คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
1)อินโดนีเซียมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2018 โดยขาดดุลอยู่ในช่วง 2% ถึง 3% ของจีดีพี ปัจจัยนี้เองคือปัจจัยหลักที่กดดันให้เงินรูเปียอ่อนค่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
2)อินโดนีเซียมีหนี้ต่างประเทศอยู่ที่ราว 36% ของจีดีพี ซึ่งสูงที่สุดในทวีปเอเซีย โดยเมื่อสิ้นปี 2018 อยู่ที่ US$376.8 billion ทั้งนี้ 86% เป็นหนี้ระยะยาวหรือกำหนดชำระหนึ่งปีขึ้นไป เป็นหนี้ภาครรัฐ(ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ) $183.2 billion และหนี้ภาคเอกชน(รวมรัฐวิสาหกิจ) $190.6 billion
3)ในแต่ละปีอินโดนีเซียมักจะทำงบประมาณขาดดุลอยู่ราว 2% ของจีดีพี (ตามกฎหมายของอินโดนีเซีย ขาดดุลได้ไม่เกิน 3% ของจีดีพี) แล้วการไฟแนนซ์งบประมาณขาดดุลของรัฐบาลอินโดนีเซีย มักจะไปกุ้เงินจากต่างชาติ ที่เป็นเงินระยะสั้น เงินร้อน เสียประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณขาดดุล หนี้ภาครัฐของอินโดนีเซีย(ไม่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจ) อยู่ที่ 30% ของจีดีพี ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซีย เขาก็ว่าไม่เยอะเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว
4)ต่างชาติถือครองตราสารหนี้อินโดนีเซียทั้งภาครัฐ และ เอกชน อยู่เป็นจำนวนมาก แล้วมักจะหวั่นไหวได้ง่าย นอกจากนั้นต่างชาติก็ถือครองหุ้นในอินโดนีเซีอยู่มากเช่นกัน
5)การอ่อนค่าเงินของตุรกี และ อาร์เยนติน่า เมื่อปี 2018 ส่งผลกระทบต่ออินโดนีเซียอย่างจัง ทำให้เงินรูเปียอ่อนค่า รัฐบาลต้องใช้ทุนสำรองราว 10% ของทุนสำรองที่มีอยู่เพื่อปกป้องให้เงินรุเปีย กลับมามีเสถียรภาพ
6)อินโดนีเซ๊ย มีปัญหา เรื่องการที่ภาคเอกชนไม่ยอมนำเงินตราต่างประเทศแลกเป็นสกุลเงินท้องถิ่น แต่พ่อค้าอินโดนีเซีย มักจะเก็บเงินตราต่างประเทศไว้ที่ต่างประเทศ รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามแก้เรื่องนี้มานานแล้ว ทั้งขู่ทั้งปลอบ แต่ก็แก้ไม่ได้ซักที เพราะว่าต้นเหตุของปัญหาคือ ปัญหาเชื้อชาติระหว่างคนจีน และ มุสลิม ในอินโดนีเซีย
7)สาเหตุที่อินโดนีเซีย มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องมาหลายปี เพราะต้องนำเข้าสินค้าทุน และวัตถุดิบขั้นต้นเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม รัฐบาลพยายามจะห้ามนำเข้าสินค้าพวกนี้แต่ถูกต่อต้านจากภาคเอกชน เนื่องจากจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมหยุดการผลิตไปเลย นอกจากนั้นการเร่งขยายโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซีย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพราะต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
2)อินโดนีเซียมีหนี้ต่างประเทศอยู่ที่ราว 36% ของจีดีพี ซึ่งสูงที่สุดในทวีปเอเซีย โดยเมื่อสิ้นปี 2018 อยู่ที่ US$376.8 billion ทั้งนี้ 86% เป็นหนี้ระยะยาวหรือกำหนดชำระหนึ่งปีขึ้นไป เป็นหนี้ภาครรัฐ(ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ) $183.2 billion และหนี้ภาคเอกชน(รวมรัฐวิสาหกิจ) $190.6 billion
