สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
เรื่องพระราชพิธีของญี่ปุ่นข้างบนอธิบายไปละเอียดแล้วครับ ส่วนเรื่องการเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า จักรพรรดิ กับ พระมหากษัตริย์ คงต้องอธิบายให้คุณเจ้าของกระทู้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับรูปแบบการปกครองรัฐ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เราต้องพิจารณาว่าคำเรียกกษัตริย์ในภาษาต่างประเทศอาจอาจจะไม่ได้สอดคล้องกับสภาพการปกครองของอาณาจักรนั้นๆ ตามหลักรัฐศาสตร์เสมอไปครับ รวมถึงต้องคำนึงถึงบริบทของยุคสมัยด้วย
จักรพรรดิ (Emperor) ตามนิยามของตะวันตกทั่วไปหมายถึงประมุขที่มีอำนาจปกครองจักรวรรดิ (Empire) คือมีอำนาจเหนือรัฐหรือแว่นแคว้นจำนวนมาก หรือเป็นพระราชาธิราชที่มีอำนาจเหนือกษัตริย์หลายองค์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต้องเป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมากและมีจักรวรรดิแผ่ไพศาลจริงๆ เช่น จักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิจีน จักรพรรดิอินเดีย หรือตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) ที่เดิมได้รับการสถาปนาจากศาสนจักร
แต่ในทางปฏิบัติตำแหน่งจักรพรรดิอาจไม่ได้สัมพันธ์กับสภาพของรัฐเสมอไป มีหลายรัฐที่มีสภาพเป็นจักรวรรดิครองอาณานิคมจำนวนมาก แต่ประมุขไม่ได้ถูกเรียกขานว่าจักรพรรดิ หรืออย่าง Holy Roman Empire ในทางปฏิบัติประกอบด้วยราชรัฐจำนวนมากที่รวมตัวกันเป็นเพียงสมาพันธรัฐ (confederation) อย่างหลวมๆ เท่านั้น ตำแหน่งจักรพรรดิแม้จะถูกยกย่องให้มีสถานะเป็น primus inter pares แต่ไม่ได้มีอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือดินแดนอื่นๆ ในจักรวรรดิ
ตัวอย่างเช่น คาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงมีตำแหน่งเป็น Holy Roman Emperor ตามสถานะที่ได้รับการสถาปนาเป็นประมุขของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ตำแหน่งจักรพรรดิของพระองค์ครอบคลุมแค่เฉพาะจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ยังทรงมีตำแหน่งเป็นประมุขรัฐอื่นที่อยู่ใต้อำนาจจำนวนมาก ดังปรากฏในพระราชอิสริยยศคือ "Charles, by the grace of God, Emperor of the Romans, forever August, King of Germany, King of Italy, King of all Spains, of Castile, Aragon, León, of Hungary, of Dalmatia, of Croatia, Navarra, Grenada, Toledo, Valencia, Galicia, Majorca, Sevilla, Cordova, Murcia, Jaén, Algarves, Algeciras, Gibraltar, the Canary Islands, King of both Hither and Ultra Sicily, of Sardinia, Corsica, King of Jerusalem, King of the Indies, of the Islands and Mainland of the Ocean Sea, Archduke of Austria, Duke of Burgundy, Brabant, Lorraine, Styria, Carinthia, Carniola, Limburg, Luxembourg, Gelderland, Neopatria, Württemberg, Landgrave of Alsace, Prince of Swabia, Asturia and Catalonia, Count of Flanders, Habsburg, Tyrol, Gorizia, Barcelona, Artois, Burgundy Palatine, Hainaut, Holland, Seeland, Ferrette, Kyburg, Namur, Roussillon, Cerdagne, Drenthe, Zutphen, Margrave of the Holy Roman Empire, Burgau, Oristano and Gociano, Lord of Frisia, the Wendish March, Pordenone, Biscay, Molin, Salins, Tripoli and Mechelen."
ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน โอรสของคาร์ลที่ 5 ครองดินแดนมหาศาล แต่เนื่องจากไม่ได้ทรงเป็น Holy Roman Emperor ก็ไม่ได้ใช้พระอิสริยยศ Emperor เหมือนพระบิดา แต่มีอิสริยยศเป็น "Philip, by the grace of God second of his name, king of Castille, Leon, Aragon, Portugal, Navarre, Naples, Sicily, Jerusalem, Majorca, Sardinia, and the islands, Indies, and terra firma of the Ocean Sea; archduke of Austria; duke of Burgundy, Lothier, Brabant, Limbourg, Luxembourg, Guelders, and Milan; Count of Habsburg, Flanders, Artois, and Burgundy; Count Palatine of Hainault, Holland and Zeeland, Namur, Drenthe, Zutphen; prince of "Zvuanem"; marquis of the Holy Roman Empire; lord of Frisia, Salland, Mechelen, and of the cities, towns, and lands of Utrecht, Overissel, and Groningen; master of Asia and Africa"
ในยุคจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) อังกฤษครอบครองอาณานิคมทั่วโลก กษัตริย์อังกฤษยังมีสถานะเป็น King/Queen ของสหราชอาณาจักร แต่มีสถานะเป็นประมุขรัฐอื่นด้วย เช่นเมื่ออังกฤษสามารถผนวกอินเดียมาเป็นอาณานิคม รัฐสภาอังกฤษจึงผ่านพระราชบัญญัติพระราชอิสริยยศ ค.ศ. 1876 (Royal Titles Act 1876) ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียได้รับตำแหน่ง "Empress of India" หรือ "Kaisar-i-Hind" เข้าใจว่าพิจารณาตามสภาพของอินเดียที่ประกอบด้วยรัฐของมหาราชาจำนวนมาก (มีบันทึกว่าเดิมสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียอยากจะใช้ชื่อตำแหน่งว่า Empress of Great Britain, Ireland and India แต่นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคัดค้านเพราะเกรงจะเกิดประเด็นขัดแย้ง เข้าใจว่าเพราะการยกสถานะเป็น Empress ของอังกฤษและไอร์แลนด์อาจทำให้ถูกมองว่าแสดงถึงความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เลยเลี่ยงไปใช้เฉพาะอินเดียแทน) ทำให้กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อๆ มาล้วนมีตำแหน่งเป็น Emperor of India จนกระทั่งอินเดียเป็นเอกราช
ส่วนอาณาจักรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณปกครองอย่าง "รัฐราชาธิราช" (ซึ่งมีการนิยามว่าเทียบเท่า Empire) ที่แผ่ขยายอาณาเขตเหนือดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ กษัตริย์ไทยตั้งแต่โบราณก็มีคำเรียกยกย่องเกียรติยศตนเองในสร้อยพระนามเป็น "จักรพรรดิราช" หรือ "ราชาธิราช" เหนือแว่นแคว้นทั้งหลายอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นเพียงคำยกย่องว่ามีเกียรติยศเหนือกว่ากษัตริย์ทั่วไป แต่โดยนิยามแล้วอาจจะไม่ได้ตรงกับ Emperor ตามบรรทัดฐานยุโรปเสียทีเดียวครับ
