ต่อจาก ตอน 2
วันที่ 7 มะนาลี - วัดฮินดู - Local Market
มะนาลี (Manali) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐหิมาจัน ( Himachal Pradesh ) ทางตอนเหนือของอินเดีย ตั้งอยู่ในหุบเขาซอกเขาเล็กของเทือกเขาหิมาลัย ในเมืองนี้เต็มไปด้วยสวนแอปเปิล ที่พักของเราก็ตั้งอยู่ในสวนแอปเปิลกำลังออกดอก กินได้เมื่อไรเจอกัน (ต้องมาใหม่อีกครั้งในรอบ 1 ปีนี้ เพราะเสียดายค่า visa...คิดผิดไหม...คิดใหม่ได้นะ..) ว่าแล้วก็มีการถ่ายรูปสมาชิกรถ กันซะหน่อย...
วันนี้เป็นวันสงกรานต์ (...เหมือนกับได้ยินเพลงสงกรานต์..) พออยู่ต่างถิ่น แวบหนึ่งก็จะคิดถึงบ้าน เช้านี้ไกด์บอกตามสบาย ๆ หน่อย วันนี้พาเที่ยวที่มะนาลี ไปสถานที่เล่นกีฬาภูเขาหิมะ (...ดูการแต่งตัวซิ... ไม่น่าไปเล่นเล้ย ...) ขึ้นไปบนภูเขามะนาลี ยังมีหิมะกำลังละลายอยู่เป็นกราเซีย เส้นทางเดินรถแคบ ลื่น แต่คนอินเดียก็ขับหลบกันได้ มีรถขึ้นไปยังหุบเขานี้ค่อนข้างเยอะ (แต่เส้นทางกำลังปรับปรุง) ไปดูหุบเขาโรทังพลาส ห่างจากมะนาลี 14 km เป็นสถานที่เล่นกีฬา extreme พวกขี่ม้า ขับรถ ATV ไต่หิมะประมาณนั้น พวกชาวท้องถิ่นมีเสื้อให้เช่าใส่ รวมทั้งรองเท้าด้วย แต่เราจะกล้าใส่ไหม ล่ะ ( มอมซะขนาดนั้น...)
ถ่ายรูปกันแล้ว ขึ้นรถกลับ เป้าหมายต่อไปคือวัดฮินดู แต่ปรากฏว่าขับรถออกมาได้ระยะหนึ่งรถติดเป็นแถวเลย เพราะเส้นทางเดินรถทางเดียว บางคนทนไม่ไหว ลงไปเดิน เห็นมาบอกว่าดินสไลด์ก้อนหินล่วงมาขวางทาง (ก้อนใหญ่) ต้องรอรถขุดเจาะมาลากออก ทำไงดี (รอต่อไป 1.30 h )
หลังจากรอเวลาผ่านไปที่ละนาที มองดูชาวอินเดียไม่เห็นเขาจะเดือดร้อนอะไร บางคนลงจากรถเดินไปซื้ออาหารกินที่ร้านข้างทางตรงที่รถติดนี่ล่ะ ยังเห็นพ่อค้าแขกหนุ่มแบกกะบะถั่วมาขายเลย มีเด็กหนุ่ม ๆ 2-3 คนรุมซื้อเขาตักถั่วใส่กระทงกระดาษ แล้วหั่นต้นหอม หั่นพริก (น่าจะเป็นพริกขี้หนู)..ใส่ลงไปในกระทงถั่วโรยเกลือนิดหน่อยมีบีบมะนาวด้วยเด็กกินกัน อย่างเอร็ดอร่อยทำให้อยากลองไปด้วย (แต่ไม่ได้ลอง...) เมื่อเวลาผ่านไป หินคงขยับได้แล้วรถเริ่มเคลื่อนที่ได้ เป้าหมายต่อไปคือวัดฮินดู ระหว่างทางจะมีสินค้าพื้นเมืองจำหน่าย ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วเดินทางกลับมาโรงแรมกินข้าวกลางวัน แล้วไปวัดฮินดู ชื่อ Hadimba Temple คล้ายวัดทิเบต มีหลังคาสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ( วัดในมะนาลี จะมีความเรียบง่าย มีเทวรูป หรือไม้แกะสลัก ก็เป็นวัด ) การเดินทางค่อนข้างลำบากทางรถแคบและชัน สิ่งที่แปลกคือมีกระต่ายให้อุ้ม(เช่า) ถ่ายรูป (ไม่เข้าใจ...