โดย ณรงค์ ขุ้มทอง
ได้ติดตามข่าวที่ท่านนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เยือนจีนเพื่อร่วมประชุมในหัวข้อ “ริเริ่มสาย แถบการพัฒนา เส้นทางสายไหม” (Belt and Road Forum for International Cooperation – BRF) ระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน 2562 ณ กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ซึ่งมีผู้นำทั่วโลกเข้าร่วม 38 ประเทศด้วยกันท่านนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ได้สรุปการเดินทางครั้งนี้คือ คำนึงและเน้นถึงความโปร่งใส เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ เน้นการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC จะเห็นได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับโครงการ EEC เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยควรยินดี และให้การสนับสนุน เพราะโครงการ EEC สำเร็จเมื่อไหร่ก็นำไทยสู่ 4.0 อย่างแท้จริง
แต่ภาพที่สะท้อนมุมกลับ พบว่าการขับเคลื่อน EEC ยังไม่ถึงเป้าหมายทั้งๆ ที่รัฐบาลพยายามใช้กลไกต่างๆ มากมาย เช่น การให้สิทธิประโยชน์กับผู้ลงทุนโดยเฉพาะชาวต่างชาติค่อนข้างมาก ยืดหยุ่นให้ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัย และกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยให้ระยะเวลา 50 ปี และต่อได้อีก 49 ปี รวมเป็น 99 ปี และยังมีอีกหลายๆ ประเด็นที่สำคัญคือ รัฐและท้องถิ่น ได้รับประโยชน์คุ้มทุนหรือไม่ จากข้อมูลพบว่า EEC มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทางกายภาพประมาณ 7.13 แสนล้านบาท ใช้เงินงบประมาณ 21% และจากรัฐวิสาหกิจ 12% และกว่า 60% เป็นการลงทุนโดยภาคเอกชน
แต่สิ่งที่น่าห่วงมากที่สุดคือ พื้นที่ภาคตะวันออก จะเป็นพื้นที่ที่ภาคอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด อาจจะส่งผลถึงภาวะเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากมีการวางแผนที่ไม่ดีและรัดกุม พื้นที่ดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวก็อาจจะเป็นได้ ซึ่งรัฐต้องระมัดระวังให้มากที่สุด
EEC คือความหวังของคนไทย รัฐบาลนี้ตั้งใจเป็นพิเศษ แต่มีตัวฉุด EEC คือตลอดระยะ 5-10 ปี ภาวะเศรษฐกิจโลกคนข้างฝืดเคือง/ชะลอตัว/ความขัดแย้งระหว่างอเมริกากับจีน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการส่งออกของประเทศ
จากข้อมูล GDP ของไทย ปี 2561 : 4.1% พอ ปี 2562 : 30% (ครึ่งปี 2562) และแนวโน้มปี 2562 : 3.5-4.0% และหากดูข้อมูลการส่งออก ของ 94 ประเทศทั่วโลก พบว่า 60 ประเทศ การส่งออกติดลบ ส่วนของไทยพบว่าเดือนมีนาคม 62 ติดลบ 4.88% และกลุ่มสินค้าที่กระทบมากที่สุดคือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ติดลบ 20-30% รัฐบาลวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะแจกเงินคนละ 1,500 บาท จำนวน 10 ล้านคน รวมเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเที่ยว เมืองรอง 55 จังหวัด แต่ปรากฏว่าโครงการล้มเลิกไป ส่วนหนึ่งมีประชาชนบางกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ถึงขั้นจะคืนเงินเสียด้วยซ้ำไป แต่รัฐบาลกำลังปรับแผนเป้าหมายใหม่ใช้เงิน 1.3 หมื่นล้านแจกเงิน เช่น ซื้อชุดนักเรียน 500 บาท ให้เกษตรกรซื้อปุ๋ย 1,000 บาท เพิ่มเงินคนพิการ 200 บาท ซื้อของร้านธงฟ้า 500 บาท เป็นต้น
