การให้ออกซิเจนต่อผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเพียงการให้เพื่อเป็นจิตวิทยาในการรักษาใช่หรือไม่คะ

เรื่องมีอยู่ว่า พี่สาวของดิฉันป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โดยได้รับการรักษาจากโรงพยาลหลักทุกคอร์ส เรียบร้อยแล้ว และ คุณหมอก็แนะนำให้รักษาตามอาการ เพราะไม่มีอะไรจะรักษาแล้ว และกลับมาอยู่บ้านตามปกติ และอยู่มาจนมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก จึงพาไปรพ.เอกชนใกล้บ้านที่เราไว้วางใจ ซึ่งพอถึงโรงพยาบาลได้ให้ใส่สายออกซิเจน เพราะถ้าเอาออกเขาจะหายใจเองไม่ได้

ซึ่งคุณหมอที่รพ.เอกชนท่านนี้ ก็แจ้งประมาณว่าไม่สามารถรักษาอะไรได้อีก แค่ประคับประคองอาการไป ซึ่งได้แจ้งกับคนญาติคนไข้ว่า เมื่อปวดหรือมีภาวะเหนื่อยหายใจไม่ออก ก็จะใช้มอร์ฟีนให้กิน และ ฉีดตามลำดับ ซึ่งท้ายสุดคนไข้ก็จะหลับไปเอง ซึ่งญาติก็เห็นว่าจุดประสงค์การมารพ.นี้เพื่อให้พี่สาวจากไปอยากสงบ โดยคุณหมอไม่ได้บอกว่าจะใช้เวลากี่วัน

พี่สาวใส่สายออกซิเจนตลอดเวลาอยู่รพ. ยกเว้นตอนเอาข้าวใส่ปาก จะเปิดปากรับเข้าแล้วปิดแบบคำต่อคำ เพราะถ้าไม่ใส่เขาจะเหนื่อยหอบมาก จนกระทั่งวันหนึ่งแอร์ที่ห้องผู้ป่วยเสีย ซึ่งเสียบ่อยมาก ครั้งนี้เขาว่าคงเสียนาน ให้ย้ายห้องไปด้านข้างๆ และแล้วพยาบาลก็ถอดสายออกซิเจนจากผู้ป่วย เก็บสายเก็บไม่ให้เกะกะ แล้วเข็นผู้ป่วยมาอีกห้องหนึ่ง กว่าจะเสียบสายออกซิเจนได้ พี่สาวเราก็ร้องโวยวายว่า หายใจไม่ออก ร้องลั่น ทุรนทุราย แล้วสายออกซิเจนก็ถูกใส่ แต่ก็ยังทุรนทุราย ซึ่งเขาหายใจไม่ทันแล้ว มอร์ฟีนถูกฉีด แต่ไม่ทันการณ์ เขาเริ่มนิ่ง และจากไป

คำถามที่คาใจเราก็คือ ทำไมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา ถึงถอดสายออกซิเจนเขาออก ทำไมไม่ใส่ให้ผู้ป่วยระหว่างเข็นเคลี่อนย้าย
รองผู้อำนวยการรพ.นั้น ชี้แจ้งว่าผู้ป่วยมีระดับออกซิเจน 94% (ตอนถอดเราไม่เห็นเขาวัด) จึงไม่จำเป็นต้องใช้ ที่ให้ผู้ป่วยใส่สายออกซิเจนใส่ไว้ทุกวันเป็นจิตวิทยาการรักษาจริงหรือคะ  รบกวนช่วยแนะนำด้วยคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่