ภาพชีวิตแรงงานสาธารณสุข... สารพัดทุกข์ที่ถูกลืม
1 พฤษภาคม 2562 17:05
คุณภาพชีวิตของลูกจ้างที่เป็นดั่ง "มดงาน" ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นอย่างไร ทุกข์ของพวกเขาเคยมีใครรับรู้บ้างหรือไม่ ติดตามได้จากรายงานพิเศษของ คุณอนุรักษ์ เพ็ญสวัสดิ์
"ผมต้องควงเวรตั้งแต่ 8 โมงเช้าจนถึง 5 ทุ่ม ก็เพราะอยากได้เงิน"
"หนูคิดว่าอนาคตคงเปลี่ยนงานแน่นอน เพราะรายได้ไม่เพียงพอ"
นี่คือเสียงสะท้อนจากความน้อยเนื้อต่ำใจของกลุ่มลูกจ้าง.oสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 4 หมื่นคนทั่วประเทศ
หลายชีวิตต้องดำรงชีพด้วยเงินค่าจ้างรายวันที่ได้เฉลี่ยเพียง 325 บาทต่อวันเท่านั้น จนบางคนถึงกับบอกว่า "แรงงานต่างด้าว" ที่เข้ามาอาศัยทำงานในบ้านเรา ยังได้ค่าแรงมากกว่าพวกเขาเสียอีก
จำนวนบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีมากถึง 421,342 คน แบ่งเป็นข้าราชการราวๆ ครึ่งหนึ่ง ที่เหลืออีกกว่า 2 แสนคน ถูกบรรจุและจ้างงานในรูปแบบของพนักงานราชการ , พนักงานกระทรวงสาธารณสุข , พนักงานของรัฐ , ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว
ในกลุ่มลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จัดอยู่ในสายงานสนับสนุน แต่งานที่พวกเขารับผิดชอบ ไม่ต่างอะไรกับกระดูกสันหลังของงานบริการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น พนักงานขับรถพยาบาล , เจ้าหน้าที่เวรเปล , เจ้าหน้าที่เวชระเบียน , ผู้ประกอบอาหาร , แม่บ้านทำความสะอาด หรือแม้แต่กลุ่ม "แบ็ค ออฟฟิศ" อย่างฝ่ายธุรการ , การเงิน และบัญชี แต่คนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างเพียงน้อยนิด และแทบจะไร้สวัสดิการ
อย่างพนักงานเวรเปลรายนี้ เขาเป็นลูกจ้างรายวัน ได้รับเงินค่าจ้างวันละ 325 บาท /ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 8 โมงเช้าจนถึง 4 โมงเย็น รายรับต่อเดือนตกอยู่ที่ประมาณ 6 พันบาท แต่หากวันไหนหยุดงานก็จะไม่ได้รับค่าจ้าง ที่สำคัญคือไม่มีสวัสดิการอะไรเลย นอกจากเงินค่าจ้างรายวัน บางครั้งก็ต้องขอทำงานเพิ่มจนถึงเที่ยงคืนเพื่อให้ได้เงินค่าเวรมากขึ้น เพราะรายรับต่อวันไม่เพียงพอกับรายจ่าย
ชีวิตงานของวสันต์ ไม่ต่างอะไรกับสาวน้อยคนนี้ที่ทำหน้าที่ "พนักงานเอกสารทั่วไป" เธอบอกว่าได้รับเงินค่าจ้างวันละ 325 บาท ในฐานะลูกจ้างรายวัน แม้เธอจะตั้งความหวังกับการสอบบรรจุเพื่อให้ได้เป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เกือบ 1 ปีที่ทำงานมากลับไม่มีการเปิดสอบบรรจุเลยแม้แต่ครั้งเดียว
นอกจากเรื่องค่าตอบแทนที่บางคนได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องความเสี่ยงจากการทำงานที่พวกเขาสะท้อนให้ฟังด้วย อย่างพนักงานขับรถพยาบาลรายนี้ ต้องแบกรับความเป็นความตายของเพื่อนร่วมงานทุกครั้งที่ต้องขับรถออกไปเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน นั่นหมายความว่าเขาจะต้องรับผิดชอบด้วยตัวเองทั้งหมด สถานพยาบาลต้นสังกัดไม่รับผิดชอบ
