Credit :
https://www.bbc.com/thai/international-48068232
ผมพยายามสงบสติอารมณ์ เพื่อใช้อากาศที่เหลืออยู่ให้น้อยที่สุด"
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2012 คริส เลมอนส์ นักประดาน้ำมืออาชีพชาวอังกฤษวัย 39 ปี ต้องพบกับเหตุการณ์เฉียดเข้าใกล้ความตายมากที่สุดในชีวิต เมื่อสายส่งอากาศหายใจจากเรือที่ควบคุมงานก่อสร้างใต้ทะเลของเขาขาดสะบั้น ทำให้เขาตกอยู่ในภาวะวิกฤติที่อากาศสำรองหมดลงใน 5 นาที คริสหมดลมหายใจอยู่ที่ก้นทะเลลึกอันมืดสนิทนานเกือบครึ่งชั่วโมง ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือและรอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์
เรื่องราวที่เหลือเชื่อของคริสทำให้ผู้คนทั่วไปและบรรดานักวิทยาศาสตร์พากันตั้งคำถามว่า เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีมนุษย์รอดชีวิตมาได้จากการขาดอากาศหายใจเป็นเวลานานขนาดนั้น เพราะตามปกติแล้วสมองจะหยุดทำงานเมื่อขาดออกซิเจนไปเพียง 2-3 นาที ซึ่งจะทำให้คนผู้นั้นเสียชีวิตลงได้อย่างรวดเร็ว
เรื่องราวของคริสได้รับการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์สารคดี "ลมหายใจเฮือกสุดท้าย" หรือ Last Breath
อุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน
ในวันที่เกิดเหตุ คริสลงดำน้ำปฏิบัติงานตามปกติที่ก้นทะเลเหนือ (North Sea) ในระดับความลึก 100 เมตรจากผิวน้ำ โดยกำลังซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันดิบจากบ่อน้ำมันใต้ทะเล ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองอาเบอร์ดีนของสกอตแลนด์ไปราว 204 กิโลเมตร
ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ คริสต้องใช้วิธีการดำน้ำแบบอิ่มตัว (Saturation diving) ซึ่งนักประดาน้ำจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในห้องปรับความดันบนเรือนานหลายวันหรือนานนับเดือน เพื่อปรับสภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับการทำงานใต้ทะเลลึกที่มีความดันสูง ซึ่งภาวะนี้ไนโตรเจนจะสามารถละลายเข้าไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้จนอิ่มตัว
หากนักประดาน้ำไม่ได้รับการปรับความดันร่างกายทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติงานแล้ว จะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตจากโรคน้ำหนีบ (Decompression sickness) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไนโตรเจนกลายสภาพเป็นฟองก๊าซในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ขณะที่นักประดาน้ำคลายความดันขึ้นสู่ผิวน้ำ
ในวันที่เกิดเหตุ คริสลงปฏิบัติงานด้วยระฆังดำน้ำ พร้อมกับเพื่อนร่วมงานอีกสองคนคือ เดฟ ยูอาซา ซึ่งเป็นนักประดาน้ำเช่นกัน รวมทั้งดันแคน ออลค็อก ซึ่งควบคุมงานอยู่ภายในระฆังดำน้ำ คริสมีประสบการณ์ดำน้ำแบบอิ่มตัวน้อยกว่าเพื่อนคือเพียง 1 ปีครึ่ง แต่เขาก็เป็นนักประดาน้ำมืออาชีพมาได้นานกว่า 8 ปีแล้ว
การซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันดิบในวันนั้นเริ่มขึ้นโดยไม่มีสิ่งใดผิดปกติ แต่ไม่นานนัก สภาพคลื่นลมปั่นป่วนบนผิวน้ำทำให้เรือที่ควบคุมการทำงานใต้น้ำอยู่เคลื่อนจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการนำร่องและยึดพิกัดตำแหน่งของเรือขัดข้องชั่วคราว ทำให้เรือลากเอาสายเคเบิลหนาที่เป็นทั้งสายส่งไฟฟ้า สัญญาณสื่อสาร และส่งอากาศหายใจลงไปยังนักประดาน้ำด้านล่างหรือ "สายสะดือต่อชีวิต" ขาดออก
ในตอนแรกแรงดึงสายเคเบิลจากเรือทำให้คริสหงายหลังล้มลง เขาพยายามจะกลับขึ้นไปในระฆังดำน้ำ แต่สายเคเบิลดังกล่าวกลับไปติดอยู่กับโครงของสิ่งก่อสร้างใต้น้ำอย่างแน่นหนา ทำให้มันถูกดึงจนขาดในที่สุด ในขณะที่ตัวของคริสเองก็ถูกลากเข้าไปติดอยู่ในคานโลหะด้วย เดฟ ยูอาซา เพื่อนร่วมงานของเขามองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้เพราะเขาถูกเรือลากออกห่างจากจุดเกิดเหตุไปทุกที
คริสหมดลมหายใจอยู่ที่ก้นทะเลลึกอันมืดสนิทนานเกือบครึ่งชั่วโมง ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือและรอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์
รอดได้อย่างปาฏิหาริย์
ขณะนี้ก้นทะเลอยู่ในสภาพที่มืดสนิทไร้แสงไฟส่อง คริสรวบรวมสติลุกขึ้นยืน หมุนปุ่มที่หน้ากากดำน้ำเพื่อปล่อยให้อากาศสำรองในถังที่แบกไว้บนหลังไหลเข้ามา แต่อากาศหายใจที่ว่านี้มีเพียงพอให้ใช้ต่อไปได้แค่ 6 นาทีเท่านั้น เขาพยายามคลำทางในความมืดเพื่อปีนขึ้นมาบนยอดสุดของโครงสิ่งก่อสร้างใต้ทะเล หวังว่าจะได้พบระฆังดำน้ำรอเขาอยู่ที่นั่น แต่ก็ไม่พบสิ่งใดที่พอจะช่วยชีวิตเขาได้ทั้งสิ้น
คริสเล่าว่า "ผมพยายามสงบสติอารมณ์ เพื่อใช้อากาศที่เหลืออยู่ให้น้อยที่สุด นาทีนั้นผมตัดสินใจว่าคงจะไม่มีใครช่วยเหลือผมได้แล้ว จึงขดตัวลงเป็นก้อนกลมแล้วหายใจช้า ๆ"
ดร. ไมค์ ทิปตัน ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธของสหราชอาณาจักรบอกว่า "ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถกักเก็บออกซิเจนไว้ได้มากนัก บางทีอาจจะเก็บได้แค่เพียงไม่กี่ลิตร ออกซิเจนนี้จะถูกใช้หมดไปช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับอัตราการเผาผลาญของแต่ละคน หากรู้สึกเครียดหรือตื่นตระหนกก็จะยิ่งใช้ออกซิเจนสำรองนี้หมดเร็วขึ้น"
ในชั่วขณะที่คริสนึกว่าคงเป็นนาทีสุดท้ายของชีวิต เขาเล่าว่า "อากาศเฮือกสุดท้ายนั้นหายใจเข้าไปได้อย่างยากลำบาก แต่มันไม่ได้ทรมาน ผมรู้สึกเหมือนว่ากำลังจะหลับ แต่ก็จำได้ว่ารู้สึกโกรธและรู้สึกผิดต่อคู่หมั้นของผมอย่างมากด้วย ผมรู้สึกโกรธเพราะคิดว่าเรื่องนี้จะสร้างความเสียหายเดือดร้อนให้ผู้อื่น แล้วหลังจากนั้นผมก็ไม่รู้สึกถึงอะไรอีกเลย"
หลังเกิดเหตุ 30 นาที ระบบของเรือควบคุมปฏิบัติการใต้น้ำก็กลับคืนมาเป็นปกติ เพื่อนร่วมงานของคริสรีบลงน้ำไปกู้ร่างไร้สติของเขากลับขึ้นมายังระฆังดำน้ำ ก่อนจะนำขึ้นสู่ห้องปรับความดันภายในเรือทันที
เมื่อถอดหน้ากากดำน้ำออก คริสหน้าเขียวและหยุดหายใจแล้ว แต่การกู้ชีพด้วยวิธีเป่าปากช่วยหายใจเพียงไม่กี่ครั้งทำให้เขาฟื้นขึ้นมา "ผมรู้สึกมึนงงและจำอะไรไม่ค่อยได้ มองไปรอบ ๆ เห็นเพียงเพื่อนนั่งหอบหายใจอยู่ ตอนนั้นผมยังไม่ค่อยเข้าใจว่าเหตุที่เกิดขึ้นมันร้ายแรงขนาดไหน"
