เมื่อความเชื่อผิดๆ ทำให้ "โรคหัด" กลับมาระบาดอีกครั้ง
27 เม.ย. 62
โรคหัด กลับมาระบาดอย่างรุนแรงอีกครั้งนับว่าเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด ทั้งที่เมื่อ 10 ปีก่อนมีการวางแนวทางในการป้องกันโรคหัดด้วยการให้เด็กรับวัคซีนตั้งแต่เกิด แต่กลายเป็นว่าในช่วง 3 ปีหลังสุดโรคหัดกลับมาระบาดอย่างรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยและสหรัฐอเมริกาที่เคยประกาศในปี 2000 ว่าโรคหัดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เรามาดูกันว่า ทำไมโรคที่เกือบจะควบคุมได้แล้ว กลับมาระบาดอีกครั้ง และ วิธีป้องกันที่ที่สุดต้องทำอย่างไร
1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก
รายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลก(World Health Organization – WHO) ได้เปิดเผยตัวเลขการระบาดของโรคหัดในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2019 ว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นถึง 300 เปอร์เซนต์โดยมีจำนวนผู้ป่วย สูงถึง 112,000 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในปี 2018 ที่มีเพียง 28,000 ราย นับเป็นการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคหัดในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคหัดตามรายงานขององค์การอนามัยโรคนั้นได้แก่ คองโก เอธิโอเปีย จอร์เจีย คาซัคสถาน คีย์จีย์กิสสถาน, มาดากัสก้า, พม่า , ฟิลิปปินส์ ซูดาน ไทย และ ยูเครน ซึ่งตามรายงานนั้นผู้ป่วยโรคหัดส่วนใหญ่เป็นเด็ก และ มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
2. การต่อต้านวัคซีนในแถบอเมริกา
การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยโรคหัด นั้นได้สร้างความกังวลใจให้กับ องค์การอนามัยโลก และ หน่วยงานสาธารณาสุขของประเทศที่กำลังมีโรคหัดระบาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะ โรคหัด นั้นถ้าเป็นในสหรัฐอเมริกาสามารถควบคุมการระบาดได้นานและก่อนหน้านี้การระบาดของโรคหัดทั่วโลกก็ลดลง เพราะมีการรณรงค์อย่างจริงจังให้มีการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคหัดกับเด็กเล็ก เนื่องจากโรคหัดนั้นสามารถติดต่อกันได้ง่าย เพียงแค่ถูกไอ หรือ จามใส่ แล้วบุคคลคนนั้นไม่ได้ฉีดไว้รัสเพื่อป้องกัน
การกลับมาระบาดของโรคหัดอีกครั้งทั้งในสหรัฐอเมริกา และ อีก 11 ประเทศในด้านบนนั้น นับเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างมีนัยยะสำคัญ และสาเหตุหนึ่งมาจากความเชื่อเรื่องการฉีดวัคซีนไม่สำคัญสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีหลังและความเชื่อดังกล่าวทำให้มีเด็กจำนวนมากไม่ได้รับวัคซีน ป้องกันโรคหัด ที่ควรจะได้รับตั้งแต่แรกเกิด ความเชื่อเรื่องการไม่รับวัคซีน จะทำให้เด็กแข็งแรง นั้นส่วนหนึ่งมาจากการปลูกฝังความเชื่อผิดๆที่ว่า “ฉีดวัคซีนแล้วจะเป็น ออทิสซึ่ม” ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
3. เด็กติดเชื้อง่าย เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่โรงเรียน
ทั้งนี้เมื่อเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน ต้องมาเรียนร่วมกับเด็กคนอื่นโอกาสที่ เด็กกลุ่มดั่งกล่าวอาจติดเชื้อหัด โดยไม่รู้ตัวและทำให้เพื่อนร่วมชั้นติดโรคหัดไปด้วย นั้นมีความเป็นไปได้ เหนืออื่นใด ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด อาจทำให้ผู้ติดเชื้อนั้น ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ และ ปอดอักเสบ
ด้วยความที่โรคหัดติดต่อกันได้อย่างง่ายดายจากการไอ จาม และ สัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย เมื่อติดเชื้อแล้วระยะแรกจมีอาการไข้สูง ไอ น้ำมูกไหล เยื่อจมูกอักเสบ ตาแดงจากเหยื่อตาอักเสบ จากนั้นสองสามวันจะมีจุดสีขาวขึ้ในปากก่อนจะมีผื่นแดงในอีกสามวันต่อมา โดยจะเริ่มที่ใบหน้าก่อนจะลามไปทั่วร่างกาย
หนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหัด คือการฉีดวัคซีนโรคหัด ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี ผลจากการใช้วัคซีนนี้ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัดลดลงถึง 75% ในช่วง ค.ศ. 2000-2013 ซึ่งเป็นเด็กทั่วโลกถึง 85% ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการป้องกันโรคหัด โดยการใช้วัคซีน และ นี่คือหนทางที่ดีที่สุด เพื่อทำให้เด็กไม่ต้องเผชิญกับโรคติดต่อ ในขณะที่ร่างกายยังมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่
https://www.sanook.com/health/15905