ส่วนหนุ่มใหญ่คนนี้ทำงานมานานกว่า 36 ปี เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยตำแหน่งพนักงานขับรถพยาบาล แต่เมื่อช่างซ่อมประจำโรงพยาบาลขาดแคลน เขาก็ถูกโยกย้ายตำแหน่งไปเป็นช่าง ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับช่างเลย หนำซ้ำบางครั้งเมื่อคนขับรถพยาบาลลางาน เขาก็ต้องเปลี่ยนไปขับรถแทน ที่สำคัญเพดานเงินค่าตอบแทนก็ตันมานานกว่า 5 ปีแล้ว
เช่นเดียวกับหญิงสาวที่ตั้งครรภ์กว่า 7 เดือนรายนี้ เธอเป็นพนักงานประกอบอาหารของโรงพยาบาล หรือเรียกง่ายๆ ว่า "แม่ครัว" แม้เธอจะเป็นลูกจ้างรายเดือนมานานถึง 7 ปี แต่ค่าค่าตอบแทนก็เธอก็หยุดนิ่งอยู่ที่เดือนละ 9 พันกว่าบาท ทั้งๆ ที่ต้องทำงานหนักทุกวัน
การทำงานของลูกจ้างในสถานพยาบาลที่ต้องรับผิดชอบชีวิตผู้ป่วยนับพันนับหมื่นคน กลับมีสภาพไม่ต่างอะไรกับลูกจ้างรายวันตามโรงงานที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือ เหตุนี้เองจึงเกิดปัญหาเปลี่ยนงานกันแทบจะทุกเดือน บางคนลาออกจากเวรเปล จากตำแหน่งพนักงานขับรถพยาบาล ไปเป็นยามรักษาความปลอดภัยตามสถานประกอบการ เพราะได้ค่าจ้างวันละ 500 บาท
นี่ยังไม่นับตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะความรู้เฉพาะทางที่ร่ำเรียนมา ทั้งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่กำลังเกิดปัญหาสมองไหลอย่างรุนแรง และกำลังเขย่าวงการสาธารณสุขไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
http://www.nationtv.tv/main/program/378708621
ภาพชีวิตแรงงานสาธารณสุข... สารพัดทุกข์ที่ถูกลืม
1 พฤษภาคม 2562 17:05
คุณภาพชีวิตของลูกจ้างที่เป็นดั่ง "มดงาน" ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นอย่างไร ทุกข์ของพวกเขาเคยมีใครรับรู้บ้างหรือไม่ ติดตามได้จากรายงานพิเศษของ คุณอนุรักษ์ เพ็ญสวัสดิ์
"ผมต้องควงเวรตั้งแต่ 8 โมงเช้าจนถึง 5 ทุ่ม ก็เพราะอยากได้เงิน"
"หนูคิดว่าอนาคตคงเปลี่ยนงานแน่นอน เพราะรายได้ไม่เพียงพอ"
นี่คือเสียงสะท้อนจากความน้อยเนื้อต่ำใจของกลุ่มลูกจ้าง.oสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 4 หมื่นคนทั่วประเทศ
หลายชีวิตต้องดำรงชีพด้วยเงินค่าจ้างรายวันที่ได้เฉลี่ยเพียง 325 บาทต่อวันเท่านั้น จนบางคนถึงกับบอกว่า "แรงงานต่างด้าว" ที่เข้ามาอาศัยทำงานในบ้านเรา ยังได้ค่าแรงมากกว่าพวกเขาเสียอีก
จำนวนบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีมากถึง 421,342 คน แบ่งเป็นข้าราชการราวๆ ครึ่งหนึ่ง ที่เหลืออีกกว่า 2 แสนคน ถูกบรรจุและจ้างงานในรูปแบบของพนักงานราชการ , พนักงานกระทรวงสาธารณสุข , พนักงานของรัฐ , ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว
ในกลุ่มลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จัดอยู่ในสายงานสนับสนุน แต่งานที่พวกเขารับผิดชอบ ไม่ต่างอะไรกับกระดูกสันหลังของงานบริการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น พนักงานขับรถพยาบาล , เจ้าหน้าที่เวรเปล , เจ้าหน้าที่เวชระเบียน , ผู้ประกอบอาหาร , แม่บ้านทำความสะอาด หรือแม้แต่กลุ่ม "แบ็ค ออฟฟิศ" อย่างฝ่ายธุรการ , การเงิน และบัญชี แต่คนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างเพียงน้อยนิด และแทบจะไร้สวัสดิการ