โดยภาพรวม ถ้าดูข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น การส่งออกของไทยโดยภาพรวมติดลบ รายได้ของไทยน่าจะมาจากภาษีของประชาชน และรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่รายได้จากการท่องเที่ยวดูตัวเลขแล้วอยู่ในเกณฑ์สูง 4-5 แสนล้านบาท แต่กลับมีประชาชนย้อนถามว่ารายได้ดังกล่าวประชาชนในพื้นที่ได้รับผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด รายได้ที่ว่านี้เป็นของนายทุนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่สังคมมักจะไม่พูดถึงคือ การทำลายสิ่งแวดล้อมตามแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละปีอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างหนัก ถึงขั้นแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งต้องปิดตัวลง รื้อฟื้นฟูใหม่ เป็นต้น
EEC คือความหวังและหัวรถจักรที่คนไทยหวังและรอคอย แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/การเมืองของโลกสิ่งที่เราคาดหวังจะให้ EEC ชักลากประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าก็คงยาก และเหนื่อย สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งสรุป คือโครงการคลองไทยอย่างจริงจังและรวดเร็ว ซึ่งท่านนายกฯได้สั่งการให้สภาความมั่นคง และสภาพัฒนาดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เชิงลึกแล้วก็ตาม รัฐควรเอาคลองไทยมาผลักดันคู่กับ EEC เพื่อผลักดันประเทศไทยโดยเร็ว/รัฐบาลอย่าขลาด/อย่ากลัวนี่แค่พูดยังไม่กล้าเลย/กลัวอะไรออกมาผลักดันคลองไทยอย่างจริงจังประกาศให้คนไทยรู้และรับทราบว่าศึกษาเชิงลึกว่าคุ้มหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มก็ประกาศให้คนไทยทราบไปเลย และหยุดดำเนินการ ถ้าคุ้มทุนก็มาช่วยกันคิดและเดินหน้าสร้างคลอง ขุดคลองไทยกันอย่างไร จะแก้ไขสิ่งที่กระทบในการดำเนินการอย่างไร
ความเหมาะสมของ คลองไทย
1. เป้าหมายเพื่อเศรษฐกิจการค้าขายทางทะเล
2. ที่ตั้งคลองไทยอยู่ศูนย์กลางมีกลุ่มประเทศกำลัง พัฒนาและประชากรเกือบ 4,000 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ เช่นกลุ่มเอเชียใต้/เอเชียตะวันตก/เอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้/เอเชียตะวันออก (อินเดีย + ปากีสถาน + บังคลาเทศ + พม่า/ศรีลังกา/กลุ่มอาหรับ+จีน+ญี่ปุ่น+เกาหลี+ไต้หวัน+เวียดนาม ฯลฯ)
3. สภาพภูมิอากาศ เขตร้อนชื้น เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตอาหารของโลก สภาพภูมิอากาศ/ร้อนชื้น ปลอดเขตภัยพิบัติของธรรมชาติ (ยกเว้นในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์) จึงสามารถเดินเรือได้ตลอดทั้งปี