ทำไมต้องกระต่าย..) วัดตั้งอยู่ในป่าสนเมืองหนาวลำต้นขนาดใหญ่ ต้นสนใหญ่มากแสดงถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่ มองเห็นคือความเชื่อและศรัทธาของชาวมะนาลี สละเงิน เครื่องประดับกองไว้ข้าง ๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เหมือนวัดในทิเบตที่พระราชวังโปตาลา ซึ่งมีเงิน เครื่องประดับกองไว้ โกยใส่เป็นกระสอบ ๆ เลยไม่มีใครสนใจ
เมื่อออกจากวัดลงมาบริเวณลานจอดรถก็จะผ่านร้านขายของมีเสื้อผ้า saffron เสื้อผ้า และ ฯลฯ หลังนั้นก็ขับรถหลบหลีกกันลงมาถึงที่ราบจะเป็นตลาดท้องถิ่น (Local market) คงได้ซื้อกันล่ะ ดีใจที่เห็นลามะ พรุ่งนี้จะไปธรรมศาลา คุยกับลามะถามถึงองค์ดาไลลามะ ท่านตอบว่าอาจอยู่ หรือไปรักษาตัวที่เดลฮี เนื่องจากท่านไม่ค่อยสบายเป็นโรคเกี่ยวกับท้องและไต (ถ้าโชคดี อาจพบแต่คงยาก..มั้ง..หวังไว้...) ในตลาดแห่งนี้ น่าจะเป็นตลาดใหญ่ เพราะมีสวนสาธารณะ สถานีรถ ( บขส เหมือนบ้านเรา ) นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมร้องเพลงเปิดหมวกด้วย แต่ก็ไม่ค่อยมีคนสนใจมากนัก พวกเราก็สนใจว่าจะซื้ออะไรดี (ตามประสา..ตนมีตังค์...) เราก็พยายามเดินเลือกสินค้า (..กระเป๋าแคชเมียร์...ไม่ได้ซื้อที่แคชเมียร์เลยต้องหาซื้อ..)เพื่อเป็นของฝากแล้วกัน การนัดเวลาต้องเกาะกลุ่มเพราะที่จอดรถก็ลึกลับลงไปที่ซอกตึกริมน้ำ ฝนตกเฉอะแฉะ การเดินลำบากนิดหน่อย
หลังจากซื้อของกันเรียบร้อยแล้วกลับที่พัก กินข้าวเย็น 2 ทุ่มเหมือนเดิม โรงแรมที่พักนี้ น่าจะมีกรุ๊ปเราเดียวที่มาพัก ชาวอินเดียเองก็น้อย แต่ที่มองเห็นมีโรงแรมมากมายติด ๆ กัน ช่วงเวลาการท่องเที่ยวยังไม่มาถึงมั้ง จึงมองไม่ค่อยเห็นคน 2 วัน มานี้รู้สึกปวดท้องจะโทษอาหารไม่ได้เพราะไม่มีใครมีอาการเหมือนเรา สงสัยว่าคงเป็นเรื่องปกติของการเดินทางขอยาไกด์กินก็คงหาย พรุ่งนี้ไกด์บอกว่า หลังกินข้าวเช้าแล้วจะเดินทางไปดาลัมศาลา เลย
วันที่ 8 มะนาลี ดาลัมศาลา
หลังจากกินข้าวเช้าแล้ว ก็เตรียมตัวออกเดินทางไป ดาลัมศาลา (..ธรรมศาลา ..ที่คนไทยเรียก ) เป็นที่ประทับขององค์ดาไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบต การเดินทางจากมะนาลีสู่ดาลัมศาลา (Dharamashala) ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐหิมาจัน ประเทศ ( Himachal Pradesh ) เส้นทาง(ถนน)เช่นเดียวกับมะนาลี ขับรถไต่ขึ้นเขาระยะทาง 235 km คาดว่าจะใช้เวลาในการเดินทาง 6 ชั่วโมง (ความจริงมากกว่านั้น 8-10 ชั่วโมง) แวะกินอาหารว่างข้างทาง ( ..ไกด์บอกให้กินอาหารว่างไว้ก่อน..)
.... ทำไม องค์ดาไลลามะ จึงต้องลี้ภัย......
