ทำไมกล้วยที่อยู่ในข้าวต้มมัดถึงเป็นสีแดง

กระทู้คำถาม
ผมเข้าใจว่ามันโดนความร้อนถึงเป็นสีแดง แต่กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชีหรือว่ากล้วยที่เป็นของหวานต่างๆ มันก็โดนความร้อนเหมือนกัน แต่ก็ไม่ยักเปลี่ยนสี กลับเป็นสีเหลือง สีขาวตามธรรมชาตของมัน ใครรู้ช่วยบอกที่ ครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
การที่เนื้อกล้วยในข้าวต้มมัดออกสีแดง .....

เป็นเพราะว่าสารในกลุ่ม Proanthocyanidin ในเนื้อกล้วยน้ำว้า  ถูกความร้อนจากการนึ่งข้าวต้มมัดเป็นเวลานานครับ
สาร Proanthocyanidin นี้  จะมีอยู่ในกล้วยอยู่แล้ว  แต่ละสายพันธ์จะไม่เท่ากัน  ในกล้วยหอม และ กล้วยไข่เมื่อสุกแล้ว
แทบจะไม่มีสาร Proanthocyanidin นี้เลย  แต่ในกล้วยน้ำว้ายังมีอยู่ครับ  เมื่อสารนี้เจอสภาพกรดในเนื้อกล้วย
และถูกความร้อนนาน ๆ  ก็จะทำปฏิกิริยากับกรดให้สาร Phlobaphene ที่มีสีแดงออกมา

ในกล้วยไข่เชื่อม  เราจะไม่เห็นมันเป็นสีแดงเลยเพราะสาร Proanthocyanidin ไม่มีตามที่กล่าวไปแล้ว
ส่วนกล้วยน้ำว้าเชื่อม  จะมีสีแดงตามกลไกที่กล่าวไป  และจะแดงมากด้วยเพราะความร้อนของน้ำเชื่อม
สูงกว่าอุณหภูมิในการนึ่งข้าวต้มมัดครับ

หากลองสังเกตุสูตรอาหารโบราณ  จะเห็นว่ากล้วยน้ำว้าเชื่อมจะใช้กล้วยที่ "ห่าม" เปลือกเขียวอมเหลือง
ซึ่ง กล้วยที่ห่ามแบบนี้จะมีสาร Proanthocyanidin อยู่มากกว่ากล้วยสุก  และมีความเป็นกรดมาก  ดังนั้น  
กล้วยเชื่อมจึงออกมา "แดง" มากเลยครับ  เนื่องจากสาร Phlobaphene เกิดขึ้นมากกว่า

ส่วนกล้วยเชื่อม  กล้วยบวชชี  ที่มันไม่เป็นสีแดงเพราะกล้วยเชื่อมอันนั้นคือ "กล้วยไข่" ครับ
กล้วยบวชชีก็ยังไม่ได้รับความร้อนนานเพียงพอ  เพราะสูตรในการทำกล้วยบวชชีจะต้มเพียง 10 นาที เท่านั้น
ความคิดเห็นที่ 6

เพจ: เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว

ว่าด้วย #เกร็ดความรู้ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ ถึงเรื่องที่ว่า #ทำไมกล้วยไข่เชื่อมมีสีเหลือง  และไม่แดงเหมือนกล้วยน้ำว้าเชื่อมเลยนะเออ!!

เมื่อเงื่อนไขของการเชื่อมกล้วยน้ำว้าสีแดงนั้นต้องมีปัจจัยสามสิ่ง (จะขาดสิ่งหนึ่งใดไม่ได้เลย 😂) ที่ทำให้เกิดสารสีแดงอย่าง Tannin Red หรือมีชื่อทางเคมีว่า Phlobaphenes นั้นเป็นการรวมร่างของ

1.) กรด ซึ่งเป็นสารให้รสเปรี้ยวจากกรดธรรมชาติที่อยู่ในเนื้อกล้วย มีมากในกล้วยที่ห่ามกำลังพอดี หากดิบไปก็จะมีน้อย หากสุกไปก็จะลดน้อยถอยลงไปบ้าง และถึงเติมน้ำมะนาวลงไปยังไงก็ไม่สามารถแทรกซึมเข้ากล้วยได้นะเออ 😜😜

2.) Condensed tannin เป็นสารให้รสฝาด มีมากในกล้วยที่ยังดิบและห่ามอยู่ พอสุกปุ๊บก็จะหายไป ซึ่งกล้วยไข่นั้นเมื่อห่ามแล้วแทนนินจะแทบไม่มีเลย

3.) อุณหภูมิที่ร้อนพอในระยะเวลาที่นานพอ (อย่างต่ำก็ต้องที่เดือด และระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเป็นต้น) ซึ่งการเชื่อมกล้วยไข่นั้นเชื่อมได้นานเกิน 15 นาทีก็เละแล้ว 😂😂

โดยที่ทั้งกรดและสาร condensed tannin นั้นจะต้องมีติดตัวในกล้วยน้ำว้าอยู่แล้ว ดังนั้นการเลือกกล้วยน้ำว้าที่มีระยะความสุกจะมาเชื่อมให้แดงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ดังที่แอดเคยเล่าในลิงก์นี้

https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911/1185064854865280?type=3&sfns=mo

แต่ในขณะที่กล้วยไข่ในระยะความสุกที่นำมาเชื่อมนั้นมี condensed tannin และกรดที่ต่ำกว่ากล้วยน้ำว้า อีกทั้งระยะเวลาในการเชื่อมของกล้วยไข่นั้นสั้นกว่ากล้วยน้ำว้ามาก (แหงล่ะ!! ขืนเชื่อมเท่ากล้วยน้ำว้านี่ กล้วยไข่ก็คงเละเป็นกล้วยกวนแน่ๆ 😂😂)

#กล้วยแต่ละอันแข็งแรงไม่เท่ากัน
#ความฝาดและเปรี้ยวก็ต่างกัน
#ทำให้ทำกิจกรรมได้นานไม่เท่ากัน (กิจกรรมเชื่อมนะเออ 😜😜)
#กล้วยน้ำว้าเชื่อมสีแดงสดใส
#กล้วยไข่เชื่อมสีเหลืองเรืองรอง

สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปกล้วยไข่เชื่อมที่แสนน่าทานจากลิงก์นี้ด้วยนะครับ

https://www.pinterest.com/pin/199988039689886368/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่