ทั้งนี้เอกสารไทยสมัยโบราณ ไม่เคยเรียกแยกสถานะของกษัตริย์ตามอย่างภาษาตะวันตกเป็น King หรือ Emperor ส่วนใหญ่ก็เรียก "พระเจ้า" "พระเจ้าแผ่นดิน" "กษัตริย์" หรือ "พระมหากษัตริย์" เป็นคำเรียกอย่างกลางๆ โดยไม่ได้แบ่งแยกสูงต่ำ และใช้เรียกประมุขรัฐอื่นด้วย เช่น จักรพรรดิจีนสมัยโบราณเราก็เรียกแค่ว่า พระเจ้ากรุงจีน พระเจ้ากรุงตาฉิ่ง ไม่ได้พิเศษกว่ากษัตริย์เมืองอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนโปเลี่ยนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส หลักฐานในยุคนั้นก็ยังไม่ได้นิยามว่า Emperor เท่ากับจักรพรรดิ เรียกทับศัพท์ไปเลยว่า "สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอ" เข้าใจว่าเพิ่งมานิยามราวรัชกาลที่ 5 ครับ
หลักฐานตะวันตกส่วนใหญ่เรียกกษัตริย์สยามว่า ราชา/กษัตริย์ (King) เรียกรัฐสยามว่า ราชอาณาจักร (Kingdom) มาตั้งแต่แรกเข้ามาติดต่อในสมัยอยุทธยาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเพราะสยามในยุคนั้นยังไม่ได้มีอาณาเขตกว้างขวางนัก หัวเมืองส่วนใหญ่ล้วนอยู่ใต้ปกครองของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา มีประเทศราชบ้างเล็กน้อย ในสายตาชาวต่างชาติอาจจะดูใกล้เคียงกับราชอาณาจักรมากกว่าจักรวรรดิ
จนถึงในสมัยที่รัฐสยามมีความยิ่งใหญ่สามารถพิชิตประเทศราชไว้ในอำนาจจำนวนมาก เช่น สมัยสมเด็จพระนเรศ หรือ สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่สยามปกครองทั้งล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา มลายู สถานะในตอนนั้นตามหลักรัฐศาสตร์เรียกได้ว่าไม่ต่างจาก Empire และนักประวัติศาสตร์หลายคนก็นิยมว่าสยามเป็น "เจ้าจักรวรรรดิ" ในภูมิภาค แต่ที่ชาวยุโรปยังคงใช้คำว่า King และ Kingdom เข้าใจว่าอาจเป็นการเจาะจงเฉพาะสถานะของกษัตริย์สยามในรัฐของตนเองโดยไม่รวมประเทศราช ซึ่งไม่ได้ต่างจากจักรวรรดิในยุโรปที่กษัตริย์อาจเป็น King/Queen ในรัฐตนเอง แต่ครองตำแหน่งเป็นประมุขรัฐอื่นด้วย
ทำนองเดียวกับรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชสาส์นไปถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยขึ้นต้นว่า "สมเด็จพระบรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม เปนใหญ่ได้ครอบครองพระราชอาณาจักรสยามราษฎร์ แวดล้อมด้วยนานาประเทศราชชนบทต่าง ๆ ทุกทิศ คือลาวโยนลาวเฉียงในทิศพายัพแลอุดร ลาวกาวแต่ทิศอิสานจนบูรพ์ กำโพชาเฃมรแต่บูรพ์จนอาคเนย์ เมืองมลายูเปนอันมากแต่ทิศทักษิณจนหรดี แลบ้านเมืองกะเหรี่ยงบางเหล่าแต่ทิศปจิมจนพายัพย์ แลฃ่าชองแลชาติต่าง ๆ อื่น ๆ อีกเปนอันมาก" คือทรงเป็นกษัตริย์ของสยาม และยังเป็นราชาธิราชเหนือประเทศราชทั้งหลาย
แต่ทั้งนี้มีหลักฐานชั้นต้นของชาวยุโรปหลายชิ้นที่เรียกกษัตริย์สยามหรือรัฐใกล้เคียงว่าเป็น Emperor หรือเรียกสยามว่า Empire อยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าในสายตาของชาวยุโรปบางส่วนยุคนั้นมองว่ารัฐสยามเข้าข่ายเป็น Empire อยู่เหมือนกัน เช่นเดียวกับอังวะหรือหงสาวดีก็ถูกเรียกว่า Emperor เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น Cesar Fedrici ชาวอิตาลีที่เข้ามาหงสาวดีสมัยพระเจ้าบุเรงนองเรียกสยามว่า Imperiale seate และเรียกกษัตริย์สยามว่า Emperour หรือจดหมายเหตุของจอห์น ครอว์เฟิร์ด (John Crawfurd) ที่เข้ามาในสยามสมัยรัชกาลที่ 2 ก็เรียกสยามว่า Empire สลับกับ Kingdom แต่เรียกประมุขว่า King