เหตุเกิดจากความขัดแย้งของรัฐบาลจีนและทิเบต ในปี 2492 โดยจีนอ้างว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน ในส่วนทิเบตก็โต้แย้งว่าตนเป็นรัฐอิสระภายใต้การปกครองของศาสนาพุทธทิเบตคือ องค์ดาไลลามะ เหตุการณ์ลุกลามไปอย่างต่อเนื่อง จนถึงมีนาคม 2502 รัฐบาลจีนได้เชิญองค์ดาไลลามะไปชมการแสดงละครและดื่มน้ำชาเพียงคนเดียวห้ามมีผู้ติดตาม ทำให้ชาวทิเบตวิตกเรื่องการลักพาตัวดาไลลามะ ชาวทิเบตต่อต้านไม่ให้เสด็จไป และรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นได้เตรียมการเส้นทางหลบหนีไว้จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2502 ได้เกิดการต่อสู้ในลาซา (เมืองหลวงของทิเบต)ทำให้ชาวทิเบตล้มตายไปจำนวนมาก(คาดว่าเกิน10,000 คน) องค์ดาไลลามะและชาวทิเบตหลายหมื่นคนได้เดินทางหลบหนีออกจากเมืองลาซา โดยการช่วยเหลือของกองกำลังพลัดถิ่นทิเบตและกองกำลังทหารของอินเดียอัสสัม จนวันที่ 31 มีนาคม 2502 คณะผู้หลีภัยได้เดินทางเข้าสู่เมืองทาวัง รัฐหิมาจันประเทศ ต่อมา 3 เมษายน 2502 รัฐบาลอินเดียได้รับรองการลี้ภัยและให้เสด็จไปปักหลักตั้งรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นที่เมืองดาลัมศาลา(ธรรมศาลา) ประเทศอินเดีย
การเดินทางสู่ดาล้มศาลา ใช้เวลาในการเดินทางหลายชั่วโมง แวะกินข้าวกลางวัน กลางทางแล้วเดินทางต่อไปดาลัมศาลา เป็นเส้นทางวิ่งวนรอบภูเขาสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เรามองว่าถ้าเดินทางมาเองเราจะสามารถเดินทางมาได้ไหม กว่าจะถึงดาลัมศาลาประมาณ. 18.00 รีบขึ้นไปที่วัดเกือบมืดแล้วพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว พบว่ามีชาวทิเบตและอินเดียไม่มากนักเดินทางมาที่นี่ พวกเรารีบมาก ในใจอยากพบท่านดาไลลามะมาก. แต่ก็ไม่พบ กราบพระพุทธเมตตา แล้วออกมาเดิน มีลูกทัวร์คนหนึ่งเกิดอาการป่วยหายใจไม่ออกน่าจะเกิดจากอยู่ที่สูงแต่โชคดีเจอ หมออินเดีย(medical doctor) ช่วยดูแล. ส่วนพวกเรารีบออกไปซื้อของ ( ดูมากกว่า) แล้วกลับที่พัก กินข้าวเย็น เช้าไกด์บอกเดินทางแต่เช้าพร้อมข้าวกล่อง
วันที่ 9 ดาลัมศาลา อมฤตสา ด่านวาการ์
7.00. น. ทุกคนพร้อมขึ้นรถ มีข้าวกล่องอยู่บนรถแล้ว. (... good bye Dharamashala,see you again next time!..)ไม่อาจสัญญาได้ว่าจะมาอีกในปีหน้า... (..ได้แต่หวังไว้..) ออกจากดาลัมศาลา มุ่งหน้าสู่อมฤตสา ( Amritsar) บนถนนเห็นมีคนออกมาวิ่งออกกำลัง อากาศดีมาก บนที่พักโรงแรมจะมองเห็นยอดเล็ก ๆ ของหิมาลัยซึ่งปกคลุมด้วยหิมะดูสวยงาม แต่เราต้องจากไปแล้ว...ลาก่อน...(..ดีใจที่ได้มา..) ดาลัมศาลาอยู่ห่างจากอมฤตสาประมาณ. 200. km. เราจึงต้องเดินทางแต่เช้าเพื่อเข้าอมฤตสา เป็นระยะทางประมาณ 200. km. ใช้เวลาในการเดินทาง 5-6. ชั่วโมง. มาถึงอมฤตสา เวลา เกือบเที่ยง แวะกินข้าวกลางวันที่ภัตตาคารฮินดูในเมืองอมฤตสา แล้วเดินทางไปวิหารทองคำ
