหล่อรูปพระบรมดิลก พระราชธิดาไว้ว่า "จึงรับสั่งให้ช่างหล่อพระรูปพระบรมดิลกด้วยทองคำหนัก ๒๗๐ บาท ประดับด้วยเพ็ชร์ พลอย นิล ทับทิม มรกฏต่าง ๆ ควรค่าถึง ๕๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้วให้เชิญพระรูปพระบรมดิลกนั้นเข้าไปไว้ข้างที่พระบรรธม ต่อมาในรัชกาลหลังจึงให้เชิญพระรูปพระบรมดิลกไปไว้ณหอพระเปนที่สักการบูชา ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ พระบรมดิลก"
คำให้การขุนหลวงหาวัดก็ระบุว่า พระเจ้าปราสาททอง "จึ่งทำรูปภรรยาเก่าทั้งสองคนที่ตายไปแล้วนั้น ทำรูปไว้ที่ในวัดราชหุลาราม แล้วจาฤกชื่อไว้ที่ในฐานนั้น"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการสร้างรูปเหมือนก่อนรัชกาลที่ ๔ หลายรูป ส่วนใหญ่เป็นรูปเหมือนของพระสังฆราชครับ
ส่วนพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปสูง ๖ ศอกสองพระองค์หุ้มด้วยทองคำเนื้อ ๘ องค์หนึ่งหนัก ๖๓ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ทรงเครื่องต้นอย่างบรมกษัตริย์ ลงยาราชาวดีประดับด้วยนวรัตน์ ตั้งไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระราชอุทิศให้รัชกาลที่ ๑ และ ๒ องค์ข้างเหนือถวายพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ องค์ข้างใต้ถวายว่า พระพุทธเลิศหล้าสุราลัย มาเปลี่ยนเป็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อรัชกาลที่ ๔ และนามของพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ก็ถูกใช้เรียกแทนรัชกาลที่ ๑ และ ๒ มาจนถึงปัจจุบันครับ
สำหรับพระมหากษัตริย์ นิยมสร้างเป็นเทวรูปหรือพระพุทธรูปแทนพระองค์ ปรากฏมีเทวรูปพระเจ้าอู่ทอง พระนเรศวร และ พระร่วง-พระลือ ที่สร้างขึ้นแทนองค์พ่อขุนรามคำแหงกับพญาลิไท
รูปพระร่วง-พระลือ ประติมากรรมสำริดคู่ สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ จากกุฏิพระร่วง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ องค์เดิมปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาว่าเดิมสร้างจากงาช้างเผือกงาดำ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเทครัวเมืองสวรรคโลกมาที่พิษณุโลกจึงอัญเชิญมาด้วย ภายหลังเข้าใจว่าอัญเชิญลงไปอยุทธยาแล้วไม่ปรากฏอีก
รูปพระนเรศวรปรากฏกล่าวถึงในพงศาวดารว่าก่อนจะเสียกรุง "อนึ่งรูปพระนเรศรเจ้าโรงแสงใน กระทืบพระบาทสนั่นไปทั้ง ๔ ทิศ อากาศวิปริตไปต่าง ๆ บอกเหตุบอกลางจะเสียกรุง"
ส่วนคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าพระรูปนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถหลังสมเด็จพระนเรศวรสวรรคต คำให้การขุนหลวงหาวัดระบุลางบอกเหตุตอนเสยกรุงคล้ายๆ กันว่า "เทวรูปพระนเรศวรนั้นมีน้ำพระเนตรไหลแลเปล่งศัพทสำเนียงเสียงอันดัง"
แต่การสร้างรูปเหมือนบุคคล (สร้างแบบไม่ใช่เทวรูป อาจจะไม่ได้เหมือนคนจริงเป๊ะๆ แต่มีลักษณะที่เป็นคนธรรมดา) ก็น่าจะมีมาตั้งแต่โบราณเหมือนกัน ในคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิหล่อรูปพระบรมดิลก พระราชธิดาไว้ว่า "จึงรับสั่งให้ช่างหล่อพระรูปพระบรมดิลกด้วยทองคำหนัก ๒๗๐ บาท ประดับด้วยเพ็ชร์ พลอย นิล ทับทิม มรกฏต่าง ๆ ควรค่าถึง ๕๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้วให้เชิญพระรูปพระบรมดิลกนั้นเข้าไปไว้ข้างที่พระบรรธม ต่อมาในรัชกาลหลังจึงให้เชิญพระรูปพระบรมดิลกไปไว้ณหอพระเปนที่สักการบูชา ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ พระบรมดิลก"
คำให้การขุนหลวงหาวัดก็ระบุว่า พระเจ้าปราสาททอง "จึ่งทำรูปภรรยาเก่าทั้งสองคนที่ตายไปแล้วนั้น ทำรูปไว้ที่ในวัดราชหุลาราม แล้วจาฤกชื่อไว้ที่ในฐานนั้น"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการสร้างรูปเหมือนก่อนรัชกาลที่ ๔ หลายรูป ส่วนใหญ่เป็นรูปเหมือนของพระสังฆราชครับ
ส่วนพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปสูง ๖ ศอกสองพระองค์หุ้มด้วยทองคำเนื้อ ๘ องค์หนึ่งหนัก ๖๓ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ทรงเครื่องต้นอย่างบรมกษัตริย์ ลงยาราชาวดีประดับด้วยนวรัตน์ ตั้งไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระราชอุทิศให้รัชกาลที่ ๑ และ ๒ องค์ข้างเหนือถวายพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ องค์ข้างใต้ถวายว่า พระพุทธเลิศหล้าสุราลัย มาเปลี่ยนเป็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อรัชกาลที่ ๔ และนามของพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ก็ถูกใช้เรียกแทนรัชกาลที่ ๑ และ ๒ มาจนถึงปัจจุบันครับ
แสดงความคิดเห็น
ในสมัยอยุธยา มีการวาดภาพเหมือนหรือ portrait มั้ยครับ ?
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษ
แอน บุลิน พระมเหสี พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
แล้วศิลปะในการวาดภาพเหมือน มีมั้ย
คำตอบอยู่ด้านล่าง
ผมน่าจะใส่ละเอียดก่อนที่จะติดเทรน เพื่อให้เข้าใจกว่านี้