สยามเองก็น่าจะตระหนักในความหมายนี้อยู่ ใน ค.ศ. 1685 ฟอลคอนแจ้งต่อบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) ว่าจดหมายที่ VOC ส่งมาจากปัตตาเวียควรเรียกสถานะของสมเด็จพระนารายณ์เป็น 'keizer' (Emperor) และกราบบังคมทูลว่า ‘zijn keizerlijk majestei' (His Imperial Majesty)
แต่ชาวยุโรปส่วนใหญ่ยังคงนิยมใช้ว่า King และ Kingdom เป็นหลัก จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองดึงอำนาจรวมศูนย์ สลายอำนาจประเทศราช ทำให้สยามแปรสภาพจากรัฐราชาธิราชอย่างโบราณเป็นการปกครองราชอาณาจักรเพียงหนึ่งเดียวโดยสมบูรณ์ครับ
ส่วนญี่ปุ่น ชาวยุโรปเรียกว่าประมุขญี่ปุ่นว่า Emperor มาตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะญี่ปุ่นในสมัยนั้นอยู่ในยุคเซ็นโงคุ บ้านเมืองแตกแยกเป็นจลาจลเพราะไดเมียวแคว้นต่างๆ ตั้งตนเป็นใหญ่ ครองอำนาจในแคว้นของตนเองเป็นอิสระไม่ต่างจากกษัตริย์ ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาจึงมองประมุขของญี่ปุ่นว่าเป็นจักรพรรดิที่ปกครองกษัตริย์หลายองค์ ดังที่พบหลักฐานในสมัยนั้นเรียกไดเมียวแคว้นต่างๆ ว่า King หรือ Prince
แต่ในอดีต หลักฐานของตะวันตกมักจะเรียกโชกุนซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบริหารตัวจริงว่าเป็น Emperor มากกว่าพระจักรพรรดิที่แทบไม่มีอำนาจทางการเมือง ชาวตะวันตกบางคนไม่ทราบด้วยว่าในยุคนั้นมีเท็นโนเป็นประมุข บางคนก็เรียกแยก คือเรียกเท็นโนว่า Ecclesiastical Emperor หรือจักรพรรดินักบวช เพราะเท็นโนทรงเป็นประธานนักบวชชินโต ในขณะที่เรียกโชกุนว่า Secular Emperor หรือ จักรพรรดิฆราวาส จนถึงราวสมัยเมจิที่อำนาจการปกครองกลับคืนสู่เท็นโน คำว่า Emperor จึงใช้เรียกพระจักรพรรดิผู้เดียว มาจนถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่สมัยเมจิ ญี่ปุ่นยกสถานะประเทศของตนเป็น เทโกกุ (帝國) คือจักรวรรดิ หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ขยายอำนาจไปยังประเทศต่างๆ จนกลายเป็นจักรวรรดิจริงๆ แม้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นสูญเสียสถานะจักรวรรดิกลายเป็นรัฐเดี่ยว แต่ประมุขของรัฐก็ยังถูกเรียกว่า Emperor เข้าใจว่าเพราะเรียกกันมายาวนานจนชินแล้วครับ
ปัจจุบันทั้งไทยและญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นการปกครองระบอบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญเหมือนกันแล้ว ประมุขทั้งสองประเทศไม่ได้ทรงมีสถานะที่แตกต่างกัน การเรียกว่า "จักรพรรดิ" หรือ "พระมหากษัตริย์" เป็นเพียงสิ่งที่สืบทอดมาจากสภาพการปกครองในอดีตเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกว่าใครใหญ่กว่าใครครับ