วิหารทองคำฮัรมันดิร ซาฮิบ (Harmandir Sahib or Golden Temple ) มีความสำคัญสูงสุดของศาสนาซิกซ์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองอมฤตสา รัฐปัญจาบ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ชื่อ Harmandir Sahib แปลว่า ที่สถิตย์ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสถานที่อันเป็นที่ยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด สถาปัตยกรรม แบบฮินดูผสมมุสลิม ด้านในวิหารเก็บรักษาพระมหาคัมภีร์ของศาสนาซิกซ์ วิหารทองคำตั้งอยู่กลางสระน้ำโซราวอร์อมฤต ศักดิ์สิทธิ์ กว้าง 150 m ถูกสร้างขึ้นเมื่อ เดือนธันวาคม ค.ศ 1577 แล้วเสร็จ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ 1604 เนื่องด้วยความศักดิ์สิทธิ์และศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกซ์ ทำให้วิหารถูกทำลายอย่างต่อเนื่องจากกองทัพมุสลิม อัฟกานิสถานและจักรวรรดิโมกุล และถูกบูรณะใหม่ในปี ค.ศ 1762 โดย Maharaja Ranjit Singh ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิซิกซ์ ประดับภายนอกด้วยทองคำเปลว จึงได้ชื่อว่า วิหารทองคำ เชื่อกันว่าใครได้อาบหรือกินน้ำอมฤตนี้จะหายจากความเจ็บป่วย แต่อย่างไรก็ตาม วิหารแห่งนี้ก็มีรอยด่าง (...ตราบาป...) ของการสังหารหมู๋ในการปฏิบัติการดาวน้ำเงิน Operation Blue Star (..,ในปี ค.ศ 1984 Jarnail Singh Bhindranwale ได้ซ่องสุมกำลังและอาวุธในวิหารนี้เพื่อต้องการแบ่งแยกดินแดนจากอินเดีย ขณะนั้นนายกรัฐมนตรี นางอินทิรา คานธี ได้ส่งกองกำลังติดอาวุธทำลายล้างวิหาร ส่งผลให้จาร์เนลและกองกำลังทหารเสียชีวิตรวมมากกว่า 100 นาย รวมประชาชนบริสุทธิ์ที่มาแสวงบุญเสียชีวิตอีมากกว่า 1,000 คน ทำให้วิหารเสียหายและเป็นบาดแผลใหญ่ระหว่างชาวซิกซ์และชาวฮินดูในอินเดีย เป็นผลให้เกิดการลอบสังหาร นางอินทิรา คานธี โดยองครักษ์ 2 คน ใช้อาวุธปืนกระหน่ำยิงกว่า 30. นัด ในปีเดียวกัน..เฮ้อ...เศร้า..)
เมื่อเราเดินทางไปถึงวิหารทองคำ พบว่ามีชาวซิกซ์มากมายมาสักการะและอาบน้ำอมฤต ทุกคนต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า หมวก มีผ้าคลุมศีรษะ(ผู้หญิง) ล้างมือ ล้างเท้าด้วย แล้วเดินด้วยเท้าเปล่า ตามทางลาดด้วยแผ่นยางกันความร้อนจากพื้นหินอ่อน เราเดินไปแต่เห็นสายตาของอาสาสมัครรักษาวิหารเป็นชาวอินเดียหนวดโง้ง ดุดุ ...
พอออกมาจากมหาวิหาร ก็มีการซื้อของทันที เหมือนเราไปวัดใหญ่ ๆ ก็จะมีของขายหน้าวัดเต็มไปด้วยร้านค้า 2 ข้างถนนส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้าอินเดียดูแล้วก็สวยงามมีสีสรรสดใส บาง (ต่อตอน 4..)
เที่ยวแคชเมียร์ ชิมลา มะนาลี ดาลัมศาลา ด่านวาการ์ (ตอน 3 )
วันที่ 7 มะนาลี - วัดฮินดู - Local Market
มะนาลี (Manali) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐหิมาจัน ( Himachal Pradesh ) ทางตอนเหนือของอินเดีย ตั้งอยู่ในหุบเขาซอกเขาเล็กของเทือกเขาหิมาลัย ในเมืองนี้เต็มไปด้วยสวนแอปเปิล ที่พักของเราก็ตั้งอยู่ในสวนแอปเปิลกำลังออกดอก กินได้เมื่อไรเจอกัน (ต้องมาใหม่อีกครั้งในรอบ 1 ปีนี้ เพราะเสียดายค่า visa...คิดผิดไหม...คิดใหม่ได้นะ..) ว่าแล้วก็มีการถ่ายรูปสมาชิกรถ กันซะหน่อย...