หากนักประดาน้ำไม่ได้รับการปรับความดันร่างกายทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติงานแล้ว จะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตจากโรคน้ำหนีบ (Decompression sickness)
คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
การที่คริสสามารถรอดชีวิตมาได้อย่างเหลือเชื่อ ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำอธิบายที่อยู่เบื้องหลังเหตุปาฏิหาริย์นี้ โดย ดร. ทิปตัน มองว่าน้ำในทะเลเหนือที่เย็นจัดต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายและสมองของคริสเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว หลังจากสายส่งน้ำร้อนที่สร้างความอบอุ่นให้กับชุดนักประดาน้ำขาดเสียหาย
"การที่สมองเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในภาวะขาดออกซิเจน โดยอุณหภูมิที่ลดลงเพียง 10 องศาเซลเซียส ก็สามารถลดอัตราการเผาผลาญลงได้ถึงครึ่งหรือถึงหนึ่งในสาม หากลดอุณหภูมิของสมองให้เหลือเพียง 20 องศาเซลเซียสได้ มนุษย์จะมีโอกาสรอดชีวิตจากภาวะขาดออกซิเจนได้นานเกือบหนึ่งชั่วโมง" ดร.ทิปตันกล่าว
นอกจากนี้ การที่คริสดำน้ำแบบอิ่มตัวมานาน โดยมีการหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปปริมาณมาก ทำให้ออกซิเจนเหล่านี้ละลายเข้าไปสะสมอยู่ในเลือดและเนื้อเยื่อในภาวะความดันสูง ทำให้ร่างกายของเขามีแหล่งสำรองออกซิเจนที่เซลล์ต่าง ๆ สามารถดึงมาใช้ในภาวะฉุกเฉินได้มากกว่าคนทั่วไป
คริสไม่ได้เป็นผู้รอดชีวิตเพียงรายเดียวจากการขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน ดร.ทิปตันบอกว่ายังมีอีกอย่างน้อย 43 กรณีที่เกิดเหตุคล้ายกัน รวมถึงเด็กหญิงวัยสองขวบครึ่งผู้หนึ่ง ที่รอดชีวิตมาได้หลังจมน้ำนานกว่า 66 นาที "เด็กและผู้หญิงนั้นร่างเล็กกว่าและสามารถลดอุณหภูมิร่างกายได้เร็วกว่า ทำให้มีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย" ดร.ทิปตันอธิบาย
ผลวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งนอร์เวย์ (NTNU) ยังชี้ว่า ร่างกายของผู้ที่ดำน้ำแบบอิ่มตัวเป็นเวลานาน มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบสุดขั้วถึงระดับพันธุกรรมเลยทีเดียว โดยยีนในเซลล์เม็ดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการทำงาน ทำให้มีการผลิตและขนส่งฮีโมโกลบินรวมทั้งเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกายลดลงในขณะที่ดำน้ำ ซึ่งจะช่วยประหยัดการใช้ออกซิเจนได้
เรื่องราวของคริสได้รับการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์สารคดี "ลมหายใจเฮือกสุดท้าย" หรือ Last Breath ซึ่งเผยว่าหลังจากที่รอดจากความตายมาได้อย่างเฉียดฉิว เขาได้เข้าพิธีแต่งงานกับคู่หมั้นในทันที แต่ก็ไม่วายจะกลับไปทำงานที่ค้างไว้ให้เสร็จ ณ จุดเกิดเหตุระทึกขวัญจุดเดิม หลังเหตุการณ์ผ่านไปได้เพียงสามสัปดาห์เท่านั้น
"ผมรอดมาได้เพราะความเป็นมืออาชีพ และความเป็นวีรบุรุษกล้าหาญของคนรอบตัวผมเท่านั้น อันที่จริงแล้วผมมีส่วนช่วยเหลือตัวเองให้รอดชีวิตน้อยมาก นับว่าผมโชคดีแท้ ๆ" คริสกล่าวส่งท้าย
มนุษย์รอดปาฏิหาริย์ได้อย่างไร หากขาดอากาศหายใจที่ก้นทะเลเกือบครึ่งชั่วโมง ?