4. กลุ่มประเทศหรือทวีปที่คลองไทยสามารถเชื่อมโยงไปถึงยึดโยง เกือบ 50 ประเทศ (เอเชีย+ยุโรป+แอฟริกา และโอเชียเนีย+อเมริกาเหนือ+ใต้)
5. ค่าใช้จ่าย ในการเดินทางของเรือ/การขนส่งทางเรือโดยเฉลี่ย 20-30 ล้านบาท/วัน /จะส่งผลดีต่อการแลกเปลี่ยนเงินตรา/ธุรกรรมการเงิน
6. คลองไทยแนว 9A ผ่านชุมชนน้อยและไม่ผ่านป่าไม้ แหล่งธรรมชาติ เพราะพื้นที่ 90-95% เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา/ปาล์มน้ำมัน และพื้นที่ว่างเปล่า แต่ขับเคลื่อนโครงการใหญ่ๆ เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบมากมาย แต่ถ้ามีการวางแผนที่ดีก็สามารถลดความเสื่อมลงได้
A. เป้าหมายเพื่อการทหารและเศรษฐกิจขนาดเล็ก
A. ที่ตั้งยุโรปตอนเหนือ มีกลุ่มประเทศ นอร์เวย์/ สวีเดน/เนเธอร์แลนด์ /เดนมาร์ก/เบลเยียม /เยอรมนี รวมแล้วมีประชากร 200-300 ล้านคน
A. เป็นเขตอากาศหนาว พืชเศรษฐกิจไม่เป็นปัจจัย ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนและของโลก
A. คลองคีลอยู่ในเขตขั้วโลกเหนือ/อากาศหนาว ไม่เอื้อในการเดินเรือในเชิงธุรกิจ แต่มีประเทศอังกฤษ/เบลเยียม/เนเธอร์แลนด์/เยอรมนี มีธุรกิจการเดินเรือที่สำคัญ แต่เป็นเรือขนาดใหญ่ในการขนส่งสินค้า
A. เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศรอบๆ คลองคีล เป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และแต่ละประเทศมีความเข้มแข็ง อากาศหนาวอุปสรรคเดินเรือ
A. กลุ่มประเทศดังกล่าว เจริญก้าวหน้าอิ่มตัวการขนส่งช่องทางอื่นทันสมัย
A. ยึดโยงกับประเทศต่างๆ เพียง 5-10 ประเทศเท่านั้น
A. คลองคีลเป็นคลองปิดใช้ในกิจการของเยอรมันเท่านั้นเป็นส่วนใหญ่
A. จริงอยู่รายได้คลองคีลแค่ 30% แต่คลองคีลสำคัญต่อธุรกิจท่าเรือของเยอรมัน มีการจ้างงานกว่า 5,000 ตำแหน่งเยอรมันเก็บภาษีได้ปีละ 10,000 Euzo/ปี
7. การลงทุนคลองไทย เราอาจจะไม่ต้องลงทุนเองทั้งหมดมีองค์กรระหว่างประเทศมากมายที่สนับสนุน ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำไทย และเทคนิคในการหาทุน
8. พื้นที่ในเขตคลองไทยจะถูกพัฒนาให้เป็นเขตธุรกิจพิเศษ แหล่งท่องเที่ยวใหม่อย่างครบวงจร
9. การสร้างคลองไทยอาจจะส่งผลกระทบหลายๆ ด้าน แต่ถ้าคนไทย/รัฐบาลวางแผนแก้ไขด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็สามารถลดความสูญเสียลงได้ และอาจจะคุ้มกับการลงทุน และสูญเสีย ซึ่งมีกรณีตัวอย่างเช่น คลองสุเอซและคลองปานามา
10. คลองไทย+สามารถทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางเดินเรือได้เพราะมีเรือขนาดใหญ่ พี่อ้อมไปที่ช่องชุนดาและลอมบ้อกปีละหลายพันลำระยะทางเกือบ 2,000 กม. ใช้เวลา 6-7 วัน แต่ถ้ามีคลองไทยเรือสามารถใช้เวลาแค่ 2-3 วัน เรือเหล่านี้น่าจะเลือกผ่านคลองไทย เพราะใช้เวลาน้อยและประหยัดกว่า
11 .คลองไทย-ความต่าง ของน้ำ ประมาณ 1-1.50 เมตร ไม่น่าจะกระทบกับ เดินเรือ และการที่น้ำจากอันดามันไหลเข้าสู่อ่าวไทย ข้อดีคือน้ำจากอันดามันมาผลักดันน้ำในอ่าวไทยส่งผลให้ระบบนิเวศอ่าวไทยดีขึ้น