อย่างพนักงานเวรเปลรายนี้ เขาเป็นลูกจ้างรายวัน ได้รับเงินค่าจ้างวันละ 325 บาท /ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 8 โมงเช้าจนถึง 4 โมงเย็น รายรับต่อเดือนตกอยู่ที่ประมาณ 6 พันบาท แต่หากวันไหนหยุดงานก็จะไม่ได้รับค่าจ้าง ที่สำคัญคือไม่มีสวัสดิการอะไรเลย นอกจากเงินค่าจ้างรายวัน บางครั้งก็ต้องขอทำงานเพิ่มจนถึงเที่ยงคืนเพื่อให้ได้เงินค่าเวรมากขึ้น เพราะรายรับต่อวันไม่เพียงพอกับรายจ่าย
ชีวิตงานของวสันต์ ไม่ต่างอะไรกับสาวน้อยคนนี้ที่ทำหน้าที่ "พนักงานเอกสารทั่วไป" เธอบอกว่าได้รับเงินค่าจ้างวันละ 325 บาท ในฐานะลูกจ้างรายวัน แม้เธอจะตั้งความหวังกับการสอบบรรจุเพื่อให้ได้เป็นลูกจ้างรายเดือน แต่เกือบ 1 ปีที่ทำงานมากลับไม่มีการเปิดสอบบรรจุเลยแม้แต่ครั้งเดียว
นอกจากเรื่องค่าตอบแทนที่บางคนได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องความเสี่ยงจากการทำงานที่พวกเขาสะท้อนให้ฟังด้วย อย่างพนักงานขับรถพยาบาลรายนี้ ต้องแบกรับความเป็นความตายของเพื่อนร่วมงานทุกครั้งที่ต้องขับรถออกไปเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน นั่นหมายความว่าเขาจะต้องรับผิดชอบด้วยตัวเองทั้งหมด สถานพยาบาลต้นสังกัดไม่รับผิดชอบ
ส่วนหนุ่มใหญ่คนนี้ทำงานมานานกว่า 36 ปี เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยตำแหน่งพนักงานขับรถพยาบาล แต่เมื่อช่างซ่อมประจำโรงพยาบาลขาดแคลน เขาก็ถูกโยกย้ายตำแหน่งไปเป็นช่าง ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับช่างเลย หนำซ้ำบางครั้งเมื่อคนขับรถพยาบาลลางาน เขาก็ต้องเปลี่ยนไปขับรถแทน ที่สำคัญเพดานเงินค่าตอบแทนก็ตันมานานกว่า 5 ปีแล้ว
เช่นเดียวกับหญิงสาวที่ตั้งครรภ์กว่า 7 เดือนรายนี้ เธอเป็นพนักงานประกอบอาหารของโรงพยาบาล หรือเรียกง่ายๆ ว่า "แม่ครัว" แม้เธอจะเป็นลูกจ้างรายเดือนมานานถึง 7 ปี แต่ค่าค่าตอบแทนก็เธอก็หยุดนิ่งอยู่ที่เดือนละ 9 พันกว่าบาท ทั้งๆ ที่ต้องทำงานหนักทุกวัน
การทำงานของลูกจ้างในสถานพยาบาลที่ต้องรับผิดชอบชีวิตผู้ป่วยนับพันนับหมื่นคน กลับมีสภาพไม่ต่างอะไรกับลูกจ้างรายวันตามโรงงานที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือ เหตุนี้เองจึงเกิดปัญหาเปลี่ยนงานกันแทบจะทุกเดือน บางคนลาออกจากเวรเปล จากตำแหน่งพนักงานขับรถพยาบาล ไปเป็นยามรักษาความปลอดภัยตามสถานประกอบการ เพราะได้ค่าจ้างวันละ 500 บาท
นี่ยังไม่นับตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะความรู้เฉพาะทางที่ร่ำเรียนมา ทั้งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่กำลังเกิดปัญหาสมองไหลอย่างรุนแรง และกำลังเขย่าวงการสาธารณสุขไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
http://www.nationtv.tv/main/program/378708621