ผมพยายามสงบสติอารมณ์ เพื่อใช้อากาศที่เหลืออยู่ให้น้อยที่สุด"
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2012 คริส เลมอนส์ นักประดาน้ำมืออาชีพชาวอังกฤษวัย 39 ปี ต้องพบกับเหตุการณ์เฉียดเข้าใกล้ความตายมากที่สุดในชีวิต เมื่อสายส่งอากาศหายใจจากเรือที่ควบคุมงานก่อสร้างใต้ทะเลของเขาขาดสะบั้น ทำให้เขาตกอยู่ในภาวะวิกฤติที่อากาศสำรองหมดลงใน 5 นาที คริสหมดลมหายใจอยู่ที่ก้นทะเลลึกอันมืดสนิทนานเกือบครึ่งชั่วโมง ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือและรอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์
เรื่องราวที่เหลือเชื่อของคริสทำให้ผู้คนทั่วไปและบรรดานักวิทยาศาสตร์พากันตั้งคำถามว่า เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีมนุษย์รอดชีวิตมาได้จากการขาดอากาศหายใจเป็นเวลานานขนาดนั้น เพราะตามปกติแล้วสมองจะหยุดทำงานเมื่อขาดออกซิเจนไปเพียง 2-3 นาที ซึ่งจะทำให้คนผู้นั้นเสียชีวิตลงได้อย่างรวดเร็ว
เรื่องราวของคริสได้รับการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์สารคดี "ลมหายใจเฮือกสุดท้าย" หรือ Last Breath
อุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน
ในวันที่เกิดเหตุ คริสลงดำน้ำปฏิบัติงานตามปกติที่ก้นทะเลเหนือ (North Sea) ในระดับความลึก 100 เมตรจากผิวน้ำ โดยกำลังซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันดิบจากบ่อน้ำมันใต้ทะเล ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองอาเบอร์ดีนของสกอตแลนด์ไปราว 204 กิโลเมตร
ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ คริสต้องใช้วิธีการดำน้ำแบบอิ่มตัว (Saturation diving) ซึ่งนักประดาน้ำจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในห้องปรับความดันบนเรือนานหลายวันหรือนานนับเดือน เพื่อปรับสภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับการทำงานใต้ทะเลลึกที่มีความดันสูง ซึ่งภาวะนี้ไนโตรเจนจะสามารถละลายเข้าไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้จนอิ่มตัว
หากนักประดาน้ำไม่ได้รับการปรับความดันร่างกายทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติงานแล้ว จะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตจากโรคน้ำหนีบ (Decompression sickness) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไนโตรเจนกลายสภาพเป็นฟองก๊าซในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ขณะที่นักประดาน้ำคลายความดันขึ้นสู่ผิวน้ำ
ในวันที่เกิดเหตุ คริสลงปฏิบัติงานด้วยระฆังดำน้ำ พร้อมกับเพื่อนร่วมงานอีกสองคนคือ เดฟ ยูอาซา ซึ่งเป็นนักประดาน้ำเช่นกัน รวมทั้งดันแคน ออลค็อก ซึ่งควบคุมงานอยู่ภายในระฆังดำน้ำ คริสมีประสบการณ์ดำน้ำแบบอิ่มตัวน้อยกว่าเพื่อนคือเพียง 1 ปีครึ่ง แต่เขาก็เป็นนักประดาน้ำมืออาชีพมาได้นานกว่า 8 ปีแล้ว
การซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันดิบในวันนั้นเริ่มขึ้นโดยไม่มีสิ่งใดผิดปกติ แต่ไม่นานนัก สภาพคลื่นลมปั่นป่วนบนผิวน้ำทำให้เรือที่ควบคุมการทำงานใต้น้ำอยู่เคลื่อนจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการนำร่องและยึดพิกัดตำแหน่งของเรือขัดข้องชั่วคราว ทำให้เรือลากเอาสายเคเบิลหนาที่เป็นทั้งสายส่งไฟฟ้า สัญญาณสื่อสาร และส่งอากาศหายใจลงไปยังนักประดาน้ำด้านล่างหรือ "สายสะดือต่อชีวิต" ขาดออก
ในตอนแรกแรงดึงสายเคเบิลจากเรือทำให้คริสหงายหลังล้มลง เขาพยายามจะกลับขึ้นไปในระฆังดำน้ำ แต่สายเคเบิลดังกล่าวกลับไปติดอยู่กับโครงของสิ่งก่อสร้างใต้น้ำอย่างแน่นหนา ทำให้มันถูกดึงจนขาดในที่สุด ในขณะที่ตัวของคริสเองก็ถูกลากเข้าไปติดอยู่ในคานโลหะด้วย เดฟ ยูอาซา เพื่อนร่วมงานของเขามองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้เพราะเขาถูกเรือลากออกห่างจากจุดเกิดเหตุไปทุกที
คริสหมดลมหายใจอยู่ที่ก้นทะเลลึกอันมืดสนิทนานเกือบครึ่งชั่วโมง ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือและรอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์
รอดได้อย่างปาฏิหาริย์
ขณะนี้ก้นทะเลอยู่ในสภาพที่มืดสนิทไร้แสงไฟส่อง คริสรวบรวมสติลุกขึ้นยืน หมุนปุ่มที่หน้ากากดำน้ำเพื่อปล่อยให้อากาศสำรองในถังที่แบกไว้บนหลังไหลเข้ามา แต่อากาศหายใจที่ว่านี้มีเพียงพอให้ใช้ต่อไปได้แค่ 6 นาทีเท่านั้น เขาพยายามคลำทางในความมืดเพื่อปีนขึ้นมาบนยอดสุดของโครงสิ่งก่อสร้างใต้ทะเล หวังว่าจะได้พบระฆังดำน้ำรอเขาอยู่ที่นั่น แต่ก็ไม่พบสิ่งใดที่พอจะช่วยชีวิตเขาได้ทั้งสิ้น
คริสเล่าว่า "ผมพยายามสงบสติอารมณ์ เพื่อใช้อากาศที่เหลืออยู่ให้น้อยที่สุด นาทีนั้นผมตัดสินใจว่าคงจะไม่มีใครช่วยเหลือผมได้แล้ว จึงขดตัวลงเป็นก้อนกลมแล้วหายใจช้า ๆ"
ดร. ไมค์ ทิปตัน ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธของสหราชอาณาจักรบอกว่า "ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถกักเก็บออกซิเจนไว้ได้มากนัก บางทีอาจจะเก็บได้แค่เพียงไม่กี่ลิตร ออกซิเจนนี้จะถูกใช้หมดไปช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับอัตราการเผาผลาญของแต่ละคน หากรู้สึกเครียดหรือตื่นตระหนกก็จะยิ่งใช้ออกซิเจนสำรองนี้หมดเร็วขึ้น"
ในชั่วขณะที่คริสนึกว่าคงเป็นนาทีสุดท้ายของชีวิต เขาเล่าว่า "อากาศเฮือกสุดท้ายนั้นหายใจเข้าไปได้อย่างยากลำบาก แต่มันไม่ได้ทรมาน ผมรู้สึกเหมือนว่ากำลังจะหลับ แต่ก็จำได้ว่ารู้สึกโกรธและรู้สึกผิดต่อคู่หมั้นของผมอย่างมากด้วย ผมรู้สึกโกรธเพราะคิดว่าเรื่องนี้จะสร้างความเสียหายเดือดร้อนให้ผู้อื่น แล้วหลังจากนั้นผมก็ไม่รู้สึกถึงอะไรอีกเลย"
หลังเกิดเหตุ 30 นาที ระบบของเรือควบคุมปฏิบัติการใต้น้ำก็กลับคืนมาเป็นปกติ เพื่อนร่วมงานของคริสรีบลงน้ำไปกู้ร่างไร้สติของเขากลับขึ้นมายังระฆังดำน้ำ ก่อนจะนำขึ้นสู่ห้องปรับความดันภายในเรือทันที
เมื่อถอดหน้ากากดำน้ำออก คริสหน้าเขียวและหยุดหายใจแล้ว แต่การกู้ชีพด้วยวิธีเป่าปากช่วยหายใจเพียงไม่กี่ครั้งทำให้เขาฟื้นขึ้นมา "ผมรู้สึกมึนงงและจำอะไรไม่ค่อยได้ มองไปรอบ ๆ เห็นเพียงเพื่อนนั่งหอบหายใจอยู่ ตอนนั้นผมยังไม่ค่อยเข้าใจว่าเหตุที่เกิดขึ้นมันร้ายแรงขนาดไหน"