12. คลองไทยสามารถส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวในอ่าวไทยได้โดยไม่ต้องอ้อมไปที่ช่องมะละกา ในช่วงเปลี่ยนมรสุม ทั้ง 2 ฤดู
13. คลองไทยเป็นช่องทางให้ชาวประมงไทยมีแหล่งปลาใหม่ ในอันดามัน และคลองไทยสามารถเป็นช่องทางให้ปลาทะเล/สัตว์ทะเลในอันดามันย้ายถิ่นมาในอ่าวไทยได้ ส่งผลให้การขยายพันธุ์ปลาในอ่าวไทย
14. คลองไทยเป็นคลองเปิด เพื่อการค้าขายทางทะเลของไทยและของโลก เชื่อมอ่าวไทยกับอันดามัน
15. คลองไทยสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ได้อย่างยั่งยืนเพราะคลองไทยจะรองรับน้ำที่ไหลมาจาก ภูเขาหลวง ภูเขาบรรทัด ลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว จะแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้มาร่วม 100 ปีทำให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ปีละ นับ 100,000 ล้านบาท/ปี
16. คลองไทยจะทำให้อ่าวไทยและภาคใต้กลายเป็นเส้นทางการเดินเรือของโลกและส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้-อ่าวไทย-อันดามัน ได้พัฒนาหลายรูปแบบ
งานใหญ่อย่างคลองไทย ผู้นำไทยต้องใจถึงและใจกว้าง ไม่งั้นประเทศเราตามหลังชาติอื่น และนับวันประเทศไทยกำลังหมดช่องทางที่จะหาเงินเข้าประเทศนอกจากขึ้นภาษีจากประชาชน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มาของข้อมูล
Working Papers Kid Institute for The Worid Ecouomy Determinning Optimal Transit Charges: The Kid Cannal in Germany: by Nadine Heitmann Katrin Rehdanz and Ulrich Schmidt
ถึงเวลาที่รัฐบาลเลิกกล้าๆ กลัวๆ ที่จะขับเคลื่อนคลองไทยอย่างจริงจัง ถึงเวลาที่รัฐบาลประกาศให้ประชาชนรู้และทราบว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะขับเคลื่อนประเทศด้วยโครงการใหญ่นวัตกรรมใหม่ คือ คลองไทยกับ EEC เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศ ในท่ามกลางที่ประเทศแทบไม่มีช่องทางใหม่ที่นำเงินเข้าประเทศดังข้อมูลของคลองปานามา คลองสุเอซ ข้างต้น EEC เป็นโครงการที่สำคัญยิ่ง แต่ถ้ามีคลองไทยวิ่งคู่ขนานกับ EEC แล้วมั่นใจว่าความมั่งคั่ง ยั่งยืนจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่างแน่นอน ถึงเวลาที่คนไทย ผู้นำไทย หยุดวิตกจริต ถึงความเลวร้ายของคลองไทย จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าคุ้มได้หรือคุ้มเสียกันแน่ ขอเชิญชวนผู้รู้นักวิชาการทั้งหลายรวมทั้งคนไทยออกมาช่วยกันคิด ช่วยกันสนับสนุนช่วยเป็นกำลังใจให้รัฐบาลเร่งตัดสินใจดำเนินการคลองไทย โดยการศึกษาเชิงลึกต่อไป อย่าหวังที่จะใช้เงินภาษีของประชาชนอย่าหวังที่จะเก็บเศษเงินของประชาชน ด้วยการขึ้นค่าโดยสารรถไฟ-รถเมล์ ค่าน้ำ/ค่าไฟอีกเลยสุดท้ายเดี๋ยวจะไม่มีเงินมาลดแลกแจกแถมนะจะบอกให้ และขอวิงวอนผู้รู้ทั้งหลายอย่าวิตกจริตจนเกินเหตุ หันหน้าเข้าหากัน มาช่วยกันหาคำตอบว่าคลองไทยมันดำ มันคุ้มจริงไหม
EEC กับคลองไทย กับโครงการที่ต้องทำ