เราต้องพิจารณาว่าคำเรียกกษัตริย์ในภาษาต่างประเทศอาจอาจจะไม่ได้สอดคล้องกับสภาพการปกครองของอาณาจักรนั้นๆ ตามหลักรัฐศาสตร์เสมอไปครับ รวมถึงต้องคำนึงถึงบริบทของยุคสมัยด้วย
จักรพรรดิ (Emperor) ตามนิยามของตะวันตกทั่วไปหมายถึงประมุขที่มีอำนาจปกครองจักรวรรดิ (Empire) คือมีอำนาจเหนือรัฐหรือแว่นแคว้นจำนวนมาก หรือเป็นพระราชาธิราชที่มีอำนาจเหนือกษัตริย์หลายองค์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต้องเป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมากและมีจักรวรรดิแผ่ไพศาลจริงๆ เช่น จักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิจีน จักรพรรดิอินเดีย หรือตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) ที่เดิมได้รับการสถาปนาจากศาสนจักร
แต่ในทางปฏิบัติตำแหน่งจักรพรรดิอาจไม่ได้สัมพันธ์กับสภาพของรัฐเสมอไป มีหลายรัฐที่มีสภาพเป็นจักรวรรดิครองอาณานิคมจำนวนมาก แต่ประมุขไม่ได้ถูกเรียกขานว่าจักรพรรดิ หรืออย่าง Holy Roman Empire ในทางปฏิบัติประกอบด้วยราชรัฐจำนวนมากที่รวมตัวกันเป็นเพียงสมาพันธรัฐ (confederation) อย่างหลวมๆ เท่านั้น ตำแหน่งจักรพรรดิแม้จะถูกยกย่องให้มีสถานะเป็น primus inter pares แต่ไม่ได้มีอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือดินแดนอื่นๆ ในจักรวรรดิ
ตัวอย่างเช่น คาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงมีตำแหน่งเป็น Holy Roman Emperor ตามสถานะที่ได้รับการสถาปนาเป็นประมุขของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ตำแหน่งจักรพรรดิของพระองค์ครอบคลุมแค่เฉพาะจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ยังทรงมีตำแหน่งเป็นประมุขรัฐอื่นที่อยู่ใต้อำนาจจำนวนมาก ดังปรากฏในพระราชอิสริยยศคือ "Charles, by the grace of God, Emperor of the Romans, forever August, King of Germany, King of Italy, King of all Spains, of Castile, Aragon, León, of Hungary, of Dalmatia, of Croatia, Navarra, Grenada, Toledo, Valencia, Galicia, Majorca, Sevilla, Cordova, Murcia, Jaén, Algarves, Algeciras, Gibraltar, the Canary Islands, King of both Hither and Ultra Sicily, of Sardinia, Corsica, King of Jerusalem, King of the Indies, of the Islands and Mainland of the Ocean Sea, Archduke of Austria, Duke of Burgundy, Brabant, Lorraine, Styria, Carinthia, Carniola, Limburg, Luxembourg, Gelderland, Neopatria, Württemberg, Landgrave of Alsace, Prince of Swabia, Asturia and Catalonia, Count of Flanders, Habsburg, Tyrol, Gorizia, Barcelona, Artois, Burgundy Palatine, Hainaut, Holland, Seeland, Ferrette, Kyburg, Namur, Roussillon, Cerdagne, Drenthe, Zutphen, Margrave of the Holy Roman Empire, Burgau, Oristano and Gociano, Lord of Frisia, the Wendish March, Pordenone, Biscay, Molin, Salins, Tripoli and Mechelen."
ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน โอรสของคาร์ลที่ 5 ครองดินแดนมหาศาล แต่เนื่องจากไม่ได้ทรงเป็น Holy Roman Emperor ก็ไม่ได้ใช้พระอิสริยยศ Emperor เหมือนพระบิดา แต่มีอิสริยยศเป็น "Philip, by the grace of God second of his name, king of Castille, Leon, Aragon, Portugal, Navarre, Naples, Sicily, Jerusalem, Majorca, Sardinia, and the islands, Indies, and terra firma of the Ocean Sea; archduke of Austria; duke of Burgundy, Lothier, Brabant, Limbourg, Luxembourg, Guelders, and Milan; Count of Habsburg, Flanders, Artois, and Burgundy; Count Palatine of Hainault, Holland and Zeeland, Namur, Drenthe, Zutphen; prince of "Zvuanem"; marquis of the Holy Roman Empire; lord of Frisia, Salland, Mechelen, and of the cities, towns, and lands of Utrecht, Overissel, and Groningen; master of Asia and Africa"
ในยุคจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) อังกฤษครอบครองอาณานิคมทั่วโลก กษัตริย์อังกฤษยังมีสถานะเป็น King/Queen ของสหราชอาณาจักร แต่มีสถานะเป็นประมุขรัฐอื่นด้วย เช่นเมื่ออังกฤษสามารถผนวกอินเดียมาเป็นอาณานิคม รัฐสภาอังกฤษจึงผ่านพระราชบัญญัติพระราชอิสริยยศ ค.ศ. 1876 (Royal Titles Act 1876) ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียได้รับตำแหน่ง "Empress of India" หรือ "Kaisar-i-Hind" เข้าใจว่าพิจารณาตามสภาพของอินเดียที่ประกอบด้วยรัฐของมหาราชาจำนวนมาก (มีบันทึกว่าเดิมสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียอยากจะใช้ชื่อตำแหน่งว่า Empress of Great Britain, Ireland and India แต่นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคัดค้านเพราะเกรงจะเกิดประเด็นขัดแย้ง เข้าใจว่าเพราะการยกสถานะเป็น Empress ของอังกฤษและไอร์แลนด์อาจทำให้ถูกมองว่าแสดงถึงความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เลยเลี่ยงไปใช้เฉพาะอินเดียแทน) ทำให้กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อๆ มาล้วนมีตำแหน่งเป็น Emperor of India จนกระทั่งอินเดียเป็นเอกราช
ส่วนอาณาจักรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณปกครองอย่าง "รัฐราชาธิราช" (ซึ่งมีการนิยามว่าเทียบเท่า Empire) ที่แผ่ขยายอาณาเขตเหนือดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ กษัตริย์ไทยตั้งแต่โบราณก็มีคำเรียกยกย่องเกียรติยศตนเองในสร้อยพระนามเป็น "จักรพรรดิราช" หรือ "ราชาธิราช" เหนือแว่นแคว้นทั้งหลายอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นเพียงคำยกย่องว่ามีเกียรติยศเหนือกว่ากษัตริย์ทั่วไป แต่โดยนิยามแล้วอาจจะไม่ได้ตรงกับ Emperor ตามบรรทัดฐานยุโรปเสียทีเดียวครับ