เมื่อความเชื่อผิดๆ ทำให้ "โรคหัด" กลับมาระบาดอีกครั้ง
27 เม.ย. 62
โรคหัด กลับมาระบาดอย่างรุนแรงอีกครั้งนับว่าเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด ทั้งที่เมื่อ 10 ปีก่อนมีการวางแนวทางในการป้องกันโรคหัดด้วยการให้เด็กรับวัคซีนตั้งแต่เกิด แต่กลายเป็นว่าในช่วง 3 ปีหลังสุดโรคหัดกลับมาระบาดอย่างรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยและสหรัฐอเมริกาที่เคยประกาศในปี 2000 ว่าโรคหัดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เรามาดูกันว่า ทำไมโรคที่เกือบจะควบคุมได้แล้ว กลับมาระบาดอีกครั้ง และ วิธีป้องกันที่ที่สุดต้องทำอย่างไร
1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก
รายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลก(World Health Organization – WHO) ได้เปิดเผยตัวเลขการระบาดของโรคหัดในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2019 ว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นถึง 300 เปอร์เซนต์โดยมีจำนวนผู้ป่วย สูงถึง 112,000 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในปี 2018 ที่มีเพียง 28,000 ราย นับเป็นการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคหัดในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคหัดตามรายงานขององค์การอนามัยโรคนั้นได้แก่ คองโก เอธิโอเปีย จอร์เจีย คาซัคสถาน คีย์จีย์กิสสถาน, มาดากัสก้า, พม่า , ฟิลิปปินส์ ซูดาน ไทย และ ยูเครน ซึ่งตามรายงานนั้นผู้ป่วยโรคหัดส่วนใหญ่เป็นเด็ก และ มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
2. การต่อต้านวัคซีนในแถบอเมริกา
การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยโรคหัด นั้นได้สร้างความกังวลใจให้กับ องค์การอนามัยโลก และ หน่วยงานสาธารณาสุขของประเทศที่กำลังมีโรคหัดระบาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะ โรคหัด นั้นถ้าเป็นในสหรัฐอเมริกาสามารถควบคุมการระบาดได้นานและก่อนหน้านี้การระบาดของโรคหัดทั่วโลกก็ลดลง เพราะมีการรณรงค์อย่างจริงจังให้มีการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคหัดกับเด็กเล็ก เนื่องจากโรคหัดนั้นสามารถติดต่อกันได้ง่าย เพียงแค่ถูกไอ หรือ จามใส่ แล้วบุคคลคนนั้นไม่ได้ฉีดไว้รัสเพื่อป้องกัน
การกลับมาระบาดของโรคหัดอีกครั้งทั้งในสหรัฐอเมริกา และ อีก 11 ประเทศในด้านบนนั้น นับเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างมีนัยยะสำคัญ และสาเหตุหนึ่งมาจากความเชื่อเรื่องการฉีดวัคซีนไม่สำคัญสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีหลังและความเชื่อดังกล่าวทำให้มีเด็กจำนวนมากไม่ได้รับวัคซีน ป้องกันโรคหัด ที่ควรจะได้รับตั้งแต่แรกเกิด ความเชื่อเรื่องการไม่รับวัคซีน จะทำให้เด็กแข็งแรง นั้นส่วนหนึ่งมาจากการปลูกฝังความเชื่อผิดๆที่ว่า “ฉีดวัคซีนแล้วจะเป็น ออทิสซึ่ม” ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
3. เด็กติดเชื้อง่าย เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่โรงเรียน
ทั้งนี้เมื่อเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน ต้องมาเรียนร่วมกับเด็กคนอื่นโอกาสที่ เด็กกลุ่มดั่งกล่าวอาจติดเชื้อหัด โดยไม่รู้ตัวและทำให้เพื่อนร่วมชั้นติดโรคหัดไปด้วย นั้นมีความเป็นไปได้ เหนืออื่นใด ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด อาจทำให้ผู้ติดเชื้อนั้น ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ และ ปอดอักเสบ
ด้วยความที่โรคหัดติดต่อกันได้อย่างง่ายดายจากการไอ จาม และ สัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย เมื่อติดเชื้อแล้วระยะแรกจมีอาการไข้สูง ไอ น้ำมูกไหล เยื่อจมูกอักเสบ ตาแดงจากเหยื่อตาอักเสบ จากนั้นสองสามวันจะมีจุดสีขาวขึ้ในปากก่อนจะมีผื่นแดงในอีกสามวันต่อมา โดยจะเริ่มที่ใบหน้าก่อนจะลามไปทั่วร่างกาย
หนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหัด คือการฉีดวัคซีนโรคหัด ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี ผลจากการใช้วัคซีนนี้ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัดลดลงถึง 75% ในช่วง ค.ศ. 2000-2013 ซึ่งเป็นเด็กทั่วโลกถึง 85% ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการป้องกันโรคหัด โดยการใช้วัคซีน และ นี่คือหนทางที่ดีที่สุด เพื่อทำให้เด็กไม่ต้องเผชิญกับโรคติดต่อ ในขณะที่ร่างกายยังมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่
https://www.sanook.com/health/15905