3)ในแต่ละปีอินโดนีเซียมักจะทำงบประมาณขาดดุลอยู่ราว 2% ของจีดีพี (ตามกฎหมายของอินโดนีเซีย ขาดดุลได้ไม่เกิน 3% ของจีดีพี) แล้วการไฟแนนซ์งบประมาณขาดดุลของรัฐบาลอินโดนีเซีย มักจะไปกุ้เงินจากต่างชาติ ที่เป็นเงินระยะสั้น เงินร้อน เสียประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณขาดดุล หนี้ภาครัฐของอินโดนีเซีย(ไม่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจ) อยู่ที่ 30% ของจีดีพี ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซีย เขาก็ว่าไม่เยอะเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว
4)ต่างชาติถือครองตราสารหนี้อินโดนีเซียทั้งภาครัฐ และ เอกชน อยู่เป็นจำนวนมาก แล้วมักจะหวั่นไหวได้ง่าย นอกจากนั้นต่างชาติก็ถือครองหุ้นในอินโดนีเซีอยู่มากเช่นกัน
5)การอ่อนค่าเงินของตุรกี และ อาร์เยนติน่า เมื่อปี 2018 ส่งผลกระทบต่ออินโดนีเซียอย่างจัง ทำให้เงินรูเปียอ่อนค่า รัฐบาลต้องใช้ทุนสำรองราว 10% ของทุนสำรองที่มีอยู่เพื่อปกป้องให้เงินรุเปีย กลับมามีเสถียรภาพ
6)อินโดนีเซ๊ย มีปัญหา เรื่องการที่ภาคเอกชนไม่ยอมนำเงินตราต่างประเทศแลกเป็นสกุลเงินท้องถิ่น แต่พ่อค้าอินโดนีเซีย มักจะเก็บเงินตราต่างประเทศไว้ที่ต่างประเทศ รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามแก้เรื่องนี้มานานแล้ว ทั้งขู่ทั้งปลอบ แต่ก็แก้ไม่ได้ซักที เพราะว่าต้นเหตุของปัญหาคือ ปัญหาเชื้อชาติระหว่างคนจีน และ มุสลิม ในอินโดนีเซีย
7)สาเหตุที่อินโดนีเซีย มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องมาหลายปี เพราะต้องนำเข้าสินค้าทุน และวัตถุดิบขั้นต้นเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม รัฐบาลพยายามจะห้ามนำเข้าสินค้าพวกนี้แต่ถูกต่อต้านจากภาคเอกชน เนื่องจากจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมหยุดการผลิตไปเลย นอกจากนั้นการเร่งขยายโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซีย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพราะต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
แสดงความคิดเห็น
ขอถามเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจเวียดนาม อินโดนีเซียครับ
แบบนี้แสดงว่าเวียดนาม อินโดผ่านวิกฤตที่ควรจะเป็นต้มยำกุ้งแบบไทยไปแบบsoft landingใช่มั้ยครับ? แบบได้เห็นบทเรียนจากหลายประเทศในเอเชียปี40 เลยรู้วิธีควบคุมและจัดการกับฟองสบู่ได้ดีกว่าไทยเมื่อ20ปีก่อนที่ยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ เช่นอินโดที่ปีสองปีมานี้เคยถูกโจมตีค่าเงินจนอ่อนค่าไปมากแต่ก็จัดการได้จนไม่เอาเงินไปสู้จนหมดแบบไทยจนเกิดเป็นวิกฤตหนัก
เพราะตอนนี้อินโดมีGPD per capitaแซงไทยสมัยต้มยำกุ้งไปแล้ว แสดงว่าผ่านระดับการพัฒนาคอขวดที่จะฟองสบู่แตกสำหรับประเทศกำลังพัฒนาไปได้ด้วยsoft landing อีกทั้งดัชนีcorruptionก็ดีแซงหน้าไทยไปนับสิบอันดับด้วยในตอนนี้ ส่วนเวียดนามต้องรอดูต่อไปก่อน แต่เหมือนพรรคคอมเวียดนามก็ดูจะจัดการได้ค่อนข้างดีด้วยการทยอยแปรรูปรัฐวิสาหกิจขายหุ้นเอาเงินไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกับลดระดับหนี้สาธารณะที่สูง เท่ากับว่าสองประเทศนี้ยังสามารถเติบโตร้อนแรงได้พร้อมกับควบคุมวิกฤตไม่ให้เหมือนต้มยำกุ้งได้ใช่มั้ยครับ?
ปล.ผมไม่ได้ชังชาตินะครับ ผมคิดว่าไทยเจริญกว่าเวียดนาม อินโดอยู่แล้ว เพียงแต่อยากทราบว่า เวียดนาม อินโดที่โตเร็วจะไม่เกิดวิกฤตระดับต้มยำกุ้งชนิดต้องเลหลังขายกิจการที่ยังดีให้ต่างชาติแบบไทยเมื่อ20ปีก่อนค่อนข้างชัวร์ใช่มั้ยครับ