ทั้งนี้เอกสารไทยสมัยโบราณ ไม่เคยเรียกแยกสถานะของกษัตริย์ตามอย่างภาษาตะวันตกเป็น King หรือ Emperor ส่วนใหญ่ก็เรียก "พระเจ้า" "พระเจ้าแผ่นดิน" "กษัตริย์" หรือ "พระมหากษัตริย์" เป็นคำเรียกอย่างกลางๆ โดยไม่ได้แบ่งแยกสูงต่ำ และใช้เรียกประมุขรัฐอื่นด้วย เช่น จักรพรรดิจีนสมัยโบราณเราก็เรียกแค่ว่า พระเจ้ากรุงจีน พระเจ้ากรุงตาฉิ่ง ไม่ได้พิเศษกว่ากษัตริย์เมืองอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนโปเลี่ยนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส หลักฐานในยุคนั้นก็ยังไม่ได้นิยามว่า Emperor เท่ากับจักรพรรดิ เรียกทับศัพท์ไปเลยว่า "สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอ" เข้าใจว่าเพิ่งมานิยามราวรัชกาลที่ 5 ครับ
หลักฐานตะวันตกส่วนใหญ่เรียกกษัตริย์สยามว่า ราชา/กษัตริย์ (King) เรียกรัฐสยามว่า ราชอาณาจักร (Kingdom) มาตั้งแต่แรกเข้ามาติดต่อในสมัยอยุทธยาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเพราะสยามในยุคนั้นยังไม่ได้มีอาณาเขตกว้างขวางนัก หัวเมืองส่วนใหญ่ล้วนอยู่ใต้ปกครองของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา มีประเทศราชบ้างเล็กน้อย ในสายตาชาวต่างชาติอาจจะดูใกล้เคียงกับราชอาณาจักรมากกว่าจักรวรรดิ
จนถึงในสมัยที่รัฐสยามมีความยิ่งใหญ่สามารถพิชิตประเทศราชไว้ในอำนาจจำนวนมาก เช่น สมัยสมเด็จพระนเรศ หรือ สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่สยามปกครองทั้งล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา มลายู สถานะในตอนนั้นตามหลักรัฐศาสตร์เรียกได้ว่าไม่ต่างจาก Empire และนักประวัติศาสตร์หลายคนก็นิยมว่าสยามเป็น "เจ้าจักรวรรรดิ" ในภูมิภาค แต่ที่ชาวยุโรปยังคงใช้คำว่า King และ Kingdom เข้าใจว่าอาจเป็นการเจาะจงเฉพาะสถานะของกษัตริย์สยามในรัฐของตนเองโดยไม่รวมประเทศราช ซึ่งไม่ได้ต่างจากจักรวรรดิในยุโรปที่กษัตริย์อาจเป็น King/Queen ในรัฐตนเอง แต่ครองตำแหน่งเป็นประมุขรัฐอื่นด้วย
ทำนองเดียวกับรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชสาส์นไปถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยขึ้นต้นว่า "สมเด็จพระบรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม เปนใหญ่ได้ครอบครองพระราชอาณาจักรสยามราษฎร์ แวดล้อมด้วยนานาประเทศราชชนบทต่าง ๆ ทุกทิศ คือลาวโยนลาวเฉียงในทิศพายัพแลอุดร ลาวกาวแต่ทิศอิสานจนบูรพ์ กำโพชาเฃมรแต่บูรพ์จนอาคเนย์ เมืองมลายูเปนอันมากแต่ทิศทักษิณจนหรดี แลบ้านเมืองกะเหรี่ยงบางเหล่าแต่ทิศปจิมจนพายัพย์ แลฃ่าชองแลชาติต่าง ๆ อื่น ๆ อีกเปนอันมาก" คือทรงเป็นกษัตริย์ของสยาม และยังเป็นราชาธิราชเหนือประเทศราชทั้งหลาย
แต่ทั้งนี้มีหลักฐานชั้นต้นของชาวยุโรปหลายชิ้นที่เรียกกษัตริย์สยามหรือรัฐใกล้เคียงว่าเป็น Emperor หรือเรียกสยามว่า Empire อยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าในสายตาของชาวยุโรปบางส่วนยุคนั้นมองว่ารัฐสยามเข้าข่ายเป็น Empire อยู่เหมือนกัน เช่นเดียวกับอังวะหรือหงสาวดีก็ถูกเรียกว่า Emperor เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น Cesar Fedrici ชาวอิตาลีที่เข้ามาหงสาวดีสมัยพระเจ้าบุเรงนองเรียกสยามว่า Imperiale seate และเรียกกษัตริย์สยามว่า Emperour หรือจดหมายเหตุของจอห์น ครอว์เฟิร์ด (John Crawfurd) ที่เข้ามาในสยามสมัยรัชกาลที่ 2 ก็เรียกสยามว่า Empire สลับกับ Kingdom แต่เรียกประมุขว่า King