หากนักประดาน้ำไม่ได้รับการปรับความดันร่างกายทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติงานแล้ว จะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตจากโรคน้ำหนีบ (Decompression sickness)
คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
การที่คริสสามารถรอดชีวิตมาได้อย่างเหลือเชื่อ ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำอธิบายที่อยู่เบื้องหลังเหตุปาฏิหาริย์นี้ โดย ดร. ทิปตัน มองว่าน้ำในทะเลเหนือที่เย็นจัดต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายและสมองของคริสเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว หลังจากสายส่งน้ำร้อนที่สร้างความอบอุ่นให้กับชุดนักประดาน้ำขาดเสียหาย
"การที่สมองเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในภาวะขาดออกซิเจน โดยอุณหภูมิที่ลดลงเพียง 10 องศาเซลเซียส ก็สามารถลดอัตราการเผาผลาญลงได้ถึงครึ่งหรือถึงหนึ่งในสาม หากลดอุณหภูมิของสมองให้เหลือเพียง 20 องศาเซลเซียสได้ มนุษย์จะมีโอกาสรอดชีวิตจากภาวะขาดออกซิเจนได้นานเกือบหนึ่งชั่วโมง" ดร.ทิปตันกล่าว
นอกจากนี้ การที่คริสดำน้ำแบบอิ่มตัวมานาน โดยมีการหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปปริมาณมาก ทำให้ออกซิเจนเหล่านี้ละลายเข้าไปสะสมอยู่ในเลือดและเนื้อเยื่อในภาวะความดันสูง ทำให้ร่างกายของเขามีแหล่งสำรองออกซิเจนที่เซลล์ต่าง ๆ สามารถดึงมาใช้ในภาวะฉุกเฉินได้มากกว่าคนทั่วไป
คริสไม่ได้เป็นผู้รอดชีวิตเพียงรายเดียวจากการขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน ดร.ทิปตันบอกว่ายังมีอีกอย่างน้อย 43 กรณีที่เกิดเหตุคล้ายกัน รวมถึงเด็กหญิงวัยสองขวบครึ่งผู้หนึ่ง ที่รอดชีวิตมาได้หลังจมน้ำนานกว่า 66 นาที "เด็กและผู้หญิงนั้นร่างเล็กกว่าและสามารถลดอุณหภูมิร่างกายได้เร็วกว่า ทำให้มีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย" ดร.ทิปตันอธิบาย
ผลวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งนอร์เวย์ (NTNU) ยังชี้ว่า ร่างกายของผู้ที่ดำน้ำแบบอิ่มตัวเป็นเวลานาน มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบสุดขั้วถึงระดับพันธุกรรมเลยทีเดียว โดยยีนในเซลล์เม็ดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการทำงาน ทำให้มีการผลิตและขนส่งฮีโมโกลบินรวมทั้งเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกายลดลงในขณะที่ดำน้ำ ซึ่งจะช่วยประหยัดการใช้ออกซิเจนได้
เรื่องราวของคริสได้รับการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์สารคดี "ลมหายใจเฮือกสุดท้าย" หรือ Last Breath ซึ่งเผยว่าหลังจากที่รอดจากความตายมาได้อย่างเฉียดฉิว เขาได้เข้าพิธีแต่งงานกับคู่หมั้นในทันที แต่ก็ไม่วายจะกลับไปทำงานที่ค้างไว้ให้เสร็จ ณ จุดเกิดเหตุระทึกขวัญจุดเดิม หลังเหตุการณ์ผ่านไปได้เพียงสามสัปดาห์เท่านั้น
"ผมรอดมาได้เพราะความเป็นมืออาชีพ และความเป็นวีรบุรุษกล้าหาญของคนรอบตัวผมเท่านั้น อันที่จริงแล้วผมมีส่วนช่วยเหลือตัวเองให้รอดชีวิตน้อยมาก นับว่าผมโชคดีแท้ ๆ" คริสกล่าวส่งท้าย