สยามเองก็น่าจะตระหนักในความหมายนี้อยู่ ใน ค.ศ. 1685 ฟอลคอนแจ้งต่อบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) ว่าจดหมายที่ VOC ส่งมาจากปัตตาเวียควรเรียกสถานะของสมเด็จพระนารายณ์เป็น 'keizer' (Emperor) และกราบบังคมทูลว่า ‘zijn keizerlijk majestei' (His Imperial Majesty)
แต่ชาวยุโรปส่วนใหญ่ยังคงนิยมใช้ว่า King และ Kingdom เป็นหลัก จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองดึงอำนาจรวมศูนย์ สลายอำนาจประเทศราช ทำให้สยามแปรสภาพจากรัฐราชาธิราชอย่างโบราณเป็นการปกครองราชอาณาจักรเพียงหนึ่งเดียวโดยสมบูรณ์ครับ
ส่วนญี่ปุ่น ชาวยุโรปเรียกว่าประมุขญี่ปุ่นว่า Emperor มาตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะญี่ปุ่นในสมัยนั้นอยู่ในยุคเซ็นโงคุ บ้านเมืองแตกแยกเป็นจลาจลเพราะไดเมียวแคว้นต่างๆ ตั้งตนเป็นใหญ่ ครองอำนาจในแคว้นของตนเองเป็นอิสระไม่ต่างจากกษัตริย์ ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาจึงมองประมุขของญี่ปุ่นว่าเป็นจักรพรรดิที่ปกครองกษัตริย์หลายองค์ ดังที่พบหลักฐานในสมัยนั้นเรียกไดเมียวแคว้นต่างๆ ว่า King หรือ Prince
แต่ในอดีต หลักฐานของตะวันตกมักจะเรียกโชกุนซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบริหารตัวจริงว่าเป็น Emperor มากกว่าพระจักรพรรดิที่แทบไม่มีอำนาจทางการเมือง ชาวตะวันตกบางคนไม่ทราบด้วยว่าในยุคนั้นมีเท็นโนเป็นประมุข บางคนก็เรียกแยก คือเรียกเท็นโนว่า Ecclesiastical Emperor หรือจักรพรรดินักบวช เพราะเท็นโนทรงเป็นประธานนักบวชชินโต ในขณะที่เรียกโชกุนว่า Secular Emperor หรือ จักรพรรดิฆราวาส จนถึงราวสมัยเมจิที่อำนาจการปกครองกลับคืนสู่เท็นโน คำว่า Emperor จึงใช้เรียกพระจักรพรรดิผู้เดียว มาจนถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่สมัยเมจิ ญี่ปุ่นยกสถานะประเทศของตนเป็น เทโกกุ (帝國) คือจักรวรรดิ หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ขยายอำนาจไปยังประเทศต่างๆ จนกลายเป็นจักรวรรดิจริงๆ แม้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นสูญเสียสถานะจักรวรรดิกลายเป็นรัฐเดี่ยว แต่ประมุขของรัฐก็ยังถูกเรียกว่า Emperor เข้าใจว่าเพราะเรียกกันมายาวนานจนชินแล้วครับ
ปัจจุบันทั้งไทยและญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นการปกครองระบอบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญเหมือนกันแล้ว ประมุขทั้งสองประเทศไม่ได้ทรงมีสถานะที่แตกต่างกัน การเรียกว่า "จักรพรรดิ" หรือ "พระมหากษัตริย์" เป็นเพียงสิ่งที่สืบทอดมาจากสภาพการปกครองในอดีตเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกว่าใครใหญ่กว่าใครครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมเราไทยเราไม่ใช้คำว่าจักพรรดิ์ แต่ใช้คำว่าพระมหากษัตริย์ทั้งที่มีพิธีการมากมายเป็นแบบแผน แต่ญี่ปุ่นมีแค่แปปเดียวเสร็จ
ต่างกับของไทยเราซึ่งมี กระบี่ ดาบจริงโชว์ให้ดู มีพิธีการจัดหลายวัน
แต่เราไม่ได้ใช้คำว่าจักพรรดิ์